วันก่อนผมไปดูละครเรื่อง “Annie” แสดงโดยเด็กนักเรียนโรงเรียนสาธิตรังสิตสองภาษา มีความประทับใจมาก เพราะเด็กๆ ที่เล่นละครพูดภาษาอังกฤษนี้เป็นเด็กไทยเกือบหมด จะมีลูกครึ่งก็เพียงไม่กี่คน โรงเรียนสาธิตรังสิตโชคดีที่ได้ครูซึ่งเคยเป็นนักแสดงละครบรอดเวย์มาสอน เด็กๆ รักครูคนนี้มาก ครูก็ฉลาดที่เลือกละครเรื่องนี้มาเล่นเพราะมีผู้แสดงมาก เด็กๆ จำนวนมากได้มีส่วนร่วม
ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนมีความเชื่อว่าโรงเรียนสองภาษาก็ดีเท่ากับโรงเรียนอินเตอร์ และเด็กยังได้เรียนรู้วัฒนธรรมไทยด้วย ดังนั้นแม้โรงเรียนในเครือ คือ British International School ที่ภูเก็ตจะเน้นโรงเรียนอินเตอร์ แต่ก็นำเอาวัฒนธรรมที่หลากหลายเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน วันที่ผมไปร่วมงานฉลองครบรอบ 15 ปี ก็มีเด็กผู้หญิงฝรั่งออกมาขับร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี น่าประทับใจมาก
การแสดงละครเวที จัดว่าเป็นกิจกรรมสำคัญของการเรียนเด็กๆ ได้เรียนรู้มากมาย หากมีส่วนร่วมจัดแสดงละครที่แต่งบทกันเอง ออกแบบการแต่งกาย จัดฉาก กำกับการแสดงเองก็ยิ่งดี สมัยผมเด็กๆ ทุกปี เราจะมีโอกาสแสดงละครสองครั้ง ในภาคแรก ทุกคณะจะต้องจัดแสดงบนหอประชุม และในภาคที่สอง ก็จะจัดเป็นพิเศษเฉพาะแต่ละคณะไป ในภาคสองนี้ มีการจัดเลี้ยงภายในด้วย โดยนักเรียนแต่ละคนจะช่วยนำอาหารมาจากบ้านคนละอย่างสองอย่าง และมีการจัดงานเลี้ยง แสดงละคร และดนตรี มีการเชิญครู และนักเรียนจากคณะอื่นมาร่วมงานด้วย
การทำเช่นนี้ ทำให้เด็กรู้จักแบ่งงานกันทำ และต้องคิดวางแผน คิดค่าใช้จ่าย จัดโต๊ะ และเตรียมการรับแขก เป็นการสอนการจัดการในตัวเอง โดยไม่ต้องมีการสอนการจัดการอย่างเป็นทางการ
ในโรงเรียนที่มีการทำเช่นนี้ เด็กๆ จะไม่เรียนในห้องแต่อย่างเดียว หากได้ลงมือทำด้วย นอกจากวิชาช่างไม้ งานปั้น การเล่นดนตรี การเล่นกีฬาแล้ว เด็กๆ ก็ใช้เวลาส่วนใหญ่ฟังการสอน และทำการบ้าน การเรียนจึงน่าเบื่อ
หากใครได้ไปดูโรงเรียน “อินเตอร์” หรือโรงเรียนฝรั่งในต่างประเทศแล้ว ก็จะเห็นความแตกต่างระหว่างโรงเรียนเหล่านี้กับโรงเรียนไทย เด็กในโรงเรียนอินเตอร์จะมีชีวิตชีวา เรียนและเล่นอย่างสนุกสนาน โรงเรียนมีสถานที่ อุปกรณ์ หนังสืออย่างครบครัน ต่างกับโรงเรียนไทยที่ส่วนใหญ่ยังมีความขาดแคลนอยู่
เราพูดถึง “การปฏิรูปการศึกษา” มาเป็นเวลานาน เราบ่นถึงคุณภาพครู เพราะคนที่เรียนอย่างอื่นไม่ได้ แล้วก็มาเรียนครู แม้จะยืดเวลาเรียนออกไปอีกหนึ่งปี ก็ไม่ช่วยแก้ปัญหาได้ มิหนำซ้ำนักการศึกษาเองยังมีใจคับแคบบังคับไว้อีกว่า ผู้สอนจะต้องจบวิชาครูมาโดยตรง แต่ก่อนครูเลข ครูวิทยาศาสตร์ ครูศิลปะ ไม่จำเป็นต้องจบทางด้านครุศาสตร์มาโดยตรงก็ได้ บางคนจบปริญญาตรีเฉพาะทางมา หากอยากเป็นครูก็ไปเรียนครุศาสตร์เพิ่มเติมอีกเพียงปีเดียว
การศึกษาจะดีขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญๆ 3-4 ประการ คือ ในประการแรกสุด ครูต้องเก่งมีคุณภาพ และรักในอาชีพ โรงเรียนในต่างประเทศที่ดีก็เพราะครู ประการที่สอง หลักสูตรจะต้องดี ต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ประการที่สาม อุปกรณ์การศึกษา และหนังสือต้องพร้อม และที่สำคัญก็คือ ภาวะผู้นำ และการจัดการโรงเรียนต้องดี เรื่องนี้รวมไปถึงสวัสดิการ เงินเดือนครู การฝึกอบรมครูด้วย
เรามีการปรับปรุงหลักสูตรหลายครั้ง จนพอจะกล่าวได้ว่าเวลานี้ หลักสูตรมีความยืดหยุ่นพอสมควร สามารถนำเรื่องใกล้ตัวของท้องถิ่นเสริมไว้ได้ แต่ที่ยังแข็งตัวขึงตึงอยู่ก็คือ สัดส่วนระหว่างการเรียนในห้องเรียนกับกิจกรรมที่เด็กสามารถลงมือทำด้วยตนเอง เนื่องจากมีวิชาบรรยายประจำวันมากเกินไป เด็กๆ ก็ไม่มีเวลาสำหรับกิจกรรม นอกจากนั้นยังมองว่า กิจกรรมที่เด็กทำนั้นเป็น “กิจกรรมนอกหลักสูตร” ซึ่งไม่ควรจะแบ่งแยกอย่างนั้น กิจกรรมเป็นส่วนสำคัญ และเป็นเนื้อเดียวกับหลักสูตร
อีกเรื่องหนึ่งที่เรายังย่อหย่อนอยู่ก็คือ การพัฒนาครู ซึ่งต้องทำตั้งแต่การเรียนการศึกษาหรือครุศาสตร์ ครูจึงจะมีพื้นฐานที่ดี และจะได้พัฒนาต่อไป ในต่างประเทศการพัฒนาครูเป็นเรื่องของสมาคมวิชาชีพ นอกจากนั้นยังมีสมาคมวิทยาศาสตร์ ออกหนังสือที่ครูสามารถเพิ่มพูนความรู้ได้ตลอดเวลา วงการตำรวจก็ดีมีคุณภาพ หนังสือน่าอ่าน
ดังนั้น นอกจากการศึกษาจะเป็นเรื่องของโรงเรียนแล้ว สภาพแวดล้อมของสังคมยังต้องช่วยเกื้อกูลอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการมีห้องสมุดประชาชน การมีพิพิธภัณฑ์ สรุปก็คือ จะต้องมีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ที่จำเป็นจะต้องสร้างขึ้นพร้อมๆ กันไป ไม่ใช่คอยหวังพึ่งแต่กระทรวงศึกษาธิการเท่านั้น
ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนมีความเชื่อว่าโรงเรียนสองภาษาก็ดีเท่ากับโรงเรียนอินเตอร์ และเด็กยังได้เรียนรู้วัฒนธรรมไทยด้วย ดังนั้นแม้โรงเรียนในเครือ คือ British International School ที่ภูเก็ตจะเน้นโรงเรียนอินเตอร์ แต่ก็นำเอาวัฒนธรรมที่หลากหลายเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน วันที่ผมไปร่วมงานฉลองครบรอบ 15 ปี ก็มีเด็กผู้หญิงฝรั่งออกมาขับร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี น่าประทับใจมาก
การแสดงละครเวที จัดว่าเป็นกิจกรรมสำคัญของการเรียนเด็กๆ ได้เรียนรู้มากมาย หากมีส่วนร่วมจัดแสดงละครที่แต่งบทกันเอง ออกแบบการแต่งกาย จัดฉาก กำกับการแสดงเองก็ยิ่งดี สมัยผมเด็กๆ ทุกปี เราจะมีโอกาสแสดงละครสองครั้ง ในภาคแรก ทุกคณะจะต้องจัดแสดงบนหอประชุม และในภาคที่สอง ก็จะจัดเป็นพิเศษเฉพาะแต่ละคณะไป ในภาคสองนี้ มีการจัดเลี้ยงภายในด้วย โดยนักเรียนแต่ละคนจะช่วยนำอาหารมาจากบ้านคนละอย่างสองอย่าง และมีการจัดงานเลี้ยง แสดงละคร และดนตรี มีการเชิญครู และนักเรียนจากคณะอื่นมาร่วมงานด้วย
การทำเช่นนี้ ทำให้เด็กรู้จักแบ่งงานกันทำ และต้องคิดวางแผน คิดค่าใช้จ่าย จัดโต๊ะ และเตรียมการรับแขก เป็นการสอนการจัดการในตัวเอง โดยไม่ต้องมีการสอนการจัดการอย่างเป็นทางการ
