ASTVผู้จัดการรายวัน - “กมม.”ขอ “ดาวพงษ์” แจงรายละเอียดข้อตกลงหยุดยิงกับเขมร ปูด!!สาเหตุทหารเลือกหยุดยิง ถึงที่สุด UNก็เข้ามา ส่วน “มาร์ค” ปัด เสธ.ทบ.ลงนามแค่ระดับพื้นที่ ด้าน “กษิต” หวังเชิญตัวแทนรัฐบาลอินโดนีเซียเป็นพยานหยุดยิงถาวร
ที่พรรคการเมืองใหม่ นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ กล่าวถึงกรณีที่ฝ่ายไทยและกัมพูชาลงนามในข้อตกลงหยุดยิง เมื่อวันที่ 19 ก.พ.ที่ผ่านมา ว่า การลงนามดังกล่าวทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบ ตกเป็นเบี้ยล่างของกัมพูชา และอาจสูญเสียดินแดน 4.6 ตร.กม.เป็นทางการและถาวร โดยก่อนลงนามในข้อตกลงทั้ง 8 ข้อนั้น กองทัพและรัฐบาลควรหาทางผลักดันกองกำลังและชุมชนชาวกัมพูชาออกไปจากแผ่นดินไทยก่อน จึงค่อยทำข้อตกลง เพราะรัฐบาลหรือกองทัพเองก็ยอมรับว่ามีชุมชนกัมพูชารุกเข้ามาในผืนแผ่นดินไทยจริง ดังนั้นการลงนามในขณะที่กัมพูชายังตรึงกำลังอยู่ในพื้นที่ 4.6 ตร.กม.เป็นส่วนใหญ่ เท่ากับไปยอมรับว่าดินแดนดังกล่าวเป็นของกัมพูชา และสามารถนำไปเป็นข้ออ้างในที่ประชุมกรรมการมรดกโลกได้ว่าพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารกลายเป็นพื้นที่สันติภาพแล้ว ทั้งที่คนในรัฐบาลเคยออกมาระบุว่า เหตุปะทะที่เกิดขึ้นช่วงวันที่ 4-7 ก.พ.นั้นเป็นผลดีกับไทย เนื่องจากทำให้กัมพูชาไม่สามารถเดินหน้าขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารได้ เพราะเป็นื้นที่มรดกโลกอันตราย แต่เมื่อมีการลงนามทำให้กัมพูชาอ้างว่าสถานการณ์สงบแล้ว มีสิทธิ์เดินหน้ายื่นแผนการบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารต่อคณะกรรมการมรดกโลกได้ ตรรกะที่คนในรัฐบาลพยายามหยิบยกมาอ้างจึงหมดลงทันที
“พรรคการเมืองใหม่เรียกร้องให้ พล.อ.ดาวน์พงษ์ รัตนสุวรรณ เสนาธิการทหารบก ในฐานะตัวแทนกองทัพไทยได้ชี้แจงรายละเอียดการลงนามข้อตกลงหยุดยิง และเหนืออื่นใดรัฐบาลจะต้องรีบทบทวนยกเลิกข้อตกลงดังกล่าวให้เร็วที่สุด เพราะเป็นการยอมรับความชอบธรรมให้กองกำลังกัมพูชายึดครองแผ่นดินไทยต่อไป ซึ่งไม่เป็นประโยชน์ต่อไทยและเข้าทางกัมพูชาชัดเจน” เลขาฯพรรคการเมืองใหม่ กล่าว
**ปูด!!สาเหตุทหารเลือกหยุดยิง
รายงานข่าวแจ้งว่า เหตุผลของคณะผู้เจรจาหยุดยิงว่า เพื่อยุติการสู้รบที่จะบานปลายกลายเป็นสงคราม ตามที่ฮุนเซน ต้องการ เพื่อให้ UNและ UN Peacekeeping forceเข้ามา เมื่อนั้นเราเสียเปรียบแน่ เพราะต่อให้สู้รบกันตายกันเป็นเบือทั้งสองฝ่ายทั้งทหารและประชาชน ที่สุดก็ต้องไปจบที่การเจรจาอยู่ดี แต่ดันมี UNเข้ามาด้วย ดังนั้นจะเลือกหยุดยิง แบบคุยทวิภาคีดีกว่า
**มาร์คปัด “ดาว์พงษ์” เจรจาแค่ระดับพื้น
ที่สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่พล.อ. ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เสนาธิการทหารบก เดินทางไปเจรจากรณีที่กัมพูชาเสนอลงนามหยุดยิงถาวร ว่า ปกติในพื้นที่จะมีการคุยและประสานงานกัน ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ในระดับนโยบายทั้งหมด จะต้องคุยกันในภาพรวม
