ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติแนะรัฐบาลเลิกตรึงราคาน้ำมันก่อนกระทบเเศรษฐกิจมากกว่านี้ ระบุสร้างภาระงบประมาณ ทำให้ประชาชนไม่ปรับตัวและไม่เป็นธรรมกับคนที่ไม่ใช้น้ำมันดีเซล ชี้แนวโน้มราคาน้ำมันตลาดโลกยังพุ่งสูง แถมมีการเก็งกำไรผสมโรง
นายทรงธรรม ปิ่นโต ผู้อำนวยการ สำนักเศรษฐกิจมหภาค ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า แม้ราคาน้ำมันขยับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ภาครัฐไม่ควรจะตรึงราคาน้ำมันในระยะยาว ซึ่งทำได้แค่เฉพาะระยะสั้นเท่านั้น เนื่องจากจะสร้างพฤติกรรมประชาชนไม่ให้มีการปรับตัว ซึ่งอาจนำมาสู่การบิดเบือนโครงสร้างราคาน้ำมันมากเกินไป
สร้างภาระด้านงบประมาณค่อนข้างสูง และอาจสร้างความไม่เป็นธรรมสำหรับประชาชนที่ใช้น้ำมันเบนซิน
“รัฐก็ไม่ควรตรึงราคาน้ำมันไว้ที่ราคาใดราคาหนึ่งนานๆ แต่ควรเข้าดูแลในระยะที่เหมาะสม หรือทำเพียงในระยะสั้น เพื่อช่วยผ่อนคลายสถานการณ์และภาระของประชานลงบ้างเท่านั้น ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ต้องส่งสัญณาณบอกให้ประชาชนได้ทราบว่าเข้าไปดูแลในระยะ เวลาเท่าใด และมีระยะในการทยอยปรับขึ้นราคาน้ำมันที่ละน้อย เพื่อให้ประชาชนได้ปรับตัวรับกับความเป็นจริง เพราะเชื่อว่าถ้าข้าวของจะแพง ทำอย่างไรก็ต้องแพงขึ้นอยู่ดี ซึ่งเป็นไปตามกลไกลตลาด”
นายทรงธรรมกล่าวว่า ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นในขณะนี้ไม่ได้เกิดจากอุปสงค์ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามปัจจัยพื้นฐาน แต่เกิดจากปัญหาความไม่สงบทางการเมืองของประเทศแถบตะวันออกกลาง ทำให้ตลาดมีความกังวลและเป็นส่วนหนึ่งที่เกิดการผสมโรงเกิดการเก็งกำไรราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นด้วยจากเหตุการณ์ดังกล่าว
“แนวโน้มในระยะยาวราคาน้ำมันต้องขึ้นอยู่แล้ว เพราะของมีอยู่อย่างจำกัด และน้ำมันเป็น Financial Asset ตัวหนึ่ง เมื่อมีข่าวอะไรออกมาก็จะอ่อนไหวต่อข่าวค่อนข้างง่าย จึงเป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์ว่าต่อไป เพราะไม่รู้ปัญหาในแถบตะวันออกกลางจะขยายวงกว้างและกินระยะเวลานานแค่ไหน แต่หากดูจากปัจจัยพื้นฐานขณะนี้ด้าน Demand ก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการคาดการณ์ในครั้งก่อน แต่เมื่อมีความรุนแรงในตะวันออกกลางเกิดขึ้น นักลงทุนก็อาศัยจังหวะนี้เข้ามาเก็งกำไรด้วย”นายทรงธรรมกล่าว
อย่างไรก็ตาม แม้ขณะนี้ประเทศลิเบียต้องเผชิญกับปัญหาความไม่สงบภายในประเทศ แต่สัดส่วนการผลิตน้ำมัน 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับการใช้น้ำมันทั่วโลกมีสูงถึง 87 ล้านบาร์เรลต่อวัน ถือว่าไม่มาก เนื่องจากกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก (โอเปก) ก็ยังมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นได้ 4-5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งสามารถชดเชยได้ จึงเชื่อว่าจะไม่กระทบต่อการผลิตน้ำมันในตลาดโลก แม้ลิเบียจะมีปัญหาก็ตาม
สำหรับไทยมีการใช้น้ำมันประมาณ 8 แสนบาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 1%ของการใช้น้ำมันทั่วโลก ถือว่าค่อนข้างเยอะ และส่วนใหญ่เป็นการใช้น้ำมันดีเซลและในกลุ่มอุตสาหกรรมขนส่งเป็นหลัก จึงมองว่าไทยควรลดการพึ่งพาน้ำมันในสัดส่วนที่สูง แต่ควรหันมาใช้พลังงงานทดแทนมากขึ้น ซึ่งภูมิอากาศไทยก็เหมาะสำหรับการเพาะปลูกพืชพลังงานทดแทน และในอีกด้านหนึ่งจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย
เมื่อวันที่ 2 มี.ค.ที่ผ่านมา นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ระหว่างเยี่ยมชม ธปท. สำนักงานภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ ว่า ถึงเวลาทบทวนการแก้ไขปัญหาของภาครัฐโดยใช้มาตรการควบคุมราคาสินค้าและน้ำมัน เพราะเป็นมาตรการที่ควรทำระยะสั้น ไม่ใช่ระยะยาว เพราะจะขัดแย้งกลไกตลาด เปลืองเงินภาษีอากร ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างของสินค้าและการปรับตัวของประเทศ.
