นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่วิปทั้ง 2 ฝ่าย เสนอขอขยายเวลาการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล จากเดิม 3 วัน เป็น 4 วัน ว่า ขณะนี้ตนได้บรรจุเป็นระเบียบวาระเรียบร้อยแล้ว จึงขอยืนยันอภิปราย 3 วัน เหมือนเดิม
ส่วนจะขยายเวลาการอภิปรายเป็น 4 วันหรือไม่นั้น พิจารณาจากจำนวนบุคคล และเนื้อหาการอภิปรายว่า เพียงพอเหมาะสมหรือไม่ เนื่องจากขณะนี้เหลือจำนวน ส.ส.ที่เสนอญัตติ เพียง 119 คน และเรื่องนี้เชื่อว่าไม่มีปัญหาอะไร
ด้านนพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม วิปรัฐบาล กล่าวถึงกรณีที่วิปรัฐบาลเสนอขอให้มีการตรวจสอบหลักฐานวีดีโอคลิป ที่ฝ่ายค้านจะนำเอามาอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลว่า ฝ่ายค้านปฏิเสธที่จะให้มีการตรวจสอบมาตั้งแต่ต้น เนื่องจากกลัวว่ารัฐบาลจะรู้ข้อสอบก่อนล่วงหน้า แต่ในช่วงเช้าที่ผ่านมา นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาฯ ได้ติดต่อมาทางรัฐบาล ให้หาตัวแทน 3 คน เพื่อที่จะเข้าร่วมการตรวจสอบก่อน ซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์ ได้เลือกตัวแทนคือ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา นายอรรถวิทย์ สุวรรณภักดี ส.ส.กทม. และนายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งคณะกรรมการที่จะเข้าตรวจสอบ ก็คงจะมีตัวแทนจากทางฝ่ายค้าน และจากรัฐสภาด้วย
นพ.วรงค์ กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีประชาชนส่งภาพนิ่ง เกี่ยวกับกรณีการสลายการชุมนุม แบบเป็นภาพที่ได้รับการตัดต่อจำนวน 70 ภาพมาให้ตน พร้อมบอกว่า การอภิปรายครั้งนี้จะมีการตัดต่อภาพนิ่งเป็นหลักสำคัญ ซึ่งก็คงจะเป็นปัญหาให้รัฐบาลเอาไปคิด เพื่อตอบโจทย์กับเรื่องนี้ให้ได้ เพราะภาพนิ่ง หากมีการเอามาตัดต่อและมีผู้อธิบายต่อ ก็คงจะสร้างความสับสนให้แก่ประชาชนได้มาก
**"ไอ้ตู่"ไม่ยอมให้ตรวจหลักฐานแน่
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย และแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง กล่าวถึงกรณีที่นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ จะมาเป็นคณะกรรมาการตรวจสอบข้อมูลและหลักฐานของพรรคฝ่ายค้าน ก่อนการอภิปรายไม่ไว้วางใจว่า ขอยืนยันว่าพรรคเพื่อไทยไม่เคยตกลงให้มีคณะกรรมการชุดดังกล่าวอย่างแน่นอน รัฐบาลชุดนี้กำลังได้ใจ จากการอภิปรายครั้งที่ผ่านมา และรัฐบาลชุดนี้หวังที่จะรู้ข้อสอบของพรรคเพื่อไทยก่อน การดำเนินการดังกล่าวจะทำให้รัฐบาลได้ประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะในเรื่องที่รัฐบาลไม่สามารถชี้แจงต่อประชาชนได้ ก็จะไม่อนุญาติให้ฝ่ายค้านเสนอหลักฐานดังกล่าว
นอกจากนี้ ตนคิดว่าไม่มีประเทศประชาธิปไตยใดในโลก ที่มีการดำเนินการแบบนี้ เพราะฉะนั้นหากรัฐบาลจะตรวจ พรรคเพื่อไทย ก็จะไม่ยอม และหากไม่ให้อภิปราย ก็ไม่ต้องอภิปรายกันก็ได้ พรรคประชิปัตย์น่าจะคิดถึงเวลาที่ตัวเองเป็นพรรคฝ่ายค้านบ้าง
"ผมขอท้าไปยังนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ว่าอย่ามีการประท้วงกันระหว่างการอภิปราย โดยให้ทุกฝ่ายทำหน้าที่อย่างเต็มที่ด้วย" นายจตุพรกล่าว