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะไปไกลถึงขั้นลงนามหยุดยิง หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ยังไม่มีอะไรที่บ่งบอกอย่างนั้น ซึ่งการที่พล.อ. ดาว์พงษ์ เดินทางไปเจรจา ก็ถือเป็นเรื่องการบริหารงานในพื้นที่ปกติ เมื่อถามว่า ปัญหาที่ห่วงกันคือ ถ้ามีการลงนามหยุดยิงถาวร อาจเกิดปัญหากับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกด้วย ในแง่ถ้าเป็นพื้นที่สันติภาพอาจกลายเป็นว่ากัมพูชาจะขึ้นทะเบียนได้ง่ายขึ้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ ตนเองได้คุยกับผู้อำนวยการยูเนสโก โดยบอกว่าปัญหาตัวปราสาทเรื่องของทหารเป็นเรื่องที่ผิดข้อตกลงระหว่างประเทศ และหลักของมรดกโลก และตนได้พูดต่อว่าพื้นที่ที่ยังมีปัญหา 4.6 ตารางกิโลเมตร ทางยูเนสโกหรือใครต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องไม่ได้ในเรื่องของการวางกำลังหรืออะไรต่างๆ เพราะเป็นเรื่องความละเอียดอ่อนที่เป็นข้อพิพาท และเราต้องปกป้องอธิปไตยของเรา ท่านก็พูดชัดว่าไม่ไปเกี่ยวข้องเรื่อง 4.6 ตารางกิโลเมตร จะดูเฉพาะตัวปราสาท ไม่มีเรื่องทหาร ตรงนี้คุยกันแล้ว ฉะนั้น มรดกโลกไม่มีประเด็นที่จะต้องมายุ่งเรื่อง 4.6 ตารางกิโลเมตร
เมื่อถามว่า ในส่วนประธานอาเซียนสนับสนุนการลงนามของทั้งสองฝ่าย นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่แน่ใจว่ามีคำพูดชัดเจนหรือเปล่า แต่เท่าที่ทราบคือ เขาต้องการให้สามารถบรรลุข้อตกลงตามเจตนารมณ์ที่คุยกันไว้ ที่สหประชาชาติว่าควรจะมีการหยุดยิง แต่ไม่ได้พูดถึงรูปแบบ ซึ่งบ่ายนี้จะคุยกัน
**ท่องคาถาไม่เสียอธิปไตย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์ ว่า ก่อนหน้าที่กัมพูชาไปร้องให้ส่งกองกำลังสันติภาพเข้ามา ชัดเจนแล้วว่าคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชชาติ (ยูเอ็นเอสซี) ได้รับฟังข้อมูลและเห็นว่าเป็นเรื่องที่สองฝ่ายพูดคุยได้ โดยให้อาเซียนเข้ามาอำนวยความสะดวกประสานงานให้ และประชุม วันที่ 22 ก.พ. นี้ อาเซียนจะไม่แทรกแซงเนื้อหารายละเอียด แต่จะเป็นผู้อำนวยความสะดวก จัดให้พบกันหรือเป็นสักขีพยาน แต่ตนและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง จะเดินหน้าในการประสานงานให้ประชาคมโลกเข้าใจ
ทั้งนี้ มีโอกาสพูดกับผู้อำนวยการใหญ่ของยูเนสโก ซึ่งดูจะเข้าใจตรงกับเรามากขึ้นเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารโดยเฉพาะการยอมรับให้มีแผนบริหารจัดการพื้นที่ในขณะเขตแดนเป็นปัญหา เป็นเรื่องไม่สามารถดำเนินการได้ ดังนั้นขอให้ยูเนสโกพิจารณาว่า แทนที่จะเอาเรื่องนี้คุยกันอีก ในเดือนมิ.