เมื่อเวลา 10.30 น.วานนี้ (24 ก.พ.) นายมานิตย์ ภาวสุทธิ์ ส.ส.ชลบุรี พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวยืนยันว่า ตนไม่ขอลงสมัครรับเลือกตั้งส.ส.ชลบุรี ในนามพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งครั้งหน้าขอถอนตัว แต่ถ้าจะไปลงเลือกตั้งส.ส. ในนามพรรคการเมืองอื่น อาทิ พรรคภูมิใจไทย หรือ พรรคเพื่อไทย ยอมรับว่ากำลังอยู่ในช่วงการตัดสินใจ ยังไม่ได้สรุปว่าจะไปอยู่พรรคไหน
ทั้งนี้ นายมานิตย์ ระบุว่าการที่ตนแจ้งให้พรรคปชป. ทราบล่วงหน้าว่าจะไม่ขอลงเลือกตั้ง ก็เพื่อไม่ให้พรรคเกิดความเสียหาย จะได้หาตัวผู้สมัครคนอื่นที่มีคุณภาพมาลงสมัครได้ทัน สำหรับเหตุผลในการที่ขอถอนตัวเห็นว่า ตนมาเป็น ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา รู้สึกว่าสามารถทำประโยชน์ให้กับประชาชนในพื้นที่ได้น้อย งบประมาณที่มีมาถึง ก็ไม่เพียงพอช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ไม่สามารถที่จะผลักดันงบประมาณมาลงในพื้นที่ได้อย่างเพียงพอ ทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อน ดังนั้นจึงคิดว่า การถอนตัวน่าจะเป็นแนวทางที่ดี
อย่างไรก็ตามนายมานิตย์ ยอมรับว่าได้มีการหารือจากผู้ใหญ่ทั้งจากพรรคประชาธิปัตย์ ภูมิใจไทย และเพื่อไทย ในการให้ทำงานช่วยเหลือพรรคเดิมไปก่อน และทาบทามให้ไปร่วมงานกันที่พรรคการเมืองอื่น แต่ยังอยู่ระหว่างการตัดสินใจ แนวโน้มคิดว่า ย้ายพรรคแน่
**ชี้"มานิตย์"ย้ายพรรคควรหาข้ออ้างที่ดี
นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานประธานศูนย์อำนวยการเลือกตั้งภาคกลาง กล่าวถึงกรณี นายมานิตย์ เตรียมย้ายพรรค ว่า ช่วงที่ใกล้จะมีการเลือกตั้ง ก็จะเป็นปรากฏการณ์ ที่ส.ส.ย้ายสังกัดพรรค แต่เรื่องนี้จะเป็นไปตามที่นายมานิตย์ พูดหรือไม่นั้น อยากให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ ทั้งนี้ ตนยืนยันว่าที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์ และ ส.ส.ที่ดูแลภาค ให้การดูแล ส.ส.ในพื้นที่เป็นอย่างดี เมื่อมีปัญหาใดก็จะให้คำปรึกษา
ดังนั้นที่นายมานิตย์ ระบุว่า พรรคไม่สนับสนุนนั้น เป็นการต่อรองกับพรรคมากกว่า ซึ่งพรรคก็มีจุดยืนที่อยู่บนหลักการ และความถูกต้อง เช่น การทำโครงการต่างๆ ในพื้นที่รัฐบาลก็จะดูความเหมาะสมในภาพรวม แต่หากจะให้เฉพาะบางพื้นที่นั้น ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน
"ผมคงไม่ต้องเชิญคุณมานิตย์มาชี้แจง เพราะที่ผ่านมาก็คุยทุกเรื่องมาตลอด ทั้งนี้ต้องเคารพการตัดสินใจ แต่ผมขอฝากบอกว่า หากจะไม่อยู่กับพรรรค ก็ควรมีเหตุผลมากกว่านี้ ไม่ใช่มาตำหนิพรรคว่าไม่ให้เกียรติ และควรหาเหตุผลที่ไม่กระทบกับพรรค" นายสาธิตกล่าว
เมื่อถามว่าประเด็นนี้มองว่าเป็นการซื้อตัวหรือไม่ นายสาธิต กล่าวว่า ขอให้ดูกันต่อไป แต่ตนมองว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเหตุผลสำคัญที่ส.ส.จะตัดสินใจย้าย และขอให้ติดตามว่า หากย้ายไปจริงแล้วจะอยู่ได้หรือไม่
