ในการประชุมสภาผู้แทนรษฎรวานนี้ (3 มี.ค.) ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย กระทู้สดเรื่องการนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ ถามนายกรัฐมนตรี ว่า ตามที่บริษัทปตท.จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีกระทรวงการคลังถือหุ้น และอยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงพลังงาน และนายกฯ ได้นำเงินไปลงทุนในบริษัทอิสท์ เมดิเตอร์เรเนียน แก๊ส คอมเปนี ( อีเอ็มจี ) จำนวน 16,500 ล้านบาท ไปลงทุนในประเทศอียิปต์เกี่ยวกับการวางท่อแก๊ส โดยซื้อหุ้นจากบริษัทเมดิเตอร์เรเนียน ไปล์ ลาย ซึ่งเป็นของนายฮุเซง กามา ซาเล็ม เมื่อเกิดเหตุการณ์ในอียิปต์ ถูกจับเพราะขนเงินออกมา 500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 15,000 ล้านบาท ที่ประเทศดูไบ โดยธุรกิจนี้ไม่ใช่ของนายกาบา ซาเล็ม เพราะถือหุ้น 25 เปอร์เซนต์ แต่เป็นของบริษัทอิสท์ เมดิเตอร์เรเนียนฯ ถามว่าการที่ปตท.ให้บริษัทลูก พีทีทีอินเตอร์ ซึ่งปตท.ถือหุ้น 100 เปอร์เซนต์เข้าไปซื้อหุ้น ได้จัดทำแผนการลงทุนตามพ.ร.บ.สภาพัฒน์ 2521 มาตรา 12 (2) (4) หรือได้รายงานต่อครม.หรือไม่
ด้านนพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน ชี้แจงว่าปตท.มี 2 สถานภาพ เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงพลังงาน และมีสถานภาพเป็นบริษัทมหาชน ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพราะฉะนั้นปตท. จึงต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ร.บ.ตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนี้ มติครม.เมื่อเดือนก.ย. 44 ปตท.ได้รับสิทธิ์การยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่ง ระเบียบ ที่ใช้กับรัฐวิสาหกิจทั่วไปเพื่อให้มีความคล่องตัว เนื่องจากเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติ สามารถดำเนินธุรกิจเหมือนบริษัทเอกชนทั่วไป สามารถแข่งขันกับบริษัทลงทุนข้ามชาติให้มีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันสามารถกำหนดกฎระเบียบขึ้นมาใช้ได้เอง โดยเฉพาะระเบียบที่เกี่ยวกับการพัสดุ การงบประมาณ และการลงทุน แผนการลงทุน และแผนการธุรกิจต่าง ๆระเบียบการบริหารองค์กรเป็นต้น
ดังนั้นครม.และรมว.พลังงาน ก็ทำหน้าที่เพียงกำกับดูแลนโยบายด้านทั่วๆไป ส่วนการพิจารณาอนุมัติการลงทุนต่างๆ ของปตท.เป็นอำนาจของคณะกรรมการบริษัทหรือ บอร์ดปตท. การที่ปตท.ไปลงทุนในท่อส่งก๊าซในประเทศอียิปต์ ปตท.ได้ขออนุมัติจากบอร์ด และสภาพัฒน์อยู่แล้ว ไม่ได้เสนอให้ครม.พิจารณา เพราะเป็นสิทธิ์ที่ได้รับการยกเว้น
ร.ต.อ.เฉลิม ถามต่อว่า ตนไม่คาดคิดว่าทำไมคนเป็นรัฐมนตรี ถึงไม่มีปัญญา เพราะสภาพัฒน์ ได้หารือเรื่องนี้ไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 5 ได้พิจารณาเป็น 2 ส่วน คือ เว้นไม่ต้องขออนุมัติ ส่วนที่ 2 บอกว่าไม่ได้ เพราะคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 3 บอกว่า ทำไม่ได้ จึงมีการร่วมประชุมกันอีกครั้ง จนได้ข้อสรุปว่า ไม่อนุมัติ
