หลังจากที่ศาลอาญามีคำสั่งเมื่อวันที่ 22ก.พ.อนุญาตให้ประกันตัวชั่วคราวแกนนำก่อการร้ายแดงรวม 8 คน ภายใต้เงื่อนไข 2 ข้อ คือ ห้ามออกนอกราชอาณาจักร และห้ามยุยงปลุกปั่นให้บ้านเมืองเกิดความไม่สงบ เห็นได้ว่าการใช้ดุลพินิจของศาลคราวนี้เปลี่ยนไป...
ด้วยที่ก่อนหน้านี้บรรดาพลพรรค “แก๊งเมียสู้เพื่อผัว”นำโดย ธิดาแดง ถาวรเศรษฐ์ ได้เพียรพยายามขอประกันตัวชั่วคราวสามีตัวเองมาหลายครั้งหลายครา แต่ศาลอาญาก็ให้เหตุผลว่าไม่มีเหตุให้ต้องเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่มีการอนุญาตให้ประกันตัวชั่วคราวตามที่มีการร้องขอ แม้ว่าบรรดาเมีย ๆ จะเพิ่มหลักทรัพย์หอบเงินประกันหลักล้านไปก็ยังไม่เป็นผล
แล้วมาคราวนี้ มีเหตุอันใดที่ทำให้ศาลอาญาเปลี่ยนแปลงคำสั่งจากเดิม? คำตอบเดียวในทางการไต่สวนที่ปรากฏในชั้นศาลคือ
ศาลอาญาให้น้ำหนักในเรื่อง “ปรองดอง” ตามประเด็นที่พยานไปให้ปากคำ จนกระทั่งประตูคุกเปิดให้แกนนำก่อการร้ายแดง 8 คน ได้ออกมาสูดอากาศบริสุทธิ์นอกเรือนจำ
พร้อมกับอิสรภาพชั่วคราวที่ยังไม่มีใครรับประกันได้ว่า คนเหล่านี้จะใช้อิสรภาพที่ได้รับเพื่อการปรองดองหรือสร้างความแตกแยกเพิ่มขึ้น และเงื่อนไขบังคับจะได้รับการปฏิบัติจริงจาก8ผู้ต้องหาก่อการร้ายกลุ่มนี้หรือไม่?
เพราะหากพิจารณาจากมาตรฐานที่ “คางคกตู่” จตพร พรหมพันธ์ วางเอาไว้ ย่อมมิอาจนอนใจได้เลยว่า การที่ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ลั่นวาจาคำแรกหลังได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวว่า “ผมกลับมาแล้ว” จะกินความหมายว่า “ผมพร้อมกลับมาเป็นพลเมืองดีของชาติ” หรือ “ผมกลับมาแล้วพร้อมเผาบ้านตกใจปล้นเมืองอีกรอบ”
เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ยังต้องรอการพิสูจน์ว่า “ปรองดอง” ที่อ้างถึงจนได้รับเมตตาจากศาลนั้น จะเป็นภาวะจอมปลอมหรือเป็นของจริงที่ทุกฝ่ายพร้อมที่จะกลับเข้าสู่การต่อสู้ตามระบบ
สิ่งที่น่าพิจารณา คือ พยานที่ไปให้ปากคำในชั้นศาลสามราย ประกอบด้วย พล.ต.ต.วิชัย (ผู้การแต้ม) สังข์ประไพ ผบก.น.1 คณิต ณ นคร ประธาน คอป. และ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ผู้รับงานจากดูไบมารับเหมาก่อสร้างทางปรองดอง
“ผู้การแต้ม” อธิบายถึงการไปเป็นพยานคราวนี้ว่า ไม่มีใบสั่งทางการเมืองและไม่มีวาระซ่อนเร้นช่วยแกนนำก่อการร้ายแดง แต่เป็นเพราะได้รับหมายศาลเรียกให้ไปเป็นพยานและให้ปากคำไปตามข้อเท็จจริงที่ตัวเองได้สัมผัส