ย. ควรจะปล่อยให้สองฝ่ายดำเนินการเจรจา เรื่องเขตแดนเรียบร้อย และ หยุดเรื่องมรดกโลกไว้ก่อน ส่วนปัญหาตัวปราสาทมีปัญหาหรือไม่ หากไม่มีการขึ้นทะเบียน ยืนยันว่า จริงๆ สองประเทศสามารถดูแลสภาวะแวดล้อมได้ ที่สำคัญการเพิ่มความตึงเครียดไม่เป็นประโยชน์ เพราะเราได้ส่งหลักฐานชัดเจนว่ากัมพูชาได้นำทหารเข้าไปอยู่ในตัวปราสาท ขัดกับมรดกโลก และข้อตกลงระหว่าประเทศ ส่วนที่มีการห่วง ที่จะมีการเจรจาและหยุดยิง เรียนว่าเราไม่เคยเป็นฝ่ายยิงก่อนไม่ว่าจะมีข้อตกลใดๆ แต่ไม่มีใครห้ามที่จะให้เราปกป้องอธิปไตยได้ อยากให้มีความมั่นใจ ให้เกิดความสงบสุขในพื้นที่โดยไม่เสียอธิปไตยแต่ประการใด
**เชิญตัวแทนอินโดฯพยานหยุดยิงถาวร
ที่กระทรวงการต่างประเทศ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ประชุมร่วมกับนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศ พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดท่าทีของไทยต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
นายกษิต กล่าวว่า โดยสรุปสั้นคือๆการดำเนินต่อเนื่องจากมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ(ยูเอ็นเอสซี) ที่ขอให้รัฐบาลไทยและกัมพูชาเจรจาแบบทวิภาคีกันต่อไปในประเด็นปัญหาของเขตแดน โดยมีอาเซียนเป็นพี่เลี้ยงคอยตะล่อมให้การเจรจาดำเนินการได้ ซึ่งในวันที่ 22 ก.พ. ตนยืนยันอย่างยิ่งว่าฝ่ายไทยจะใช้กลไกทวิภาคีที่มีอยู่กับกัมพูชา ทั้งกรอบเจบีซี ที่มีนายอัษฎา ชัยนาม เป็นประธานฯ ส่วนกรอบจีบีซีที่มีพล.อ.ประวิตร
และกรอบอาร์บีซีที่มีแม่ทัพภาค 2 เป็นผู้ดูแล โดยตนจะถือโอกาสนี้ชี้แจงว่า
เรื่องกรอบเจรจาพวกนี้ในองค์รวมที่ผ่านมาเราไม่ได้นิ่งเฉยมีความคืบหน้าตลอด ฉะนั้นยังอยู่ในวิสัยที่จะดำเนินการต่อไปตามเจตนารมณ์ของยูเอ็นเอสซีและเจตนารมณ์ของฝ่ายไทยด้วย ซึ่งตนยืนยันว่าอาเซียนจะเป็นเพียงพี่เลี้ยงให้การเจรจสองฝ่ายคืบหน้าไปได้ซึ่งไม่ใช่การยกระดับของปัญหา แต่เป็นเรื่องที่ยูเอ็นเอสซีส่งกลับมาที่อาเซียน ส่วนผลเป็นอย่างไรก็จะมีการรายงานผ่านที่ประธานอาเซียน และส่งต่อไปยังยูเอ็นเอสซีต่อไป
“ท่านทูตอัษฎา ทำหนังสือถึงกัมพูชาโดยให้กับนายฮอร์นัมฮง รมว.ต่างประเทศเพื่อเชิญกัมพูชามาประชุมเจบีซีที่กทม. ตามที่เคยเสนอไปให้มาประชุมวันที่ 27 ก.พ. ส่วนกรอบจีบีซีนั้นพล.อ.ประวิตร จะมีหนังสือถึงพล.อ.เตียบัน รมว.กลาโหมของกัมพูชา เพื่อให้กัมพูชาเป็นเจ้าภาพการประชุมส่วนจะจัดประชุมวันไหนก็อยู่ที่ฝ่ายกัมพูชา และหวังว่าจะมีประชุมจีบีซีของกระทรวงกลาโหมว่าจะดำเนินการอย่างไรเพื่อไม่ให้มีการปะทะ ซึ่งเราพร้อมหวังและว่าฝายกัมพูชาจะพร้อม“นายกษิต กล่าว
ส่วนประเด็นกองกำลังในเขตแดนที่มีการลงนามหยุดยิงนั้น นายกษิต ยืนยันว่าเป็นการพบกันของทหารของสองฝ่ายแต่ไม่ใช่เป็นการเจรจาเป็นเพียงการปรึกษาหารือเพื่อนำเรื่องต้องเสนอไประดับสูงต่อไป เป็นเพียงการทอร์ค(พูดคุย) เป็นการปรึกษาเหมือนตนส่งลูกน้องไปแล้วเขาก็กลับมารายงาน เป็นการพูดคุยกัน หรือเหมือนเป็นการจีบสาว เขาต้องรายงานไปที่เจ้านายของเขา
