นครศรีธรรมราช - เครือข่ายนักวิชาการภาคใต้ จี้ นายกฯ แจงแผนพัฒนาอุตสาหกรรมภาคใต้ ชี้คนในพื้นที่กำลังเดือด แตกแยกรุนแรง เหตุไร้ข้อมูลแท้จริง ระบุคนเมืองคอนต้านหนักโรงไฟฟ้าถ่านหิน อัดผู้เกี่ยวข้องไม่สนใจชีวิตคนมุ่งอุตสาหกรรมมากไป
นายดำรงศ์พันธ์ ใจห้าว อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า เมื่อบ่ายวันที่ 26 ก.พ.ที่ผ่านมา กลุ่มเครือข่ายนักวิชาการภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วย นักวิชาการจากมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น ได้มีการรวมตัวกันพูดคุยหารือถึงสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของการพัฒนาในด้านอุตสาหกรรม ที่ไม่สอดคล้องต่อวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ พร้อมกันนั้นได้ร่วมกันอ่านจดหมายเปิดผนึกถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เรื่อง “หยุดความขัดแย้งในกลุ่มประชาชน:กรณีแผนพัฒนาอุตสาหกรรมภาคใต้”
นายดำรงศ์พันธ์ กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลได้กำหนดให้พื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้เป็นฐานการผลิต อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงาน และอุตสาหกรรมหนักอื่นๆ ของประเทศ ตั้งแต่ปี 2532 เป็นต้นมา ซึ่งปัจจุบันได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทั้งเรื่องการสำรวจพื้นที่ สร้างโครงสร้างพื้นฐานรองรับอุตสาหกรรม ฯลฯ ซึ่งผลพวงจากการพัฒนาดังกล่าวนี้ได้สร้างความกังวล เดือดร้อน และสร้างความแตกแยก ไม่สมานฉันท์ สามัคคี เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งที่เมืองนครศรีธรรมราช ได้ชื่อว่าเมืองพระเป็นเมืองสงบแต่ปัจจุบันตรงกันข้าม รัฐบาลเอง ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการกลับนิ่งเฉย ดูดาย ขัดแย้งอย่างยิ่งต่อนโยบายสร้างความปรองดองที่เคยประกาศอย่างเข้มข้นก่อนหน้านี้
เนื้อหาในจดหมายยังระบุใจความสำคัญอีกว่า จากการศึกษาพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าถึงข้อมูลข่าวสารการดำเนินการโครงการต่างๆ คนที่ทราบก็ทราบเพียงบางส่วน ทั้งนี้เพราะไม่มีผู้ที่เกี่ยวข้องลงชี้แจงข้อมูล ข้อเท็จจริง อย่างจริงใจ และจริงจัง ที่ผ่านมาทำแค่เพียงให้ครบตามกระบวนการของกฎหมายรัฐธรรมนูญเท่านั้น ไม่สนใจในคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งประเด็นนี้นับว่าเป็นต้นเหตุของความขัดแย้งของประชาชนในพื้นที่ อย่างมีนัยสำคัญ
“สิ่งที่ประชาชนในพื้นที่กังวลและไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง ก็คือ กรณีการสร้าง “โรงไฟฟ้าถ่านหิน” ที่เจ้าของโครงการกำลังเดินหน้าอย่างรวดเร็ว คนนครศรีธรรมราชส่วนใหญ่บอกว่าไม่ได้ประโยชน์ มีเพียงกลุ่มนายทุนเท่านั้นที่ได้ประโยชน์ ที่สำคัญมันมีแต่ผลเสีย มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนพื้นที่ ทั้งเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ ถิ่นฐานที่อยู่อาศัย การเป็นอยู่ของเยาวชนคนรุ่นหลัง แหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกแย่งชิงและทำลาย ที่สำคัญยังไม่มีหลักประกันใดๆ ว่าชีวิตพวกเขาจะปลอดภัย มันหมายถึงการตายทั้งเป็น”
ดังนั้น กลุ่มเครือข่าย จึงขอเรียกร้องและเสนอแนะไปยังรัฐบาล ว่า 1.เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างประชาชนในพื้นที่ รัฐบาลต้องลงพื้นที่ชี้แจงรายละเอียดของการดำเนินการโครงการต่างๆ ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ อย่างจริงใจและจริงจัง เพราะขณะนี้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความสับสน วุ่นวายมาก
2.รัฐบาลต้องดำเนินการพัฒนาต่างๆ โดยคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของประชาชนก่อน ไม่นำเอาความตายมายัดเยียดให้ประชาชน โดยชูธงการพัฒนา หรือ ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม มาเป็นตัวอ้าง
3.รัฐบาลต้องศึกษาผลดี และ ผลกระทบของการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวให้ชัดแจ้ง รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคล ประชาชนทุกกลุ่ม ทุกเหล่า พร้อมเปิดเผยให้สาธารณชนทราบอย่างจริงใจและจริงจัง
และ 4.กรณีการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์โครงการพัฒนาต่างๆ รัฐบาลต้องน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนำมาใช้เป็นกรอบคิดในการพัฒนา ซึ่งจะทำให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีความสมดุลและมีความยั่งยืนต่อไป
