ASTVผู้จัดการรายวัน/ศูนย์ข่าวนครราชสีมา -วิทยุเขมรคลั่งชาติ “เรียกแรงงานกลับประเทศ” รับลูก“คุณพ่อฮุนเซ็น”ถวิลหาสงคราม “ทบ.”ปัดใช้ระเบิดพวงยิงเขมร ยันเขมรใช้กับไทย “ภูมิซรอล” ตื่น“F 16” บินโฉบ ทอ.แจงฝึกคอบร้าโกลด์ ด้านชาวบ้านทยอยกลับวันนี้ไม่กลัวถูกซ้ำ “มาร์ค”อ้าง“ฮุนเซน”อยากเคลียร์พื้นที่ ย้ำมีรูปถ่ายฟ้องเขมรใช้พระวิหารรบ ด้าน "สีหนุ" ออกโรงโวยไทยต้องทวงคืนพระวิหารสักวัน
วานนี้(9 ก.พ.)ที่ รัฐสภา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาไม่เจรจากับไทย ว่า ตนมั่นใจว่าทุกองค์กรที่มาติดตาม ก็สนับสนุนให้มีการเจรจากัน ส่วนกรณีที่ประเทศฝรั่งเศสจะมาเป็นตัวกลางในการเจรจา นั้น คงยังไม่จำเป็นเพราะทางอาเซียนได้ทำหน้าที่ในการสนับสนุนให้มีการเจรจา และจากที่ได้ฟังนายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ ตนเองมั่นใจว่าสหประชาชาติ ก็ต้องการให้มีการเจรจากัน
เมื่อ ถามว่า การเสนอตัวของฝรั่งเศสในครั้งนี้ เป็นการสะท้อนหรือไม่ว่า ประเทศมหาอำนาจต้องการมีบทบาทในการบริหารจัดการพื้นที่บริเวณรอบปราสาทพระวิหาร เพื่อประโยชน์ของตัวเองจนมีปัญหา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังไม่ทราบว่าการเสนอตัวเข้ามาของฝรั่งเศสต้องการลักษณะอย่างไร แต่ถ้าต้องการแสดงความปรารถนาดี และให้มีการพูดคุยกันก็ไม่เป็นไร
“เป็นสิ่งที่ๆได้บอกกับทางสหประชาชาติให้ทบทวนดูปัญหาที่เกิดขึ้น และเชื่อว่าเหตุการณ์ และข้อเท็จจริงที่เสนอไปน่าจะทำให้ทุกฝ่ายมีความเข้าใจดีขึ้น”
**ย้ำมีรูปถ่ายฟ้องเขมรใช้พระวิหารรบ
เมื่อ ถามว่า นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตั้งข้อสังเกต การใช้อาวุธของทางกัมพูชา น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับหลายประเทศ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไทยมีรูปถ่าย และจะมีการติดตามในเรื่องนี้ต่อ ซึ่งในตนสัปดาห์ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และนายอัษฎา ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การสหประชาชาติ ก็จะเดินทางไปยังที่กรุงปารีส เพื่อที่จะไปชี้แจงคณะกรรมการยูเนสโก และเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ เพราะคิดว่าการที่มีกองกำลังในปราสาทพระวิหารเป็นการยืนยันชัดแจ้ง ว่าไม่ได้เป็นการดำเนินการตามเจตนารมณ์ความเป็นมรดกโลกแน่นอน
**อุ้มกษิตอ้างมหาอำนาจแค่วิเคราะห์
ถามว่า เป็นเรื่องจริงหรือไม่ที่นายกษิต ระบุว่า มีประเทศมหาอำนาจเข้ามาหนุนหลัง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐมนตรีต่างประเทศ ถูกสอบถามเกี่ยวกับท่าทีของประเทศต่างๆ ที่อยู่ในคณะมนตรีความมั่นคง โดยได้บอกว่าจากรายงานและที่วิเคราะห์ จากที่ผ่านมาเป็นอย่างไร แต่ไทยก็เดินหน้าทำความเข้าใจกับทุกประเทศ
**เชื่อการเจรจารูปทวิภาคีเท่านั้น
ถามว่า สมเด็จฮุนเซน ออกมาระบุว่าเป็นการทำสงคราม และจะไม่คุยกับประเทศไทยอีกแล้ว นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตรงกับสิ่งที่ตนเองได้พูดกับเลขาฯ สหประชาชาติ ว่ากัมพูชาต้องการยกระดับเรื่องดังกล่าว และก็เกิดขึ้น เพราะมีแรงกดดัน จากการเข้ามาจัดการพื้นที่ ส่วนที่กัมพูชาต้องมีการให้ประเทศที่ 3 มาร่วมเจรจากับไทย นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นความพยายามของทางกัมพูชา แต่เชื่อว่า หากประเทศต่างๆ เห็นข้อเท็จจริงทั้งหมดแล้ว ก็จะบอกให้กลับมาคุยกันระหว่าง 2 ประเทศ เหมือนเดิม
ตนคิดว่าถ้าช่องทางที่กัมพูชาพยายามที่จะฟ้องต่างประเทศ ทั้งที่ความเป็นจริงไทยไม่ได้เป็นฝ่ายดำเนินการก่อน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏประเทศที่กัมพูชาไปฟ้องก็จะบอกเอง ว่าเรื่องดังกล่าวต้องจัดการกันเอง และอยู่ในอาเซียนด้วยกัน เพราะฉะนั้นอย่างน้อยที่สุดอาเซียนก็จะมีบทบาทในการสนับสนุนให้มีการเจรจา