** "มาร์ค-เทือก"ถกลับผบ.ทบ.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ออกจากรัฐสภา ได้เดินทางไปยังกองบัญชาการทัพบก พร้อมด้วย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อหารือร่วมกับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เสนาธิการทหารบก และ ผู้บัญชาระดับต่างๆ ร่วมหารือ เป็นเวลากว่า 2 ชั่วโมง เพื่อเตรียมความพร้อมในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
จากนั้นนายกรัฐมนตรีได้เดินทางกลับมาทำเนียบรัฐบาล และมาหารือต่อกับนายสุเทพ ที่ตึกไทยคู่ฟ้าสักครู่หนึ่ง จากนั้นนายสุเทพ ก็ได้เดินทางกลับออกจากทำเนียบรัฐบาล ซึ่งก่อนหน้านี้นายกรัฐมนตรีเคยระบุว่า ให้รอฟังการชี้แจงการสลายการชุมนุมที่ทำให้มีการเสียชีวิต และใครที่เป็นมือเปื้อนเลือด ในการชี้แจงในรัฐสภา
**ชี้ชัด"มาร์ค"แทรกแซงคดีภาษีบุหรี่
นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยได้เปิดเผยข้อมูลที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เอื้อประโยชน์ให้กับบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส ประเทศไทย ที่จัดจำหน่ายบุหรี่ยี่ห้อมาร์โบโร และแอลเอ็ม โดยนายเกียรติ สิทธีอมร ประธานผู้แทนการค้าไทย (ทีทีอาร์) ออกมากล่าวหาว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นในสมัยที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีนั้นว่า ในเรื่องนี้เกิดขึ้นในปี 2549 โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ รับทำเป็นคดีพิเศษ ที่ 79/2549 ซึ่งเป็นช่วงที่พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ประเทศฟิลิปปินส์ได้ยื่นฟ้องประเทศไทย ต่อองค์กรระงับข้อพิพาทขององค์การการค้าโลก และในปี พ.ศ.2552 ซึ่งอยู่ในช่วงรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้มีความเห็นสั่งฟ้องต่อ อสส. ต่อมา นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.ยุติธรรม ได้รายงานเรื่องนี้ให้นายอภิสิทธิ์ทราบ
นายยุทธพงศ์ กล่าวว่า ในวันที่ 29 ต.ค.52 นายอภิสิทธิ์ เริ่มเข้ามาแทรกแซงคดีดังกล่าวให้เกิดการล่าช้าในการตัดสิน โดยการให้สำนักงานผู้แทนการค้าไทย เชิญ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และผู้แทน ออส. เข้าร่วมหารือแก้ปัญหา ซึ่งคดีนี้ถูกยื้อเวลาเอาไว้จนกระทั่ง ในปี 53 คณะผู้พิจารณาจากองค์การการค้าโลก ได้สรุปเรื่องนี้ว่า ไทยแพ้คดีใน 2 เรื่อง คือ ไทยใช้วิธีการประเมินราคาศุลกากรบุหรี่ ไม่เป็นไปตามหลักการของแก็ตต์ โดยมีการไปใช้วีธีที่ 4 คือวิธีการหักทอน ซึ่งถือว่าไม่ถูกต้อง และการคิดภาษี vat ของไทยไม่ถูกต้อง ซึ่งในประเด็นนี้ ไทยได้ทำการอุทหรณ์เพื่อฟ้องกลับ และมีการตัดสินว่า ไทยไม่แพ้ในประเด็นนี้ไปแล้ว
นายยุทธพงศ์ ยังกล่าวต่อว่า ภายหลังจากที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ รอจนกระทั่งทางองค์การการค้าโลกตัดสินคดีแล้ว จึงมีบัญชาให้กรมศุลกากร กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต สำนักงานอัยการสูงสุด กรมเจรจาการค้าต่างประเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ และสำนักงานผู้แทนการค้าไทย ทบทวนเรื่องข้อพิพาทกรณีการนำเข้าบุหรี่จากฟิลิปปินส์ ในขั้นสุดท้ายในวันที่ 13 ม.ค. 53 ในที่สุดอัยการสูงสุด ก็ได้มีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง จากเหตุการณ์ทั้งหมด จะทำให้เห็นว่าเรื่องนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับพ.ต.ท.ทักษิณ อย่างที่พรรคประชาธิปัตย์ พยายามโยนบาปแต่อย่างใด