นายกษิต กล่าวอีกว่า ในวันที่ 22 ก.พ.ในความพร้อมของฝ่ายไทยนั้นจะขอให้ประเทศอินโดนีเซียส่งผู้สังเกตการณ์มาอยู่กับกองกำลังของฝ่ายไทยในจุดที่มีการปะทะกันเพื่อเป็นสักขีพยานว่าเราไม่ได้ทำและไม่ประสงค์ที่จะให้มีการสู้รบและไม่ได้เป็นฝ่ายยิงก่อน โดยเราหวังว่ากัมพูชาก็จะยืนยันด้วยเช่นกันในการที่จะมีตัวแทนรัฐบาลอินโดนีเซียไปอยู่ฝ่ายเขา เพื่อว่าการหยุดยิงจะเป็นการหยุดยิงที่จริงจังถาวร
นายกษิตยืนยันว่า ไม่จำเป็นต้องมีการลงนามหยุดยิงเพราะเพราะมีกลไกเจบีซี และจีบีซีอยู่แล้ว รวมทั้งมีหลายช่องทางดำเนินการ และถ้ากัมพูชาไม่รับขอเสนอตนก็ไม่ทราบ แต่ถ้ากัมพูชามุ่งหวังให้มีสันติภาพก็มีกลไกทวิภาคีอยู่แล้ว เพราะการสู้รบกันไม่ใช่แก้ปัญหา อย่างไรก็ตามในวันพรุ่งนี้กระทรวงกลาโหมจะเชิญผู้ช่วยทูตทหารไปในชายแดนแต่ไม่ได้เข้าไปในพื้นที่ที่สู้รบ แต่จะดูรอบๆว่ามีอะไรเกิดขึ้นและดูว่าในฝ่ายพลเรือนของไทยเสียหายอย่างไรบ้าง
ส่วนกรณีที่นายกรัฐมนตรีสนทนาทางโทรศัพท์กับผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโกนั้น โดยทั่วไปยูเนสโกเห็นพ้องกับท่าทีของฝ่ายไทย ในการที่ไม่ควรจะมีกองกำลังทหารอยู่ในปราสาทพระวิหารเพราะไม่ถูกต้องและขัดอนุสัญญากรุงเบิร์น ส่วนการที่ยูเนสโกจะส่งผู้แทนพิเศษมานั้นในหลักการก็ตอบรับได้ แต่ต้องรอหนังสืออย่างเป็นทางการว่ามีภาระหน้าที่อย่างไร ก็จะมาปรึกษากับไทยที่กทม.เท่านั้น
**“ดอน” แนะไทยรุกกลับในเวทีอาเซียน
นายดอน ปรมัตถ์วินัย อดีตเอกอัครราชทูตและผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ กล่าวถึงการประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศอาเซียน ที่ประเทศอินโดนีเซีย ว่า ทางกระทรวงการต่างประเทศไทย จะต้องมีข้อเสนออย่างเป็นทางการในมุมมองใหม่ต่อปัญหาชายแดน ยื่นไปให้กับทางประเทศกัมพูชา หลังจากที่เพื่อนบ้านได้ยื่นข้อเสนอ 4 ข้อให้กับไทย
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรุกกลับทางการทูต เพราะสถานการณ์ที่ต่อเนื่องมาจนถึงขณะนี้ ไทยไม่สามารถเข้าไปประชุมโดยที่เรียกว่าไม่มีข้อเสนออะไรในมือ หรือเพียงเข้าไปรับฟัง ความคิดเห็นได้ ต้องมีข้อเสนอที่ยันกลับไป ทั้งนี้ เราสามารถมีข้อเสนอเท่ากันจำนวน 4 ข้อ มากหรือน้อยกว่าได้ ฝากกระทรวงการต่างประเทศของไทยและผู้เกี่ยวข้องไปช่วยกันคิด เพราะที่ผ่านมา ไทยตั้งรับมาเยอะแล้ว
ทั้งนี้เห็นว่า ทางกัมพูชามีความพร้อมมากกว่าไทย เพราะเห็นว่า สามารถขอให้ทางที่ประชุมใหญ่องค์การสหประชาชาติเรียกประชุมได้ หลังจากนั้นไม่นานก็มีการยื่นข้อเสนอ 4 ข้อให้กับไทยทันที ดังนั้นเราไม่ควรที่จะทำเพียงหน้าที่เข้าไปรับฟังเท่านั้น
นายดอน ยกตัวอย่างถึงวิธีรุกทางการทูตว่าจะต้องสอดคล้องกันไม่ว่าจะรุกทางการทูต การเมือง การทหาร เมื่อรุกไปแล้ว กลายเป็นเรื่องที่ทำให้ทะเลาะกัน หรือ กลายเป็นเรื่องที่ขำขัน หรือไม่สามารถนำพาไปสู่อะไรได้เลย ต้องเป็นการรุกที่มีคุณค่า และทำให้ฝั่งตรงข้ามหลังชนกำแพง รุกด้วยสาระ จนบีบให้เค้าต้องตอบเรา.