นายดำรงศ์พันธ์ ใจห้าว อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า เมื่อบ่ายวันที่ 26 ก.พ.ที่ผ่านมา กลุ่มเครือข่ายนักวิชาการภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วย นักวิชาการจากมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น ได้มีการรวมตัวกันพูดคุยหารือถึงสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของการพัฒนาในด้านอุตสาหกรรม ที่ไม่สอดคล้องต่อวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ พร้อมกันนั้นได้ร่วมกันอ่านจดหมายเปิดผนึกถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เรื่อง “หยุดความขัดแย้งในกลุ่มประชาชน:กรณีแผนพัฒนาอุตสาหกรรมภาคใต้”
นายดำรงศ์พันธ์ กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลได้กำหนดให้พื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้เป็นฐานการผลิต อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงาน และอุตสาหกรรมหนักอื่นๆ ของประเทศ ตั้งแต่ปี 2532 เป็นต้นมา ซึ่งปัจจุบันได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทั้งเรื่องการสำรวจพื้นที่ สร้างโครงสร้างพื้นฐานรองรับอุตสาหกรรม ฯลฯ ซึ่งผลพวงจากการพัฒนาดังกล่าวนี้ได้สร้างความกังวล เดือดร้อน และสร้างความแตกแยก ไม่สมานฉันท์ สามัคคี เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งที่เมืองนครศรีธรรมราช ได้ชื่อว่าเมืองพระเป็นเมืองสงบแต่ปัจจุบันตรงกันข้าม รัฐบาลเอง ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการกลับนิ่งเฉย ดูดาย ขัดแย้งอย่างยิ่งต่อนโยบายสร้างความปรองดองที่เคยประกาศอย่างเข้มข้นก่อนหน้านี้
เนื้อหาในจดหมายยังระบุใจความสำคัญอีกว่า จากการศึกษาพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าถึงข้อมูลข่าวสารการดำเนินการโครงการต่างๆ คนที่ทราบก็ทราบเพียงบางส่วน ทั้งนี้เพราะไม่มีผู้ที่เกี่ยวข้องลงชี้แจงข้อมูล ข้อเท็จจริง อย่างจริงใจ และจริงจัง ที่ผ่านมาทำแค่เพียงให้ครบตามกระบวนการของกฎหมายรัฐธรรมนูญเท่านั้น ไม่สนใจในคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งประเด็นนี้นับว่าเป็นต้นเหตุของความขัดแย้งของประชาชนในพื้นที่ อย่างมีนัยสำคัญ
“สิ่งที่ประชาชนในพื้นที่กังวลและไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง ก็คือ กรณีการสร้าง “โรงไฟฟ้าถ่านหิน” ที่เจ้าของโครงการกำลังเดินหน้าอย่างรวดเร็ว คนนครศรีธรรมราชส่วนใหญ่บอกว่าไม่ได้ประโยชน์ มีเพียงกลุ่มนายทุนเท่านั้นที่ได้ประโยชน์ ที่สำคัญมันมีแต่ผลเสีย มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนพื้นที่ ทั้งเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ ถิ่นฐานที่อยู่อาศัย การเป็นอยู่ของเยาวชนคนรุ่นหลัง แหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกแย่งชิงและทำลาย ที่สำคัญยังไม่มีหลักประกันใดๆ ว่าชีวิตพวกเขาจะปลอดภัย มันหมายถึงการตายทั้งเป็น”
ดังนั้น กลุ่มเครือข่าย จึงขอเรียกร้องและเสนอแนะไปยังรัฐบาล ว่า 1.เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างประชาชนในพื้นที่ รัฐบาลต้องลงพื้นที่ชี้แจงรายละเอียดของการดำเนินการโครงการต่างๆ ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ อย่างจริงใจและจริงจัง เพราะขณะนี้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความสับสน วุ่นวายมาก
2.รัฐบาลต้องดำเนินการพัฒนาต่างๆ โดยคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของประชาชนก่อน ไม่นำเอาความตายมายัดเยียดให้ประชาชน โดยชูธงการพัฒนา หรือ ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม มาเป็นตัวอ้าง
3.รัฐบาลต้องศึกษาผลดี และ ผลกระทบของการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวให้ชัดแจ้ง รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคล ประชาชนทุกกลุ่ม ทุกเหล่า พร้อมเปิดเผยให้สาธารณชนทราบอย่างจริงใจและจริงจัง
และ 4.กรณีการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์โครงการพัฒนาต่างๆ รัฐบาลต้องน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนำมาใช้เป็นกรอบคิดในการพัฒนา ซึ่งจะทำให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีความสมดุลและมีความยั่งยืนต่อไป