เอเอฟพี – ทางการบังกลาเทศเดินหมากกดดันหนักเมื่อวันจันทร์(28ก.พ.) เพื่อบีบบังคับให้ มูฮัมหมัด ยูนุส ต้องออกจากธนาคารแห่งที่เขาใช้บุกเบิกสร้างผลงานด้านสินเชื่อรายย่อยเพื่อคนยากคนจน จนกระทั่งได้รับรางวัลโนเบล โดยแบงก์ชาติบังกลาเทศยืนยันว่า ยูนุสซึ่งปัจจุบันอายุ 70 ปีถึงวัยที่ต้องปลดเกษียณแล้ว
ขณะที่บรรดาผู้สนับสนุนยูนุส เป็นต้นว่า อดีตประธานาธิบดีไอร์แลนด์ แมรี โรบินสัน ระบุว่า ในบังกลาเทศมีผู้ที่พยายามรณรงค์โจมตีผู้ชนะรางวัลโนเบลผู้นี้อย่างเป็นกระบวนการด้วยเหตุผลทางการเมือง นับตั้งแต่ที่ยูนุสเกิดไม่กินเส้นกับนายกรัฐมนตรี เช็ก ฮาซินา เมื่อปี 2007
ธนาคารชาติซึ่งมีชื่อเป็นทางการว่า บังกลาเทศ แบงก์ ได้ส่งหนังสือแจ้งกระทรวงการคลังว่า ยูนุสซึ่งได้รางวัลโนเบลในปี 2006 จากผลงานสร้าง “ธนาคารคนจน” ที่ปล่อยสินเชื่อจำนวนไม่มากแก่ผู้ประกอบการรายย่อยที่มีฐานะยากจนนั้น ควรที่จะถูกถอดออกจากธนาคารกรามีน (Grameen Bank) ที่เขาเป็นคนก่อตั้ง
“ในหนังสือฉบับนี้ ธนาคารชาติระบุว่าศาสตราจารย์โมฮัมหมัด ยูนุส กำลังดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของธนาคารกรามีนอย่างชนิดไม่มีกำหนดเวลา ซึ่งเป็นสื่งที่ผิดกฎหมาย” มูซัมเมล ฮัก ประธานกรามีน แบงก์คนปัจจุบัน และก็เป็นฝ่ายที่คัดค้านวิพากษ์วิจารณ์ยูนุส แถลง
ส่วน จันนัต-อี-ควอนิเน โฆษกของธนาคารกรามีน กลับออกมาปฏิเสธว่าหนังสือดังกล่าวไม่ได้เสนอแนะว่ายูนุสควรจะลาออกไป โดยเป็นหนังสือที่ “เจ้าหน้าที่ของบังกลาเทศ แบงก์ คนหนึ่ง แสดงความคิดเห็นอันเกี่ยวเนื่องกับวาระการดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการของศาสตราจารย์ยูนุส”
“ไม่ได้มีคำชี้แนะให้ศาสตราจารย์ยูนุสยุติการปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการผู้จัดการแต่อย่างไร รวมทั้งไม่ได้ข้อเสนอแนะใดๆ ให้ปลดเขาออกจากตำแหน่งนี้ด้วย” โฆษกหญิงผู้นี้กล่าว
ทว่า ฮัก ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมการบริหารของธนาคารกรามีนในปลายปีที่แล้ว ยืนยันว่าหนังสือดังกล่าวพูดชัดเจนว่า การที่ยูนุสดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของทางธนาคารในเวลานี้ “เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายและถือเป็นโมฆะ”
“ในหนังสือฉบับนั้น ซึ่งผมมีสำเนาอยู่ฉบับหนึ่งด้วย ทางธนาคารชาติพูดว่า เขาไม่สามารถดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของธนาคารกรามีนได้อีกต่อไป เพราะวัยเกษียณอายุที่ธนาคารกำหนดไว้คือ 60 ปี” เขาบอก
ฮักกล่าวด้วยว่า ระหว่างการประชุมคณะกรรมการบริหารของธนาคารเมื่อวันจันทร์(28ก.พ.) ซึ่งยูนุสอยู่ด้วยนั้น ได้มีการอ่านหนังสือฉบับนี้ให้รับทราบกันแล้ว และมาถึงตอนนี้ทางคณะกรรมการบริหาร “จะมีปฏิบัติการที่จำเป็นในการประชุมคราวหน้า”
ประธานกรามีน แบงก์คนใหม่ผู้นี้ เคยทำงานอยู่ใต้ยูนุสมาหลายสิบปี และเกษียณอายุออกไปจากธนาคารแห่งนี้เมื่อปี 2003 อย่างไรก็ดี เขาเป็นผู้ที่แสดงท่าทีคัดค้านวิพากษ์วิจารณ์ยูนุส และการที่เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมการบริหาร แม้มีการคัดค้านไม่เห็นด้วยกันมาก ก็ถูกมองว่าเป็นความเคลื่อนไหวของรัฐบาลที่จะบ่อนทำลายสถาบันการเงินที่เป็นผู้บุกเบิกเรื่องสินเชื่อรายย่อยแห่งนี้