ที่พรรคการเมืองใหม่ นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ กล่าวถึงกรณีที่ฝ่ายไทยและกัมพูชาลงนามในข้อตกลงหยุดยิง เมื่อวันที่ 19 ก.พ.ที่ผ่านมา ว่า การลงนามดังกล่าวทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบ ตกเป็นเบี้ยล่างของกัมพูชา และอาจสูญเสียดินแดน 4.6 ตร.กม.เป็นทางการและถาวร โดยก่อนลงนามในข้อตกลงทั้ง 8 ข้อนั้น กองทัพและรัฐบาลควรหาทางผลักดันกองกำลังและชุมชนชาวกัมพูชาออกไปจากแผ่นดินไทยก่อน จึงค่อยทำข้อตกลง เพราะรัฐบาลหรือกองทัพเองก็ยอมรับว่ามีชุมชนกัมพูชารุกเข้ามาในผืนแผ่นดินไทยจริง ดังนั้นการลงนามในขณะที่กัมพูชายังตรึงกำลังอยู่ในพื้นที่ 4.6 ตร.กม.เป็นส่วนใหญ่ เท่ากับไปยอมรับว่าดินแดนดังกล่าวเป็นของกัมพูชา และสามารถนำไปเป็นข้ออ้างในที่ประชุมกรรมการมรดกโลกได้ว่าพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารกลายเป็นพื้นที่สันติภาพแล้ว ทั้งที่คนในรัฐบาลเคยออกมาระบุว่า เหตุปะทะที่เกิดขึ้นช่วงวันที่ 4-7 ก.พ.นั้นเป็นผลดีกับไทย เนื่องจากทำให้กัมพูชาไม่สามารถเดินหน้าขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารได้ เพราะเป็นื้นที่มรดกโลกอันตราย แต่เมื่อมีการลงนามทำให้กัมพูชาอ้างว่าสถานการณ์สงบแล้ว มีสิทธิ์เดินหน้ายื่นแผนการบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารต่อคณะกรรมการมรดกโลกได้ ตรรกะที่คนในรัฐบาลพยายามหยิบยกมาอ้างจึงหมดลงทันที
“พรรคการเมืองใหม่เรียกร้องให้ พล.อ.ดาวน์พงษ์ รัตนสุวรรณ เสนาธิการทหารบก ในฐานะตัวแทนกองทัพไทยได้ชี้แจงรายละเอียดการลงนามข้อตกลงหยุดยิง และเหนืออื่นใดรัฐบาลจะต้องรีบทบทวนยกเลิกข้อตกลงดังกล่าวให้เร็วที่สุด เพราะเป็นการยอมรับความชอบธรรมให้กองกำลังกัมพูชายึดครองแผ่นดินไทยต่อไป ซึ่งไม่เป็นประโยชน์ต่อไทยและเข้าทางกัมพูชาชัดเจน” เลขาฯพรรคการเมืองใหม่ กล่าว
**ปูด!!สาเหตุทหารเลือกหยุดยิง
รายงานข่าวแจ้งว่า เหตุผลของคณะผู้เจรจาหยุดยิงว่า เพื่อยุติการสู้รบที่จะบานปลายกลายเป็นสงคราม ตามที่ฮุนเซน ต้องการ เพื่อให้ UNและ UN Peacekeeping forceเข้ามา เมื่อนั้นเราเสียเปรียบแน่ เพราะต่อให้สู้รบกันตายกันเป็นเบือทั้งสองฝ่ายทั้งทหารและประชาชน ที่สุดก็ต้องไปจบที่การเจรจาอยู่ดี แต่ดันมี UNเข้ามาด้วย ดังนั้นจะเลือกหยุดยิง แบบคุยทวิภาคีดีกว่า
**มาร์คปัด “ดาว์พงษ์” เจรจาแค่ระดับพื้น
ที่สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่พล.อ. ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เสนาธิการทหารบก เดินทางไปเจรจากรณีที่กัมพูชาเสนอลงนามหยุดยิงถาวร ว่า ปกติในพื้นที่จะมีการคุยและประสานงานกัน ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ในระดับนโยบายทั้งหมด จะต้องคุยกันในภาพรวม
