กลุ่มมิตรผลจ่อลงทุนโรงไฟฟ้าชีวมวลในจีนเพิ่มขึ้นอีกแห่ง หลังโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ฝูหนานขนาด 32เมกะวัตต์ เดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในต้นปีนี้ ส่วนโรงไฟฟ้าชีวมวลแห่งใหม่ที่กาฬสินธุ์และด่านช้าง มั่นใจผลิตไฟฟ้าเข้าระบบได้ในไตรมาส 1/2555 ดันรายได้จากธุรกิจไฟฟ้าของกลุ่มมิตรผลเพิ่มขึ้นเป็น 3,500 ล้านบาท
นายสุวัฒน์ กมลพนัส กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจไฟฟ้าในกลุ่มมิตรผล เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทฯมีการศึกษาความเป็นไปได้ที่จะตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลเพิ่มขึ้นอีกแห่งที่หนิงหมิง มณฑลกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน หลังจากโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ฝูหนานซึ่งใช้ชานอ้อยเป็นเชื้อเพลิง 100%แห่งแรกในจีนได้เดินเครื่องจักรเชิงพาณิชย์ในต้นปีนี้ ซึ่งการตัดสินใจรุกธุรกิจโรงไฟฟ้าชีวมวลสอดคล้องกับนโยบายของกลุ่มมิตรผลที่ต้องการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำตาลควบคู่กับธุรกิจไฟฟ้าชีวมวล
ปัจจุบันกลุ่มมิตรผลมีการลงทุนโรงงานน้ำตาลในจีน 7 โรงซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ไม่ห่างไกลกันมาก โดยมีโรงงานผลิตน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์อยู่ 2แห่งที่ฝูหนิง และหนิงหมิงซึ่งเหมาะสมที่จะตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลได้ อีกทั้งรัฐบาลจีนให้การสนับสนุนการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลทั้งในเรื่องความช่วยเหลือด้านราคา(Adder)เพิ่มขึ้นจากเดิม 0.25 หยวน/หน่วยเป็น 0.35 หยวน/หน่วยหรือคิดเป็น1.70 บาท/หน่วย และการไฟฟ้าของจีนจะต้องรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวลเป็นอันดับแรก เนื่องจากรัฐบาลจีนมีเป้าหมายที่จะเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนจาก 9%เป็น 15 %ในปี 2563
ทั้งนี้โรงไฟฟ้าชีวมวลที่ฝูหนานของกลุ่มมิตรผล มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 32 เมกะวัตต์ ใช้เงินลงทุน 280 ล้านหยวน หรือประมาณ 1,300 ล้านบาท มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 30 เมกะวัตต์ให้กับรัฐบาลจีนเป็นเวลา 15ปี โดยปีแรกบริษัทฯจะรับรู้รายได้จากการขายไฟฟ้าที่ฝูหนานประมาณ 450 ล้านบาท
นายสุวัฒน์ กล่าวถึงความคืบหน้าการลงทุนโรงไฟฟ้าชีวมวลในไทยว่า บริษัทฯได้ยื่นรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(สผ.)ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลใช้ชานอ้อยเป็นเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นอีก 2 แห่ง คือ ส่วนขยายกำลังผลิตเพิ่มที่โรงไฟฟ้าด่านช้าง จ.สุพรรณอีก 32 เมกะวัตต์ ใช้เงินลงทุน 1,300 ล้านบาท และโรงไฟฟ้าชีวมวลที่กาฬสินธุ์ 57 เมกะวัตต์ ใช้เงินลงทุน 2,380 ล้านบาทคาดว่าโรงไฟฟ้าทั้ง 2แห่งจะก่อสร้างและผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในไตรมาสแรกปี 2555 ส่งผลให้กลุ่มมิตรผลมีกำลังการผลิตไฟฟ้าชีวมวลเพิ่มขึ้นจาก 140 เมกะวัตต์เป็น 229 เมกะวัตต์ ทำให้มีรายได้จากธุรกิจไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 2,000 ล้านบาทเป็น 3,500 ล้านบาทในปี2555
นายสุวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า โรงไฟฟ้าแห่งใหม่ทั้ง 2แห่งในไทยคงไม่เข้าข่ายที่จะขายคาร์บอนเครดิตได้ เนื่องจากกฎระเบียบมีความเข้มงวดมากขึ้น ขณะที่โรงไฟฟ้าชีวมวลที่จีนนั้นอยู่ระหว่างการตั้งที่ปรึกษาในการขายคาร์บอนเครดิต เนื่องจากโรงไฟฟ้าดังกล่าวลดการปล่อยคาร์บอนเครดิตได้ 6-7 หมื่นตัน/ปี
ทั้งนี้ ตนขอเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนการให้ Adderในโรงไฟฟ้าชีวมวลจากเดิมที่ได้รับ 30 สต./หน่วย ให้เพิ่มขึ้นเป็น 1 บาท/หน่วย หรือการหาช่องทางการสนับสนุนการจัดสร้างคลังหรือไซโลที่เก็บวัตถุดิบ เพื่อให้โรงไฟฟ้าชีวมวลสามารถเกิดขึ้นได้ จากปัจจุบันพบว่าโรงไฟฟ้าชีวมวลมีปัญหาต้นทุนราคาวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นทำให้ผลตอบแทนการลงทุนต่ำ และต้องลงทุนด้านเทคโนโลยีเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
นอกจากนี้ กลุ่มมิตรผลยังมองโอกาสการลงทุนในโรงไฟฟ้าโคเจเนอเรชั่นที่ใช้ก๊าซฯเป็นเชื้อเพลิง และโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ โดยได้ยื่นขอทำโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ขนาด 2เมกะวัตต์ ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ใช้เงินลงทุน 170 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างหาเทคโนโลยีใหม่เพื่อลดต้นทุนหลังกฟผ.ปรับลดAdderลง