" ปตท.เป็นรัฐอิสระตามมติครม. แต่จะทำอะไรต้องขออนุมัติจากสภาพัฒน์ แต่ทำไมถึงยังดำเนินการ คดโกงกันตะบี้ตะบัน ทำให้ประชาชนซื้อน้ำมันแพง แต่เศรษฐีอยู่ปตท. อยู่กับคนมีส่วนเกี่ยวข้อง"
ร.ต.อ.เฉลิม ถามว่าโครงการลงทุนดังกล่าวมีปัจจัยเสี่ยงเป็นความขัดแย้งทางการเมือง คริสต์ และมุสลิมไม่ถูกกัน จึงอยากถามธุรกิจนี้ได้รับผลกระทบอะไรหรือไม่ และถ้าได้รับผลกระทบ ได้แจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์ทราบหรือไม่ เพราะปตท.จดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ และถือหุ้นพีทีที อินเตอร์ 100 เปอร์เซ็นต์ และอยากรู้ว่า ขาดทุน หรือกำไร เพราะข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์ รู้มาว่าขาดทุน 2,500 ล้านบาท
นพ.วรรณรัตน์ ชี้แจงว่ามติครม.วันที่ 25 ก.ย. 54 เป็นมติที่ชอบ และให้มีผลทางกฎหมาย และ ตนไม่ทราบในกระบวนการลงทุนมีการทุจริต แต่การตัดสินใจซื้อหุ้นในบริษัท อีเอ็มจี เราทำโดยรอบคอบ มีการจ้างที่ปรึกษามาทำการศึกษาในทุกด้าน รวมทั้งได้มีการหารือกับเอกอัครราชทูตไทย ณ ไคโร และเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศอิสราเอล พบว่า สถานการณ์ความขัดแย้งขณะนั้นไม่มีความเสี่ยง การลงทุนในประเทศอียิปต์ มีความเสี่ยงน้อยกว่าการลงทุนในประเทศไทยด้วยซ้ำไป และที่บอกว่ามี นายกาบา ซาเลม เป็นเจ้าของบริษัท อีเอ็มจี เอาเงิน 500 ล้านเหรียญ เดินทางออกนอกประเทศ และถูกจับที่ดูไบนั้น ข้อเท็จจริงนายกาบา ไม่ได้มีตำแหน่งเป็นผู้บริหารในบริษัท อีเอ็มจี แต่อย่างใด
ร.ต.อ.เฉลิม ถามว่า การที่รัฐมนตรีบอกว่านายกาบา ไม่ใช่เจ้าของบริษัท เพราะปตท.ไปสุมหัวหากิน ไม่ได้ซื้อซื้อมาจากบริษัทใหญ่ ไปซื้อจากนายกาบา ซึ่งเป็นนอมินี ถ้าซื้อจากบริษัทใหญ่จะโกงไม่ได้ ปตท.เป็นอิสระ จะทำอะไรก็ได้ แต่บันทึกของคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องขอหารือตามพ.ร.บ.สภาพัฒน์ กรณีบริษัทปตท.ซึ่งคณะที่ 5 และคณะที่ 3 เห็นพ้องกันว่า บริษัทปตท.ต้องปฏิบัติตามมาตรา 12 ( 2 ) พ.ร.บ.สภาพัฒน์ การตอบอย่างนี้มีผลประโยชน์บังตา จึงมาหลอกสภาอันมีเกียรติ มีพฤติกรรมที่ส่อทุจริต การซื้อหุ้นครั้งนี้ไม่ได้ซื้อจากบริษัทใหญ่ หลักในการซื้อหุ้นต้องซื้อจากบริษัทแม่ จะไปซื้อจากนอมินีได้อย่างไร เพราะทุจริตง่าย เงินทอนง่าย การซื้อจากนายกาบา จะต้องแพงกว่ามูลค่าที่เป็นจริง จะอ้างว่าปตท. ซื้อในราคาเดียวกับอิสราเอลไม่ได้ และเงินที่เอาไปซื้อก็ถือเป็นเงินของประชาชน และเมื่อได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระเบิดท่อแก๊สของกลุ่มหัวรุนแรง แต่ปตท.ปัญญาทึบ บอกว่าระเบิดบนบกไม่เกี่ยว เพราะลงทุนในทะเล มันสัมพันธ์กัน และวันนี้อิสราเอล เขาก็หาแก๊สได้แล้ว ถ้าเขาไม่ซื้อปตท.จะทำอย่างไรได้ การลงทุนอย่างนี้มีความเสี่ยง เมื่อได้รับผลกระทบอิสราเอล ก็ขอทหารมาดูแล 7 วัน เหตุใดปตท.จึงไม่ปฎิบัติตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์ กรณีที่หุ้นจดทะเบียนในตลาดเมื่อได้รับผลกระทบต้องแจ้ง ขณะนี้เสียหาย 2,500 ล้านบาท ทราบหรือไม่ว่า การลงทุน 16,500 ล้านบาท แต่ไปเซนต์สัญญาในบริษัทเล็กๆ ในกรุงไคโร ทำไมไม่เปิดเผยรายละเอียด ถามว่าเมื่อวันที่ 2 มี.ค.ไปชี้แจงกับตลาดหลักทรัพย์ว่า โครงการนี้ขาดทุนเท่าไหร่