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะไปไกลถึงขั้นลงนามหยุดยิง หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ยังไม่มีอะไรที่บ่งบอกอย่างนั้น ซึ่งการที่พล.อ. ดาว์พงษ์ เดินทางไปเจรจา ก็ถือเป็นเรื่องการบริหารงานในพื้นที่ปกติ เมื่อถามว่า ปัญหาที่ห่วงกันคือ ถ้ามีการลงนามหยุดยิงถาวร อาจเกิดปัญหากับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกด้วย ในแง่ถ้าเป็นพื้นที่สันติภาพอาจกลายเป็นว่ากัมพูชาจะขึ้นทะเบียนได้ง่ายขึ้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ ตนเองได้คุยกับผู้อำนวยการยูเนสโก โดยบอกว่าปัญหาตัวปราสาทเรื่องของทหารเป็นเรื่องที่ผิดข้อตกลงระหว่างประเทศ และหลักของมรดกโลก และตนได้พูดต่อว่าพื้นที่ที่ยังมีปัญหา 4.6 ตารางกิโลเมตร ทางยูเนสโกหรือใครต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องไม่ได้ในเรื่องของการวางกำลังหรืออะไรต่างๆ เพราะเป็นเรื่องความละเอียดอ่อนที่เป็นข้อพิพาท และเราต้องปกป้องอธิปไตยของเรา ท่านก็พูดชัดว่าไม่ไปเกี่ยวข้องเรื่อง 4.6 ตารางกิโลเมตร จะดูเฉพาะตัวปราสาท ไม่มีเรื่องทหาร ตรงนี้คุยกันแล้ว ฉะนั้น มรดกโลกไม่มีประเด็นที่จะต้องมายุ่งเรื่อง 4.6 ตารางกิโลเมตร
เมื่อถามว่า ในส่วนประธานอาเซียนสนับสนุนการลงนามของทั้งสองฝ่าย นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่แน่ใจว่ามีคำพูดชัดเจนหรือเปล่า แต่เท่าที่ทราบคือ เขาต้องการให้สามารถบรรลุข้อตกลงตามเจตนารมณ์ที่คุยกันไว้ ที่สหประชาชาติว่าควรจะมีการหยุดยิง แต่ไม่ได้พูดถึงรูปแบบ ซึ่งบ่ายนี้จะคุยกัน
**ท่องคาถาไม่เสียอธิปไตย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์ ว่า ก่อนหน้าที่กัมพูชาไปร้องให้ส่งกองกำลังสันติภาพเข้ามา ชัดเจนแล้วว่าคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชชาติ (ยูเอ็นเอสซี) ได้รับฟังข้อมูลและเห็นว่าเป็นเรื่องที่สองฝ่ายพูดคุยได้ โดยให้อาเซียนเข้ามาอำนวยความสะดวกประสานงานให้ และประชุม วันที่ 22 ก.พ. นี้ อาเซียนจะไม่แทรกแซงเนื้อหารายละเอียด แต่จะเป็นผู้อำนวยความสะดวก จัดให้พบกันหรือเป็นสักขีพยาน แต่ตนและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง จะเดินหน้าในการประสานงานให้ประชาคมโลกเข้าใจ
ทั้งนี้ มีโอกาสพูดกับผู้อำนวยการใหญ่ของยูเนสโก ซึ่งดูจะเข้าใจตรงกับเรามากขึ้นเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารโดยเฉพาะการยอมรับให้มีแผนบริหารจัดการพื้นที่ในขณะเขตแดนเป็นปัญหา เป็นเรื่องไม่สามารถดำเนินการได้ ดังนั้นขอให้ยูเนสโกพิจารณาว่า แทนที่จะเอาเรื่องนี้คุยกันอีก ในเดือนมิ.ย. ควรจะปล่อยให้สองฝ่ายดำเนินการเจรจา เรื่องเขตแดนเรียบร้อย และ หยุดเรื่องมรดกโลกไว้ก่อน ส่วนปัญหาตัวปราสาทมีปัญหาหรือไม่ หากไม่มีการขึ้นทะเบียน ยืนยันว่า จริงๆ สองประเทศสามารถดูแลสภาวะแวดล้อมได้ ที่สำคัญการเพิ่มความตึงเครียดไม่เป็นประโยชน์ เพราะเราได้ส่งหลักฐานชัดเจนว่ากัมพูชาได้นำทหารเข้าไปอยู่ในตัวปราสาท ขัดกับมรดกโลก และข้อตกลงระหว่าประเทศ ส่วนที่มีการห่วง ที่จะมีการเจรจาและหยุดยิง เรียนว่าเราไม่เคยเป็นฝ่ายยิงก่อนไม่ว่าจะมีข้อตกลใดๆ แต่ไม่มีใครห้ามที่จะให้เราปกป้องอธิปไตยได้ อยากให้มีความมั่นใจ ให้เกิดความสงบสุขในพื้นที่โดยไม่เสียอธิปไตยแต่ประการใด