**ยูเนสโก้ต้องปลดชนวนมรดกโลก
ถามว่าจะมีการชี้แจงกับประเทศฝรั่งเศสที่เสนอตัวเข้ามาหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้ทำความเข้าใจกับทุกประเทศและเห็นว่าการชี้แจงในการประชุมสภาก็เป็นการยืนยันชัดเจนว่าไม่เฉพาะฝ่ายบริหารของไทย แต่ฝ่ายนิติบัญญัติของไทยก็สนับสนุนให้แก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี และเห็นได้ชัดว่าไทยไม่มีความคิดหรือเจตนาที่จะไปรุกรานใคร แต่มีความจำเป็นในการปกป้องอธิปไตยของไทย ซึ่งการดำเนินงานในระดับทวิภาตี ที่ต้องทำงานร่วมกันทั้งฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ ทุกฝ่ายก็จะเดินหน้าในการแก้ไขปัญหา ซึ่งอยู่ที่ประชาคมโลกที่จะให้เห็นข้อเท็จจริงว่าเกิดอะไรขึ้น แล้วปลดชนวนที่เป็นแรงกดดัน ซึ่งชนวนสำคัญคือเรื่องมรดกโลก
“ถ้ายูเนสโก้ปลดชนวนตรงนี้ ผมเชื่อว่า 2 ฝ่ายจะคุยกันได้ และไม่มีแรงกดดันเพราะอย่างไรผลประโยชน์ของทั้ง 2 ประเทศ ในการให้ประชาชนแนวชายแดนอยู่อย่างสงบสุข ผมมั่นใจว่าทั้ง 2 ฝ่ายก็ต้องการแบบนี้” นายอภิสิทธิ์ กล่าวและว่า ไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกในเดือนมิ.ย. แต่ควรจะได้มีการกระหนักถึงปัญหาที่ถูกสร้างขึ้นมา และมีบทบาทแก้ปัญหานั้น ตนเข้าใจว่าเลขาธิการสหประชาชาติได้พูดกับทางยูเนสโกบางแล้ว ทั้งนี้ต้องดูว่า จะใช้วิธีไหนก็ได้ในการปลดล็อกแรงกดดันเกี่ยวกับการเสนอแผนการบริหารจัดการในเดือนมิ.ย.”
**ให้ฝรั่งเศศช่วยปลดล๊อกมรดกโลก
ถามว่าทางประเทศฝรั่งเศสต้องการเป็นตัวกลางในการเจรจาโดยจะนำแผนที่ฉบับที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้จัดทำมาใช้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า มันไม่เกี่ยว แผนที่ไม่ได้มีประเด็นเลย ฝรั่งเศสจะมาบอกให้เราทำอะไรได้อย่างไร มันเป็นเรื่องของเราที่ต้องแก้ไขปัญหา ความจริงฝรั่งเศส ถ้าอยากจะช่วยก็ขอให้ไปบอกให้ยูเนสโก เพราะยูเนสโก มีสำนักงานอยู่ที่ปารีส เมื่อถามว่า จะทำอย่างไรให้เป็นแค่ปัญหาของระหว่าง 2 ประเทศ ไม่ให้ประเทศอื่นๆเข้ามาหาผลประโยชน์ตรงส่วนนี้จะทำให้ลุกลามมากขึ้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ยังมั่นใจว่าอาเซียนกับสหประชาชาติ ได้แสดงท่าทีให้มีการเจรจา เดินหน้าสนับสนุนเจรจาต่อไป เมื่อถามว่าถ้ายูเนสโก้ไม่ฟังเท่ากับเป็นเครื่องมือการล่าผลประโยชน์ของประเทศอื่นหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องมีการดำเนินการต่อไป
**ฟันธง“ฮุนเซน”อยากเคลียร์พื้นที่
ค่ำวันที่ 8 ก.พ.นายอภิสิทธิ์ ชี้แจงต่อรัฐสภาในการประชุมเพื่อแปรญัญติในปัญหาชายแดนระหว่างไทย-กัมพูชา ของรัฐสภาว่า การปะทะที่เกิดขึ้นนั้นฟันธงได้อย่างเดียวคือเรื่องการขึ้นทะเบียนมรดกโลก และสมเด็จฮุน เซน ต้องการเข้าไปบริหารจัดการพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร สิ่งที่สมเด็จฮุน เซนต้องการอย่างเดียวคือ พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร และพยายามย้ำคืออยากให้พื้นที่กลับมาเป็นเหมือนอย่างก่อนเดือนกรกฎาคม 2551 ซึ่งตนได้ย้ำว่าเป็นไปไม่ได้ หากจะให้กลับคืนเหมือนเดิมต้องให้พื้นที่กลับไปเมื่อปี 2543 ดังนั้นสมเด็จฮุน เซน จึงพยายามเคลียร์พื้นที่และต้องการให้นำทหารออกจากพื้นที่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งตนยืนยันว่าไม่สามารถทำได้
** “กต.”ระบุฝรั่งเศสแค่เสนอแผนที่
นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ข่าวที่ระบุว่า ฝรั่งเศสเสนอตัวเข้ามาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยรวมทั้งแสดงความพร้อมให้นำแผนที่ซึ่งทางฝรั่งเศสเป็นผู้จัดทำในสมัยก่อนมาคัดลอกเพื่อใช้ศึกษาว่า เป็นการรายงานคลาดเคลื่อน ทางฝรั่งเศสไม่ได้เสนอตัวเข้ามาเป็นคนกลาง โดยฝรั่งเศสเพียงเสนอว่า ยินดีให้นำแผนที่สยาม-อินโดจีน อายุกว่า 100 ปีของทางฝรั่งเศสมาสำรวจและศึกษา
ที่ผ่านมาทางกระทรวงการต่างประเทศของไทยเคยร่วมมือกับฝรั่งเศสมาแล้วหลาย 10 ครั้ง ในแง่ของการส่งตัวแทนเข้าไปศึกษาแผนที่มากมายของทางฝรั่งเศส ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี กรณีนี้ทางกระทรวงอาจต้องเข้าไปศึกษาอีกว่ามีแผนที่ใหม่หรือไม่ มีความถูกต้องแม่นยำและเป็นประโยชน์กับทางการไทยอย่างไร เพราะบางแผนที่ฝรั่งเศสอาจทำเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งต้องนำมาศึกษาเป็นรายกรณีไป
