หลบ! หุ้นไทยให้ผลตอบแทนน้อย นักลงทุนขนเงินลุยเทรดหุ้นต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯ สิงคโปร์ จีน ด้าน บริษัทหลักทรัพย์ ระบุวอลุ่มซื้อขายเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง “บล.ธนชาต” เตรียมเพิ่มบุคลากรรองรับยอดออเดร์ที่สูงขึ้น ส่วน “เอเซียพลัส” ดัน บลจ.ลูก เปิดกองทุนหุ้นต่างแดนรองรับในเร็วๆ นี้ “บลจ.วรรณ” ประเมินแนวโน้มตลาดมะกัน ดีเฉพาะบางเซกเตอร์ ต้องตามติดตลอดเวลา ประมาทไม่ได้
แนวโน้มตลาดหุ้นไทยปีนี้ หลายฝ่ายประเมินว่า แม้ดัชนีจะปรับตัวสูงขึ้น แต่ก็ไม่สูงเท่ากับปีที่ผ่านมา เห็นได้จากต้นปีดัชนีมีการปรับฐานครั้งใหญ่ เม็ดเงินลงทุนบางส่วนไหลออกจากไทย และประเทศในภูมิภาคเดียวกันอย่างอินโดนีเซีย กลับสู่ประเทศใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกา ที่เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทำให้หุ้นหลายตัวที่ราคารูดต่ำลงมากในช่วง 2 ปีก่อน เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น จึงนับจังหวะที่น่าเข้าไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนในระดับสูง
ขณะเดียวกัน ด้านตลาดหุ้นไทย ก็เหลือเวลาอีกเพียง 1 ปี ที่จะเปิดเสรีหลักทรัพย์ในปี 2555 บรรดาบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หลายแห่งปรับตัว เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการควบรวมกิจการ หรือเพิ่มธุรกรรมการเงินประเภทอื่นๆ เข้ามาช่วยเสริมรายได้หลักที่มาจากค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ แม้จะมีการเพิ่มสินค้าอนุพันธ์ หรือเครื่องมือทางเงินอื่นๆ แต่ขณะที่มีการพูดถึงกันมากขึ้น นั่นคือ การลงทุนในหุ้นต่างประเทศ ผ่าน บล.ไทย ซึ่งขณะนี้เริ่มมีหลายแห่งเปิดให้บริการแก่ลูกค้าที่สนใจแล้ว แม้จะมีปริมาณนักลงทุนไม่มากนัก แต่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ฐานะและกำลังซื้อสูง
นางอัศวินี ไตลังคะ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บล.ธนชาต จำกัด กล่าวว่า ทางบริษัทได้เปิดบริการให้ลูกค้าสามารถเข้าไปลงทุนซื้อขายในหุ้นต่างประเทศได้แล้ว ซึ่งที่ผ่านมาบริการดังกล่าวได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากภาวะดัชนีตลาดหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมามีความผันผวน และสร้างผลตอบแทนได้น้อยกว่าปีก่อน ทำให้นักลงทุนบางรายเริ่มมองหาแหล่งลงทุนที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า ซึ่งหนึ่งในนั้น คือตลาดหุ้นในสหรัฐฯ ที่มีหุ้นน่าสนใจและเป็นหุ้นขนาดใหญ่หลายบริษัทมีราคาที่ถูก และสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้