เนื้อหาที่ผู้การแต้มระบุว่า “ในการประสานงานกับแกนนำเสื้อแดงได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี และไม่เคยตรวจพบอาวุธในที่ชุมนุม” ไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่แต่คำให้การดังกล่าวมิเพียงส่งผลต่อการประกันตัวชั่วคราวครั้งนี้เท่านั้น แต่มีความหมายไปถึงการต่อสู้ในคดีก่อการร้ายของกากเดนสังคมเหล่านี้ด้วย เพราะ ผู้การแต้มคือเจ้าพนักงานแม้จะไม่ใช่เจ้าของคดีก่อการร้ายที่มีการยื่นเรื่องฟ้องต่อศาล แต่ก็ถือเป็นเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่สัมพันธ์กับคนกลุ่มนี้โดยตรง การไปการันตีความบริสุทธิ์ผุดผ่องให้คนเผาเมืองย่อมทำให้คนเหล่านี้นำไปใช้ประโยชน์ในการต่อสู้คดีก่อการร้ายด้วยอย่างแน่นอน
คำถาม คือ “ผู้การแต้ม”ให้ปากคำในลักษณะตัดตอน เพราะการกล่าวอ้างว่าได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีนั้น เกิดขึ้นจริงในช่วงแรกของการชุมนุมที่มีการประสานเส้นทางเพิ่ออำนวยความสะดวกเรื่องการจราจรไม่ให้ประชาชนทั่วไปได้รับผลกระทบมากจนเกินไป และ การระบุว่าไม่พบอาวุธในที่ชุมนุมนั้น ข้อเท็จจริง คือ เราแทบไม่เห็น “ผู้การแต้ม”ทำหน้าที่ไปค้นอาวุธในสถานที่ชุมนุม นอกจากยืนยิ้มเผล่เจรจากับโจกแดงอย่างเดียว
ดังนั้น การฟันธงว่าไม่พบอาวุธในที่ชุมนุมนั้นค้านกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏช่วงแดงเผาเมืองโดยสิ้นเชิง เพราะในห้วงเวลาดังกล่าวไม่เพียงพบอาวุธจำนวนมาก แต่ยังปรากฏชายชุดดำพร้อมอาวุธสงครามครบมือโจมตีเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจจนเสียชีวิตไปนับสิบ
ทำไม “ผู้การแต้ม”จึงไม่พูดถึงข้อเท็จจริงที่กล่าวข้างต้น แต่พูดเฉพาะในสิ่งที่จะเป็นคุณต่อแกนนำก่อการร้ายแดงเท่านั้น หรือเป็นเพราะความจริงแล้ว “ผู้การแต้ม”มีชื่อเล่นที่รับรู้กันในหมู่ นปช.ว่า “ผู้การแต้มแดง” ?
ส่วน คณิต ณ นคร ยังพอเข้าใจได้ว่ามีหน้าที่เป็นประธาน คอป. และที่ผ่านมาก็มีจุดยืนในการแสดงความเห็นรวมทั้งเสนอแนะรัฐบาลว่า หากคนเหล่านี้ได้รับการปล่อยตัวให้ออกมาสู้คดีนอกคุกน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความปรองดองในประเทศ แต่ก็ยังออกตัวไว้ในระหว่างการให้ปากคำกับศาลว่า การให้ประกันตัวชั่วคราวถือเป็นดุลพินิจของศาลและแม้ว่าคนเหล่านี้จะไม่ได้รับการประกันตัวก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อความปรองดองภายในประเทศ ซึ่งถือเป็นการให้ปากคำที่ตรงไปตรงมาและมีความชัดเจนตามหลักของกฎหมายและข้อเท็จจริง
ที่น่าสงสัยที่สุดคือ พฤติกรรมของ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ที่พยายามมสร้างบทบาทปูทางให้ตัวเองก้าวสู่อำนาจแบบส้มหล่นผ่านถนนสายปรองดอง ที่ให้ปากคำการันตีแทนแกนนำก่อการร้ายแดงว่าจะช่วยทำให้บ้านเมืองกลับสู่ความสงบและความปรองดองจะเกิดขึ้นได้เมื่อคนเหล่านี้ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว
นั่นคือคำพูดจากปาก พล.ต.สนั่นที่ศาลอาญาวันที่ 21 ก.พ. 2554 ถัดมาอีกเพียงแค่วันเดียว คนที่พยายามสร้างความปรองดองให้กับประเทศนี้กลับแสดงท่าทีแข็งกร้าวใน ครม.เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2554 ด้วยการไล่บี้ พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผู้ช่วย ผบ.ตร. ให้เปิดเส้นทางจราจรบริเวณพื้นที่การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและเครือข่ายประชาชนไทยหัวใจรักชาติให้ได้ โดยให้เหตุผลว่ามีคนชุมนุมไม่เกิน 5-6 ร้อยคนไม่ควรปล่อยให้มีการปิดถนน
คน ๆ เดียวกันแท้ ๆ กลับมีทัศนคติที่แตกต่างกันสิ้นเชิงกับผู้ชุมนุม 2 กลุ่ม
พล.ต.สนั่น เอื้ออาทรอย่างยิ่งกับแกนนำก่อการร้ายแดงที่เผาบ้านเผาเมือง จนประเทศแทบจะดำดิ่งลงสุ่หุบเหวแห่งหายนะ เมตตาอย่างยิ่งกับแกนนำก่อการร้ายแดงที่ก่อเหตุจนเป็นชนวนให้เกิดความสูญเสียเกือบ 100 ชีวิต ด้วยการเปิดบ้านพักสนามบินน้ำต้อนรับการกลับสู่อิสรภาพของกากเดนสังคมเหล่านี้ พร้อมกับเปิดไวน์ราคาแพงเลี้ยงรับขวัญ
พล.ต.สนั่น แข็งกร้าวอย่างที่สุดกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและเครือข่ายประชาชนไทยหัวใจรักชาติ โดยเห็นว่าคนเหล่านี้คือผู้สร้างความเดือดร้อน ละเมิดสิทธิผู้อื่น ปิดถนนจนผู้คนเดือดร้อน และเร่งรัดให้ตำรวจจัดการเด็ดขาดเพื่อให้มีการคืนพื้นที่จราจรให้ได้โดยเร็ว
พฤติกรรมเยี่ยงนี้อธิบายได้อย่างเดียวคือ “หางแดงโผล่เตรียมตะกายขึ้นตึกไทยคู่ฟ้า” ก็เท่านั้น ช่างน่าสมเพชจริง ๆ
ด้วยที่ก่อนหน้านี้บรรดาพลพรรค “แก๊งเมียสู้เพื่อผัว”นำโดย ธิดาแดง ถาวรเศรษฐ์ ได้เพียรพยายามขอประกันตัวชั่วคราวสามีตัวเองมาหลายครั้งหลายครา แต่ศาลอาญาก็ให้เหตุผลว่าไม่มีเหตุให้ต้องเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่มีการอนุญาตให้ประกันตัวชั่วคราวตามที่มีการร้องขอ แม้ว่าบรรดาเมีย ๆ จะเพิ่มหลักทรัพย์หอบเงินประกันหลักล้านไปก็ยังไม่เป็นผล
แล้วมาคราวนี้ มีเหตุอันใดที่ทำให้ศาลอาญาเปลี่ยนแปลงคำสั่งจากเดิม? คำตอบเดียวในทางการไต่สวนที่ปรากฏในชั้นศาลคือ
ศาลอาญาให้น้ำหนักในเรื่อง “ปรองดอง” ตามประเด็นที่พยานไปให้ปากคำ จนกระทั่งประตูคุกเปิดให้แกนนำก่อการร้ายแดง 8 คน ได้ออกมาสูดอากาศบริสุทธิ์นอกเรือนจำ
พร้อมกับอิสรภาพชั่วคราวที่ยังไม่มีใครรับประกันได้ว่า คนเหล่านี้จะใช้อิสรภาพที่ได้รับเพื่อการปรองดองหรือสร้างความแตกแยกเพิ่มขึ้น และเงื่อนไขบังคับจะได้รับการปฏิบัติจริงจาก8ผู้ต้องหาก่อการร้ายกลุ่มนี้หรือไม่?