**ไทยงง! ไม่ได้ร่วมตรวจพระวิหาร
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวกรณีคณะกรรมการมรดกโลกลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายปราสาทพระวิหาร จากเหตุการณ์ปะทะว่า หากคณะกรรมการมรดกโลกะเข้ามาตรวจสอบปราสาทพระวิหารจริงในฐานะที่นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร เป็นหนึ่งในกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศ ควรมีสิทธิเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าวถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมมีสิทธิที่จะเข้าร่วมตรวจสอบ คิดว่าคณะกรรมการมรดกโลกต้องเปิดใจกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องยอมให้ไทยมีส่วนได้ส่วนเสียกับกัมพูชาเข้าร่วมด้วย เพราะหากไม่ให้เข้าร่วมจะไม่มีข้อยุติเสียที
“อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กรมศิลปากรได้เร่งจัดทำเอกสารรายงานทางวิชาการในการโต้แย้งแผนบริหารจัดการพื้นที่ปราสาทพระวิหาร รวมถึงพื้นที่ทับซ้อนของกัมพูชา ที่ยื่นต่อยูเนสโกไปแล้ว โดยเอกสารดังกล่าวได้จัดทำเกือบเสร็จสมบูรณ์เหลือปรับปรุงข้อมูลเพียงบางส่วนเท่านั้น และจะนำเอกสารดังกล่าวไปหารือกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาและส่งไปยังยูเนสโก”นายนิพิฏฐ์กล่าว
** วิทยุเขมรคลั่งชาติ “เรียกกลับประเทศ”
สำหรับกรณีที่ “ฮุน เซน”ระบุว่า การยิงปะทะที่บริเวณชายแดนกัมพูชาและไทย “เป็นสงครามที่แท้จริง ไม่ใช่เหตุทหารปะทะกัน” และสงครามครั้งนี้ฝ่ายไทยเป็นผู้ก่อขึ้น ดังนั้นนายกรัฐมนตรีไทยจะต้องรับผิดชอบต่อการก่ออาชญากรรมสงคราม
ฮุน เซน บอกด้วยว่า รัฐบาลจะต้องดำเนินการระยะยาว ไม่ใช่แค่ 1 วันหรือ 2 วันเพื่อยุติความขัดแย้งกรณีปราสาทพระวิหาร และจะวางแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวเพื่อต่อกรกับไทย ซึ่งการต่อกรไม่ใช่แค่หนึ่งวัน หนึ่งปี แต่ใช้เวลาหลายปี
นอกจากนี้ฮุน เซน ยังย้ำข้อกล่าวหาที่ว่าทางการไทยใช้ระเบิดพวง (คลัสเตอร์บอมบ์)ในการปะทะกับทหารกัมพูชา พร้อมกับชี้ให้เห็นว่าเป็นสงครามที่แท้จริงเพราะมีการใช้อาวุธหนัก
อีกด้านสื่อวิทยุเขมรปลุกกระแสคลั่งชาติอ้างทหารไทยตั้งใจยิงปืนใหญ่ใส่ปราสาทพระวิหาร เรียกชาวเขมรที่ทำงานในไทยกลับประเทศ ส่วนสื่อ น.ส.พ.เขมรประโคมไทยเสริมกองทัพรถถังประชิดชายแดนพระวิหารแล้วอพยพชาวบ้านออกเชื่อเตรียมถล่มเขมรครั้งใหญ่ อ้างแรงงานเขมรทำงานในไทยอพยพหนีกลับประเทศแล้ว 70 คน
วันเดียวกันฮุน เซน ยังบอกด้วยว่า เขาได้พยายามผลักดันให้นายบัน คี-มุน เลขาธิการสหประชาติเพิ่มบทบาทของยูเอ็นในกรณีปะทะชายแดนกัมพูชาและไทยครั้งนี้ โดยบอกว่าความขัดแย้งได้ผ่านพ้นจุดที่จะแก้ไขปัญหาระดับทวิภาคีไปแล้วและต้องการให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจัดประชุมฉุกเฉิน ส่งทหารรักษาสันติภาพหรือผู้สังเกตการณ์เข้าไปยังกัมพูชา และกัมพูชายินดีถอยออกไปหากทหารยูเอ็นเข้ามาคุ้มครองบริเวณปราสาทพระวิหาร
นอกจากนี้ผู้นำกัมพูชา บอกด้ยว่า หากคณะมนตรีความมั่นคงเผชิญความลำบากใจในการประณามการกระทำของไทย ก็ควรมอบบทบาทการเจรจาไกล่เกลี่ยให้กับอาเซียนแทน
รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะที่เจ้านโรดม สีหนุ อดีตกษัตริย์กัมพูชา ซึ่งลี้ภัยรักษาตัวอยู่ที่กรุงปักกิ่ง เปิดเผยผ่านเว็บไซต์ส่วนตัวว่า "นึกแล้วว่าประเทศไทยจะต้องทวงคืนเขาพระวิหาร"
**ทบ.ปัดใช้ระเบิดพวงยิงเขมร
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานโดยอ้างศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติกัมพูชา เปิดเผยว่า ตรวจพบคลัสเตอร์บอมบ์ ในพื้นที่ตามแนวชายแดน หลังจากเหตุปะทะกันระหว่างทหารไทย-กัมพูชา ซึ่งองค์การนิรโทษกรรม ระบุว่า การใช้คลัสเตอร์บอมบ์ในพื้นที่อาศัยของประชาชน เป็นการละเมิดกฎหมายสิทธิมนุษยชนสากล ขณะที่ ทหารของกัมพูชา กล่าวว่า ระเบิดดังกล่าวมาจากฝ่ายไทย
คลัสเตอร์บอมบ์ (ระเบิดพวง) คือ ระเบิดที่มีลูกปรายขนาดเล็กอยู่ภายใน เมื่อยิงออกมาเปลือกระเบิดจะแยกตัวเหวี่ยงลูกปรายเป็นวงกว้าง แต่ระเบิดชนิดนี้มีอัตราการระเบิดด้านสูง จึงทำให้อาจระเบิดภายหลัง
พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก ยืนยันว่า กองทัพไม่ได้นำคลัสเตอร์บอมบ์มาใช้ในการปะทะกันครั้งนี้ แต่เป็นฝ่ายของกัมพูชาที่นำมาใช้กับฝ่ายไทย โดยที่ พ.ต.ธนากร พูนเพิ่ม รองผู้บังคับชุดปฏิบัติการกองร้อยทหารพรานที่ 2306 ซึ่งเสียชีวิตจากเหตุปะทะกันนั้น ถูกกระสุนปืนใหญ่ชนิดนี้เข้าที่ศีรษะได้รับบาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตที่โรงพยาบาล
**F 16 บินโฉบเหนือบ้านภูมิซรอล
เมื่อเวลา 13.30 น. ได้มีผู้พบเห็นและบันทึกภาพเครื่องบินเอฟ 16 ของกองทัพอากาศจำนวน 2 ลำ บินลาดตระเวนอยู่เหนือน่านฟ้า บริเวณบ้านภูมิซรอล อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ โดยมีการบินลาดตระเวนอยู่ประมาณ 30 นาที ก่อนที่เครื่องบินเอฟ 16 ทั้ง 2 ลำจะหายไป
**มทภ.2คุย 2นาทีคF16ถึง
พล.ท.ธวัชชัย สมุทรสาคร แม่ทัพภาคที่ 2กล่าวว่า ทหารไทยทุกนายที่อยู่ตามแนวชายแดนมีขวัญกำลังดีอยู่แล้วและตนในฐานะแม่ทัพภาคที่ 2 ก็อยู่ในพื้นที่ตลอดในช่วงนี้ ทั้งนี้คาดว่าอีก 2-3 วันถ้าไม่มีเสียงปืนดังขึ้นมาอีก คงจะมีการทำความเข้าใจกันบางส่วน ส่วนจะให้ประชาชนอพยพกลับเข้าไปยังบ้านเรือนได้เมื่อไหร่นั้น จะหารือพูดคุยกับผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษอีกครั้งใน 1-2 วันนี้ ทั้งนี้ ได้ติดต่อประสานงานกับทางกองทัพอากาศมานานแล้ว เพียงแต่ว่าเรายังไม่ถึงเวลาร้องขอเท่านั้น ถ้าเครื่องบิน F-16 ตนร้องขอเข้าไปก็มาถึงที่หมายภายใน 2 นาที แต่เราไม่ใช้
**แจงลาดตระเวน-ฝึกคอบร้าโกลด์
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง เสนาธิการทหารอากาศ ชี้แจงว่า กองทัพอากาศมี 2 ภารกิจ คือ1.การฝึกคอบร้าโกลด์ ครั้งที่ 30 ซึ่งมีการฝึกตั้งแต่วันที่ 7-18 ก.พ.นี้ โดยมีพื้นที่การฝึกตั้งแต่ทางใต้ ของ จ.นครราชสีมา แต่ขณะนี้พยายามขยับการฝึกขึ้นมาในพื้นที่ตอนเหนือ คือ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา 2.ภารกิจลาดตระเวนพื้นที่ตามปกติ โดยจะใช้เครื่องบินเอฟ 5 และเอฟ 16 บินลาดตระเวนส่วนเครื่องบิน ที่บินเหนือพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชานั้น ไม่ยืนยันว่า เป็นเครื่องบินจากภารกิจไหน แต่ยืนยันว่า เป็นภารกิจตามปกติของกองทัพอากาศ ไม่ได้มีเจตนาบินตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด
ด้าน พล.อ.ต.มณฑล สัชฌุกร โฆษกกองทัพอากาศ กล่าวเพิ่มเติมว่า การบินลาดตระเวนของเครื่องเอฟ 16 บริเวณชายแดนนั้น เป็นการบินลาดตระเวนรักษาเขตตามปกติของกองทัพอากาศ ไม่เกี่ยวกับการบินเพื่อโจมตี หรือบินเพื่อแสดงกำลังทางอากาศเพื่อข่มขู่ หรือบินเพื่อยั่วยุแต่อย่างใด
**ผู้แทนสังฆราชฯประทานของ
สำหรับบรรยายกาศที่ศูนย์อพยพ หลายจุดซึ่งเป็นวันที่ 6นั้น ที่ศูนย์อพยพวิทยาลัยการอาชีพกันทรลักษ์ อ.กันทรลักษ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โปรดให้พระครูสังฆสิทธิกร หัวหน้าฝ่ายศาสนวิเทศ สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช เป็นผู้แทนพระองค์ ประทานพระรูป ผ้าไตร น้ำมนต์สมเด็จพระสังฆราช 96 พรรษา พระไพรีพินาศ และหมากพลู ให้แก่พระภิกษุ และประชาชน
ที่โรงเรียนบ้านท่าสว่าง ต.โนนสำราญ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีความห่วงใยประชาชนชาวศรีสะเกษที่กำลังประสบปัญหาความเดือดร้อนจากการสู้รบระหว่างกองกำลังทหารไทยกับกองกำลังทหารประเทศเพื่อนบ้านเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ทรงมีพระราชบัณฑูรให้ ร.อ.ไพบูลย์ สุขเจตนี รองผู้อำนวยการ กองงานพระวรชายาฯ เป็นผู้แทนพระองค์ เดินทางมามอบถุงพระราชทานเพื่อเป็นการช่วยเหลือถุงพระราชทานมีทั้งสิ้น 1,000 ถุง พร้อมด้วยเครื่องอุปโภคบริโภค จำนวนมาก
โรงเรียภูมิซรอลวิทยา ต.เสาธงชัย มิสเตอร์ ทรีซิต บิซวาส ผู้แทนจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ และ มิส อาน อี เลอแคล หัวหน้าคณะผู้แทนประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สภากาชาดระหว่างประเทศ ได้นำคณะเดินทางมาตรวจสอบสภาพโรงเรียนภูมิซรอลวิทยา