นพ.วรรณรัตน์ ชี้แจงว่า การลงทุนในครั้งนั้น สภาพัฒน์มีมติเรียบร้อย ส่วนการไปซื้อที่บริษัทอิสท์ เมดิเตอร์เรเนียน แก๊สฯนั้น บริษัทดังกล่าวถือหุ้น 3 รายคือ บริษัท อีแก๊สของรัฐบาลอียิปต์ บริษัทเมอร์ฮาปของอิสราเอล และบริษัทเอ็นจีซีซี ซึ่งเป็นเอกชนของอียิปต์ ที่ไม่ซื้อหุ้นของบริษัทรัฐบาลอียิปต์ และอิสราเอล เพราะขายหุ้นแพงกว่า 14.76 เหรียญ ขณะที่บริษัทเอ็นจีซีซีเสนอขายหุ้นในราคา 13.25 เหรียญ ปตท.จึงซื้อถูกกว่า
ส่วนเหตุการณ์ระเบิดท่อแกสก็เป็นส่วนของอีแกส ไม่เกี่ยวข้องกับส่วนที่บริษัทปตท.ไปลงทุน ซึ่งใช้เวลา 1 เดือนในการซ่อมแซม ไม่ส่งไม่มีผลกระทบ แต่ส่งผลกระทบทางอ้อม ทำให้ปตท.เสียหายชั่วคราว แต่มีการจ่ายค่าชดเชยชั่วคราว เพราะฉะนั้น ปตท.ไม่ได้รับความเสียจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงไม่จำเป็นจะต้องรายงานให้ตลาดหลักทรพัย์ทราบ ซึ่งปีที่ผ่านมามีผลกำไรหุ้นของอีเอ็มจีได้ 42.5 ล้านเหรียญ และเติบโตขึ้นตามลำดับและคาดว่าในปี 2554 สามารถจ่ายเงินปันผลได้อย่างแน่นอน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากนั้นได้เกิดการโต้เถียงระหว่าง ร.ต.อ.เฉลิม และนพ.วรรณรัตน์ โดย ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว ยืนยันว่าโครงการนี้ทุจริต โดยมีการรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ว่ามีผลขาดทุนทางบัญชี ประมาณ 2,500 ล้านบาท ซึ่งสภาพความเป็นจริงไม่รู้ว่า ขาดทุนอย่างไรอีก จึงขอเวลา 2 ชั่วโมง มาชี้แจงกัน ตนจะออกค่าโฆษณาเอง ตนจะกล่าวหาว่ารัฐมนตรีมีส่วนร่วมในการทุจริต โดยการซื้อน้ำมันและจะนำมาเปิดเผย ขณะที่นพ.วรรณรัตน์ กล่าวว่า สิ่งที่ร.ต.อ.เฉลิมพูดไม่เป็นความจริง และพร้อมที่จะพิสูจน์ทุกเมื่อ
ด้านนพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน ชี้แจงว่าปตท.มี 2 สถานภาพ เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงพลังงาน และมีสถานภาพเป็นบริษัทมหาชน ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพราะฉะนั้นปตท. จึงต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ร.บ.ตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนี้ มติครม.เมื่อเดือนก.ย. 44 ปตท.ได้รับสิทธิ์การยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่ง ระเบียบ ที่ใช้กับรัฐวิสาหกิจทั่วไปเพื่อให้มีความคล่องตัว เนื่องจากเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติ สามารถดำเนินธุรกิจเหมือนบริษัทเอกชนทั่วไป สามารถแข่งขันกับบริษัทลงทุนข้ามชาติให้มีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันสามารถกำหนดกฎระเบียบขึ้นมาใช้ได้เอง โดยเฉพาะระเบียบที่เกี่ยวกับการพัสดุ การงบประมาณ และการลงทุน แผนการลงทุน และแผนการธุรกิจต่าง ๆระเบียบการบริหารองค์กรเป็นต้น
