หวังอีก2ปีราคาลอยตัว
อุตฯ น้ำตาลปรับตัว รับมือมาตรการภาครัฐ ลอยตัวน้ำตาล 2-3 ปีข้างหน้านี้ ควงกลยุทธ์สร้างมูลค่าเพิ่ม “วังขนาย” ผุดเซกเมนต์น้ำตาลเพื่อสุขภาพ ปั้นสินค้า “ออร์แกนิค” สร้างความต่างทะลวงนิชมาร์เก็ต พ่วงกำไรเพิ่ม 25% แก้เกี้ยวน้ำตาลทรายเป็นสินค้าควบคุมราคา กำไรต่ำ 10% ระบุการลอยตัวเพิ่มกำไรผู้ผลิต 15-20% สิ้นปีโต 20% กวาดรายได้ 4,000 ล้านบาท
นายบุญญฤทธิ์ ณ วังขนาย ผู้จัดการทั่วไป กลุ่มวังขนาย ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำตาลวังขนาย กล่าวว่า ช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา ราคาสินค้าเกษตรโลกที่เกี่ยวเนื่องกับพลังงาน อาทิ น้ำตาล มีราคาปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดราคาน้ำตาลทรายดิบโลกปรับเพิ่มขึ้น 35-40% หรือ 800 เหรียญต่อตัน สำหรับในตลาดไทยช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มูลค่าน้ำตาลทราย 5-6 หมื่นล้านบาท เติบโตต่อเนื่อง 12-13% เพราะนำไปแปรรูปเป็นเอทานอล ขณะที่ราคาน้ำตาลเพื่อการบริโภคตรึงตัวต่อเนื่อง ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา
ปัจจัยที่ทำให้น้ำตาลตรึงตัวหรือขาดแคลนในตลาด มาจากการที่น้ำตาลเป็นสินค้าควบคุม โดยราคาหน้าโรงงาน 20 บาทต่อกก.และราคาขายปลีกอยู่ที่ 23.50 บาทต่อกก. ซึ่งปัจจุบันการจำหน่ายน้ำตาลของผู้ประกอบการขาดทุน 75 สตางค์ต่อกก. ดังนั้นผู้ผลิตจึงผลิตตามโควต้าที่ภาครัฐกำหนด โดยปีนี้มีป้อนตลาด 25 ล้านกระสอบ จึงเชื่อว่าไม่เกิน 2-3 ปีข้างหน้านี้ รัฐบาลต้องลอยตัวราคาน้ำตาล เพราะราคาน้ำตาลโลกขยับสูงถึง 36 เซนต์สหรัฐต่อออนซ์ จากปกติ 22 เซนต์สหรัฐต่อออนซ์ ซึ่งการลอยตัวราคาน้ำตาลจะทำให้ผู้ผลิตมีกำไรเพิ่มขึ้น 15-20%
“ปีนี้ น้ำตาลเพียงพอกับความต้องการของตลาด แต่สาเหตุที่ขาดแคลน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกลุ่มธุรกิจค้าปลีก หรือโมเดิร์นเทรดต้องการสั่งสินค้า เพื่อจำหน่ายในปริมาณที่มากขึ้น ขณะที่ผู้ผลิตก็ผลิตตามโควต้าที่รัฐบาลกำหนด และไม่ผลิตป้อนในตลาดเพิ่ม เนื่องจากกำไรน้อยอยู่แล้ว”
**สร้างมูลค่าเพิ่มรับลอยตัวน้ำตาล**
นายบุญญฤทธิ์ กล่าวว่า แผนการตลาดท่ามกลางสภาพตลาดน้ำตาลที่ไม่สเถียร บริษัทปรับตัวหันมาผลิตน้ำตาลเพื่อสุขภาพ หรือ น้ำตาลออร์แกนิค เป็นการสร้างเซกเมนต์ใหม่ ออกมาตอบสนองความต้องการสินค้าเพื่อสุขภาพ อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะสารเคมีต่างๆ และที่สำคัญด้วยราคาขาย 65บาท ขนาด 500 กรัม ส่งผลให้บริษัทมีกำไรที่เพิ่มขึ้น 25% เมื่อเทียบกับน้ำตาลทรายปกติมีกำไร 11-12% ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มผลิต 2 โรงงาน คือ จ.ลพบุรี และจ.นครราชสีมา และอีก 2-3 ปี จะผลิตเพิ่ม 2 โรงงาน ที่ จ.สุพรรณบุรี และจ.มหาสารคาม