**ดีเอสไอส่อโยนขี้ให้ยุคสมัคร
แหล่งข่าวจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เปิดเผยว่า สำหรับการตรวจสอบเรื่องการสำแดงราคาบุหรี่ มาร์โบโร และ แอลเอ็ม ต่ำกว่าปกตินั้น เกิดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2551 ในสมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช หากคดีนี้จะมีการวิ่งเต้น หรือแทรกแซงไม่ให้เรียกเก็บภาษี คงจะดำเนินการมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายสมัครแล้ว เนื่องจากขณะนั้นสำนักงานตรวจสอบอากร กรมศุลกากร ได้ทำหนังสือที่ กค 0514 (ศ) 656 ลงวันที่ 19 มิ.ย. 51 แจ้งผลการตรวจสอบไปยังกรรมการผู้จัดการบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส (ประเทศไทย) จำกัด ระบุข้อความว่า ตามที่เจ้าหน้าที่ศุลกากรงานปฏิบัติการตรวจสอบที่ 2.2 ฝ่ายปฏิบัติการตรวจสอบที่ 2 ส่วนปฏิบัติการตรวจสอบ 1 สำนักตรวจสอบอากร กรมศุลกากร ได้เข้าตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย ณ สถานประกอบการ บริษัทฟิลลิป มอร์ริสฯ เมื่อวันที่ 4 ส.ค. 49 และได้นำเอกสารไปตรวจสอบที่กรมศุลกากรกับบริษัทฯ ได้ส่งเอกสารไปให้ตรวจสอบเพิ่มเติมนั้น สำนักตรวจสอบอากร กรมศุลกากร ขอเรียนว่า จากเอกสารที่นำไปตรวจสอบไม่พบการกระทำความผิด และบริษัทฯ ได้รับคืนเอกสารทั้งหมดไปเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 51 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ส่วนจะขยายเวลาการอภิปรายเป็น 4 วันหรือไม่นั้น พิจารณาจากจำนวนบุคคล และเนื้อหาการอภิปรายว่า เพียงพอเหมาะสมหรือไม่ เนื่องจากขณะนี้เหลือจำนวน ส.ส.ที่เสนอญัตติ เพียง 119 คน และเรื่องนี้เชื่อว่าไม่มีปัญหาอะไร
ด้านนพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม วิปรัฐบาล กล่าวถึงกรณีที่วิปรัฐบาลเสนอขอให้มีการตรวจสอบหลักฐานวีดีโอคลิป ที่ฝ่ายค้านจะนำเอามาอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลว่า ฝ่ายค้านปฏิเสธที่จะให้มีการตรวจสอบมาตั้งแต่ต้น เนื่องจากกลัวว่ารัฐบาลจะรู้ข้อสอบก่อนล่วงหน้า แต่ในช่วงเช้าที่ผ่านมา นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาฯ ได้ติดต่อมาทางรัฐบาล ให้หาตัวแทน 3 คน เพื่อที่จะเข้าร่วมการตรวจสอบก่อน ซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์ ได้เลือกตัวแทนคือ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา นายอรรถวิทย์ สุวรรณภักดี ส.ส.กทม. และนายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งคณะกรรมการที่จะเข้าตรวจสอบ ก็คงจะมีตัวแทนจากทางฝ่ายค้าน และจากรัฐสภาด้วย
นพ.วรงค์ กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีประชาชนส่งภาพนิ่ง เกี่ยวกับกรณีการสลายการชุมนุม แบบเป็นภาพที่ได้รับการตัดต่อจำนวน 70 ภาพมาให้ตน พร้อมบอกว่า การอภิปรายครั้งนี้จะมีการตัดต่อภาพนิ่งเป็นหลักสำคัญ ซึ่งก็คงจะเป็นปัญหาให้รัฐบาลเอาไปคิด เพื่อตอบโจทย์กับเรื่องนี้ให้ได้ เพราะภาพนิ่ง หากมีการเอามาตัดต่อและมีผู้อธิบายต่อ ก็คงจะสร้างความสับสนให้แก่ประชาชนได้มาก