ในโรงเรียนที่มีการทำเช่นนี้ เด็กๆ จะไม่เรียนในห้องแต่อย่างเดียว หากได้ลงมือทำด้วย นอกจากวิชาช่างไม้ งานปั้น การเล่นดนตรี การเล่นกีฬาแล้ว เด็กๆ ก็ใช้เวลาส่วนใหญ่ฟังการสอน และทำการบ้าน การเรียนจึงน่าเบื่อ
หากใครได้ไปดูโรงเรียน “อินเตอร์” หรือโรงเรียนฝรั่งในต่างประเทศแล้ว ก็จะเห็นความแตกต่างระหว่างโรงเรียนเหล่านี้กับโรงเรียนไทย เด็กในโรงเรียนอินเตอร์จะมีชีวิตชีวา เรียนและเล่นอย่างสนุกสนาน โรงเรียนมีสถานที่ อุปกรณ์ หนังสืออย่างครบครัน ต่างกับโรงเรียนไทยที่ส่วนใหญ่ยังมีความขาดแคลนอยู่
เราพูดถึง “การปฏิรูปการศึกษา” มาเป็นเวลานาน เราบ่นถึงคุณภาพครู เพราะคนที่เรียนอย่างอื่นไม่ได้ แล้วก็มาเรียนครู แม้จะยืดเวลาเรียนออกไปอีกหนึ่งปี ก็ไม่ช่วยแก้ปัญหาได้ มิหนำซ้ำนักการศึกษาเองยังมีใจคับแคบบังคับไว้อีกว่า ผู้สอนจะต้องจบวิชาครูมาโดยตรง แต่ก่อนครูเลข ครูวิทยาศาสตร์ ครูศิลปะ ไม่จำเป็นต้องจบทางด้านครุศาสตร์มาโดยตรงก็ได้ บางคนจบปริญญาตรีเฉพาะทางมา หากอยากเป็นครูก็ไปเรียนครุศาสตร์เพิ่มเติมอีกเพียงปีเดียว
การศึกษาจะดีขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญๆ 3-4 ประการ คือ ในประการแรกสุด ครูต้องเก่งมีคุณภาพ และรักในอาชีพ โรงเรียนในต่างประเทศที่ดีก็เพราะครู ประการที่สอง หลักสูตรจะต้องดี ต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ประการที่สาม อุปกรณ์การศึกษา และหนังสือต้องพร้อม และที่สำคัญก็คือ ภาวะผู้นำ และการจัดการโรงเรียนต้องดี เรื่องนี้รวมไปถึงสวัสดิการ เงินเดือนครู การฝึกอบรมครูด้วย
เรามีการปรับปรุงหลักสูตรหลายครั้ง จนพอจะกล่าวได้ว่าเวลานี้ หลักสูตรมีความยืดหยุ่นพอสมควร สามารถนำเรื่องใกล้ตัวของท้องถิ่นเสริมไว้ได้ แต่ที่ยังแข็งตัวขึงตึงอยู่ก็คือ สัดส่วนระหว่างการเรียนในห้องเรียนกับกิจกรรมที่เด็กสามารถลงมือทำด้วยตนเอง เนื่องจากมีวิชาบรรยายประจำวันมากเกินไป เด็กๆ ก็ไม่มีเวลาสำหรับกิจกรรม นอกจากนั้นยังมองว่า กิจกรรมที่เด็กทำนั้นเป็น “กิจกรรมนอกหลักสูตร” ซึ่งไม่ควรจะแบ่งแยกอย่างนั้น กิจกรรมเป็นส่วนสำคัญ และเป็นเนื้อเดียวกับหลักสูตร
อีกเรื่องหนึ่งที่เรายังย่อหย่อนอยู่ก็คือ การพัฒนาครู ซึ่งต้องทำตั้งแต่การเรียนการศึกษาหรือครุศาสตร์ ครูจึงจะมีพื้นฐานที่ดี และจะได้พัฒนาต่อไป ในต่างประเทศการพัฒนาครูเป็นเรื่องของสมาคมวิชาชีพ นอกจากนั้นยังมีสมาคมวิทยาศาสตร์ ออกหนังสือที่ครูสามารถเพิ่มพูนความรู้ได้ตลอดเวลา วงการตำรวจก็ดีมีคุณภาพ หนังสือน่าอ่าน
ดังนั้น นอกจากการศึกษาจะเป็นเรื่องของโรงเรียนแล้ว สภาพแวดล้อมของสังคมยังต้องช่วยเกื้อกูลอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการมีห้องสมุดประชาชน การมีพิพิธภัณฑ์ สรุปก็คือ จะต้องมีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ที่จำเป็นจะต้องสร้างขึ้นพร้อมๆ กันไป ไม่ใช่คอยหวังพึ่งแต่กระทรวงศึกษาธิการเท่านั้น