แปลกใจที่ช่วงต้นสัปดาห์ที่แล้วรัฐบาลเอาแต่พูดว่าพันธมิตรฯไม่ยอมเจรจา กระทั่งเอาไปพูดว่าแปลกใจที่พันธมิตรฯไม่ยอมเจรจา แต่จนกระทั่งเมื่อวันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554 ยังไม่เห็นรัฐบาลขอเจรจากับพันธมิตรฯโดยตรงอย่างเป็นทางการ ไม่ว่าจะเป็นทางตรงโดยการติดต่อโดยตัวรัฐบาลเอง หรือจะใช้รูปแบบทางอ้อมโดยให้คณะกรรมาธิการพิจารณาบันทึกการประชุมเจบีซีที่มีอาจารย์เจริญ คันธวงศ์เป็นประธานมารับฟังความคิดเห็นในทำนองหยั่งเชิง
ทั้ง 2 ทางนี้ผมเสนอโดยนัยผ่านทั้งเวทีกรรมาธิการและเวทีประชุมวุฒิสภาต่อหน้านายกฯในการประชุมลับ 6 ชั่วโมงเมื่อวันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2554 แล้ว แต่ก็ไม่มีสัญญาณตอบสนองเลย
แปลกใจที่รัฐบาลประกาศพ.ร.บ.ความมั่นคงฯออกมาแทนที่ในวันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554
แปลกใจที่เครือข่ายของรัฐบาลตั้งธงเสนอข้อมูลข่าวสารออกมาในหลากหลายรูปแบบว่าการรบไทย-กัมพูชาเกิดขึ้นเพราะการชุมนุมของพันธมิตรฯ และประชาชนที่เป็นเหยื่อของการสู้รบไม่พอใจพันธมิตรฯอย่างมาก
แปลกใจที่ในวันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554 นั้นเอง ต่อหน้าสถานการณ์เยี่ยงนี้ รมว.ต่างประเทศยังมีหน้าไปปรากฏตัวในงานเสวนาของนักวิชาการแก๊ง 7.1 ล้านที่มีทูตเขมรมาให้สปีชตบหน้าคนไทยหัวใจรักชาติที่ชุมนุมอยู่ และสปีชของทูตเขมรนั้นก็ขัดกับจุดยืน 4.6 ตารางกิโลเมตรของนายกฯเราเอง
แปลกใจเพราะข้อเรียกร้อง 3 ข้อของพันธมิตรฯไม่ใช่ว่าจะไม่มีทางออกที่ทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายหลังชนฝาถอยกันไม่ได้เลย โดยเฉพาะถ้าเลือกใช้กลไกรัฐสภามาเป็นตัวช่วย
ก่อนหน้าวันที่ 26 ตุลาคม 2553 ก็ได้เคยมีการพูดคุยเชิงปฏิบัติการมาโดยตลอด โดยคุณชวนนท์ อินทรโกมาลสุตเป็นเสมือนตัวแทนภาครัฐ มีคณะจากกระทรวงการต่างประเทศมาร่วมถกด้วย และก็ได้ข้อสรุปที่ดีพอสมควร ขอไม่พูดถึงรายละเอียด ณ ที่นี้เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
เสมือนว่ารัฐบาลตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกทาง "สลายการชุมนุมในนามของการขอคืนพื้นที่จราจร" หรือในช่วงจังหวะเวลาที่พันธมิตรฯขยับพลออกนอกพื้นที่
ในข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อนั้น ข้อที่ง่ายที่สุดคือการถอนตัวออกจากมรดกโลก เรื่องนี้หากได้มีการเจรจาแล้วจะเป็นข้อที่พอจะยอมรับกันได้มากที่สุด เพราะนายกฯก็ไม่ได้บอกว่าจะไม่ถอนตัวหากเมื่อถึงที่สุดแล้วมรดกโลกไม่ฟังไทย และสถานการณ์หลังการรบ 4 รอบทำให้เรื่องนี้มีทางออกมากขึ้น