ดังนั้นครม.และรมว.พลังงาน ก็ทำหน้าที่เพียงกำกับดูแลนโยบายด้านทั่วๆไป ส่วนการพิจารณาอนุมัติการลงทุนต่างๆ ของปตท.เป็นอำนาจของคณะกรรมการบริษัทหรือ บอร์ดปตท. การที่ปตท.ไปลงทุนในท่อส่งก๊าซในประเทศอียิปต์ ปตท.ได้ขออนุมัติจากบอร์ด และสภาพัฒน์อยู่แล้ว ไม่ได้เสนอให้ครม.พิจารณา เพราะเป็นสิทธิ์ที่ได้รับการยกเว้น
ร.ต.อ.เฉลิม ถามต่อว่า ตนไม่คาดคิดว่าทำไมคนเป็นรัฐมนตรี ถึงไม่มีปัญญา เพราะสภาพัฒน์ ได้หารือเรื่องนี้ไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 5 ได้พิจารณาเป็น 2 ส่วน คือ เว้นไม่ต้องขออนุมัติ ส่วนที่ 2 บอกว่าไม่ได้ เพราะคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 3 บอกว่า ทำไม่ได้ จึงมีการร่วมประชุมกันอีกครั้ง จนได้ข้อสรุปว่า ไม่อนุมัติ
" ปตท.เป็นรัฐอิสระตามมติครม. แต่จะทำอะไรต้องขออนุมัติจากสภาพัฒน์ แต่ทำไมถึงยังดำเนินการ คดโกงกันตะบี้ตะบัน ทำให้ประชาชนซื้อน้ำมันแพง แต่เศรษฐีอยู่ปตท. อยู่กับคนมีส่วนเกี่ยวข้อง"
ร.ต.อ.เฉลิม ถามว่าโครงการลงทุนดังกล่าวมีปัจจัยเสี่ยงเป็นความขัดแย้งทางการเมือง คริสต์ และมุสลิมไม่ถูกกัน จึงอยากถามธุรกิจนี้ได้รับผลกระทบอะไรหรือไม่ และถ้าได้รับผลกระทบ ได้แจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์ทราบหรือไม่ เพราะปตท.จดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ และถือหุ้นพีทีที อินเตอร์ 100 เปอร์เซ็นต์ และอยากรู้ว่า ขาดทุน หรือกำไร เพราะข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์ รู้มาว่าขาดทุน 2,500 ล้านบาท
นพ.วรรณรัตน์ ชี้แจงว่ามติครม.วันที่ 25 ก.ย. 54 เป็นมติที่ชอบ และให้มีผลทางกฎหมาย และ ตนไม่ทราบในกระบวนการลงทุนมีการทุจริต แต่การตัดสินใจซื้อหุ้นในบริษัท อีเอ็มจี เราทำโดยรอบคอบ มีการจ้างที่ปรึกษามาทำการศึกษาในทุกด้าน รวมทั้งได้มีการหารือกับเอกอัครราชทูตไทย ณ ไคโร และเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศอิสราเอล พบว่า สถานการณ์ความขัดแย้งขณะนั้นไม่มีความเสี่ยง การลงทุนในประเทศอียิปต์ มีความเสี่ยงน้อยกว่าการลงทุนในประเทศไทยด้วยซ้ำไป และที่บอกว่ามี นายกาบา ซาเลม เป็นเจ้าของบริษัท อีเอ็มจี เอาเงิน 500 ล้านเหรียญ เดินทางออกนอกประเทศ และถูกจับที่ดูไบนั้น ข้อเท็จจริงนายกาบา ไม่ได้มีตำแหน่งเป็นผู้บริหารในบริษัท อีเอ็มจี แต่อย่างใด
ร.ต.อ.เฉลิม ถามว่า การที่รัฐมนตรีบอกว่านายกาบา ไม่ใช่เจ้าของบริษัท เพราะปตท.ไปสุมหัวหากิน ไม่ได้ซื้อซื้อมาจากบริษัทใหญ่ ไปซื้อจากนายกาบา ซึ่งเป็นนอมินี ถ้าซื้อจากบริษัทใหญ่จะโกงไม่ได้ ปตท.เป็นอิสระ จะทำอะไรก็ได้ แต่บันทึกของคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องขอหารือตามพ.ร.บ.สภาพัฒน์ กรณีบริษัทปตท.ซึ่งคณะที่ 5 และคณะที่ 3 เห็นพ้องกันว่า บริษัทปตท.ต้องปฏิบัติตามมาตรา 12 ( 2 ) พ.