ขณะที่นักการเมืองทั้งพรรคร่วมรัฐบาล พรรคฝ่ายค้าน และอดีตนักการเมืองก็เดินทางมาร่วมบริจาคและช่วยเหลือเป็นระยะ
**11 ก.พ.ชาวบ้านกลับไม่กลัวถูกซ้ำ
วันเดียวกันมีรายงานว่า ชาวบ้านหลายตำบลที่มีพื้นที่ติดกับชายแดน ได้ทยอยเดินทางกลับบ้านที่ทิ้งมากว่า 6 วัน นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผวจ.ศรีสะเกษ เปิดเผยว่า การที่ชาวบ้านจะกลับเข้าสู่หมู่บ้านในขณะนี้ทางจังหวัดก็ไม่ได้ห้าม
“หากคิดว่าเข้าไปเพื่อดูแลทรัพย์สินก็ไม่มีใครห้าม แต่หากเกิดเหตุการณ์ปะทะที่รุนแรงขึ้นก็ให้รีบกลับออกมาจากหมู่บ้านเพราะจะไม่ปลอดภัย หากชาวบ้านต้องการที่จะกลับเข้าไปในหมู่บ้านก็ไม่ได้ห้าม ขอเพียงว่าหากเกิดเหตุปะทะขึ้นอีกให้รีบกลับออกมา” นายสมศักดิ์ กล่าว
พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก กล่าวว่า หากสถานการณ์ดีขึ้นในช่วง 1-2 วันนี้ ในวันศุกร์ที่ 11 ก.พ.นี้ ก็น่าจะสามารถทยอยนำประชาชนกลับเข้าสู่พื้นที่ได้
ส่วนที่บริเวณแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จ.สุรินทร์ การค้าและการท่องเที่ยวยังซบเซาต่อเนื่อง ขณะที่ทหารยังตรึงกำลังลาดตระเวนตลอดแนว.
วานนี้(9 ก.พ.)ที่ รัฐสภา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาไม่เจรจากับไทย ว่า ตนมั่นใจว่าทุกองค์กรที่มาติดตาม ก็สนับสนุนให้มีการเจรจากัน ส่วนกรณีที่ประเทศฝรั่งเศสจะมาเป็นตัวกลางในการเจรจา นั้น คงยังไม่จำเป็นเพราะทางอาเซียนได้ทำหน้าที่ในการสนับสนุนให้มีการเจรจา และจากที่ได้ฟังนายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ ตนเองมั่นใจว่าสหประชาชาติ ก็ต้องการให้มีการเจรจากัน
เมื่อ ถามว่า การเสนอตัวของฝรั่งเศสในครั้งนี้ เป็นการสะท้อนหรือไม่ว่า ประเทศมหาอำนาจต้องการมีบทบาทในการบริหารจัดการพื้นที่บริเวณรอบปราสาทพระวิหาร เพื่อประโยชน์ของตัวเองจนมีปัญหา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังไม่ทราบว่าการเสนอตัวเข้ามาของฝรั่งเศสต้องการลักษณะอย่างไร แต่ถ้าต้องการแสดงความปรารถนาดี และให้มีการพูดคุยกันก็ไม่เป็นไร
“เป็นสิ่งที่ๆได้บอกกับทางสหประชาชาติให้ทบทวนดูปัญหาที่เกิดขึ้น และเชื่อว่าเหตุการณ์ และข้อเท็จจริงที่เสนอไปน่าจะทำให้ทุกฝ่ายมีความเข้าใจดีขึ้น”
**ย้ำมีรูปถ่ายฟ้องเขมรใช้พระวิหารรบ
เมื่อ ถามว่า นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตั้งข้อสังเกต การใช้อาวุธของทางกัมพูชา น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับหลายประเทศ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไทยมีรูปถ่าย และจะมีการติดตามในเรื่องนี้ต่อ ซึ่งในตนสัปดาห์ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และนายอัษฎา ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การสหประชาชาติ ก็จะเดินทางไปยังที่กรุงปารีส เพื่อที่จะไปชี้แจงคณะกรรมการยูเนสโก และเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ เพราะคิดว่าการที่มีกองกำลังในปราสาทพระวิหารเป็นการยืนยันชัดแจ้ง ว่าไม่ได้เป็นการดำเนินการตามเจตนารมณ์ความเป็นมรดกโลกแน่นอน
**อุ้มกษิตอ้างมหาอำนาจแค่วิเคราะห์
ถามว่า เป็นเรื่องจริงหรือไม่ที่นายกษิต ระบุว่า มีประเทศมหาอำนาจเข้ามาหนุนหลัง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐมนตรีต่างประเทศ ถูกสอบถามเกี่ยวกับท่าทีของประเทศต่างๆ ที่อยู่ในคณะมนตรีความมั่นคง โดยได้บอกว่าจากรายงานและที่วิเคราะห์ จากที่ผ่านมาเป็นอย่างไร แต่ไทยก็เดินหน้าทำความเข้าใจกับทุกประเทศ
**เชื่อการเจรจารูปทวิภาคีเท่านั้น
ถามว่า สมเด็จฮุนเซน ออกมาระบุว่าเป็นการทำสงคราม และจะไม่คุยกับประเทศไทยอีกแล้ว นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตรงกับสิ่งที่ตนเองได้พูดกับเลขาฯ สหประชาชาติ ว่ากัมพูชาต้องการยกระดับเรื่องดังกล่าว และก็เกิดขึ้น เพราะมีแรงกดดัน จากการเข้ามาจัดการพื้นที่ ส่วนที่กัมพูชาต้องมีการให้ประเทศที่ 3 มาร่วมเจรจากับไทย นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นความพยายามของทางกัมพูชา แต่เชื่อว่า หากประเทศต่างๆ เห็นข้อเท็จจริงทั้งหมดแล้ว ก็จะบอกให้กลับมาคุยกันระหว่าง 2 ประเทศ เหมือนเดิม