เจ้าหน้าที่ธนาคารชาติผู้หนึ่งบอกว่า มาถึงตอนนี้กระทรวงการคลังมีเหตุผลเพียงพอสามารถที่จะปลดยูนุสได้ ทั้งนี้รัฐบาลถือหุ้นอยู่ 25% ในกรามีน แบงก์
ขณะที่บรรดาผู้สนับสนุนยูนุส เป็นต้นว่า อดีตประธานาธิบดีไอร์แลนด์ แมรี โรบินสัน ระบุว่า ในบังกลาเทศมีผู้ที่พยายามรณรงค์โจมตีผู้ชนะรางวัลโนเบลผู้นี้อย่างเป็นกระบวนการด้วยเหตุผลทางการเมือง นับตั้งแต่ที่ยูนุสเกิดไม่กินเส้นกับนายกรัฐมนตรี เช็ก ฮาซินา เมื่อปี 2007
ธนาคารชาติซึ่งมีชื่อเป็นทางการว่า บังกลาเทศ แบงก์ ได้ส่งหนังสือแจ้งกระทรวงการคลังว่า ยูนุสซึ่งได้รางวัลโนเบลในปี 2006 จากผลงานสร้าง “ธนาคารคนจน” ที่ปล่อยสินเชื่อจำนวนไม่มากแก่ผู้ประกอบการรายย่อยที่มีฐานะยากจนนั้น ควรที่จะถูกถอดออกจากธนาคารกรามีน (Grameen Bank) ที่เขาเป็นคนก่อตั้ง
“ในหนังสือฉบับนี้ ธนาคารชาติระบุว่าศาสตราจารย์โมฮัมหมัด ยูนุส กำลังดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของธนาคารกรามีนอย่างชนิดไม่มีกำหนดเวลา ซึ่งเป็นสื่งที่ผิดกฎหมาย” มูซัมเมล ฮัก ประธานกรามีน แบงก์คนปัจจุบัน และก็เป็นฝ่ายที่คัดค้านวิพากษ์วิจารณ์ยูนุส แถลง
ส่วน จันนัต-อี-ควอนิเน โฆษกของธนาคารกรามีน กลับออกมาปฏิเสธว่าหนังสือดังกล่าวไม่ได้เสนอแนะว่ายูนุสควรจะลาออกไป โดยเป็นหนังสือที่ “เจ้าหน้าที่ของบังกลาเทศ แบงก์ คนหนึ่ง แสดงความคิดเห็นอันเกี่ยวเนื่องกับวาระการดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการของศาสตราจารย์ยูนุส”
“ไม่ได้มีคำชี้แนะให้ศาสตราจารย์ยูนุสยุติการปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการผู้จัดการแต่อย่างไร รวมทั้งไม่ได้ข้อเสนอแนะใดๆ ให้ปลดเขาออกจากตำแหน่งนี้ด้วย” โฆษกหญิงผู้นี้กล่าว
ทว่า ฮัก ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมการบริหารของธนาคารกรามีนในปลายปีที่แล้ว ยืนยันว่าหนังสือดังกล่าวพูดชัดเจนว่า การที่ยูนุสดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของทางธนาคารในเวลานี้ “เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายและถือเป็นโมฆะ”
“ในหนังสือฉบับนั้น ซึ่งผมมีสำเนาอยู่ฉบับหนึ่งด้วย ทางธนาคารชาติพูดว่า เขาไม่สามารถดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของธนาคารกรามีนได้อีกต่อไป เพราะวัยเกษียณอายุที่ธนาคารกำหนดไว้คือ 60 ปี” เขาบอก
ฮักกล่าวด้วยว่า ระหว่างการประชุมคณะกรรมการบริหารของธนาคารเมื่อวันจันทร์(28ก.พ.) ซึ่งยูนุสอยู่ด้วยนั้น ได้มีการอ่านหนังสือฉบับนี้ให้รับทราบกันแล้ว และมาถึงตอนนี้ทางคณะกรรมการบริหาร “จะมีปฏิบัติการที่จำเป็นในการประชุมคราวหน้า”
ประธานกรามีน แบงก์คนใหม่ผู้นี้ เคยทำงานอยู่ใต้ยูนุสมาหลายสิบปี และเกษียณอายุออกไปจากธนาคารแห่งนี้เมื่อปี 2003 อย่างไรก็ดี เขาเป็นผู้ที่แสดงท่าทีคัดค้านวิพากษ์วิจารณ์ยูนุส และการที่เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมการบริหาร แม้มีการคัดค้านไม่เห็นด้วยกันมาก ก็ถูกมองว่าเป็นความเคลื่อนไหวของรัฐบาลที่จะบ่อนทำลายสถาบันการเงินที่เป็นผู้บุกเบิกเรื่องสินเชื่อรายย่อยแห่งนี้
เจ้าหน้าที่ธนาคารชาติผู้หนึ่งบอกว่า มาถึงตอนนี้กระทรวงการคลังมีเหตุผลเพียงพอสามารถที่จะปลดยูนุสได้ ทั้งนี้รัฐบาลถือหุ้นอยู่ 25% ในกรามีน แบงก์