ชุมพร-ชาวประมงชุมพรประท้วง บ.ซาลามานเดอร์ เจาะสำรวจน้ำมันอ่าวไทยใกล้จุดท่องเที่ยวกลางทะเล และแหล่งวางไข่เพาะพันธุ์สัตว์น้ำ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวประมงในพื้นที่ ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.ชุมพร ประมาณ 100 คน นำโดย นายธำรง พันธุ์เล็ก นายกสมาคมประมงร่วมใจปากน้ำชุมพร ได้มารวมตัวกันที่สะพานปลาปากน้ำ เพื่อร่วมกันปล่อยเรือประมงที่ปิดป้ายประท้วงคัดค้าน การขุดสำรวจปิโตรเลียมของ บริษัท ซาลามานเดอร์ เอนเนอร์ยี่ (บัวหลวง) ลิมิเต็ด หลังจากทราบมาว่า บริษัท ได้นำเรือเข้าทำการขุดเจาะน้ำมันในแปลงสัมปทาน B8/38 เมื่อวันที่ 16 ก.พ.2554 ซึ่งก่อนหน้านี้ชาวประมงได้ปล่อยเรือออกรณรงค์ประท้วงไปแล้ว 3 ลำ และครั้งนี้ ปล่อยเพิ่มอีก 3 ลำรวม 6 ลำ
นายธำรง พันธุ์เล็ก นายกสมาคมประมงร่วมใจปากน้ำชุมพร กล่าวว่า บริษัท ซาลามานเดอร์ เอนเนอร์ยี่ (บัวหลวง) ลิมิเต็ด ไม่ได้ทำตามข้อตกลง เมื่อวันที่ 19 ม.ค.2554 ที่มีการประชุมระหว่างตัวแทนของบริษัทกับตัวแทนชาวประมง โดยมี นายพินิจ เจริญพานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธาน
ข้อตกลงในครั้งนั้น ที่ประชุมให้ชะลอการเจาะสำรวจน้ำมันออกไปก่อน เพื่อให้นักวิชาการที่เป็นกลางมาประเมินความเสี่ยงผลกระทบอีกครั้ง เนื่องจากบริเวณที่ขุดเจาะห่างจากเกาะเต่า ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งดำน้ำสำคัญที่สุดของอ่าวไทยเพียง 65 กิโลเมตรเท่านั้น นอกจากนี้ บริเวณขุดเจาะยังเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับแนวเขตที่กำหนดเป็นพื้นที่ประกาศปิดอ่าวฤดูปลาวางไข่และฟักตัวอ่อนด้วย แต่บริษัทกลับไม่ฟังนำเรือเข้าพื้นที่ทำการขุดเจาะอย่างไม่สนใจ
“เราได้ประสานงานกับองค์กรอนุรักษ์เกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า เพื่อให้ร่วมต่อต้านการขุดเจาะน้ำมันในครั้งนี้ พร้อมกับให้สมาคมทนายความ ศึกษาข้อกฎหมายว่าจะทำการฟ้องร้อง กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และบริษัท ซาลามานเดอร์ เอนเนอร์ยี่ (บัวหลวง) ลิมิเต็ด ได้หรือไม่ หากดำเนินการได้ก็จะดำเนินการทันที แต่ถ้าดำเนินการไม่ได้สมาคมประมงจะไม่ให้ความร่วมมือและจะต่อต้าน บริษัท ซาลามานเดอร์ เอนเนอร์ยี่ (บัวหลวง) ลิมิเต็ด ทุกกรณีหากมีการประชุมรับฟังความคิดเห็นในการสำรวจน้ำมันในครั้งต่อๆไป ” นายธำรง กล่าว
ทั้งนี้ บริษัท ซาลามานเดอร์ เอนเนอร์ยี่ (บัวหลวง) ลิมิเต็ด มีแผนดำเนินการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมในทะเลอ่าวไทยบริเวณแปลงสัมปทาน B8/38 จำนวน 4 หลุม ระหว่างเดือนม.ค.-พ.ค. 2554 หลังจากบริษัทได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA และทำการสำรวจด้วยการวัดความไหวสะเทือนแบบ 3 มิติ เสร็จสิ้นตั้งแต่ปี 2553 สำหรับแปลงสัมปทาน B8/38 ตั้งอยู่บริเวณอ่าวไทย ห่างจากฝั่ง ต.ปากน้ำชุมพร ประมาณ 110 กิโลเมตร และห่างจากเกาะเต่าประมาณ 65 กิโลเมตร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวประมงในพื้นที่ ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.ชุมพร ประมาณ 100 คน นำโดย นายธำรง พันธุ์เล็ก นายกสมาคมประมงร่วมใจปากน้ำชุมพร ได้มารวมตัวกันที่สะพานปลาปากน้ำ เพื่อร่วมกันปล่อยเรือประมงที่ปิดป้ายประท้วงคัดค้าน การขุดสำรวจปิโตรเลียมของ บริษัท ซาลามานเดอร์ เอนเนอร์ยี่ (บัวหลวง) ลิมิเต็ด หลังจากทราบมาว่า บริษัท ได้นำเรือเข้าทำการขุดเจาะน้ำมันในแปลงสัมปทาน B8/38 เมื่อวันที่ 16 ก.พ.2554 ซึ่งก่อนหน้านี้ชาวประมงได้ปล่อยเรือออกรณรงค์ประท้วงไปแล้ว 3 ลำ และครั้งนี้ ปล่อยเพิ่มอีก 3 ลำรวม 6 ลำ
นายธำรง พันธุ์เล็ก นายกสมาคมประมงร่วมใจปากน้ำชุมพร กล่าวว่า บริษัท ซาลามานเดอร์ เอนเนอร์ยี่ (บัวหลวง) ลิมิเต็ด ไม่ได้ทำตามข้อตกลง เมื่อวันที่ 19 ม.ค.2554 ที่มีการประชุมระหว่างตัวแทนของบริษัทกับตัวแทนชาวประมง โดยมี นายพินิจ เจริญพานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธาน
ข้อตกลงในครั้งนั้น ที่ประชุมให้ชะลอการเจาะสำรวจน้ำมันออกไปก่อน เพื่อให้นักวิชาการที่เป็นกลางมาประเมินความเสี่ยงผลกระทบอีกครั้ง เนื่องจากบริเวณที่ขุดเจาะห่างจากเกาะเต่า ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งดำน้ำสำคัญที่สุดของอ่าวไทยเพียง 65 กิโลเมตรเท่านั้น นอกจากนี้ บริเวณขุดเจาะยังเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับแนวเขตที่กำหนดเป็นพื้นที่ประกาศปิดอ่าวฤดูปลาวางไข่และฟักตัวอ่อนด้วย แต่บริษัทกลับไม่ฟังนำเรือเข้าพื้นที่ทำการขุดเจาะอย่างไม่สนใจ
“เราได้ประสานงานกับองค์กรอนุรักษ์เกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า เพื่อให้ร่วมต่อต้านการขุดเจาะน้ำมันในครั้งนี้ พร้อมกับให้สมาคมทนายความ ศึกษาข้อกฎหมายว่าจะทำการฟ้องร้อง กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และบริษัท ซาลามานเดอร์ เอนเนอร์ยี่ (บัวหลวง) ลิมิเต็ด ได้หรือไม่ หากดำเนินการได้ก็จะดำเนินการทันที แต่ถ้าดำเนินการไม่ได้สมาคมประมงจะไม่ให้ความร่วมมือและจะต่อต้าน บริษัท ซาลามานเดอร์ เอนเนอร์ยี่ (บัวหลวง) ลิมิเต็ด ทุกกรณีหากมีการประชุมรับฟังความคิดเห็นในการสำรวจน้ำมันในครั้งต่อๆไป ” นายธำรง กล่าว
ทั้งนี้ บริษัท ซาลามานเดอร์ เอนเนอร์ยี่ (บัวหลวง) ลิมิเต็ด มีแผนดำเนินการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมในทะเลอ่าวไทยบริเวณแปลงสัมปทาน B8/38 จำนวน 4 หลุม ระหว่างเดือนม.ค.-พ.ค. 2554 หลังจากบริษัทได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA และทำการสำรวจด้วยการวัดความไหวสะเทือนแบบ 3 มิติ เสร็จสิ้นตั้งแต่ปี 2553 สำหรับแปลงสัมปทาน B8/38 ตั้งอยู่บริเวณอ่าวไทย ห่างจากฝั่ง ต.ปากน้ำชุมพร ประมาณ 110 กิโลเมตร และห่างจากเกาะเต่าประมาณ 65 กิโลเมตร