**"ไอ้ตู่"ไม่ยอมให้ตรวจหลักฐานแน่
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย และแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง กล่าวถึงกรณีที่นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ จะมาเป็นคณะกรรมาการตรวจสอบข้อมูลและหลักฐานของพรรคฝ่ายค้าน ก่อนการอภิปรายไม่ไว้วางใจว่า ขอยืนยันว่าพรรคเพื่อไทยไม่เคยตกลงให้มีคณะกรรมการชุดดังกล่าวอย่างแน่นอน รัฐบาลชุดนี้กำลังได้ใจ จากการอภิปรายครั้งที่ผ่านมา และรัฐบาลชุดนี้หวังที่จะรู้ข้อสอบของพรรคเพื่อไทยก่อน การดำเนินการดังกล่าวจะทำให้รัฐบาลได้ประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะในเรื่องที่รัฐบาลไม่สามารถชี้แจงต่อประชาชนได้ ก็จะไม่อนุญาติให้ฝ่ายค้านเสนอหลักฐานดังกล่าว
นอกจากนี้ ตนคิดว่าไม่มีประเทศประชาธิปไตยใดในโลก ที่มีการดำเนินการแบบนี้ เพราะฉะนั้นหากรัฐบาลจะตรวจ พรรคเพื่อไทย ก็จะไม่ยอม และหากไม่ให้อภิปราย ก็ไม่ต้องอภิปรายกันก็ได้ พรรคประชิปัตย์น่าจะคิดถึงเวลาที่ตัวเองเป็นพรรคฝ่ายค้านบ้าง
"ผมขอท้าไปยังนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ว่าอย่ามีการประท้วงกันระหว่างการอภิปราย โดยให้ทุกฝ่ายทำหน้าที่อย่างเต็มที่ด้วย" นายจตุพรกล่าว
** "มาร์ค-เทือก"ถกลับผบ.ทบ.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ออกจากรัฐสภา ได้เดินทางไปยังกองบัญชาการทัพบก พร้อมด้วย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อหารือร่วมกับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เสนาธิการทหารบก และ ผู้บัญชาระดับต่างๆ ร่วมหารือ เป็นเวลากว่า 2 ชั่วโมง เพื่อเตรียมความพร้อมในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
จากนั้นนายกรัฐมนตรีได้เดินทางกลับมาทำเนียบรัฐบาล และมาหารือต่อกับนายสุเทพ ที่ตึกไทยคู่ฟ้าสักครู่หนึ่ง จากนั้นนายสุเทพ ก็ได้เดินทางกลับออกจากทำเนียบรัฐบาล ซึ่งก่อนหน้านี้นายกรัฐมนตรีเคยระบุว่า ให้รอฟังการชี้แจงการสลายการชุมนุมที่ทำให้มีการเสียชีวิต และใครที่เป็นมือเปื้อนเลือด ในการชี้แจงในรัฐสภา
**ชี้ชัด"มาร์ค"แทรกแซงคดีภาษีบุหรี่
นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยได้เปิดเผยข้อมูลที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เอื้อประโยชน์ให้กับบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส ประเทศไทย ที่จัดจำหน่ายบุหรี่ยี่ห้อมาร์โบโร และแอลเอ็ม โดยนายเกียรติ สิทธีอมร ประธานผู้แทนการค้าไทย (ทีทีอาร์) ออกมากล่าวหาว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นในสมัยที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีนั้นว่า ในเรื่องนี้เกิดขึ้นในปี 2549 โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ รับทำเป็นคดีพิเศษ ที่ 79/2549 ซึ่งเป็นช่วงที่พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ประเทศฟิลิปปินส์ได้ยื่นฟ้องประเทศไทย ต่อองค์กรระงับข้อพิพาทขององค์การการค้าโลก และในปี พ.ศ.2552 ซึ่งอยู่ในช่วงรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้มีความเห็นสั่งฟ้องต่อ อสส. ต่อมา นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.ยุติธรรม ได้รายงานเรื่องนี้ให้นายอภิสิทธิ์ทราบ