ทั้งนี้ การลงทุนผ่านบล.ธนชาต บริษัทยืนยันว่า เป็นการลงทุนทางตรง เนื่องจากบริษัทมีพาร์ทเนอร์ที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์ในต่างประเทศ คอยรับส่งคำสั่งซื้อขายกับบริษัทในตลาดหุ้นขนาดใหญ่ นอกจากนี้ บริษัทยังมีข้อมูลในหุ้นต่างๆ ที่ลูกค้าสนใจ นำเสนอให้แก่ลูกค้าของบริษัทเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนโดยตลอด
“ส่วนใหญ่ที่ลูกค้าเข้าไปลงทุนในตลาดต่างประเทศช่วงนี้ จะเป็นสหรัฐฯ ยุโรป สิงคโปร์ มาเลเซีย และจีน วงเงินที่ลงทุนขั้นต่ำประมาณ 1 ล้านบาท ตอนนี้เรามีทีมงานคอยให้บริการลูกค้าสำรับเทรดในตลาดต่างประเทศแล้ว และกำลังจะเพิ่มจำนวนทีมงานเข้ามาอีกทั้งด้านมาร์เกตติ้ง และเทรดเดอร์”
ขณะเดียวกัน ในปีนี้ทางบริษัท จะมีความร่วมมือกับทางกลุ่มสโกวาเทีย ผู้ถือหุ้นใหญ่ในธนาคาร ธนชาต โดยการดึงลูกค้าไฮเนตเวิร์กของผู้ถือหุ้นใหญ่จากต่างประเทศ และลูกค้าไทย เข้ามาให้บริษัทบริหารเม็ดเงินลงทุนให้ ผ่านบริการ ไพรเวทเวลธ์โดยจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการและทีมงานขึ้นมาทำร่วมกัน ซึ่งคาดว่าบริการดังกล่าวน่าจะเริ่มได้ประมาณกลางปีนี้
ด้าน นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บล.เอเซีย พลัส (ASP) กล่าวว่า เปิดเผยว่า แผนงานส่วนหนึ่งของบริษัทในปีนี้ คือ การเน้นขยายการลงทุนไปในต่างประเทศ เพราะเห็นว่า ตลาดหุ้นในหลายประเทศมีราคาถูกกว่าหุ้นไทย ทั้ง P/E บุ๊กแวลู หรือ ดิวิเดนด์ยิลด์ ซึ่งน่าจะสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนของบริษัทได้ดีกว่า ส่วนด้านการบริหารสินทรัพย์ให้ลูกค้า ในปีนี้ก็จะเน้นการลงทุนในต่างประเทศเช่นกัน ซึ่งประมาณกลางเดือนนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แอสเซทพลัส ในฐานะบริษัทย่อย จะมีการออกกองทุนที่ไปลงทุนในหุ้นต่างประเทศ มารองรับในเรื่องดังกล่าว
นอกจากนี้ ที่ผ่านมาลูกค้าของบริษัทนิยมเข้าไปลงทุนในต่างประเทศประเทศมากขึ้น เช่น สหรัฐอเมริกา, ฮ่องกง, จีน, ญี่ปุ่น, สิงคโปร์ และ เกาหลีใต้ เพราะให้ผลตอบแทนดีกว่า โดยพบว่า ค่าP/E หุ้นไทยบางตัว ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน ยังสูงกว่าหุ้นในต่างประเทศ ดังนั้นหากนำเงินไปลงทุน น่าจะได้ผลตอบแทนที่สูงกว่า
ปัจจุบันบริษัทหลักทรัพย์ หลายแห่งให้ความสำคัญกับการเพิ่มช่องทางให้ลูกค้าไปลงทุนในหุ้นต่างประเทศมากขึ้น เพื่อเพิ่มทางเลือกในการลงทุน และช่วยสร้างรายได้กลับมาให้บริษัท เช่น บล.เอเซียพลัส บล.ธนชาต บล.ฟิลลิป บล.ไอร่า ฯลฯ เพราะรายได้ในส่วนนี้ จะเป็นช่องทางเสริมรายได้อีกด้านหนึ่ง เพื่อทดแทนรายได้จากค่าคอมมิชั่นที่ในอนาคตจะปรับลดลงไป จากการเปิดเสรีหลักทรัพย์ในปี 2555
ขณะเดียวกัน นอกเหนือจาก บล.แล้ว พบว่า บรรดา บริษัทจัดการลงทุน (บลจ.) หลายแห่งก็เริ่มให้ความสนใจจัดตั้งกองทุนเพื่อไปลงทุนในหุ้นต่างประเทศมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้นอเมริกา หรือประเทศในกลุ่มอีเมอร์จิ้งมาร์เกต เช่น บลจ.อเบอร์ดีน ได้เปิดขายกองทุนเปิด อินเดีย โกรท ฟันด์ หรือแม้แต่ บลจ.แอสเซทพลัส ที่กำลังจะออกกองทุนลงทุนหุ้นในต่างประเทศมานำเสนอนักลงทุน