เพราะหากพิจารณาจากมาตรฐานที่ “คางคกตู่” จตพร พรหมพันธ์ วางเอาไว้ ย่อมมิอาจนอนใจได้เลยว่า การที่ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ลั่นวาจาคำแรกหลังได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวว่า “ผมกลับมาแล้ว” จะกินความหมายว่า “ผมพร้อมกลับมาเป็นพลเมืองดีของชาติ” หรือ “ผมกลับมาแล้วพร้อมเผาบ้านตกใจปล้นเมืองอีกรอบ”
เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ยังต้องรอการพิสูจน์ว่า “ปรองดอง” ที่อ้างถึงจนได้รับเมตตาจากศาลนั้น จะเป็นภาวะจอมปลอมหรือเป็นของจริงที่ทุกฝ่ายพร้อมที่จะกลับเข้าสู่การต่อสู้ตามระบบ
สิ่งที่น่าพิจารณา คือ พยานที่ไปให้ปากคำในชั้นศาลสามราย ประกอบด้วย พล.ต.ต.วิชัย (ผู้การแต้ม) สังข์ประไพ ผบก.น.1 คณิต ณ นคร ประธาน คอป. และ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ผู้รับงานจากดูไบมารับเหมาก่อสร้างทางปรองดอง
“ผู้การแต้ม” อธิบายถึงการไปเป็นพยานคราวนี้ว่า ไม่มีใบสั่งทางการเมืองและไม่มีวาระซ่อนเร้นช่วยแกนนำก่อการร้ายแดง แต่เป็นเพราะได้รับหมายศาลเรียกให้ไปเป็นพยานและให้ปากคำไปตามข้อเท็จจริงที่ตัวเองได้สัมผัส
เนื้อหาที่ผู้การแต้มระบุว่า “ในการประสานงานกับแกนนำเสื้อแดงได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี และไม่เคยตรวจพบอาวุธในที่ชุมนุม” ไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่แต่คำให้การดังกล่าวมิเพียงส่งผลต่อการประกันตัวชั่วคราวครั้งนี้เท่านั้น แต่มีความหมายไปถึงการต่อสู้ในคดีก่อการร้ายของกากเดนสังคมเหล่านี้ด้วย เพราะ ผู้การแต้มคือเจ้าพนักงานแม้จะไม่ใช่เจ้าของคดีก่อการร้ายที่มีการยื่นเรื่องฟ้องต่อศาล แต่ก็ถือเป็นเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่สัมพันธ์กับคนกลุ่มนี้โดยตรง การไปการันตีความบริสุทธิ์ผุดผ่องให้คนเผาเมืองย่อมทำให้คนเหล่านี้นำไปใช้ประโยชน์ในการต่อสู้คดีก่อการร้ายด้วยอย่างแน่นอน
คำถาม คือ “ผู้การแต้ม”ให้ปากคำในลักษณะตัดตอน เพราะการกล่าวอ้างว่าได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีนั้น เกิดขึ้นจริงในช่วงแรกของการชุมนุมที่มีการประสานเส้นทางเพิ่ออำนวยความสะดวกเรื่องการจราจรไม่ให้ประชาชนทั่วไปได้รับผลกระทบมากจนเกินไป และ การระบุว่าไม่พบอาวุธในที่ชุมนุมนั้น ข้อเท็จจริง คือ เราแทบไม่เห็น “ผู้การแต้ม”ทำหน้าที่ไปค้นอาวุธในสถานที่ชุมนุม นอกจากยืนยิ้มเผล่เจรจากับโจกแดงอย่างเดียว
ดังนั้น การฟันธงว่าไม่พบอาวุธในที่ชุมนุมนั้นค้านกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏช่วงแดงเผาเมืองโดยสิ้นเชิง เพราะในห้วงเวลาดังกล่าวไม่เพียงพบอาวุธจำนวนมาก แต่ยังปรากฏชายชุดดำพร้อมอาวุธสงครามครบมือโจมตีเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจจนเสียชีวิตไปนับสิบ
ทำไม “ผู้การแต้ม”จึงไม่พูดถึงข้อเท็จจริงที่กล่าวข้างต้น แต่พูดเฉพาะในสิ่งที่จะเป็นคุณต่อแกนนำก่อการร้ายแดงเท่านั้น หรือเป็นเพราะความจริงแล้ว “ผู้การแต้ม”มีชื่อเล่นที่รับรู้กันในหมู่ นปช.ว่า “ผู้การแต้มแดง” ?