ตนคิดว่าถ้าช่องทางที่กัมพูชาพยายามที่จะฟ้องต่างประเทศ ทั้งที่ความเป็นจริงไทยไม่ได้เป็นฝ่ายดำเนินการก่อน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏประเทศที่กัมพูชาไปฟ้องก็จะบอกเอง ว่าเรื่องดังกล่าวต้องจัดการกันเอง และอยู่ในอาเซียนด้วยกัน เพราะฉะนั้นอย่างน้อยที่สุดอาเซียนก็จะมีบทบาทในการสนับสนุนให้มีการเจรจา
**ยูเนสโก้ต้องปลดชนวนมรดกโลก
ถามว่าจะมีการชี้แจงกับประเทศฝรั่งเศสที่เสนอตัวเข้ามาหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้ทำความเข้าใจกับทุกประเทศและเห็นว่าการชี้แจงในการประชุมสภาก็เป็นการยืนยันชัดเจนว่าไม่เฉพาะฝ่ายบริหารของไทย แต่ฝ่ายนิติบัญญัติของไทยก็สนับสนุนให้แก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี และเห็นได้ชัดว่าไทยไม่มีความคิดหรือเจตนาที่จะไปรุกรานใคร แต่มีความจำเป็นในการปกป้องอธิปไตยของไทย ซึ่งการดำเนินงานในระดับทวิภาตี ที่ต้องทำงานร่วมกันทั้งฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ ทุกฝ่ายก็จะเดินหน้าในการแก้ไขปัญหา ซึ่งอยู่ที่ประชาคมโลกที่จะให้เห็นข้อเท็จจริงว่าเกิดอะไรขึ้น แล้วปลดชนวนที่เป็นแรงกดดัน ซึ่งชนวนสำคัญคือเรื่องมรดกโลก
“ถ้ายูเนสโก้ปลดชนวนตรงนี้ ผมเชื่อว่า 2 ฝ่ายจะคุยกันได้ และไม่มีแรงกดดันเพราะอย่างไรผลประโยชน์ของทั้ง 2 ประเทศ ในการให้ประชาชนแนวชายแดนอยู่อย่างสงบสุข ผมมั่นใจว่าทั้ง 2 ฝ่ายก็ต้องการแบบนี้” นายอภิสิทธิ์ กล่าวและว่า ไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกในเดือนมิ.ย. แต่ควรจะได้มีการกระหนักถึงปัญหาที่ถูกสร้างขึ้นมา และมีบทบาทแก้ปัญหานั้น ตนเข้าใจว่าเลขาธิการสหประชาชาติได้พูดกับทางยูเนสโกบางแล้ว ทั้งนี้ต้องดูว่า จะใช้วิธีไหนก็ได้ในการปลดล็อกแรงกดดันเกี่ยวกับการเสนอแผนการบริหารจัดการในเดือนมิ.ย.”
**ให้ฝรั่งเศศช่วยปลดล๊อกมรดกโลก
ถามว่าทางประเทศฝรั่งเศสต้องการเป็นตัวกลางในการเจรจาโดยจะนำแผนที่ฉบับที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้จัดทำมาใช้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า มันไม่เกี่ยว แผนที่ไม่ได้มีประเด็นเลย ฝรั่งเศสจะมาบอกให้เราทำอะไรได้อย่างไร มันเป็นเรื่องของเราที่ต้องแก้ไขปัญหา ความจริงฝรั่งเศส ถ้าอยากจะช่วยก็ขอให้ไปบอกให้ยูเนสโก เพราะยูเนสโก มีสำนักงานอยู่ที่ปารีส เมื่อถามว่า จะทำอย่างไรให้เป็นแค่ปัญหาของระหว่าง 2 ประเทศ ไม่ให้ประเทศอื่นๆเข้ามาหาผลประโยชน์ตรงส่วนนี้จะทำให้ลุกลามมากขึ้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ยังมั่นใจว่าอาเซียนกับสหประชาชาติ ได้แสดงท่าทีให้มีการเจรจา เดินหน้าสนับสนุนเจรจาต่อไป เมื่อถามว่าถ้ายูเนสโก้ไม่ฟังเท่ากับเป็นเครื่องมือการล่าผลประโยชน์ของประเทศอื่นหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องมีการดำเนินการต่อไป
**ฟันธง“ฮุนเซน”อยากเคลียร์พื้นที่
ค่ำวันที่ 8 ก.พ.นายอภิสิทธิ์ ชี้แจงต่อรัฐสภาในการประชุมเพื่อแปรญัญติในปัญหาชายแดนระหว่างไทย-กัมพูชา ของรัฐสภาว่า การปะทะที่เกิดขึ้นนั้นฟันธงได้อย่างเดียวคือเรื่องการขึ้นทะเบียนมรดกโลก และสมเด็จฮุน เซน ต้องการเข้าไปบริหารจัดการพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร สิ่งที่สมเด็จฮุน เซนต้องการอย่างเดียวคือ พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร และพยายามย้ำคืออยากให้พื้นที่กลับมาเป็นเหมือนอย่างก่อนเดือนกรกฎาคม 2551 ซึ่งตนได้ย้ำว่าเป็นไปไม่ได้ หากจะให้กลับคืนเหมือนเดิมต้องให้พื้นที่กลับไปเมื่อปี 2543 ดังนั้นสมเด็จฮุน เซน จึงพยายามเคลียร์พื้นที่และต้องการให้นำทหารออกจากพื้นที่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งตนยืนยันว่าไม่สามารถทำได้