ข้อที่ยากขึ้นไปหน่อยก็คือการยกเลิกเอ็มโอยู 2543 แต่หลังการรบ 4 รอบก็ทำให้พอคุยกันได้ หากรัฐบาลจะยอมถอยสักก้าวสองก้าวโดยใช้กลไกรัฐสภามาเป็นตัวช่วย เป็นต้นว่า เสนอกรอบการเจรจาแก้ไขเพิ่มเติมให้รัฐสภารับรองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ซึ่งเป็นเรื่องที่เคยคุยกันในช่วงก่อน 26 ตุลาคมา 2553 หรือแม้กระทั่งใช้การตั้งข้อสังเกตหรือตั้งเงื่อนไขโดยคณะกรรมาธิการพิจารณาบันทึกการประชุมเจบีซีต่อรัฐสภาแล้วให้รัฐบาลตกปากรับคำในรัฐสภา ผมไม่ใช่แกนนำหรือคณะกรรมการของการชุมนุม ไม่อาจตอบได้เต็ม 100 ว่าหากรัฐบาลเสนออย่างนี้แล้วการชุมนุมจะยุติหรือไม่ แต่ก็ได้บอกผ่านไปยังรัฐบาลตลอดมาว่าอย่างน้อยท่านก็จะสบายใจที่ได้พยาพยามทำทุกทางแล้ว ทีคนที่มีเป้าหมายคนละทิศคนละทางกับท่านยังเจรจากันได้ แล้วนี่ทีกับคนที่รักชาติต้องการปกป้องอธิปไตยของชาติเพียงแต่มีวิธีการที่ต่างกับท่านทำไมไม่พยายามหาทางเจรจากันเลย
ข้อที่ยากที่สุดก็คือการผลักดันกัมพูชาออกไปจากดินแดนไทยบริเวณ 4.6 ตารางกิโลเมตร
แต่หลังแถลงการณ์กระทรวงการต่างประเทศฉบับวันที่ 31 มกราคม 2554 ข้อ 3 หลังการรบ 4 รอบ ภายใต้บรรยากาศที่ยังคงตึงเครียดระหว่าง 2 ประเทศ ข้อนี้ก็ง่ายลงมามาก
อันที่จริงถ้ารัฐบาลเด็ดขาดชัดเจนและมีความมุ่งมั่นจริงตามที่นายกฯเคยรับปากผู้ชุมนุมไว้ที่สนามกีฬาไทยญี่ปุ่นดินแดงเมื่อเดือนสิงหาคม 2553 ข้อนี้แทบไม่ต้องคุยกัน เพราะมันจะเรียบร้อยไม่มีทหารต่างชาติบนแผ่นดินไทย 4.6 ตารางกิโลเมตรตั้งแต่ช่วงรบกัน 4 รอบแล้ว
ผมถึงเห็นว่าข้อผลักดันกัมพูชาออกจากพื้นที่แผ่นดินไทย 4.6 ตารางกิโลเมตรนี้ยากที่สุด
เพราะรัฐบาลไม่ได้ต้องการทำอย่างนั้นจริงทั้งที่โอกาสเอื้ออำนวย
นายกฯพูดแล้วพูดอีกว่ายึดหลักสันปันน้ำ ยึดมั่นว่าเอ็มโอยู 2543 ข้อ 1 (ค) ไม่ได้หมายถึงแผนที่ระวางดงรัก และ 4.6 ตารางกิโลเมตรเป็นแผ่นดินไทย แถลงการณ์กระทรวงการต่างประเทศฉบับวันที่ 31 มกราคม 2554 ข้อ 3 ก็พูดชัดเจนว่า ณ ที่นั้นเป็นแผ่นดินไทย กัมพูชาต้องนรื้อถอนวัดแก้วสิกขาคีรีสะวาราและธงชาติกัมพูชาออกไป
มันน่าจะจบแล้ว ก็ในเมื่อมันเป็นแผ่นดินไทยแล้วจะปล่อยให้กองกำลังทหารต่างชาติมาตั้งมั่นใช้เป็นฐานโจมตีราษฎรไทยได้อย่างไร เอาละ ก่อนหน้าการรบ 4 รอบยังพอให้อภัยได้ว่าเราไม่อยากมีภาพเป็นผู้ใหญ่รังแกเด็ก แต่พอเกิดเหตุการรบถึง 4 ครั้งขึ้นใคร ๆ ก็คิดออกว่ามันเป็นโอกาสอันดีที่จะสะสางแผ่นดินไทย 4.6 ตารางกิโลเมตรให้เป็นแผ่นดินไทยสมภาคภูมิ มีปัญหาอะไรก็เจรจากันไป ทำพื้นที่ที่เป็นของเราให้เป็นของเราอย่างแท้จริงก่อน
ถึงแม้จะเป็นข้อที่ยากที่สุด ก็ยังน่าจะเจรจากันได้อยู่ดี ถ้าเป็นเป้าหมายของรัฐบาลจริงจังอย่างที่นายกฯรับปากไว้ที่สนามกีฬาไทยญี่ปุ่นดินแดงว่าจะใช้ทุกวิธีการในการผลักดัน
หรือให้ข้อมูลที่เป็นรูปธรรมชัดเจนว่าหากทำเช่นนั้นเต็ม 100 ก็จะกระทบคนไทยตลอดแนวชายแดนในหลากหลายรูปแบบมากกว่า
สรุปแล้วทั้ง 3 ข้อสามารถเจรจาตกลงกันได้
แล้วทำไมไม่เริ่ม
ดูเหมือนรัฐบาลอ้างว่าไม่ประสงค์จะเจรจากับแกนนำบางคน แต่ก็ฟังไม่ขึ้นเท่าไร เพราะถ้าเปิดเจรจาก็สามารถเชิญผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่ทั้ง 2 ฝ่ายเคารพนับถือมาเป็นพยานและให้ความเห็นได้ด้วย
คิดเป็นอื่นได้ยากเต็มที นอกจาก....
เพราะว่ารัฐบาลประสงค์จะใช้วิธีเจรจากับกัมพูชาเป็นด้านหลัก หลีกเลี่ยงวิธีการอื่น ถ้าจำเป็นต้องรบก็รบเฉพาะป้องกันตนเอง ไม่ได้มีเป้าหมายขยายไปสู่การผลักดันทหารต่างชาติออกจากแผ่นดินไทย 4.6 ตารางกิโลเมตร
การเจรจากับกัมพูชานาทีนี้ คนไม่ฉลาดนักก็พอคิดได้ว่าหนึ่งในเงื่อนไขที่จะทำให้การเจรจาติดขัดไม่ราบรื่นก็เพราะกัมพูชาต้องอ้างว่ามีการชุมนุมของพันธมิตรฯอยู่กลางเมือง ถ้าจะคุยกัน ถ้าจะกลับเข้ามาสู่การเจรจาในกรอบเจบีซีที่ไทยจะพยายามเป็นเจ้าภาพในปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ ถ้ารัฐบาลจะแสดงความจริงใจว่าไม่ได้แอบหนุนหลังการชุมนุม ก็ต้องแก้ปัญหาอย่าให้มีการด่าผู้นำกัมพูชากลางเมืองอย่างนี้
หรือว่า....
การสลายการชุมนุมฯเป็นหนึ่งในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งไทย-กัมพูชาของรัฐบาล ?
การสลายการชุมนุมฯเป็นการแสดงความจริงใจต่อผู้นำกัมพูชา ??
(ปรับปรุงจากข้อเขียนใน “บันทึก” ในหน้า facebook ส่วนตัวเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554)
ทั้ง 2 ทางนี้ผมเสนอโดยนัยผ่านทั้งเวทีกรรมาธิการและเวทีประชุมวุฒิสภาต่อหน้านายกฯในการประชุมลับ 6 ชั่วโมงเมื่อวันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2554 แล้ว แต่ก็ไม่มีสัญญาณตอบสนองเลย
แปลกใจที่รัฐบาลประกาศพ.ร.บ.ความมั่นคงฯออกมาแทนที่ในวันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554
แปลกใจที่เครือข่ายของรัฐบาลตั้งธงเสนอข้อมูลข่าวสารออกมาในหลากหลายรูปแบบว่าการรบไทย-กัมพูชาเกิดขึ้นเพราะการชุมนุมของพันธมิตรฯ และประชาชนที่เป็นเหยื่อของการสู้รบไม่พอใจพันธมิตรฯอย่างมาก
แปลกใจที่ในวันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554 นั้นเอง ต่อหน้าสถานการณ์เยี่ยงนี้ รมว.ต่างประเทศยังมีหน้าไปปรากฏตัวในงานเสวนาของนักวิชาการแก๊ง 7.1 ล้านที่มีทูตเขมรมาให้สปีชตบหน้าคนไทยหัวใจรักชาติที่ชุมนุมอยู่ และสปีชของทูตเขมรนั้นก็ขัดกับจุดยืน 4.6 ตารางกิโลเมตรของนายกฯเราเอง
แปลกใจเพราะข้อเรียกร้อง 3 ข้อของพันธมิตรฯไม่ใช่ว่าจะไม่มีทางออกที่ทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายหลังชนฝาถอยกันไม่ได้เลย โดยเฉพาะถ้าเลือกใช้กลไกรัฐสภามาเป็นตัวช่วย
ก่อนหน้าวันที่ 26 ตุลาคม 2553 ก็ได้เคยมีการพูดคุยเชิงปฏิบัติการมาโดยตลอด โดยคุณชวนนท์ อินทรโกมาลสุตเป็นเสมือนตัวแทนภาครัฐ มีคณะจากกระทรวงการต่างประเทศมาร่วมถกด้วย และก็ได้ข้อสรุปที่ดีพอสมควร ขอไม่พูดถึงรายละเอียด ณ ที่นี้เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
เสมือนว่ารัฐบาลตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกทาง "สลายการชุมนุมในนามของการขอคืนพื้นที่จราจร" หรือในช่วงจังหวะเวลาที่พันธมิตรฯขยับพลออกนอกพื้นที่
ในข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อนั้น ข้อที่ง่ายที่สุดคือการถอนตัวออกจากมรดกโลก เรื่องนี้หากได้มีการเจรจาแล้วจะเป็นข้อที่พอจะยอมรับกันได้มากที่สุด เพราะนายกฯก็ไม่ได้บอกว่าจะไม่ถอนตัวหากเมื่อถึงที่สุดแล้วมรดกโลกไม่ฟังไทย และสถานการณ์หลังการรบ 4 รอบทำให้เรื่องนี้มีทางออกมากขึ้น
ข้อที่ยากขึ้นไปหน่อยก็คือการยกเลิกเอ็มโอยู 2543 แต่หลังการรบ 4 รอบก็ทำให้พอคุยกันได้ หากรัฐบาลจะยอมถอยสักก้าวสองก้าวโดยใช้กลไกรัฐสภามาเป็นตัวช่วย เป็นต้นว่า เสนอกรอบการเจรจาแก้ไขเพิ่มเติมให้รัฐสภารับรองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ซึ่งเป็นเรื่องที่เคยคุยกันในช่วงก่อน 26 ตุลาคมา 2553 หรือแม้กระทั่งใช้การตั้งข้อสังเกตหรือตั้งเงื่อนไขโดยคณะกรรมาธิการพิจารณาบันทึกการประชุมเจบีซีต่อรัฐสภาแล้วให้รัฐบาลตกปากรับคำในรัฐสภา ผมไม่ใช่แกนนำหรือคณะกรรมการของการชุมนุม ไม่อาจตอบได้เต็ม 100 ว่าหากรัฐบาลเสนออย่างนี้แล้วการชุมนุมจะยุติหรือไม่ แต่ก็ได้บอกผ่านไปยังรัฐบาลตลอดมาว่าอย่างน้อยท่านก็จะสบายใจที่ได้พยาพยามทำทุกทางแล้ว ทีคนที่มีเป้าหมายคนละทิศคนละทางกับท่านยังเจรจากันได้ แล้วนี่ทีกับคนที่รักชาติต้องการปกป้องอธิปไตยของชาติเพียงแต่มีวิธีการที่ต่างกับท่านทำไมไม่พยายามหาทางเจรจากันเลย
ข้อที่ยากที่สุดก็คือการผลักดันกัมพูชาออกไปจากดินแดนไทยบริเวณ 4.6 ตารางกิโลเมตร
แต่หลังแถลงการณ์กระทรวงการต่างประเทศฉบับวันที่ 31 มกราคม 2554 ข้อ 3 หลังการรบ 4 รอบ ภายใต้บรรยากาศที่ยังคงตึงเครียดระหว่าง 2 ประเทศ ข้อนี้ก็ง่ายลงมามาก
อันที่จริงถ้ารัฐบาลเด็ดขาดชัดเจนและมีความมุ่งมั่นจริงตามที่นายกฯเคยรับปากผู้ชุมนุมไว้ที่สนามกีฬาไทยญี่ปุ่นดินแดงเมื่อเดือนสิงหาคม 2553 ข้อนี้แทบไม่ต้องคุยกัน เพราะมันจะเรียบร้อยไม่มีทหารต่างชาติบนแผ่นดินไทย 4.6 ตารางกิโลเมตรตั้งแต่ช่วงรบกัน 4 รอบแล้ว
ผมถึงเห็นว่าข้อผลักดันกัมพูชาออกจากพื้นที่แผ่นดินไทย 4.6 ตารางกิโลเมตรนี้ยากที่สุด
เพราะรัฐบาลไม่ได้ต้องการทำอย่างนั้นจริงทั้งที่โอกาสเอื้ออำนวย
นายกฯพูดแล้วพูดอีกว่ายึดหลักสันปันน้ำ ยึดมั่นว่าเอ็มโอยู 2543 ข้อ 1 (ค) ไม่ได้หมายถึงแผนที่ระวางดงรัก และ 4.6 ตารางกิโลเมตรเป็นแผ่นดินไทย แถลงการณ์กระทรวงการต่างประเทศฉบับวันที่ 31 มกราคม 2554 ข้อ 3 ก็พูดชัดเจนว่า ณ ที่นั้นเป็นแผ่นดินไทย กัมพูชาต้องนรื้อถอนวัดแก้วสิกขาคีรีสะวาราและธงชาติกัมพูชาออกไป
มันน่าจะจบแล้ว ก็ในเมื่อมันเป็นแผ่นดินไทยแล้วจะปล่อยให้กองกำลังทหารต่างชาติมาตั้งมั่นใช้เป็นฐานโจมตีราษฎรไทยได้อย่างไร เอาละ ก่อนหน้าการรบ 4 รอบยังพอให้อภัยได้ว่าเราไม่อยากมีภาพเป็นผู้ใหญ่รังแกเด็ก แต่พอเกิดเหตุการรบถึง 4 ครั้งขึ้นใคร ๆ ก็คิดออกว่ามันเป็นโอกาสอันดีที่จะสะสางแผ่นดินไทย 4.6 ตารางกิโลเมตรให้เป็นแผ่นดินไทยสมภาคภูมิ มีปัญหาอะไรก็เจรจากันไป ทำพื้นที่ที่เป็นของเราให้เป็นของเราอย่างแท้จริงก่อน
ถึงแม้จะเป็นข้อที่ยากที่สุด ก็ยังน่าจะเจรจากันได้อยู่ดี ถ้าเป็นเป้าหมายของรัฐบาลจริงจังอย่างที่นายกฯรับปากไว้ที่สนามกีฬาไทยญี่ปุ่นดินแดงว่าจะใช้ทุกวิธีการในการผลักดัน
หรือให้ข้อมูลที่เป็นรูปธรรมชัดเจนว่าหากทำเช่นนั้นเต็ม 100 ก็จะกระทบคนไทยตลอดแนวชายแดนในหลากหลายรูปแบบมากกว่า
สรุปแล้วทั้ง 3 ข้อสามารถเจรจาตกลงกันได้
แล้วทำไมไม่เริ่ม
ดูเหมือนรัฐบาลอ้างว่าไม่ประสงค์จะเจรจากับแกนนำบางคน แต่ก็ฟังไม่ขึ้นเท่าไร เพราะถ้าเปิดเจรจาก็สามารถเชิญผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่ทั้ง 2 ฝ่ายเคารพนับถือมาเป็นพยานและให้ความเห็นได้ด้วย
คิดเป็นอื่นได้ยากเต็มที นอกจาก....
เพราะว่ารัฐบาลประสงค์จะใช้วิธีเจรจากับกัมพูชาเป็นด้านหลัก หลีกเลี่ยงวิธีการอื่น ถ้าจำเป็นต้องรบก็รบเฉพาะป้องกันตนเอง ไม่ได้มีเป้าหมายขยายไปสู่การผลักดันทหารต่างชาติออกจากแผ่นดินไทย 4.6 ตารางกิโลเมตร
การเจรจากับกัมพูชานาทีนี้ คนไม่ฉลาดนักก็พอคิดได้ว่าหนึ่งในเงื่อนไขที่จะทำให้การเจรจาติดขัดไม่ราบรื่นก็เพราะกัมพูชาต้องอ้างว่ามีการชุมนุมของพันธมิตรฯอยู่กลางเมือง ถ้าจะคุยกัน ถ้าจะกลับเข้ามาสู่การเจรจาในกรอบเจบีซีที่ไทยจะพยายามเป็นเจ้าภาพในปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ ถ้ารัฐบาลจะแสดงความจริงใจว่าไม่ได้แอบหนุนหลังการชุมนุม ก็ต้องแก้ปัญหาอย่าให้มีการด่าผู้นำกัมพูชากลางเมืองอย่างนี้
หรือว่า....
การสลายการชุมนุมฯเป็นหนึ่งในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งไทย-กัมพูชาของรัฐบาล ?
การสลายการชุมนุมฯเป็นการแสดงความจริงใจต่อผู้นำกัมพูชา ??
(ปรับปรุงจากข้อเขียนใน “บันทึก” ในหน้า facebook ส่วนตัวเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554)