**เชิญตัวแทนอินโดฯพยานหยุดยิงถาวร
ที่กระทรวงการต่างประเทศ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ประชุมร่วมกับนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศ พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดท่าทีของไทยต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
นายกษิต กล่าวว่า โดยสรุปสั้นคือๆการดำเนินต่อเนื่องจากมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ(ยูเอ็นเอสซี) ที่ขอให้รัฐบาลไทยและกัมพูชาเจรจาแบบทวิภาคีกันต่อไปในประเด็นปัญหาของเขตแดน โดยมีอาเซียนเป็นพี่เลี้ยงคอยตะล่อมให้การเจรจาดำเนินการได้ ซึ่งในวันที่ 22 ก.พ. ตนยืนยันอย่างยิ่งว่าฝ่ายไทยจะใช้กลไกทวิภาคีที่มีอยู่กับกัมพูชา ทั้งกรอบเจบีซี ที่มีนายอัษฎา ชัยนาม เป็นประธานฯ ส่วนกรอบจีบีซีที่มีพล.อ.ประวิตร
และกรอบอาร์บีซีที่มีแม่ทัพภาค 2 เป็นผู้ดูแล โดยตนจะถือโอกาสนี้ชี้แจงว่า
เรื่องกรอบเจรจาพวกนี้ในองค์รวมที่ผ่านมาเราไม่ได้นิ่งเฉยมีความคืบหน้าตลอด ฉะนั้นยังอยู่ในวิสัยที่จะดำเนินการต่อไปตามเจตนารมณ์ของยูเอ็นเอสซีและเจตนารมณ์ของฝ่ายไทยด้วย ซึ่งตนยืนยันว่าอาเซียนจะเป็นเพียงพี่เลี้ยงให้การเจรจสองฝ่ายคืบหน้าไปได้ซึ่งไม่ใช่การยกระดับของปัญหา แต่เป็นเรื่องที่ยูเอ็นเอสซีส่งกลับมาที่อาเซียน ส่วนผลเป็นอย่างไรก็จะมีการรายงานผ่านที่ประธานอาเซียน และส่งต่อไปยังยูเอ็นเอสซีต่อไป
“ท่านทูตอัษฎา ทำหนังสือถึงกัมพูชาโดยให้กับนายฮอร์นัมฮง รมว.ต่างประเทศเพื่อเชิญกัมพูชามาประชุมเจบีซีที่กทม. ตามที่เคยเสนอไปให้มาประชุมวันที่ 27 ก.พ. ส่วนกรอบจีบีซีนั้นพล.อ.ประวิตร จะมีหนังสือถึงพล.อ.เตียบัน รมว.กลาโหมของกัมพูชา เพื่อให้กัมพูชาเป็นเจ้าภาพการประชุมส่วนจะจัดประชุมวันไหนก็อยู่ที่ฝ่ายกัมพูชา และหวังว่าจะมีประชุมจีบีซีของกระทรวงกลาโหมว่าจะดำเนินการอย่างไรเพื่อไม่ให้มีการปะทะ ซึ่งเราพร้อมหวังและว่าฝายกัมพูชาจะพร้อม“นายกษิต กล่าว
ส่วนประเด็นกองกำลังในเขตแดนที่มีการลงนามหยุดยิงนั้น นายกษิต ยืนยันว่าเป็นการพบกันของทหารของสองฝ่ายแต่ไม่ใช่เป็นการเจรจาเป็นเพียงการปรึกษาหารือเพื่อนำเรื่องต้องเสนอไประดับสูงต่อไป เป็นเพียงการทอร์ค(พูดคุย) เป็นการปรึกษาเหมือนตนส่งลูกน้องไปแล้วเขาก็กลับมารายงาน เป็นการพูดคุยกัน หรือเหมือนเป็นการจีบสาว เขาต้องรายงานไปที่เจ้านายของเขา