ด้านนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฐานะเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ปฏิเสธ ที่จะแสดงความเห็น โดยกล่าวเพียงสั้นว่า "ผมไม่รู้"
รายงานข่าวแจ้งว่า นอกจากนายมานิตย์ ที่มีท่าทีจะย้ายไปสังกัดพรรคการเมืองอื่นแล้ว ยังมี ส.ส.อีกส่วนหนึ่ง ที่มีพฤติกรรมตีตัวออกห่างพรรค อาทิ น.ส.ปรีชญา ขำเจริญ ส.ส.ราชบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ที่ไม่มาร่วมต้อนรับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างไปเยี่ยมโรงเรียนในพื้นที่ จ.ราชบุรี ทั้งที่ ส.ส.พื้นที่ใกล้เคียงได้เดินทางไปต้อนรับอย่างพร้อมเพรียง โดยช่วงนี้น.ส.ปรีชญาได้ไปสนิทสนมกับทางพรรคภูมิใจไทย
ทั้งนี้ สาเหตุที่ ส.ส.หลายคนตีตัวออกห่าง เพราะประเมินว่าการเลือกตั้งครั้งหน้าจะหนักมาก หากพรรคไม่ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ อาจแพ้ได้ อีกทั้งหลังจากแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นเขตเดียวเบอร์เดียว ทำให้หมดความเชื่อมั่น และกำลังใจในการต้อสู้ งมี ส.ส.หลายพื้นที่เตรียมขอให้แกนนำพรรคให้ความมั่นใจ และความเชื่อมั่นในการเลือกตั้งครั้งหน้า
**พท.เปิดโผ 8 ผู้สมัครส.ส.สงขลา
นายไสว ณ พัทลุง ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานพรรคเพื่อไทย (พท.) จ.สงขลา เปิดเผย ว่า ศูนย์ประสานงาน พท.สงขลา ได้คัดเลือกตัวบุคคลลงสมัครส.ส.แล้ว เขตเลือกตั้งที่ 1 นายรณภพ วัตตะสิงห์ เขต 2 นายสุบัน สุวรรณรัตน์ เขต 3 นายจำแลง มงคลนิสภกุล เขต 4 นายอรรถวุฒิ อารยะญาน เขต 5 นายสมนิตย์ ประทุมวรรณ เขต 6 นายวันอับดุลเลาะฮ์ หล๊ะติหนะ เขต 7 นายอับดุลเลาะ สาแมแน็ง และเขต 8 นายกอลยูบี จะเลเสะ ทั้งนี้ ทางพรรคมั่นใจว่า จะชนะการเลือกตั้งอย่างน้อย 2 เขต เพราะประชาชนเบื่อส.ส.เก่า ที่ไม่ได้ทำประโยชน์ และทิ้งพื้นที่
** "จิ้น" คุยกวาดส.ส.ติดอันดับ 1-3
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า พรรคภูมิใจไทย พร้อมสำหรับการเลือกตั้ง และตั้งเป้าจำนวนส.ส.ไม่น้อยกว่าเดิม ผู้สื่อข่าวถามว่าต้องมากกว่า 58 คน ใช่หรือไม่ นายชวรัตน์กล่าวว่า ประมาณนั้น ส่วนยังมี ส.ส.จากพรรคการเมืองอื่นมาร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคภูมิใจไทยหรือไม่ นายชวรัตน์ กล่าวว่า ยังมีมาเรื่อยๆ จากทุกพรรค โดยการตั้งเป้าติดพรรคอันดับ 1-3
**"มาร์ค" รอกกต.แบ่งเขตก่อนยุบสภา
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การยุบสภาจะมีความชัดเจนหลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง ( กกต. ) ดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้ง และประกาศกติกาต่างๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ แล้วเสร็จ โดยในวันที่ 24 ก.พ. ตนได้นำร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับการรับรองการแก้ไขสาระสำคัญจากรัฐสภา ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ก่อนประกาศบังคับใช้ต่อไป