นายมนรัฐ ผดุงสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) วรรณ จำกัด กล่าวว่า ตลาดหุ้นต่างประเทศขณะนี้บางแห่งมีความน่าสนใจมากกว่าตลาดหุ้นไทยจริง โดยในส่วนของตลาดหุ้นสหรัฐฯนั้น ยอมรับว่า มีการเติบโต แต่เป็นการเติบโตในเฉพาะบางกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น หุ้นในกลุ่มพลังงาน และหุ้นที่ชนะเงินเฟ้อได้ จะไดัรับความสนใจมากสุด เพราะราคาหุ้นเริ่มปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่หุ้นที่เกี่ยวข้องกับอสัหงหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นหุ้นที่มีปัญหาโดยตรงจากวิกฤตเศรษฐกิจในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ราคาหุ้นยังอยู่ในระดับต่ำ และยังไม่น่าลงทุน
“จริงแล้วตั้งแต่ 2 เดือนก่อนเราพอมองภาพกันออกแล้วว่า เศรษฐกิจของสหรัฐฯจะฟื้นตัว น่าเข้าไปลงทุน อย่างไรก็ตามตลาดนี้ยังเป็นตลาดที่ประมาทไม่ได้ ต้องมีการติดตามโดยตลอด เพราะการฟื้นตัวบางอย่างเกิดจากความคาดหวัง ตอนนี้นักลงทุนต่างประเทศ คาดหวังจะเห็นมาตรการQE3ขึ้นอีก ทำให้ราคาหุ้นบางตัวปรับขึ้นมารอรับเรื่องนี้ เราพบว่าในช่วงต้นปี มีเม็ดเงินบางส่วนโยกกลับเข้าไปลงทุนในสหรัฐฯแล้ว”
ก่อนหน้านี้ นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท.เปิดเผยว่า ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2554 พบว่า มีคนไทยนำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น โดยคิดเป็นการเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยของปีก่อนประมาณ 2 เท่าครึ่ง
แนวโน้มตลาดหุ้นไทยปีนี้ หลายฝ่ายประเมินว่า แม้ดัชนีจะปรับตัวสูงขึ้น แต่ก็ไม่สูงเท่ากับปีที่ผ่านมา เห็นได้จากต้นปีดัชนีมีการปรับฐานครั้งใหญ่ เม็ดเงินลงทุนบางส่วนไหลออกจากไทย และประเทศในภูมิภาคเดียวกันอย่างอินโดนีเซีย กลับสู่ประเทศใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกา ที่เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทำให้หุ้นหลายตัวที่ราคารูดต่ำลงมากในช่วง 2 ปีก่อน เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น จึงนับจังหวะที่น่าเข้าไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนในระดับสูง
ขณะเดียวกัน ด้านตลาดหุ้นไทย ก็เหลือเวลาอีกเพียง 1 ปี ที่จะเปิดเสรีหลักทรัพย์ในปี 2555 บรรดาบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หลายแห่งปรับตัว เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการควบรวมกิจการ หรือเพิ่มธุรกรรมการเงินประเภทอื่นๆ เข้ามาช่วยเสริมรายได้หลักที่มาจากค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ แม้จะมีการเพิ่มสินค้าอนุพันธ์ หรือเครื่องมือทางเงินอื่นๆ แต่ขณะที่มีการพูดถึงกันมากขึ้น นั่นคือ การลงทุนในหุ้นต่างประเทศ ผ่าน บล.ไทย ซึ่งขณะนี้เริ่มมีหลายแห่งเปิดให้บริการแก่ลูกค้าที่สนใจแล้ว แม้จะมีปริมาณนักลงทุนไม่มากนัก แต่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ฐานะและกำลังซื้อสูง