นายกษิต กล่าวอีกว่า ในวันที่ 22 ก.พ.ในความพร้อมของฝ่ายไทยนั้นจะขอให้ประเทศอินโดนีเซียส่งผู้สังเกตการณ์มาอยู่กับกองกำลังของฝ่ายไทยในจุดที่มีการปะทะกันเพื่อเป็นสักขีพยานว่าเราไม่ได้ทำและไม่ประสงค์ที่จะให้มีการสู้รบและไม่ได้เป็นฝ่ายยิงก่อน โดยเราหวังว่ากัมพูชาก็จะยืนยันด้วยเช่นกันในการที่จะมีตัวแทนรัฐบาลอินโดนีเซียไปอยู่ฝ่ายเขา เพื่อว่าการหยุดยิงจะเป็นการหยุดยิงที่จริงจังถาวร
นายกษิตยืนยันว่า ไม่จำเป็นต้องมีการลงนามหยุดยิงเพราะเพราะมีกลไกเจบีซี และจีบีซีอยู่แล้ว รวมทั้งมีหลายช่องทางดำเนินการ และถ้ากัมพูชาไม่รับขอเสนอตนก็ไม่ทราบ แต่ถ้ากัมพูชามุ่งหวังให้มีสันติภาพก็มีกลไกทวิภาคีอยู่แล้ว เพราะการสู้รบกันไม่ใช่แก้ปัญหา อย่างไรก็ตามในวันพรุ่งนี้กระทรวงกลาโหมจะเชิญผู้ช่วยทูตทหารไปในชายแดนแต่ไม่ได้เข้าไปในพื้นที่ที่สู้รบ แต่จะดูรอบๆว่ามีอะไรเกิดขึ้นและดูว่าในฝ่ายพลเรือนของไทยเสียหายอย่างไรบ้าง
ส่วนกรณีที่นายกรัฐมนตรีสนทนาทางโทรศัพท์กับผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโกนั้น โดยทั่วไปยูเนสโกเห็นพ้องกับท่าทีของฝ่ายไทย ในการที่ไม่ควรจะมีกองกำลังทหารอยู่ในปราสาทพระวิหารเพราะไม่ถูกต้องและขัดอนุสัญญากรุงเบิร์น ส่วนการที่ยูเนสโกจะส่งผู้แทนพิเศษมานั้นในหลักการก็ตอบรับได้ แต่ต้องรอหนังสืออย่างเป็นทางการว่ามีภาระหน้าที่อย่างไร ก็จะมาปรึกษากับไทยที่กทม.เท่านั้น
**“ดอน” แนะไทยรุกกลับในเวทีอาเซียน
นายดอน ปรมัตถ์วินัย อดีตเอกอัครราชทูตและผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ กล่าวถึงการประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศอาเซียน ที่ประเทศอินโดนีเซีย ว่า ทางกระทรวงการต่างประเทศไทย จะต้องมีข้อเสนออย่างเป็นทางการในมุมมองใหม่ต่อปัญหาชายแดน ยื่นไปให้กับทางประเทศกัมพูชา หลังจากที่เพื่อนบ้านได้ยื่นข้อเสนอ 4 ข้อให้กับไทย
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรุกกลับทางการทูต เพราะสถานการณ์ที่ต่อเนื่องมาจนถึงขณะนี้ ไทยไม่สามารถเข้าไปประชุมโดยที่เรียกว่าไม่มีข้อเสนออะไรในมือ หรือเพียงเข้าไปรับฟัง ความคิดเห็นได้ ต้องมีข้อเสนอที่ยันกลับไป ทั้งนี้ เราสามารถมีข้อเสนอเท่ากันจำนวน 4 ข้อ มากหรือน้อยกว่าได้ ฝากกระทรวงการต่างประเทศของไทยและผู้เกี่ยวข้องไปช่วยกันคิด เพราะที่ผ่านมา ไทยตั้งรับมาเยอะแล้ว
ทั้งนี้เห็นว่า ทางกัมพูชามีความพร้อมมากกว่าไทย เพราะเห็นว่า สามารถขอให้ทางที่ประชุมใหญ่องค์การสหประชาชาติเรียกประชุมได้ หลังจากนั้นไม่นานก็มีการยื่นข้อเสนอ 4 ข้อให้กับไทยทันที ดังนั้นเราไม่ควรที่จะทำเพียงหน้าที่เข้าไปรับฟังเท่านั้น
นายดอน ยกตัวอย่างถึงวิธีรุกทางการทูตว่าจะต้องสอดคล้องกันไม่ว่าจะรุกทางการทูต การเมือง การทหาร เมื่อรุกไปแล้ว กลายเป็นเรื่องที่ทำให้ทะเลาะกัน หรือ กลายเป็นเรื่องที่ขำขัน หรือไม่สามารถนำพาไปสู่อะไรได้เลย ต้องเป็นการรุกที่มีคุณค่า และทำให้ฝั่งตรงข้ามหลังชนกำแพง รุกด้วยสาระ จนบีบให้เค้าต้องตอบเรา.