นายทรงธรรม ปิ่นโต ผู้อำนวยการ สำนักเศรษฐกิจมหภาค ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า แม้ราคาน้ำมันขยับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ภาครัฐไม่ควรจะตรึงราคาน้ำมันในระยะยาว ซึ่งทำได้แค่เฉพาะระยะสั้นเท่านั้น เนื่องจากจะสร้างพฤติกรรมประชาชนไม่ให้มีการปรับตัว ซึ่งอาจนำมาสู่การบิดเบือนโครงสร้างราคาน้ำมันมากเกินไป
สร้างภาระด้านงบประมาณค่อนข้างสูง และอาจสร้างความไม่เป็นธรรมสำหรับประชาชนที่ใช้น้ำมันเบนซิน
“รัฐก็ไม่ควรตรึงราคาน้ำมันไว้ที่ราคาใดราคาหนึ่งนานๆ แต่ควรเข้าดูแลในระยะที่เหมาะสม หรือทำเพียงในระยะสั้น เพื่อช่วยผ่อนคลายสถานการณ์และภาระของประชานลงบ้างเท่านั้น ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ต้องส่งสัญณาณบอกให้ประชาชนได้ทราบว่าเข้าไปดูแลในระยะ เวลาเท่าใด และมีระยะในการทยอยปรับขึ้นราคาน้ำมันที่ละน้อย เพื่อให้ประชาชนได้ปรับตัวรับกับความเป็นจริง เพราะเชื่อว่าถ้าข้าวของจะแพง ทำอย่างไรก็ต้องแพงขึ้นอยู่ดี ซึ่งเป็นไปตามกลไกลตลาด”
นายทรงธรรมกล่าวว่า ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นในขณะนี้ไม่ได้เกิดจากอุปสงค์ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามปัจจัยพื้นฐาน แต่เกิดจากปัญหาความไม่สงบทางการเมืองของประเทศแถบตะวันออกกลาง ทำให้ตลาดมีความกังวลและเป็นส่วนหนึ่งที่เกิดการผสมโรงเกิดการเก็งกำไรราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นด้วยจากเหตุการณ์ดังกล่าว
“แนวโน้มในระยะยาวราคาน้ำมันต้องขึ้นอยู่แล้ว เพราะของมีอยู่อย่างจำกัด และน้ำมันเป็น Financial Asset ตัวหนึ่ง เมื่อมีข่าวอะไรออกมาก็จะอ่อนไหวต่อข่าวค่อนข้างง่าย จึงเป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์ว่าต่อไป เพราะไม่รู้ปัญหาในแถบตะวันออกกลางจะขยายวงกว้างและกินระยะเวลานานแค่ไหน แต่หากดูจากปัจจัยพื้นฐานขณะนี้ด้าน Demand ก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการคาดการณ์ในครั้งก่อน แต่เมื่อมีความรุนแรงในตะวันออกกลางเกิดขึ้น นักลงทุนก็อาศัยจังหวะนี้เข้ามาเก็งกำไรด้วย”นายทรงธรรมกล่าว
อย่างไรก็ตาม แม้ขณะนี้ประเทศลิเบียต้องเผชิญกับปัญหาความไม่สงบภายในประเทศ แต่สัดส่วนการผลิตน้ำมัน 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับการใช้น้ำมันทั่วโลกมีสูงถึง 87 ล้านบาร์เรลต่อวัน ถือว่าไม่มาก เนื่องจากกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก (โอเปก) ก็ยังมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นได้ 4-5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งสามารถชดเชยได้ จึงเชื่อว่าจะไม่กระทบต่อการผลิตน้ำมันในตลาดโลก แม้ลิเบียจะมีปัญหาก็ตาม
สำหรับไทยมีการใช้น้ำมันประมาณ 8 แสนบาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 1%ของการใช้น้ำมันทั่วโลก ถือว่าค่อนข้างเยอะ และส่วนใหญ่เป็นการใช้น้ำมันดีเซลและในกลุ่มอุตสาหกรรมขนส่งเป็นหลัก จึงมองว่าไทยควรลดการพึ่งพาน้ำมันในสัดส่วนที่สูง แต่ควรหันมาใช้พลังงงานทดแทนมากขึ้น ซึ่งภูมิอากาศไทยก็เหมาะสำหรับการเพาะปลูกพืชพลังงานทดแทน และในอีกด้านหนึ่งจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย
เมื่อวันที่ 2 มี.ค.ที่ผ่านมา นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ระหว่างเยี่ยมชม ธปท. สำนักงานภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ ว่า ถึงเวลาทบทวนการแก้ไขปัญหาของภาครัฐโดยใช้มาตรการควบคุมราคาสินค้าและน้ำมัน เพราะเป็นมาตรการที่ควรทำระยะสั้น ไม่ใช่ระยะยาว เพราะจะขัดแย้งกลไกตลาด เปลืองเงินภาษีอากร ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างของสินค้าและการปรับตัวของประเทศ.