รอยเตอร์/เอเจนซีส์ - ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกทะยานขึ้นทำสถิติสูงสุดในรอบ 2 ปีครึ่งเมื่อวานนี้(22) เนื่องจากความวิตกเกี่ยวกับสถานการณ์การประท้วงอันรุนแรงในลิเบีย รวมทั้งหวั่นผวากันว่ากระแสลุกฮือเช่นนี้ยังอาจจะแผ่ลามต่อไปถึงชาติผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อื่นๆ ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ
“มันเหมือนกับเหตุการณ์ไฟป่าในออสเตรเลีย นั่นคือ ทันทีที่มันโหมฮือจนแรงได้ที่แล้ว ก็ยากนักหนาที่จะดับมันได้” ไมเคิล ฮิวสัน นักวิเคราะห์แห่ง ซีเอ็มซี มาร์เก็ตส์ ในกรุงลอนดอน ให้ความเห็น “และจนกว่าสถานการณ์ในตะวันออกกลางจะค่อยสงบเข้าที่เข้าทางแล้วนั่นแหละ ไม่เช่นนั้นคุณก็ยังจะได้เห็นราคาน้ำมันเหวี่ยงตัวอย่างรุนแรงมากต่อไป”
เมื่อ 11.42 น.ตามเวลามาตรฐานกรีนิช (ตรงกับ 18.42 น.เมืองไทย) ของวานนี้ สัญญาซื้อขายน้ำมันดิบชนิด “เบรนต์” ของลอนดอน เพื่อการส่งมอบเดือนเมษายน ได้ไต่ขึ้นไปจากราคาปิดวันก่อน 1.36 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 107.10 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ภายหลังที่ก่อนหน้านั้นได้วิ่งไปแตะระดับ 108.57 ดอลลาร์ ส่วนราคาของน้ำมันดิบสหรัฐฯเพื่อการส่งมอบเดือนเมษายนเช่นกัน ทะยานสูงขึ้น 6.82 ดอลลาร์ ไปยืนที่ 96.53 ดอลลาร์ เนื่องจากพวกนักลงทุนและเทรดเดอร์ต่างมีความว้าวุ่นกังวลใจกันมากขึ้นว่าสถานการณ์ความไม่สงบอาจจะแผ่ลามออกไป
ตลาดมองว่าน้ำมันในยุโรปส่วนใหญ่ต้องมาจากตะวันออกกลาง ดังนั้นกระแสการลุกฮือที่เกิดขึ้นในแถบตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ จึงส่งผลต่อราคาของ “เบรนต์” มากกว่าราคาน้ำมันดิบในสหรัฐฯ แต่การที่น้ำมันในตลาดสหรัฐฯพุ่งแรงผิดปกติมากคราวนี้ ส่วนหนึ่งอธิบายได้จากข้อเท็จจริงที่ว่า เมื่อวันจันทร์(21)เป็นวันหยุดราชการในสหรัฐฯ โดยที่สัญญาล่วงหน้าน้ำมันยังมีซื้อขายกันอยู่ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ แต่ไม่มีการประกาศราคาปิดเพื่อชำระบัญชีกัน และยังคงถือราคาปิดในวันศุกร์(18)เป็นฐานอ้างอิง
ลิเบียมีฐานะเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 3 ของแอฟริกา และผลิตน้ำมันได้ราววันละ 1.6 ล้านบาร์เรล ซึ่งนับเป็นปริมาณไม่ใช่น้อย ทว่า คาร์สเตน ฟริตช์ นักวิเคระห์แห่งธนาคารคอมเมอร์ซแบงก์ ชี้ว่า เวลานี้องค์การโอเปกโดยรวมยังมีความสามารถผลิตที่ยังไม่ได้นำออกมาใช้ผลิตอยู่มาก โดยน่าจะถึง 6 ล้านบาร์เรลต่อวันทีเดียว ดังนั้นแม้กระทั่งลิเบียหยุดส่งออกน้ำมันทั้งหมด ก็ยังจะไม่ทำให้ซัปพลายในตลาดโลกขาดแคลน
“มันจึงเป็นความหวั่นผวามากกว่า เกี่ยวกับเรื่องสถานการณ์เช่นนี้อาจจะกระจายต่อไปยังสถานที่อย่าง แอลจีเรีย, คูเวต, หรือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์” นักวิเคราะห์ผู้นี้ชี้
เท่าที่มีรายงานออกมา การผลิตน้ำมันในลิเบียได้ปิดไปแล้วอย่างน้อย 100,000 บาร์เรลต่อวัน หรือประมาณ 6% ของการผลิตของประเทศ โดยที่ตามข้อมูลของสำนักงานสารนิเทศพลังงานของสหรัฐฯนั้น ลิเบียมีปริมาณน้ำมันสำรองที่มีการสำรวจชดเจนแล้วอยู่ราว 44,000 ล้านบาร์เรล สูงที่สุดในบรรดาชาติแอฟริกาด้วยกัน
