ASTVผู้จัดการรายวัน - "ทีพีไอ โพลีน"ทุ่ม2 พันล้านบาทรุกโครงการพลังงานทดแทนจากขยะ โรงปุ๋ยชีวภาพ โครงการผลิตน้ำมันจากยางและพลาสติกใช้แล้ว และธุรกิจสำรวจผลิตปิโตรเลียม ที่ล่าสุดบริษัทลูก"ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์"ได้รับสัมปทานสำรวจและผลิตปิโตรเลียมบนบก แปลง L29/50
วานนี้ (8 ก.พ.) น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานพิธีลงนามให้สัมปทานเพื่อสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในแปลงสำรวจบนบกจำนวน 2 สัมปทานใน2แปลงสำรวจ แก่ผู้ได้รับสัมปทานดังนี้ คือ แปลงสำรวจหมายเลข L14/50 ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ชัยภูมิ เลยและพิษณุโลก ให้แก่บริษัทJSX Energy Holdings Limited และ แปลงสำรวจหมายเลขL29/50 ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และชัยภูมิ ให้แก่บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด
นางอรพิน เลี่ยวไพรัตน์ กรรมการบริหาร บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในปีนี้ตั้งงบลงทุนไว้ 2 พันล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนของบริษัทย่อย เพื่อใช้ในโครงการพลังงานทดแทนจากการคัดแยกขยะมาเผาลดการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพจากขยะ โครงการผลิตน้ำมันจากยางและพลาสติกใช้แล้ว (Pyrolysis) รวมไปถึงการสำรวจปิโตรเลียมที่ได้รับสัมปทานในแปลงL29/50ของบริษัท ทีพีไอโพลีน เพาเวอร์ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ถือหุ้นอยู่ 99%
โดยแหล่งเงินทุนมาจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ซึ่งงบลงทุนในปีนี้จะสูงกว่าปีก่อนที่ใช้เงินลงทุนประมาณ 1 พันล้านบาท บางโครงการเป็นการลงทุนต่อเนื่องจากปีที่แล้ว อาทิ โครงการผลิตปุ๋ยชีวภาพ ส่วนการลงทุนสำรวจปิโตรเลียมนั้น จะวางหลักค้ำประกันการรับสัมปทานเป็นวงเงิน 5.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 165 ล้านบาท เพื่อใช้ในการเจาะสำรวจเป็นเวลา 3ปี หลังจากรับรู้ปริมาณสำรองน้ำมันในแปลงดังกล่าวหากพบว่ามีศักยภาพที่ดีก็จะพัฒนาได้ก่อนกำหนด
ทั้งนี้ บริษัทมีความมั่นใจว่าแปลงสัมปทานL29/50 มีศักยภาพด้านปิโตรเลียมสูงกว่าแปลงอื่นๆ โดยเบื้องต้นจะว่าจ้างบริษัทเข้าไปศึกษาทางธรณีวิทยาและสำรวจวัดความสั่นสะเทือนต่อไป โดยยังไม่มีแผนจะหาพันธมิตรทางธุรกิจเข้ามาร่วมทุนในโครงการนี้
นางอรพินกล่าวต่อไปว่า ในปีนี้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากมีการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า ส่วนรายได้ในปีนี้จะเติบโตจากปีก่อนหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับราคาปูนซีเมนต์และเม็ดพลาสติกLDPE ที่ผูกพันกับราคาน้ำมันและภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งกำลังการผลิตปูนซีเมนต์ของบริษัทอยู่ที่ 9ล้านตัน/ปีเท่าเดิม เช่นเดียวกับกำลังผลิตเม็ดพลาสติกLDPE 1.3 แสนตัน/ปี
อย่างไรก็ตาม ปีนี้บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการประหยัดค่าใช้จ่ายพลังงานจากโครงการพลังงานทดแทนประมาณ 600 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าไปได้ 500 ล้านบาท และมีรายได้จากการจำหน่ายปุ๋ยชีวภาพเข้ามาหลังจากเริ่มทำตลาดในปี 2554
ทั้งนี้ โครงการพลังงานทดแทนจากขยะมาผลิตไฟฟ้าและโครงการผลิตปุ๋ยจากขยะจะใช้เงินลงทุนรวม 2 พันล้านบาท และโครงการผลิตน้ำมันจากพลาสติกและยางใช้แล้ว เงินลงทุนรวม 700-800 ล้านบาท
รายงานข่าวจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติแจ้งว่า บริษัทที่ได้รับสัมปทานในแปลงสำรวจทั้ง 2 แปลงมีข้อผูกพันที่ต้องลงทุนสำรวจในช่วงระยะเวลา 3ปีแรก (2554-2556) คือ ศึกษาธรณีวิทยา ประมวลผลข้อมูล การสำรวจวัดความไหวสั่นสะเทือนสองมิติเป็นระยะทาง 100 กม.และเจาะหลุมสำรวจ 2 หลุม ใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 7 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยรัฐจะได้รับเงินผลประโยชน์พิเศษในรูปของโบนัสการลงนาม เงินอุดหนุนเพื่อการพัฒนาปิโตรเลียมในไทย และทุนการศึกษาและอบรม เป็นเงินอีก 5.1 ล้านบาท ซึ่งการให้สัมปทานปิโตรเลียมครั้งนี้ เป็นการให้สัมปทานครั้งสุดท้ายที่เปิดให้ยื่นขอสัมปทานรอบที่ 20
วานนี้ (8 ก.พ.) น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานพิธีลงนามให้สัมปทานเพื่อสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในแปลงสำรวจบนบกจำนวน 2 สัมปทานใน2แปลงสำรวจ แก่ผู้ได้รับสัมปทานดังนี้ คือ แปลงสำรวจหมายเลข L14/50 ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ชัยภูมิ เลยและพิษณุโลก ให้แก่บริษัทJSX Energy Holdings Limited และ แปลงสำรวจหมายเลขL29/50 ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และชัยภูมิ ให้แก่บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด
นางอรพิน เลี่ยวไพรัตน์ กรรมการบริหาร บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในปีนี้ตั้งงบลงทุนไว้ 2 พันล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนของบริษัทย่อย เพื่อใช้ในโครงการพลังงานทดแทนจากการคัดแยกขยะมาเผาลดการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพจากขยะ โครงการผลิตน้ำมันจากยางและพลาสติกใช้แล้ว (Pyrolysis) รวมไปถึงการสำรวจปิโตรเลียมที่ได้รับสัมปทานในแปลงL29/50ของบริษัท ทีพีไอโพลีน เพาเวอร์ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ถือหุ้นอยู่ 99%
โดยแหล่งเงินทุนมาจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ซึ่งงบลงทุนในปีนี้จะสูงกว่าปีก่อนที่ใช้เงินลงทุนประมาณ 1 พันล้านบาท บางโครงการเป็นการลงทุนต่อเนื่องจากปีที่แล้ว อาทิ โครงการผลิตปุ๋ยชีวภาพ ส่วนการลงทุนสำรวจปิโตรเลียมนั้น จะวางหลักค้ำประกันการรับสัมปทานเป็นวงเงิน 5.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 165 ล้านบาท เพื่อใช้ในการเจาะสำรวจเป็นเวลา 3ปี หลังจากรับรู้ปริมาณสำรองน้ำมันในแปลงดังกล่าวหากพบว่ามีศักยภาพที่ดีก็จะพัฒนาได้ก่อนกำหนด
ทั้งนี้ บริษัทมีความมั่นใจว่าแปลงสัมปทานL29/50 มีศักยภาพด้านปิโตรเลียมสูงกว่าแปลงอื่นๆ โดยเบื้องต้นจะว่าจ้างบริษัทเข้าไปศึกษาทางธรณีวิทยาและสำรวจวัดความสั่นสะเทือนต่อไป โดยยังไม่มีแผนจะหาพันธมิตรทางธุรกิจเข้ามาร่วมทุนในโครงการนี้
นางอรพินกล่าวต่อไปว่า ในปีนี้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากมีการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า ส่วนรายได้ในปีนี้จะเติบโตจากปีก่อนหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับราคาปูนซีเมนต์และเม็ดพลาสติกLDPE ที่ผูกพันกับราคาน้ำมันและภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งกำลังการผลิตปูนซีเมนต์ของบริษัทอยู่ที่ 9ล้านตัน/ปีเท่าเดิม เช่นเดียวกับกำลังผลิตเม็ดพลาสติกLDPE 1.3 แสนตัน/ปี
อย่างไรก็ตาม ปีนี้บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการประหยัดค่าใช้จ่ายพลังงานจากโครงการพลังงานทดแทนประมาณ 600 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าไปได้ 500 ล้านบาท และมีรายได้จากการจำหน่ายปุ๋ยชีวภาพเข้ามาหลังจากเริ่มทำตลาดในปี 2554
ทั้งนี้ โครงการพลังงานทดแทนจากขยะมาผลิตไฟฟ้าและโครงการผลิตปุ๋ยจากขยะจะใช้เงินลงทุนรวม 2 พันล้านบาท และโครงการผลิตน้ำมันจากพลาสติกและยางใช้แล้ว เงินลงทุนรวม 700-800 ล้านบาท
รายงานข่าวจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติแจ้งว่า บริษัทที่ได้รับสัมปทานในแปลงสำรวจทั้ง 2 แปลงมีข้อผูกพันที่ต้องลงทุนสำรวจในช่วงระยะเวลา 3ปีแรก (2554-2556) คือ ศึกษาธรณีวิทยา ประมวลผลข้อมูล การสำรวจวัดความไหวสั่นสะเทือนสองมิติเป็นระยะทาง 100 กม.และเจาะหลุมสำรวจ 2 หลุม ใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 7 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยรัฐจะได้รับเงินผลประโยชน์พิเศษในรูปของโบนัสการลงนาม เงินอุดหนุนเพื่อการพัฒนาปิโตรเลียมในไทย และทุนการศึกษาและอบรม เป็นเงินอีก 5.1 ล้านบาท ซึ่งการให้สัมปทานปิโตรเลียมครั้งนี้ เป็นการให้สัมปทานครั้งสุดท้ายที่เปิดให้ยื่นขอสัมปทานรอบที่ 20