ด้านนายประพันธ์ นัยโกวิท กกต. กล่าวว่า จนถึงขณะนี้ กกต.ยังไม่ได้รับการประสานจากนายกฯ ในเรื่องของการยุบสภาเลือกตั้งใหม่ คิดว่านายกฯ คงจะเร่งนำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิมเติม ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อให้ทรงลงพระปรมาภิไธย หลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งไม่รับวินิจฉัย รวมทั้งคงเร่งนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลใช้บังคับ เมื่อถึงขั้นตอนนั้น นายกฯก็คงจะมีการประสานมา ขอหารือกับกกต. ถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมในการยุบสภาเพื่อเลือกตั้ง และกกต.ก็จะได้พิจารณาในเรื่องการเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ป.ว่าด้วย การเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. ที่จะต้องมีการแก้ไข เพื่อให้สอดรับกับร่างรัฐธรรมนูญที่จะออกมา ว่าจะสามารถดำเนินการได้ทันหรือไม่ แต่หากทำไม่ได้ในร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ก็ได้ให้อำนาจ กกต.ในการที่จะออกประกาศวิธีการและข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการจัดการเลือกตั้งได้อยู่แล้ว ซึ่งก็ไม่น่าจะมีปัญหา
ทั้งนี้นายประพันธ์ ยังยืนยันว่า เรื่องการแบ่งเขตเลือกตั้งว่าสามารถดำเนินการได้ทัน โดยขณะนี้สิ่งที่ กกต.รอใน 3 เรื่องก็ คือ ประกาศให้ร่างรัฐธรรมนูญมีผลใช้บังคับ ประกาศจำนวนราษฎรของปี 2553 ของสำนักทะเบียนราษฎร กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ที่ กกต.จะต้องนำจำนวนราษฎร มาคำนวนในเรื่องของจำนวนส.ส. แต่ละจังหวัดที่พึงมี และนำมาใช้ในการแบ่งเขตเลือกตั้ง และประกาศในราชกิจจานุเบกษาของจังหวัดบึงกาฬ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการสรรหา ส.ว และการเลือกตั้ง ส.ส.
ทั้งนี้ นายมานิตย์ ระบุว่าการที่ตนแจ้งให้พรรคปชป. ทราบล่วงหน้าว่าจะไม่ขอลงเลือกตั้ง ก็เพื่อไม่ให้พรรคเกิดความเสียหาย จะได้หาตัวผู้สมัครคนอื่นที่มีคุณภาพมาลงสมัครได้ทัน สำหรับเหตุผลในการที่ขอถอนตัวเห็นว่า ตนมาเป็น ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา รู้สึกว่าสามารถทำประโยชน์ให้กับประชาชนในพื้นที่ได้น้อย งบประมาณที่มีมาถึง ก็ไม่เพียงพอช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ไม่สามารถที่จะผลักดันงบประมาณมาลงในพื้นที่ได้อย่างเพียงพอ ทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อน ดังนั้นจึงคิดว่า การถอนตัวน่าจะเป็นแนวทางที่ดี
อย่างไรก็ตามนายมานิตย์ ยอมรับว่าได้มีการหารือจากผู้ใหญ่ทั้งจากพรรคประชาธิปัตย์ ภูมิใจไทย และเพื่อไทย ในการให้ทำงานช่วยเหลือพรรคเดิมไปก่อน และทาบทามให้ไปร่วมงานกันที่พรรคการเมืองอื่น แต่ยังอยู่ระหว่างการตัดสินใจ แนวโน้มคิดว่า ย้ายพรรคแน่