กระแสการประท้วงทั่วแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลางเท่าที่ผ่านมา ยังแทบไม่มีผลกระทบต่อซัปพลายน้ำมันที่ออกสู่ตลาดเลย จวบจนกระทั่งการลุกฮือในลิเบียสัปดาห์นี้
“มันเหมือนกับเหตุการณ์ไฟป่าในออสเตรเลีย นั่นคือ ทันทีที่มันโหมฮือจนแรงได้ที่แล้ว ก็ยากนักหนาที่จะดับมันได้” ไมเคิล ฮิวสัน นักวิเคราะห์แห่ง ซีเอ็มซี มาร์เก็ตส์ ในกรุงลอนดอน ให้ความเห็น “และจนกว่าสถานการณ์ในตะวันออกกลางจะค่อยสงบเข้าที่เข้าทางแล้วนั่นแหละ ไม่เช่นนั้นคุณก็ยังจะได้เห็นราคาน้ำมันเหวี่ยงตัวอย่างรุนแรงมากต่อไป”
เมื่อ 11.42 น.ตามเวลามาตรฐานกรีนิช (ตรงกับ 18.42 น.เมืองไทย) ของวานนี้ สัญญาซื้อขายน้ำมันดิบชนิด “เบรนต์” ของลอนดอน เพื่อการส่งมอบเดือนเมษายน ได้ไต่ขึ้นไปจากราคาปิดวันก่อน 1.36 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 107.10 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ภายหลังที่ก่อนหน้านั้นได้วิ่งไปแตะระดับ 108.57 ดอลลาร์ ส่วนราคาของน้ำมันดิบสหรัฐฯเพื่อการส่งมอบเดือนเมษายนเช่นกัน ทะยานสูงขึ้น 6.82 ดอลลาร์ ไปยืนที่ 96.53 ดอลลาร์ เนื่องจากพวกนักลงทุนและเทรดเดอร์ต่างมีความว้าวุ่นกังวลใจกันมากขึ้นว่าสถานการณ์ความไม่สงบอาจจะแผ่ลามออกไป
ตลาดมองว่าน้ำมันในยุโรปส่วนใหญ่ต้องมาจากตะวันออกกลาง ดังนั้นกระแสการลุกฮือที่เกิดขึ้นในแถบตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ จึงส่งผลต่อราคาของ “เบรนต์” มากกว่าราคาน้ำมันดิบในสหรัฐฯ แต่การที่น้ำมันในตลาดสหรัฐฯพุ่งแรงผิดปกติมากคราวนี้ ส่วนหนึ่งอธิบายได้จากข้อเท็จจริงที่ว่า เมื่อวันจันทร์(21)เป็นวันหยุดราชการในสหรัฐฯ โดยที่สัญญาล่วงหน้าน้ำมันยังมีซื้อขายกันอยู่ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ แต่ไม่มีการประกาศราคาปิดเพื่อชำระบัญชีกัน และยังคงถือราคาปิดในวันศุกร์(18)เป็นฐานอ้างอิง
ลิเบียมีฐานะเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 3 ของแอฟริกา และผลิตน้ำมันได้ราววันละ 1.6 ล้านบาร์เรล ซึ่งนับเป็นปริมาณไม่ใช่น้อย ทว่า คาร์สเตน ฟริตช์ นักวิเคระห์แห่งธนาคารคอมเมอร์ซแบงก์ ชี้ว่า เวลานี้องค์การโอเปกโดยรวมยังมีความสามารถผลิตที่ยังไม่ได้นำออกมาใช้ผลิตอยู่มาก โดยน่าจะถึง 6 ล้านบาร์เรลต่อวันทีเดียว ดังนั้นแม้กระทั่งลิเบียหยุดส่งออกน้ำมันทั้งหมด ก็ยังจะไม่ทำให้ซัปพลายในตลาดโลกขาดแคลน
“มันจึงเป็นความหวั่นผวามากกว่า เกี่ยวกับเรื่องสถานการณ์เช่นนี้อาจจะกระจายต่อไปยังสถานที่อย่าง แอลจีเรีย, คูเวต, หรือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์” นักวิเคราะห์ผู้นี้ชี้
เท่าที่มีรายงานออกมา การผลิตน้ำมันในลิเบียได้ปิดไปแล้วอย่างน้อย 100,000 บาร์เรลต่อวัน หรือประมาณ 6% ของการผลิตของประเทศ โดยที่ตามข้อมูลของสำนักงานสารนิเทศพลังงานของสหรัฐฯนั้น ลิเบียมีปริมาณน้ำมันสำรองที่มีการสำรวจชดเจนแล้วอยู่ราว 44,000 ล้านบาร์เรล สูงที่สุดในบรรดาชาติแอฟริกาด้วยกัน
กระแสการประท้วงทั่วแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลางเท่าที่ผ่านมา ยังแทบไม่มีผลกระทบต่อซัปพลายน้ำมันที่ออกสู่ตลาดเลย จวบจนกระทั่งการลุกฮือในลิเบียสัปดาห์นี้