ร.บ.สภาพัฒน์ การตอบอย่างนี้มีผลประโยชน์บังตา จึงมาหลอกสภาอันมีเกียรติ มีพฤติกรรมที่ส่อทุจริต การซื้อหุ้นครั้งนี้ไม่ได้ซื้อจากบริษัทใหญ่ หลักในการซื้อหุ้นต้องซื้อจากบริษัทแม่ จะไปซื้อจากนอมินีได้อย่างไร เพราะทุจริตง่าย เงินทอนง่าย การซื้อจากนายกาบา จะต้องแพงกว่ามูลค่าที่เป็นจริง จะอ้างว่าปตท. ซื้อในราคาเดียวกับอิสราเอลไม่ได้ และเงินที่เอาไปซื้อก็ถือเป็นเงินของประชาชน และเมื่อได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระเบิดท่อแก๊สของกลุ่มหัวรุนแรง แต่ปตท.ปัญญาทึบ บอกว่าระเบิดบนบกไม่เกี่ยว เพราะลงทุนในทะเล มันสัมพันธ์กัน และวันนี้อิสราเอล เขาก็หาแก๊สได้แล้ว ถ้าเขาไม่ซื้อปตท.จะทำอย่างไรได้ การลงทุนอย่างนี้มีความเสี่ยง เมื่อได้รับผลกระทบอิสราเอล ก็ขอทหารมาดูแล 7 วัน เหตุใดปตท.จึงไม่ปฎิบัติตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์ กรณีที่หุ้นจดทะเบียนในตลาดเมื่อได้รับผลกระทบต้องแจ้ง ขณะนี้เสียหาย 2,500 ล้านบาท ทราบหรือไม่ว่า การลงทุน 16,500 ล้านบาท แต่ไปเซนต์สัญญาในบริษัทเล็กๆ ในกรุงไคโร ทำไมไม่เปิดเผยรายละเอียด ถามว่าเมื่อวันที่ 2 มี.ค.ไปชี้แจงกับตลาดหลักทรัพย์ว่า โครงการนี้ขาดทุนเท่าไหร่
นพ.วรรณรัตน์ ชี้แจงว่า การลงทุนในครั้งนั้น สภาพัฒน์มีมติเรียบร้อย ส่วนการไปซื้อที่บริษัทอิสท์ เมดิเตอร์เรเนียน แก๊สฯนั้น บริษัทดังกล่าวถือหุ้น 3 รายคือ บริษัท อีแก๊สของรัฐบาลอียิปต์ บริษัทเมอร์ฮาปของอิสราเอล และบริษัทเอ็นจีซีซี ซึ่งเป็นเอกชนของอียิปต์ ที่ไม่ซื้อหุ้นของบริษัทรัฐบาลอียิปต์ และอิสราเอล เพราะขายหุ้นแพงกว่า 14.76 เหรียญ ขณะที่บริษัทเอ็นจีซีซีเสนอขายหุ้นในราคา 13.25 เหรียญ ปตท.จึงซื้อถูกกว่า
ส่วนเหตุการณ์ระเบิดท่อแกสก็เป็นส่วนของอีแกส ไม่เกี่ยวข้องกับส่วนที่บริษัทปตท.ไปลงทุน ซึ่งใช้เวลา 1 เดือนในการซ่อมแซม ไม่ส่งไม่มีผลกระทบ แต่ส่งผลกระทบทางอ้อม ทำให้ปตท.เสียหายชั่วคราว แต่มีการจ่ายค่าชดเชยชั่วคราว เพราะฉะนั้น ปตท.ไม่ได้รับความเสียจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงไม่จำเป็นจะต้องรายงานให้ตลาดหลักทรพัย์ทราบ ซึ่งปีที่ผ่านมามีผลกำไรหุ้นของอีเอ็มจีได้ 42.5 ล้านเหรียญ และเติบโตขึ้นตามลำดับและคาดว่าในปี 2554 สามารถจ่ายเงินปันผลได้อย่างแน่นอน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากนั้นได้เกิดการโต้เถียงระหว่าง ร.ต.อ.เฉลิม และนพ.วรรณรัตน์ โดย ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว ยืนยันว่าโครงการนี้ทุจริต โดยมีการรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ว่ามีผลขาดทุนทางบัญชี ประมาณ 2,500 ล้านบาท ซึ่งสภาพความเป็นจริงไม่รู้ว่า ขาดทุนอย่างไรอีก จึงขอเวลา 2 ชั่วโมง มาชี้แจงกัน ตนจะออกค่าโฆษณาเอง ตนจะกล่าวหาว่ารัฐมนตรีมีส่วนร่วมในการทุจริต โดยการซื้อน้ำมันและจะนำมาเปิดเผย ขณะที่นพ.วรรณรัตน์ กล่าวว่า สิ่งที่ร.ต.อ.เฉลิมพูดไม่เป็นความจริง และพร้อมที่จะพิสูจน์ทุกเมื่อ