**ชี้"มานิตย์"ย้ายพรรคควรหาข้ออ้างที่ดี
นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานประธานศูนย์อำนวยการเลือกตั้งภาคกลาง กล่าวถึงกรณี นายมานิตย์ เตรียมย้ายพรรค ว่า ช่วงที่ใกล้จะมีการเลือกตั้ง ก็จะเป็นปรากฏการณ์ ที่ส.ส.ย้ายสังกัดพรรค แต่เรื่องนี้จะเป็นไปตามที่นายมานิตย์ พูดหรือไม่นั้น อยากให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ ทั้งนี้ ตนยืนยันว่าที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์ และ ส.ส.ที่ดูแลภาค ให้การดูแล ส.ส.ในพื้นที่เป็นอย่างดี เมื่อมีปัญหาใดก็จะให้คำปรึกษา
ดังนั้นที่นายมานิตย์ ระบุว่า พรรคไม่สนับสนุนนั้น เป็นการต่อรองกับพรรคมากกว่า ซึ่งพรรคก็มีจุดยืนที่อยู่บนหลักการ และความถูกต้อง เช่น การทำโครงการต่างๆ ในพื้นที่รัฐบาลก็จะดูความเหมาะสมในภาพรวม แต่หากจะให้เฉพาะบางพื้นที่นั้น ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน
"ผมคงไม่ต้องเชิญคุณมานิตย์มาชี้แจง เพราะที่ผ่านมาก็คุยทุกเรื่องมาตลอด ทั้งนี้ต้องเคารพการตัดสินใจ แต่ผมขอฝากบอกว่า หากจะไม่อยู่กับพรรรค ก็ควรมีเหตุผลมากกว่านี้ ไม่ใช่มาตำหนิพรรคว่าไม่ให้เกียรติ และควรหาเหตุผลที่ไม่กระทบกับพรรค" นายสาธิตกล่าว
เมื่อถามว่าประเด็นนี้มองว่าเป็นการซื้อตัวหรือไม่ นายสาธิต กล่าวว่า ขอให้ดูกันต่อไป แต่ตนมองว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเหตุผลสำคัญที่ส.ส.จะตัดสินใจย้าย และขอให้ติดตามว่า หากย้ายไปจริงแล้วจะอยู่ได้หรือไม่
ด้านนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฐานะเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ปฏิเสธ ที่จะแสดงความเห็น โดยกล่าวเพียงสั้นว่า "ผมไม่รู้"
รายงานข่าวแจ้งว่า นอกจากนายมานิตย์ ที่มีท่าทีจะย้ายไปสังกัดพรรคการเมืองอื่นแล้ว ยังมี ส.ส.อีกส่วนหนึ่ง ที่มีพฤติกรรมตีตัวออกห่างพรรค อาทิ น.ส.ปรีชญา ขำเจริญ ส.ส.ราชบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ที่ไม่มาร่วมต้อนรับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างไปเยี่ยมโรงเรียนในพื้นที่ จ.ราชบุรี ทั้งที่ ส.ส.พื้นที่ใกล้เคียงได้เดินทางไปต้อนรับอย่างพร้อมเพรียง โดยช่วงนี้น.ส.ปรีชญาได้ไปสนิทสนมกับทางพรรคภูมิใจไทย
ทั้งนี้ สาเหตุที่ ส.ส.หลายคนตีตัวออกห่าง เพราะประเมินว่าการเลือกตั้งครั้งหน้าจะหนักมาก หากพรรคไม่ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ อาจแพ้ได้ อีกทั้งหลังจากแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นเขตเดียวเบอร์เดียว ทำให้หมดความเชื่อมั่น และกำลังใจในการต้อสู้ งมี ส.ส.หลายพื้นที่เตรียมขอให้แกนนำพรรคให้ความมั่นใจ และความเชื่อมั่นในการเลือกตั้งครั้งหน้า
**พท.เปิดโผ 8 ผู้สมัครส.ส.สงขลา
นายไสว ณ พัทลุง ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานพรรคเพื่อไทย (พท.) จ.สงขลา เปิดเผย ว่า ศูนย์ประสานงาน พท.สงขลา ได้คัดเลือกตัวบุคคลลงสมัครส.ส.แล้ว เขตเลือกตั้งที่ 1 นายรณภพ วัตตะสิงห์ เขต 2 นายสุบัน สุวรรณรัตน์ เขต 3 นายจำแลง มงคลนิสภกุล เขต 4 นายอรรถวุฒิ อารยะญาน เขต 5 นายสมนิตย์ ประทุมวรรณ เขต 6 นายวันอับดุลเลาะฮ์ หล๊ะติหนะ เขต 7 นายอับดุลเลาะ สาแมแน็ง และเขต 8 นายกอลยูบี จะเลเสะ ทั้งนี้ ทางพรรคมั่นใจว่า จะชนะการเลือกตั้งอย่างน้อย 2 เขต เพราะประชาชนเบื่อส.ส.เก่า ที่ไม่ได้ทำประโยชน์ และทิ้งพื้นที่