นายยุทธพงศ์ กล่าวว่า ในวันที่ 29 ต.ค.52 นายอภิสิทธิ์ เริ่มเข้ามาแทรกแซงคดีดังกล่าวให้เกิดการล่าช้าในการตัดสิน โดยการให้สำนักงานผู้แทนการค้าไทย เชิญ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และผู้แทน ออส. เข้าร่วมหารือแก้ปัญหา ซึ่งคดีนี้ถูกยื้อเวลาเอาไว้จนกระทั่ง ในปี 53 คณะผู้พิจารณาจากองค์การการค้าโลก ได้สรุปเรื่องนี้ว่า ไทยแพ้คดีใน 2 เรื่อง คือ ไทยใช้วิธีการประเมินราคาศุลกากรบุหรี่ ไม่เป็นไปตามหลักการของแก็ตต์ โดยมีการไปใช้วีธีที่ 4 คือวิธีการหักทอน ซึ่งถือว่าไม่ถูกต้อง และการคิดภาษี vat ของไทยไม่ถูกต้อง ซึ่งในประเด็นนี้ ไทยได้ทำการอุทหรณ์เพื่อฟ้องกลับ และมีการตัดสินว่า ไทยไม่แพ้ในประเด็นนี้ไปแล้ว
นายยุทธพงศ์ ยังกล่าวต่อว่า ภายหลังจากที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ รอจนกระทั่งทางองค์การการค้าโลกตัดสินคดีแล้ว จึงมีบัญชาให้กรมศุลกากร กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต สำนักงานอัยการสูงสุด กรมเจรจาการค้าต่างประเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ และสำนักงานผู้แทนการค้าไทย ทบทวนเรื่องข้อพิพาทกรณีการนำเข้าบุหรี่จากฟิลิปปินส์ ในขั้นสุดท้ายในวันที่ 13 ม.ค. 53 ในที่สุดอัยการสูงสุด ก็ได้มีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง จากเหตุการณ์ทั้งหมด จะทำให้เห็นว่าเรื่องนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับพ.ต.ท.ทักษิณ อย่างที่พรรคประชาธิปัตย์ พยายามโยนบาปแต่อย่างใด
**ดีเอสไอส่อโยนขี้ให้ยุคสมัคร
แหล่งข่าวจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เปิดเผยว่า สำหรับการตรวจสอบเรื่องการสำแดงราคาบุหรี่ มาร์โบโร และ แอลเอ็ม ต่ำกว่าปกตินั้น เกิดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2551 ในสมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช หากคดีนี้จะมีการวิ่งเต้น หรือแทรกแซงไม่ให้เรียกเก็บภาษี คงจะดำเนินการมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายสมัครแล้ว เนื่องจากขณะนั้นสำนักงานตรวจสอบอากร กรมศุลกากร ได้ทำหนังสือที่ กค 0514 (ศ) 656 ลงวันที่ 19 มิ.ย. 51 แจ้งผลการตรวจสอบไปยังกรรมการผู้จัดการบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส (ประเทศไทย) จำกัด ระบุข้อความว่า ตามที่เจ้าหน้าที่ศุลกากรงานปฏิบัติการตรวจสอบที่ 2.2 ฝ่ายปฏิบัติการตรวจสอบที่ 2 ส่วนปฏิบัติการตรวจสอบ 1 สำนักตรวจสอบอากร กรมศุลกากร ได้เข้าตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย ณ สถานประกอบการ บริษัทฟิลลิป มอร์ริสฯ เมื่อวันที่ 4 ส.ค. 49 และได้นำเอกสารไปตรวจสอบที่กรมศุลกากรกับบริษัทฯ ได้ส่งเอกสารไปให้ตรวจสอบเพิ่มเติมนั้น สำนักตรวจสอบอากร กรมศุลกากร ขอเรียนว่า จากเอกสารที่นำไปตรวจสอบไม่พบการกระทำความผิด และบริษัทฯ ได้รับคืนเอกสารทั้งหมดไปเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 51 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว