นครศรีธรรมราช – กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติลงพื้นที่นครศรีธรรมราช จัดกิจกรรมรับฟังความคิดเห็นเจาะน้ำมันกลางทะเล
วันนี้ (18 มี.ค.) กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ได้เข้าจัดกิจกรรมการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นในโครงการเจาะสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทยประจำปี 2553 โดยมีการรวบรวมโครงการสัมปทานสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมในอ่าวไทยรวม 5 โครงการ คือ 1.แปลงสำรวจหมายเลข B12/27 แหล่งอุบล ของบริษัท เชฟรอนสำรวจและผลิตจำกัด 2.แปลงสำรวจหมายเลข G8/50 และ G9/48 ของบริษัท ปตท.สผ.จำกัด (มหาชน) 3.แปลงสำรวจหมายเลข G10/48 ของบริษัท เพิร์ลออยล์ (ประเทศไทย) จำกัด 4.แปลงสำรวจหมายเลข G11/48 ของบริษัท เพิร์ลออยล์บางกอก จำกัด และ 5.แปลงสำรวจหมายเลข G5/50 ของบริษัท นิวคอสตอล (ประเทศไทย) จำกัด
นายธีระ มินทราศักดิ์ ผู้ว่าฯ จ.นครศรีธรรมราช เป็นประธานในการรับฟังความคิดเห็น และมี ดร.ทรงภพ พลจันทร์ รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เป็นผู้แนะนำโครงการ มีเข้าร่วมจากหลายฝ่ายเข้าแสดงความคิดเห็นต่อโครงการทั้ง 5 บริษัทรวมมูลค่าหลายแสนล้านบาท
นายธีระ มินทราศักดิ์ เปิดเผยว่า การสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมกลางอ่าวไทย ในส่วนของนครศรีธรรมราชมีพื้นที่ชายฝั่งยาวกว่า 250 กม. โดยเฉพาะพื้นที่ที่เกี่ยวข้องคือ อ.ขนอม อ.สิชล อ.ท่าศาลา อ.เมือง อ.หัวไทร ตามมาตรา 57 แห่งรัฐธรรมนูญ ปี 50 การลงทุนของผู้ประกอบการขนาดใหญ่ต้องให้ประชาชนรับทราบและเข้าใจ ในโครงการทั้งหมดถือว่าเป็นการพัฒนาที่ถูกระบบ นั่นคือการช่วยกันกลั่นกรองถึงผลกระทบที่จะได้รับ และถือเป็นเรื่องที่ดีที่ทุกฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วม
ดร.ทรงภพ พลจันทร์ รองอธิบกีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่านครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่ที่ใช้แบไรท์จาก อ.ท่าศาลา เข้าในการเจาะสำรวจ และถือเป็นพื้นที่ที่เกี่ยวข้องหลัก คือ แผนพัฒนาปิโตรเลียมในอ่าวไทย นครศรีธรรมราช ได้ถูกเลือกจากเชฟรอนไม่ให้เป็นพื้นที่ฐานสนับสนุน หรือฐานซัปพลายเบสท์ จากเดิมที่มีอยู่ใน จ.สงขลา และ อ.สัตหีบ ชลบุรี สำหรับเชพรอนนั้นเป็นผู้ผลิตปิโตรเลียมที่ใช้ในประเทศถึง 2 ใน 3 ของทั้งหมด และเป็นผู้รับสัมปทานรายใหญ่ของประเทศไทย
รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกล่าวต่อว่า กระทรวงพลังงานจำเป็นต้องมีแผนในการผลิตพลังงานให้เพียงพอในอนาคตอย่างน้อยไปอีก 50 ปี ต่อมาคือการพัฒนาร่วมไทย-มาเลฯ ในพื้นที่ทับซ้อนประมาณ 2 พันล้านบาเรล ปัจจุบันนั้นเราต้องซื้อก๊าซต่อปีถึง 1.1 พันล้าน และใช้ก๊าซถึง 4 พันล้าน ลบ.ฟุต/วัน และในพื้นที่ไทย-กัมพูชาซึ่งยังเป็นพื้นที่ทับซ้อนหากสามารถแก้ปัญหาได้สำเร็จจะสามารถแก้ไขที่ทำให้มีปริมาณพลังงานสำรองได้มากขึ้น
ในการรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ สืบเนื่องจากบริษัทที่ได้รับสัมปทานนั้นได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาออกดำเนินการหลายครั้งต่อเนื่องกันทั้งในส่วนของ EIA และ HIA ทำให้ประชาชนเกิดความสับสน และไม่ได้เข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน มีปัจจัยภายนอกที่เข้ามาเป็นตัวเร้าทำให้โครงการหลายโครงการเกิดปัญหา เกรงถึงผลกระทบที่จะได้รับ โดยเฉพาะข้อมูลจากเอ็นจีโอที่ไม่ครบสมบูรณ์ทั้งหมดเลือกใช้ข้อมูลบางชุดที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงและข้อมูลส่วนใหญ่เป็นข้อกล่าวหา
โครงการที่กำลังได้รับการต่อต้านคือโครงการก่อสร้างฐานสนับสนุนของบริษัทเชพรอน ซึ่งกำลังประสบกับปัญหานี้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจึงใช้วิธีการในการรับฟังความคิดเห็นแบบหลายโครงการพร้อมกัน โดยในพื้นที่นครศรีธรรมราช ได้นำมารับฟังความคิดเห็นพร้อมกัน 5 โครงการ เพื่อขจัดปัญหานี้
วันนี้ (18 มี.ค.) กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ได้เข้าจัดกิจกรรมการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นในโครงการเจาะสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทยประจำปี 2553 โดยมีการรวบรวมโครงการสัมปทานสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมในอ่าวไทยรวม 5 โครงการ คือ 1.แปลงสำรวจหมายเลข B12/27 แหล่งอุบล ของบริษัท เชฟรอนสำรวจและผลิตจำกัด 2.แปลงสำรวจหมายเลข G8/50 และ G9/48 ของบริษัท ปตท.สผ.จำกัด (มหาชน) 3.แปลงสำรวจหมายเลข G10/48 ของบริษัท เพิร์ลออยล์ (ประเทศไทย) จำกัด 4.แปลงสำรวจหมายเลข G11/48 ของบริษัท เพิร์ลออยล์บางกอก จำกัด และ 5.แปลงสำรวจหมายเลข G5/50 ของบริษัท นิวคอสตอล (ประเทศไทย) จำกัด
นายธีระ มินทราศักดิ์ ผู้ว่าฯ จ.นครศรีธรรมราช เป็นประธานในการรับฟังความคิดเห็น และมี ดร.ทรงภพ พลจันทร์ รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เป็นผู้แนะนำโครงการ มีเข้าร่วมจากหลายฝ่ายเข้าแสดงความคิดเห็นต่อโครงการทั้ง 5 บริษัทรวมมูลค่าหลายแสนล้านบาท
นายธีระ มินทราศักดิ์ เปิดเผยว่า การสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมกลางอ่าวไทย ในส่วนของนครศรีธรรมราชมีพื้นที่ชายฝั่งยาวกว่า 250 กม. โดยเฉพาะพื้นที่ที่เกี่ยวข้องคือ อ.ขนอม อ.สิชล อ.ท่าศาลา อ.เมือง อ.หัวไทร ตามมาตรา 57 แห่งรัฐธรรมนูญ ปี 50 การลงทุนของผู้ประกอบการขนาดใหญ่ต้องให้ประชาชนรับทราบและเข้าใจ ในโครงการทั้งหมดถือว่าเป็นการพัฒนาที่ถูกระบบ นั่นคือการช่วยกันกลั่นกรองถึงผลกระทบที่จะได้รับ และถือเป็นเรื่องที่ดีที่ทุกฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วม
ดร.ทรงภพ พลจันทร์ รองอธิบกีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่านครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่ที่ใช้แบไรท์จาก อ.ท่าศาลา เข้าในการเจาะสำรวจ และถือเป็นพื้นที่ที่เกี่ยวข้องหลัก คือ แผนพัฒนาปิโตรเลียมในอ่าวไทย นครศรีธรรมราช ได้ถูกเลือกจากเชฟรอนไม่ให้เป็นพื้นที่ฐานสนับสนุน หรือฐานซัปพลายเบสท์ จากเดิมที่มีอยู่ใน จ.สงขลา และ อ.สัตหีบ ชลบุรี สำหรับเชพรอนนั้นเป็นผู้ผลิตปิโตรเลียมที่ใช้ในประเทศถึง 2 ใน 3 ของทั้งหมด และเป็นผู้รับสัมปทานรายใหญ่ของประเทศไทย
รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกล่าวต่อว่า กระทรวงพลังงานจำเป็นต้องมีแผนในการผลิตพลังงานให้เพียงพอในอนาคตอย่างน้อยไปอีก 50 ปี ต่อมาคือการพัฒนาร่วมไทย-มาเลฯ ในพื้นที่ทับซ้อนประมาณ 2 พันล้านบาเรล ปัจจุบันนั้นเราต้องซื้อก๊าซต่อปีถึง 1.1 พันล้าน และใช้ก๊าซถึง 4 พันล้าน ลบ.ฟุต/วัน และในพื้นที่ไทย-กัมพูชาซึ่งยังเป็นพื้นที่ทับซ้อนหากสามารถแก้ปัญหาได้สำเร็จจะสามารถแก้ไขที่ทำให้มีปริมาณพลังงานสำรองได้มากขึ้น
ในการรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ สืบเนื่องจากบริษัทที่ได้รับสัมปทานนั้นได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาออกดำเนินการหลายครั้งต่อเนื่องกันทั้งในส่วนของ EIA และ HIA ทำให้ประชาชนเกิดความสับสน และไม่ได้เข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน มีปัจจัยภายนอกที่เข้ามาเป็นตัวเร้าทำให้โครงการหลายโครงการเกิดปัญหา เกรงถึงผลกระทบที่จะได้รับ โดยเฉพาะข้อมูลจากเอ็นจีโอที่ไม่ครบสมบูรณ์ทั้งหมดเลือกใช้ข้อมูลบางชุดที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงและข้อมูลส่วนใหญ่เป็นข้อกล่าวหา
โครงการที่กำลังได้รับการต่อต้านคือโครงการก่อสร้างฐานสนับสนุนของบริษัทเชพรอน ซึ่งกำลังประสบกับปัญหานี้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจึงใช้วิธีการในการรับฟังความคิดเห็นแบบหลายโครงการพร้อมกัน โดยในพื้นที่นครศรีธรรมราช ได้นำมารับฟังความคิดเห็นพร้อมกัน 5 โครงการ เพื่อขจัดปัญหานี้