นางอัศวินี ไตลังคะ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บล.ธนชาต จำกัด กล่าวว่า ทางบริษัทได้เปิดบริการให้ลูกค้าสามารถเข้าไปลงทุนซื้อขายในหุ้นต่างประเทศได้แล้ว ซึ่งที่ผ่านมาบริการดังกล่าวได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากภาวะดัชนีตลาดหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมามีความผันผวน และสร้างผลตอบแทนได้น้อยกว่าปีก่อน ทำให้นักลงทุนบางรายเริ่มมองหาแหล่งลงทุนที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า ซึ่งหนึ่งในนั้น คือตลาดหุ้นในสหรัฐฯ ที่มีหุ้นน่าสนใจและเป็นหุ้นขนาดใหญ่หลายบริษัทมีราคาที่ถูก และสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้
ทั้งนี้ การลงทุนผ่านบล.ธนชาต บริษัทยืนยันว่า เป็นการลงทุนทางตรง เนื่องจากบริษัทมีพาร์ทเนอร์ที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์ในต่างประเทศ คอยรับส่งคำสั่งซื้อขายกับบริษัทในตลาดหุ้นขนาดใหญ่ นอกจากนี้ บริษัทยังมีข้อมูลในหุ้นต่างๆ ที่ลูกค้าสนใจ นำเสนอให้แก่ลูกค้าของบริษัทเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนโดยตลอด
“ส่วนใหญ่ที่ลูกค้าเข้าไปลงทุนในตลาดต่างประเทศช่วงนี้ จะเป็นสหรัฐฯ ยุโรป สิงคโปร์ มาเลเซีย และจีน วงเงินที่ลงทุนขั้นต่ำประมาณ 1 ล้านบาท ตอนนี้เรามีทีมงานคอยให้บริการลูกค้าสำรับเทรดในตลาดต่างประเทศแล้ว และกำลังจะเพิ่มจำนวนทีมงานเข้ามาอีกทั้งด้านมาร์เกตติ้ง และเทรดเดอร์”
ขณะเดียวกัน ในปีนี้ทางบริษัท จะมีความร่วมมือกับทางกลุ่มสโกวาเทีย ผู้ถือหุ้นใหญ่ในธนาคาร ธนชาต โดยการดึงลูกค้าไฮเนตเวิร์กของผู้ถือหุ้นใหญ่จากต่างประเทศ และลูกค้าไทย เข้ามาให้บริษัทบริหารเม็ดเงินลงทุนให้ ผ่านบริการ ไพรเวทเวลธ์โดยจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการและทีมงานขึ้นมาทำร่วมกัน ซึ่งคาดว่าบริการดังกล่าวน่าจะเริ่มได้ประมาณกลางปีนี้
ด้าน นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บล.เอเซีย พลัส (ASP) กล่าวว่า เปิดเผยว่า แผนงานส่วนหนึ่งของบริษัทในปีนี้ คือ การเน้นขยายการลงทุนไปในต่างประเทศ เพราะเห็นว่า ตลาดหุ้นในหลายประเทศมีราคาถูกกว่าหุ้นไทย ทั้ง P/E บุ๊กแวลู หรือ ดิวิเดนด์ยิลด์ ซึ่งน่าจะสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนของบริษัทได้ดีกว่า ส่วนด้านการบริหารสินทรัพย์ให้ลูกค้า ในปีนี้ก็จะเน้นการลงทุนในต่างประเทศเช่นกัน ซึ่งประมาณกลางเดือนนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แอสเซทพลัส ในฐานะบริษัทย่อย จะมีการออกกองทุนที่ไปลงทุนในหุ้นต่างประเทศ มารองรับในเรื่องดังกล่าว
