แบงก์ชาติบังกลาเทศออกคำสั่งในวันพุธ(2) ปลด มูฮัมหมัด ยูนุส ออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของ กรามีน แบงก์ ซึ่งเป็น “ธนาคารคนจน” ที่เขาก่อตั้งขึ้นมาบุกเบิกงานด้านปล่อยสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการรายย่อย จนทำให้ได้รับรางวัลโนเบล อย่างไรก็ตาม ทางด้านยูนุสแสดงท่าทีตั้งแต่ก่อนหน้านี้แล้วว่า เขาจะต่อสู้กับความพยายามของทางการบังกลาเทศที่มุ่งมั่นจะเล่นงานเขาให้ได้
ยูนุส ซึ่งปัจจุบันอายุ 70 ปี ถูกนายกรัฐมนตรี เช็ก ฮาซินา ของบังกลาเทศ ถือเป็นศัตรูคู่อาฆาตตั้งแต่เมื่อ 4 ปีก่อน และนับแต่นั้นมาก็เกิดการต่อสู้ชิงอำนาจกันอย่างดุเดือดโหดเหี้ยมขึ้นทุกที ระหว่างธนาคารแห่งนี้กับรัฐบาล
แบงก์ชาติของประเทศในเอเชียใต้แห่งนี้ ซึ่งมีชื่อเป็นทางการว่า บังกลาเทศ แบงก์ ระบุในคำสั่งปลดว่า ธนาคารกรามีนไม่ได้ขออนุมัติจากทางแบงก์ชาติก่อน เมื่อตอนที่แต่งตั้งยูนุสเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการอีกในปี 2000 ซึ่งเป็นการละเมิดหลักเกณฑ์ข้อหนึ่ง ที่กำหนดให้บริษัทที่รัฐเข้าถือหุ้นบางส่วนเฉกเช่นกรามีน แบงก์นี้จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของบังกลาเทศ
แบงก์บอกว่า ด้วยเหตุนี้ การดำรงตำแหน่งของเขาจึงผิดกฎหมาย ดังนั้น “ศาสตราจารย์ มูฮัมหมัด ยูนุส จึงถูกปลดออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของกรามีน แบงก์ ขณะที่ มูซัมเมล ฮัก ผู้ที่รัฐบาลแต่งตั้งให้มานั่งเป็นประธานของธนาคารคนจนแห่งนี้ และแสดงตัวเป็นปรปักษ์กับยูนุสเรื่อยมา บอกกับสำนักข่าวต่างประเทศหลายแห่งว่า คำสั่งปลดนี้ “มีผลบังคับในทันที”
ทว่าทางกรามีน แบงก์ซึ่งรัฐถือหุ้นอยู่ 25% ได้ออกคำแถลงโต้แย้งว่า การแต่งตั้งยูนุสเป็นกรรมการผู้จัดการนั้น ทางธนาคารกระทำตามกฎหมายทุกอย่าง และดังนั้นเขาจึงจะดำรงตำแหน่งต่อไป
เป็นที่คาดหมายกันว่า กรณีความขัดแย้งนี้คงจะต้องยุติลงด้วยการส่งเรื่องให้ศาลยุติธรรมตัดสิน
ยูนุส ซึ่งปัจจุบันอายุ 70 ปี ถูกนายกรัฐมนตรี เช็ก ฮาซินา ของบังกลาเทศ ถือเป็นศัตรูคู่อาฆาตตั้งแต่เมื่อ 4 ปีก่อน และนับแต่นั้นมาก็เกิดการต่อสู้ชิงอำนาจกันอย่างดุเดือดโหดเหี้ยมขึ้นทุกที ระหว่างธนาคารแห่งนี้กับรัฐบาล
แบงก์ชาติของประเทศในเอเชียใต้แห่งนี้ ซึ่งมีชื่อเป็นทางการว่า บังกลาเทศ แบงก์ ระบุในคำสั่งปลดว่า ธนาคารกรามีนไม่ได้ขออนุมัติจากทางแบงก์ชาติก่อน เมื่อตอนที่แต่งตั้งยูนุสเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการอีกในปี 2000 ซึ่งเป็นการละเมิดหลักเกณฑ์ข้อหนึ่ง ที่กำหนดให้บริษัทที่รัฐเข้าถือหุ้นบางส่วนเฉกเช่นกรามีน แบงก์นี้จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของบังกลาเทศ
แบงก์บอกว่า ด้วยเหตุนี้ การดำรงตำแหน่งของเขาจึงผิดกฎหมาย ดังนั้น “ศาสตราจารย์ มูฮัมหมัด ยูนุส จึงถูกปลดออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของกรามีน แบงก์ ขณะที่ มูซัมเมล ฮัก ผู้ที่รัฐบาลแต่งตั้งให้มานั่งเป็นประธานของธนาคารคนจนแห่งนี้ และแสดงตัวเป็นปรปักษ์กับยูนุสเรื่อยมา บอกกับสำนักข่าวต่างประเทศหลายแห่งว่า คำสั่งปลดนี้ “มีผลบังคับในทันที”
ทว่าทางกรามีน แบงก์ซึ่งรัฐถือหุ้นอยู่ 25% ได้ออกคำแถลงโต้แย้งว่า การแต่งตั้งยูนุสเป็นกรรมการผู้จัดการนั้น ทางธนาคารกระทำตามกฎหมายทุกอย่าง และดังนั้นเขาจึงจะดำรงตำแหน่งต่อไป
เป็นที่คาดหมายกันว่า กรณีความขัดแย้งนี้คงจะต้องยุติลงด้วยการส่งเรื่องให้ศาลยุติธรรมตัดสิน