นายบุญญฤทธิ์ กล่าวว่า การปรับตัวของกลุ่มผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ 3-4 ราย ได้แก่ มิตรผล วังขนาย ลิน เริ่มหันมาสร้างมูลค่าเพิ่มน้ำตาล ด้วยการสร้างเซกเมนต์ใหม่ๆ อาทิ น้ำตาลสำหรับชงเครื่องดื่มกาแฟ เพื่อเจาะนิชมาร์เก็ตมากกว่าจะเป็นตลาดทั่วไป เนื่องด้วยน้ำตาลเป็นผลิตภัณฑ์พื้นฐานที่ไม่มีความแตกต่างกัน ทำให้ทุกค่ายต้องสร้างความแตกต่างของสินค้าและแบรนด์ เพื่อรองรับกับการลอยตัวของราคาน้ำตาลในอนาคต
“การที่บริษัทออกมาทำน้ำตาลออร์แกนิค เนื่องจากสามารถขายในราคาที่สูงกว่าน้ำตาลปกติได้ เทียบราคา น้ำตาลออร์แกนิค 500 กรัม ราคา 65 บาท ขณะที่น้ำตาลปกติ 20 บาท เพราะไม่ได้เป็นสินค้าควบคุม ดังนั้นในอนาคตบริษัทจึงมีแผนที่จะขยายพื้นที่การผลิตน้ำตาลออร์แกนิคจากปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกอ้อยอยู่ที่ 4,000 ไร่ ผลิตน้ำตาลออร์แกนิคได้ประมาณ 4,300 ตัน เพิ่มเป็น 6,000 ไร่ ผลิตน้ำตาลเข้าทำตลาด 10,000 ตัน” นายบุญญฤทธิ์กล่าว
ผลประกอบการปีนี้บริษัทตั้งเป้า 4,000 ล้านบาท หรือเติบโต 20% แบ่งเป็น รายได้ในเชิงมูลค่าต่างประเทศ 70% และภายในประเทศ 30% โดยปัจจุบันมีส่วนแบ่ง 8% คาดว่าปีหน้านี้เพิ่มเป็น 10% เป็นอันดับ 4 ของตลาดรองจากน้ำตาลลิน ซึ่งมีส่วนแบ่ง 11% ทั้งนี้บริษัทมีกำลังการผลิต 6-7 แสนตันต่อปี ซึ่งการผลิตตามโควต้าที่รัฐบาลกำหนด คือ ในต่างประเทศ 65% และภายในประเทศ 35%
อุตฯ น้ำตาลปรับตัว รับมือมาตรการภาครัฐ ลอยตัวน้ำตาล 2-3 ปีข้างหน้านี้ ควงกลยุทธ์สร้างมูลค่าเพิ่ม “วังขนาย” ผุดเซกเมนต์น้ำตาลเพื่อสุขภาพ ปั้นสินค้า “ออร์แกนิค” สร้างความต่างทะลวงนิชมาร์เก็ต พ่วงกำไรเพิ่ม 25% แก้เกี้ยวน้ำตาลทรายเป็นสินค้าควบคุมราคา กำไรต่ำ 10% ระบุการลอยตัวเพิ่มกำไรผู้ผลิต 15-20% สิ้นปีโต 20% กวาดรายได้ 4,000 ล้านบาท
นายบุญญฤทธิ์ ณ วังขนาย ผู้จัดการทั่วไป กลุ่มวังขนาย ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำตาลวังขนาย กล่าวว่า ช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา ราคาสินค้าเกษตรโลกที่เกี่ยวเนื่องกับพลังงาน อาทิ น้ำตาล มีราคาปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดราคาน้ำตาลทรายดิบโลกปรับเพิ่มขึ้น 35-40% หรือ 800 เหรียญต่อตัน สำหรับในตลาดไทยช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มูลค่าน้ำตาลทราย 5-6 หมื่นล้านบาท เติบโตต่อเนื่อง 12-13% เพราะนำไปแปรรูปเป็นเอทานอล ขณะที่ราคาน้ำตาลเพื่อการบริโภคตรึงตัวต่อเนื่อง ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา
ปัจจัยที่ทำให้น้ำตาลตรึงตัวหรือขาดแคลนในตลาด มาจากการที่น้ำตาลเป็นสินค้าควบคุม โดยราคาหน้าโรงงาน 20 บาทต่อกก.และราคาขายปลีกอยู่ที่ 23.50 บาทต่อกก. ซึ่งปัจจุบันการจำหน่ายน้ำตาลของผู้ประกอบการขาดทุน 75 สตางค์ต่อกก. ดังนั้นผู้ผลิตจึงผลิตตามโควต้าที่ภาครัฐกำหนด โดยปีนี้มีป้อนตลาด 25 ล้านกระสอบ จึงเชื่อว่าไม่เกิน 2-3 ปีข้างหน้านี้ รัฐบาลต้องลอยตัวราคาน้ำตาล เพราะราคาน้ำตาลโลกขยับสูงถึง 36 เซนต์สหรัฐต่อออนซ์ จากปกติ 22 เซนต์สหรัฐต่อออนซ์ ซึ่งการลอยตัวราคาน้ำตาลจะทำให้ผู้ผลิตมีกำไรเพิ่มขึ้น 15-20%
“ปีนี้ น้ำตาลเพียงพอกับความต้องการของตลาด แต่สาเหตุที่ขาดแคลน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกลุ่มธุรกิจค้าปลีก หรือโมเดิร์นเทรดต้องการสั่งสินค้า เพื่อจำหน่ายในปริมาณที่มากขึ้น ขณะที่ผู้ผลิตก็ผลิตตามโควต้าที่รัฐบาลกำหนด และไม่ผลิตป้อนในตลาดเพิ่ม เนื่องจากกำไรน้อยอยู่แล้ว”
**สร้างมูลค่าเพิ่มรับลอยตัวน้ำตาล**
นายบุญญฤทธิ์ กล่าวว่า แผนการตลาดท่ามกลางสภาพตลาดน้ำตาลที่ไม่สเถียร บริษัทปรับตัวหันมาผลิตน้ำตาลเพื่อสุขภาพ หรือ น้ำตาลออร์แกนิค เป็นการสร้างเซกเมนต์ใหม่ ออกมาตอบสนองความต้องการสินค้าเพื่อสุขภาพ อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะสารเคมีต่างๆ และที่สำคัญด้วยราคาขาย 65บาท ขนาด 500 กรัม ส่งผลให้บริษัทมีกำไรที่เพิ่มขึ้น 25% เมื่อเทียบกับน้ำตาลทรายปกติมีกำไร 11-12% ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มผลิต 2 โรงงาน คือ จ.ลพบุรี และจ.นครราชสีมา และอีก 2-3 ปี จะผลิตเพิ่ม 2 โรงงาน ที่ จ.สุพรรณบุรี และจ.มหาสารคาม
นายบุญญฤทธิ์ กล่าวว่า การปรับตัวของกลุ่มผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ 3-4 ราย ได้แก่ มิตรผล วังขนาย ลิน เริ่มหันมาสร้างมูลค่าเพิ่มน้ำตาล ด้วยการสร้างเซกเมนต์ใหม่ๆ อาทิ น้ำตาลสำหรับชงเครื่องดื่มกาแฟ เพื่อเจาะนิชมาร์เก็ตมากกว่าจะเป็นตลาดทั่วไป เนื่องด้วยน้ำตาลเป็นผลิตภัณฑ์พื้นฐานที่ไม่มีความแตกต่างกัน ทำให้ทุกค่ายต้องสร้างความแตกต่างของสินค้าและแบรนด์ เพื่อรองรับกับการลอยตัวของราคาน้ำตาลในอนาคต
“การที่บริษัทออกมาทำน้ำตาลออร์แกนิค เนื่องจากสามารถขายในราคาที่สูงกว่าน้ำตาลปกติได้ เทียบราคา น้ำตาลออร์แกนิค 500 กรัม ราคา 65 บาท ขณะที่น้ำตาลปกติ 20 บาท เพราะไม่ได้เป็นสินค้าควบคุม ดังนั้นในอนาคตบริษัทจึงมีแผนที่จะขยายพื้นที่การผลิตน้ำตาลออร์แกนิคจากปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกอ้อยอยู่ที่ 4,000 ไร่ ผลิตน้ำตาลออร์แกนิคได้ประมาณ 4,300 ตัน เพิ่มเป็น 6,000 ไร่ ผลิตน้ำตาลเข้าทำตลาด 10,000 ตัน” นายบุญญฤทธิ์กล่าว
ผลประกอบการปีนี้บริษัทตั้งเป้า 4,000 ล้านบาท หรือเติบโต 20% แบ่งเป็น รายได้ในเชิงมูลค่าต่างประเทศ 70% และภายในประเทศ 30% โดยปัจจุบันมีส่วนแบ่ง 8% คาดว่าปีหน้านี้เพิ่มเป็น 10% เป็นอันดับ 4 ของตลาดรองจากน้ำตาลลิน ซึ่งมีส่วนแบ่ง 11% ทั้งนี้บริษัทมีกำลังการผลิต 6-7 แสนตันต่อปี ซึ่งการผลิตตามโควต้าที่รัฐบาลกำหนด คือ ในต่างประเทศ 65% และภายในประเทศ 35%