นอกจากนี้ ที่ผ่านมาลูกค้าของบริษัทนิยมเข้าไปลงทุนในต่างประเทศประเทศมากขึ้น เช่น สหรัฐอเมริกา, ฮ่องกง, จีน, ญี่ปุ่น, สิงคโปร์ และ เกาหลีใต้ เพราะให้ผลตอบแทนดีกว่า โดยพบว่า ค่าP/E หุ้นไทยบางตัว ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน ยังสูงกว่าหุ้นในต่างประเทศ ดังนั้นหากนำเงินไปลงทุน น่าจะได้ผลตอบแทนที่สูงกว่า
ปัจจุบันบริษัทหลักทรัพย์ หลายแห่งให้ความสำคัญกับการเพิ่มช่องทางให้ลูกค้าไปลงทุนในหุ้นต่างประเทศมากขึ้น เพื่อเพิ่มทางเลือกในการลงทุน และช่วยสร้างรายได้กลับมาให้บริษัท เช่น บล.เอเซียพลัส บล.ธนชาต บล.ฟิลลิป บล.ไอร่า ฯลฯ เพราะรายได้ในส่วนนี้ จะเป็นช่องทางเสริมรายได้อีกด้านหนึ่ง เพื่อทดแทนรายได้จากค่าคอมมิชั่นที่ในอนาคตจะปรับลดลงไป จากการเปิดเสรีหลักทรัพย์ในปี 2555
ขณะเดียวกัน นอกเหนือจาก บล.แล้ว พบว่า บรรดา บริษัทจัดการลงทุน (บลจ.) หลายแห่งก็เริ่มให้ความสนใจจัดตั้งกองทุนเพื่อไปลงทุนในหุ้นต่างประเทศมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้นอเมริกา หรือประเทศในกลุ่มอีเมอร์จิ้งมาร์เกต เช่น บลจ.อเบอร์ดีน ได้เปิดขายกองทุนเปิด อินเดีย โกรท ฟันด์ หรือแม้แต่ บลจ.แอสเซทพลัส ที่กำลังจะออกกองทุนลงทุนหุ้นในต่างประเทศมานำเสนอนักลงทุน
นายมนรัฐ ผดุงสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) วรรณ จำกัด กล่าวว่า ตลาดหุ้นต่างประเทศขณะนี้บางแห่งมีความน่าสนใจมากกว่าตลาดหุ้นไทยจริง โดยในส่วนของตลาดหุ้นสหรัฐฯนั้น ยอมรับว่า มีการเติบโต แต่เป็นการเติบโตในเฉพาะบางกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น หุ้นในกลุ่มพลังงาน และหุ้นที่ชนะเงินเฟ้อได้ จะไดัรับความสนใจมากสุด เพราะราคาหุ้นเริ่มปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่หุ้นที่เกี่ยวข้องกับอสัหงหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นหุ้นที่มีปัญหาโดยตรงจากวิกฤตเศรษฐกิจในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ราคาหุ้นยังอยู่ในระดับต่ำ และยังไม่น่าลงทุน
“จริงแล้วตั้งแต่ 2 เดือนก่อนเราพอมองภาพกันออกแล้วว่า เศรษฐกิจของสหรัฐฯจะฟื้นตัว น่าเข้าไปลงทุน อย่างไรก็ตามตลาดนี้ยังเป็นตลาดที่ประมาทไม่ได้ ต้องมีการติดตามโดยตลอด เพราะการฟื้นตัวบางอย่างเกิดจากความคาดหวัง ตอนนี้นักลงทุนต่างประเทศ คาดหวังจะเห็นมาตรการQE3ขึ้นอีก ทำให้ราคาหุ้นบางตัวปรับขึ้นมารอรับเรื่องนี้ เราพบว่าในช่วงต้นปี มีเม็ดเงินบางส่วนโยกกลับเข้าไปลงทุนในสหรัฐฯแล้ว”
ก่อนหน้านี้ นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท.เปิดเผยว่า ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2554 พบว่า มีคนไทยนำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น โดยคิดเป็นการเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยของปีก่อนประมาณ 2 เท่าครึ่ง