** "จิ้น" คุยกวาดส.ส.ติดอันดับ 1-3
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า พรรคภูมิใจไทย พร้อมสำหรับการเลือกตั้ง และตั้งเป้าจำนวนส.ส.ไม่น้อยกว่าเดิม ผู้สื่อข่าวถามว่าต้องมากกว่า 58 คน ใช่หรือไม่ นายชวรัตน์กล่าวว่า ประมาณนั้น ส่วนยังมี ส.ส.จากพรรคการเมืองอื่นมาร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคภูมิใจไทยหรือไม่ นายชวรัตน์ กล่าวว่า ยังมีมาเรื่อยๆ จากทุกพรรค โดยการตั้งเป้าติดพรรคอันดับ 1-3
**"มาร์ค" รอกกต.แบ่งเขตก่อนยุบสภา
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การยุบสภาจะมีความชัดเจนหลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง ( กกต. ) ดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้ง และประกาศกติกาต่างๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ แล้วเสร็จ โดยในวันที่ 24 ก.พ. ตนได้นำร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับการรับรองการแก้ไขสาระสำคัญจากรัฐสภา ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ก่อนประกาศบังคับใช้ต่อไป
ด้านนายประพันธ์ นัยโกวิท กกต. กล่าวว่า จนถึงขณะนี้ กกต.ยังไม่ได้รับการประสานจากนายกฯ ในเรื่องของการยุบสภาเลือกตั้งใหม่ คิดว่านายกฯ คงจะเร่งนำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิมเติม ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อให้ทรงลงพระปรมาภิไธย หลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งไม่รับวินิจฉัย รวมทั้งคงเร่งนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลใช้บังคับ เมื่อถึงขั้นตอนนั้น นายกฯก็คงจะมีการประสานมา ขอหารือกับกกต. ถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมในการยุบสภาเพื่อเลือกตั้ง และกกต.ก็จะได้พิจารณาในเรื่องการเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ป.ว่าด้วย การเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. ที่จะต้องมีการแก้ไข เพื่อให้สอดรับกับร่างรัฐธรรมนูญที่จะออกมา ว่าจะสามารถดำเนินการได้ทันหรือไม่ แต่หากทำไม่ได้ในร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ก็ได้ให้อำนาจ กกต.ในการที่จะออกประกาศวิธีการและข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการจัดการเลือกตั้งได้อยู่แล้ว ซึ่งก็ไม่น่าจะมีปัญหา
ทั้งนี้นายประพันธ์ ยังยืนยันว่า เรื่องการแบ่งเขตเลือกตั้งว่าสามารถดำเนินการได้ทัน โดยขณะนี้สิ่งที่ กกต.รอใน 3 เรื่องก็ คือ ประกาศให้ร่างรัฐธรรมนูญมีผลใช้บังคับ ประกาศจำนวนราษฎรของปี 2553 ของสำนักทะเบียนราษฎร กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ที่ กกต.จะต้องนำจำนวนราษฎร มาคำนวนในเรื่องของจำนวนส.ส. แต่ละจังหวัดที่พึงมี และนำมาใช้ในการแบ่งเขตเลือกตั้ง และประกาศในราชกิจจานุเบกษาของจังหวัดบึงกาฬ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการสรรหา ส.ว และการเลือกตั้ง ส.ส.