ส่วน คณิต ณ นคร ยังพอเข้าใจได้ว่ามีหน้าที่เป็นประธาน คอป. และที่ผ่านมาก็มีจุดยืนในการแสดงความเห็นรวมทั้งเสนอแนะรัฐบาลว่า หากคนเหล่านี้ได้รับการปล่อยตัวให้ออกมาสู้คดีนอกคุกน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความปรองดองในประเทศ แต่ก็ยังออกตัวไว้ในระหว่างการให้ปากคำกับศาลว่า การให้ประกันตัวชั่วคราวถือเป็นดุลพินิจของศาลและแม้ว่าคนเหล่านี้จะไม่ได้รับการประกันตัวก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อความปรองดองภายในประเทศ ซึ่งถือเป็นการให้ปากคำที่ตรงไปตรงมาและมีความชัดเจนตามหลักของกฎหมายและข้อเท็จจริง
ที่น่าสงสัยที่สุดคือ พฤติกรรมของ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ที่พยายามมสร้างบทบาทปูทางให้ตัวเองก้าวสู่อำนาจแบบส้มหล่นผ่านถนนสายปรองดอง ที่ให้ปากคำการันตีแทนแกนนำก่อการร้ายแดงว่าจะช่วยทำให้บ้านเมืองกลับสู่ความสงบและความปรองดองจะเกิดขึ้นได้เมื่อคนเหล่านี้ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว
นั่นคือคำพูดจากปาก พล.ต.สนั่นที่ศาลอาญาวันที่ 21 ก.พ. 2554 ถัดมาอีกเพียงแค่วันเดียว คนที่พยายามสร้างความปรองดองให้กับประเทศนี้กลับแสดงท่าทีแข็งกร้าวใน ครม.เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2554 ด้วยการไล่บี้ พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผู้ช่วย ผบ.ตร. ให้เปิดเส้นทางจราจรบริเวณพื้นที่การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและเครือข่ายประชาชนไทยหัวใจรักชาติให้ได้ โดยให้เหตุผลว่ามีคนชุมนุมไม่เกิน 5-6 ร้อยคนไม่ควรปล่อยให้มีการปิดถนน
คน ๆ เดียวกันแท้ ๆ กลับมีทัศนคติที่แตกต่างกันสิ้นเชิงกับผู้ชุมนุม 2 กลุ่ม
พล.ต.สนั่น เอื้ออาทรอย่างยิ่งกับแกนนำก่อการร้ายแดงที่เผาบ้านเผาเมือง จนประเทศแทบจะดำดิ่งลงสุ่หุบเหวแห่งหายนะ เมตตาอย่างยิ่งกับแกนนำก่อการร้ายแดงที่ก่อเหตุจนเป็นชนวนให้เกิดความสูญเสียเกือบ 100 ชีวิต ด้วยการเปิดบ้านพักสนามบินน้ำต้อนรับการกลับสู่อิสรภาพของกากเดนสังคมเหล่านี้ พร้อมกับเปิดไวน์ราคาแพงเลี้ยงรับขวัญ
พล.ต.สนั่น แข็งกร้าวอย่างที่สุดกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและเครือข่ายประชาชนไทยหัวใจรักชาติ โดยเห็นว่าคนเหล่านี้คือผู้สร้างความเดือดร้อน ละเมิดสิทธิผู้อื่น ปิดถนนจนผู้คนเดือดร้อน และเร่งรัดให้ตำรวจจัดการเด็ดขาดเพื่อให้มีการคืนพื้นที่จราจรให้ได้โดยเร็ว
พฤติกรรมเยี่ยงนี้อธิบายได้อย่างเดียวคือ “หางแดงโผล่เตรียมตะกายขึ้นตึกไทยคู่ฟ้า” ก็เท่านั้น ช่างน่าสมเพชจริง ๆ