นายสุวัฒน์ กมลพนัส กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจไฟฟ้าในกลุ่มมิตรผล เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทฯมีการศึกษาความเป็นไปได้ที่จะตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลเพิ่มขึ้นอีกแห่งที่หนิงหมิง มณฑลกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน หลังจากโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ฝูหนานซึ่งใช้ชานอ้อยเป็นเชื้อเพลิง 100%แห่งแรกในจีนได้เดินเครื่องจักรเชิงพาณิชย์ในต้นปีนี้ ซึ่งการตัดสินใจรุกธุรกิจโรงไฟฟ้าชีวมวลสอดคล้องกับนโยบายของกลุ่มมิตรผลที่ต้องการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำตาลควบคู่กับธุรกิจไฟฟ้าชีวมวล
ปัจจุบันกลุ่มมิตรผลมีการลงทุนโรงงานน้ำตาลในจีน 7 โรงซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ไม่ห่างไกลกันมาก โดยมีโรงงานผลิตน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์อยู่ 2แห่งที่ฝูหนิง และหนิงหมิงซึ่งเหมาะสมที่จะตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลได้ อีกทั้งรัฐบาลจีนให้การสนับสนุนการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลทั้งในเรื่องความช่วยเหลือด้านราคา(Adder)เพิ่มขึ้นจากเดิม 0.25 หยวน/หน่วยเป็น 0.35 หยวน/หน่วยหรือคิดเป็น1.70 บาท/หน่วย และการไฟฟ้าของจีนจะต้องรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวลเป็นอันดับแรก เนื่องจากรัฐบาลจีนมีเป้าหมายที่จะเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนจาก 9%เป็น 15 %ในปี 2563
ทั้งนี้โรงไฟฟ้าชีวมวลที่ฝูหนานของกลุ่มมิตรผล มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 32 เมกะวัตต์ ใช้เงินลงทุน 280 ล้านหยวน หรือประมาณ 1,300 ล้านบาท มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 30 เมกะวัตต์ให้กับรัฐบาลจีนเป็นเวลา 15ปี โดยปีแรกบริษัทฯจะรับรู้รายได้จากการขายไฟฟ้าที่ฝูหนานประมาณ 450 ล้านบาท
นายสุวัฒน์ กล่าวถึงความคืบหน้าการลงทุนโรงไฟฟ้าชีวมวลในไทยว่า บริษัทฯได้ยื่นรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(สผ.)ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลใช้ชานอ้อยเป็นเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นอีก 2 แห่ง คือ ส่วนขยายกำลังผลิตเพิ่มที่โรงไฟฟ้าด่านช้าง จ.สุพรรณอีก 32 เมกะวัตต์ ใช้เงินลงทุน 1,300 ล้านบาท และโรงไฟฟ้าชีวมวลที่กาฬสินธุ์ 57 เมกะวัตต์ ใช้เงินลงทุน 2,380 ล้านบาทคาดว่าโรงไฟฟ้าทั้ง 2แห่งจะก่อสร้างและผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในไตรมาสแรกปี 2555 ส่งผลให้กลุ่มมิตรผลมีกำลังการผลิตไฟฟ้าชีวมวลเพิ่มขึ้นจาก 140 เมกะวัตต์เป็น 229 เมกะวัตต์ ทำให้มีรายได้จากธุรกิจไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 2,000 ล้านบาทเป็น 3,500 ล้านบาทในปี2555
นายสุวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า โรงไฟฟ้าแห่งใหม่ทั้ง 2แห่งในไทยคงไม่เข้าข่ายที่จะขายคาร์บอนเครดิตได้ เนื่องจากกฎระเบียบมีความเข้มงวดมากขึ้น ขณะที่โรงไฟฟ้าชีวมวลที่จีนนั้นอยู่ระหว่างการตั้งที่ปรึกษาในการขายคาร์บอนเครดิต เนื่องจากโรงไฟฟ้าดังกล่าวลดการปล่อยคาร์บอนเครดิตได้ 6-7 หมื่นตัน/ปี
ทั้งนี้ ตนขอเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนการให้ Adderในโรงไฟฟ้าชีวมวลจากเดิมที่ได้รับ 30 สต./หน่วย ให้เพิ่มขึ้นเป็น 1 บาท/หน่วย หรือการหาช่องทางการสนับสนุนการจัดสร้างคลังหรือไซโลที่เก็บวัตถุดิบ เพื่อให้โรงไฟฟ้าชีวมวลสามารถเกิดขึ้นได้ จากปัจจุบันพบว่าโรงไฟฟ้าชีวมวลมีปัญหาต้นทุนราคาวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นทำให้ผลตอบแทนการลงทุนต่ำ และต้องลงทุนด้านเทคโนโลยีเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
นอกจากนี้ กลุ่มมิตรผลยังมองโอกาสการลงทุนในโรงไฟฟ้าโคเจเนอเรชั่นที่ใช้ก๊าซฯเป็นเชื้อเพลิง และโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ โดยได้ยื่นขอทำโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ขนาด 2เมกะวัตต์ ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ใช้เงินลงทุน 170 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างหาเทคโนโลยีใหม่เพื่อลดต้นทุนหลังกฟผ.ปรับลดAdderลง