** “กต.”ระบุฝรั่งเศสแค่เสนอแผนที่
นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ข่าวที่ระบุว่า ฝรั่งเศสเสนอตัวเข้ามาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยรวมทั้งแสดงความพร้อมให้นำแผนที่ซึ่งทางฝรั่งเศสเป็นผู้จัดทำในสมัยก่อนมาคัดลอกเพื่อใช้ศึกษาว่า เป็นการรายงานคลาดเคลื่อน ทางฝรั่งเศสไม่ได้เสนอตัวเข้ามาเป็นคนกลาง โดยฝรั่งเศสเพียงเสนอว่า ยินดีให้นำแผนที่สยาม-อินโดจีน อายุกว่า 100 ปีของทางฝรั่งเศสมาสำรวจและศึกษา
ที่ผ่านมาทางกระทรวงการต่างประเทศของไทยเคยร่วมมือกับฝรั่งเศสมาแล้วหลาย 10 ครั้ง ในแง่ของการส่งตัวแทนเข้าไปศึกษาแผนที่มากมายของทางฝรั่งเศส ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี กรณีนี้ทางกระทรวงอาจต้องเข้าไปศึกษาอีกว่ามีแผนที่ใหม่หรือไม่ มีความถูกต้องแม่นยำและเป็นประโยชน์กับทางการไทยอย่างไร เพราะบางแผนที่ฝรั่งเศสอาจทำเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งต้องนำมาศึกษาเป็นรายกรณีไป
**ไทยงง! ไม่ได้ร่วมตรวจพระวิหาร
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวกรณีคณะกรรมการมรดกโลกลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายปราสาทพระวิหาร จากเหตุการณ์ปะทะว่า หากคณะกรรมการมรดกโลกะเข้ามาตรวจสอบปราสาทพระวิหารจริงในฐานะที่นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร เป็นหนึ่งในกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศ ควรมีสิทธิเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าวถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมมีสิทธิที่จะเข้าร่วมตรวจสอบ คิดว่าคณะกรรมการมรดกโลกต้องเปิดใจกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องยอมให้ไทยมีส่วนได้ส่วนเสียกับกัมพูชาเข้าร่วมด้วย เพราะหากไม่ให้เข้าร่วมจะไม่มีข้อยุติเสียที
“อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กรมศิลปากรได้เร่งจัดทำเอกสารรายงานทางวิชาการในการโต้แย้งแผนบริหารจัดการพื้นที่ปราสาทพระวิหาร รวมถึงพื้นที่ทับซ้อนของกัมพูชา ที่ยื่นต่อยูเนสโกไปแล้ว โดยเอกสารดังกล่าวได้จัดทำเกือบเสร็จสมบูรณ์เหลือปรับปรุงข้อมูลเพียงบางส่วนเท่านั้น และจะนำเอกสารดังกล่าวไปหารือกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาและส่งไปยังยูเนสโก”นายนิพิฏฐ์กล่าว
** วิทยุเขมรคลั่งชาติ “เรียกกลับประเทศ”
สำหรับกรณีที่ “ฮุน เซน”ระบุว่า การยิงปะทะที่บริเวณชายแดนกัมพูชาและไทย “เป็นสงครามที่แท้จริง ไม่ใช่เหตุทหารปะทะกัน” และสงครามครั้งนี้ฝ่ายไทยเป็นผู้ก่อขึ้น ดังนั้นนายกรัฐมนตรีไทยจะต้องรับผิดชอบต่อการก่ออาชญากรรมสงคราม
ฮุน เซน บอกด้วยว่า รัฐบาลจะต้องดำเนินการระยะยาว ไม่ใช่แค่ 1 วันหรือ 2 วันเพื่อยุติความขัดแย้งกรณีปราสาทพระวิหาร และจะวางแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวเพื่อต่อกรกับไทย ซึ่งการต่อกรไม่ใช่แค่หนึ่งวัน หนึ่งปี แต่ใช้เวลาหลายปี
นอกจากนี้ฮุน เซน ยังย้ำข้อกล่าวหาที่ว่าทางการไทยใช้ระเบิดพวง (คลัสเตอร์บอมบ์)ในการปะทะกับทหารกัมพูชา พร้อมกับชี้ให้เห็นว่าเป็นสงครามที่แท้จริงเพราะมีการใช้อาวุธหนัก
อีกด้านสื่อวิทยุเขมรปลุกกระแสคลั่งชาติอ้างทหารไทยตั้งใจยิงปืนใหญ่ใส่ปราสาทพระวิหาร เรียกชาวเขมรที่ทำงานในไทยกลับประเทศ ส่วนสื่อ น.ส.พ.เขมรประโคมไทยเสริมกองทัพรถถังประชิดชายแดนพระวิหารแล้วอพยพชาวบ้านออกเชื่อเตรียมถล่มเขมรครั้งใหญ่ อ้างแรงงานเขมรทำงานในไทยอพยพหนีกลับประเทศแล้ว 70 คน
วันเดียวกันฮุน เซน ยังบอกด้วยว่า เขาได้พยายามผลักดันให้นายบัน คี-มุน เลขาธิการสหประชาติเพิ่มบทบาทของยูเอ็นในกรณีปะทะชายแดนกัมพูชาและไทยครั้งนี้ โดยบอกว่าความขัดแย้งได้ผ่านพ้นจุดที่จะแก้ไขปัญหาระดับทวิภาคีไปแล้วและต้องการให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจัดประชุมฉุกเฉิน ส่งทหารรักษาสันติภาพหรือผู้สังเกตการณ์เข้าไปยังกัมพูชา และกัมพูชายินดีถอยออกไปหากทหารยูเอ็นเข้ามาคุ้มครองบริเวณปราสาทพระวิหาร
นอกจากนี้ผู้นำกัมพูชา บอกด้ยว่า หากคณะมนตรีความมั่นคงเผชิญความลำบากใจในการประณามการกระทำของไทย ก็ควรมอบบทบาทการเจรจาไกล่เกลี่ยให้กับอาเซียนแทน
รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะที่เจ้านโรดม สีหนุ อดีตกษัตริย์กัมพูชา ซึ่งลี้ภัยรักษาตัวอยู่ที่กรุงปักกิ่ง เปิดเผยผ่านเว็บไซต์ส่วนตัวว่า "นึกแล้วว่าประเทศไทยจะต้องทวงคืนเขาพระวิหาร"
**ทบ.ปัดใช้ระเบิดพวงยิงเขมร
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานโดยอ้างศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติกัมพูชา เปิดเผยว่า ตรวจพบคลัสเตอร์บอมบ์ ในพื้นที่ตามแนวชายแดน หลังจากเหตุปะทะกันระหว่างทหารไทย-กัมพูชา ซึ่งองค์การนิรโทษกรรม ระบุว่า การใช้คลัสเตอร์บอมบ์ในพื้นที่อาศัยของประชาชน เป็นการละเมิดกฎหมายสิทธิมนุษยชนสากล ขณะที่ ทหารของกัมพูชา กล่าวว่า ระเบิดดังกล่าวมาจากฝ่ายไทย
คลัสเตอร์บอมบ์ (ระเบิดพวง) คือ ระเบิดที่มีลูกปรายขนาดเล็กอยู่ภายใน เมื่อยิงออกมาเปลือกระเบิดจะแยกตัวเหวี่ยงลูกปรายเป็นวงกว้าง แต่ระเบิดชนิดนี้มีอัตราการระเบิดด้านสูง จึงทำให้อาจระเบิดภายหลัง
พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก ยืนยันว่า กองทัพไม่ได้นำคลัสเตอร์บอมบ์มาใช้ในการปะทะกันครั้งนี้ แต่เป็นฝ่ายของกัมพูชาที่นำมาใช้กับฝ่ายไทย โดยที่ พ.ต.ธนากร พูนเพิ่ม รองผู้บังคับชุดปฏิบัติการกองร้อยทหารพรานที่ 2306 ซึ่งเสียชีวิตจากเหตุปะทะกันนั้น ถูกกระสุนปืนใหญ่ชนิดนี้เข้าที่ศีรษะได้รับบาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตที่โรงพยาบาล
**F 16 บินโฉบเหนือบ้านภูมิซรอล
เมื่อเวลา 13.30 น. ได้มีผู้พบเห็นและบันทึกภาพเครื่องบินเอฟ 16 ของกองทัพอากาศจำนวน 2 ลำ บินลาดตระเวนอยู่เหนือน่านฟ้า บริเวณบ้านภูมิซรอล อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ โดยมีการบินลาดตระเวนอยู่ประมาณ 30 นาที ก่อนที่เครื่องบินเอฟ 16 ทั้ง 2 ลำจะหายไป
**มทภ.2คุย 2นาทีคF16ถึง
พล.ท.ธวัชชัย สมุทรสาคร แม่ทัพภาคที่ 2กล่าวว่า ทหารไทยทุกนายที่อยู่ตามแนวชายแดนมีขวัญกำลังดีอยู่แล้วและตนในฐานะแม่ทัพภาคที่ 2 ก็อยู่ในพื้นที่ตลอดในช่วงนี้ ทั้งนี้คาดว่าอีก 2-3 วันถ้าไม่มีเสียงปืนดังขึ้นมาอีก คงจะมีการทำความเข้าใจกันบางส่วน ส่วนจะให้ประชาชนอพยพกลับเข้าไปยังบ้านเรือนได้เมื่อไหร่นั้น จะหารือพูดคุยกับผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษอีกครั้งใน 1-2 วันนี้ ทั้งนี้ ได้ติดต่อประสานงานกับทางกองทัพอากาศมานานแล้ว เพียงแต่ว่าเรายังไม่ถึงเวลาร้องขอเท่านั้น ถ้าเครื่องบิน F-16 ตนร้องขอเข้าไปก็มาถึงที่หมายภายใน 2 นาที แต่เราไม่ใช้
**แจงลาดตระเวน-ฝึกคอบร้าโกลด์
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง เสนาธิการทหารอากาศ ชี้แจงว่า กองทัพอากาศมี 2 ภารกิจ คือ1.การฝึกคอบร้าโกลด์ ครั้งที่ 30 ซึ่งมีการฝึกตั้งแต่วันที่ 7-18 ก.พ.นี้ โดยมีพื้นที่การฝึกตั้งแต่ทางใต้ ของ จ.นครราชสีมา แต่ขณะนี้พยายามขยับการฝึกขึ้นมาในพื้นที่ตอนเหนือ คือ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา 2.ภารกิจลาดตระเวนพื้นที่ตามปกติ โดยจะใช้เครื่องบินเอฟ 5 และเอฟ 16 บินลาดตระเวนส่วนเครื่องบิน ที่บินเหนือพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชานั้น ไม่ยืนยันว่า เป็นเครื่องบินจากภารกิจไหน แต่ยืนยันว่า เป็นภารกิจตามปกติของกองทัพอากาศ ไม่ได้มีเจตนาบินตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด
ด้าน พล.อ.ต.มณฑล สัชฌุกร โฆษกกองทัพอากาศ กล่าวเพิ่มเติมว่า การบินลาดตระเวนของเครื่องเอฟ 16 บริเวณชายแดนนั้น เป็นการบินลาดตระเวนรักษาเขตตามปกติของกองทัพอากาศ ไม่เกี่ยวกับการบินเพื่อโจมตี หรือบินเพื่อแสดงกำลังทางอากาศเพื่อข่มขู่ หรือบินเพื่อยั่วยุแต่อย่างใด
**ผู้แทนสังฆราชฯประทานของ
สำหรับบรรยายกาศที่ศูนย์อพยพ หลายจุดซึ่งเป็นวันที่ 6นั้น ที่ศูนย์อพยพวิทยาลัยการอาชีพกันทรลักษ์ อ.กันทรลักษ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โปรดให้พระครูสังฆสิทธิกร หัวหน้าฝ่ายศาสนวิเทศ สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช เป็นผู้แทนพระองค์ ประทานพระรูป ผ้าไตร น้ำมนต์สมเด็จพระสังฆราช 96 พรรษา พระไพรีพินาศ และหมากพลู ให้แก่พระภิกษุ และประชาชน
ที่โรงเรียนบ้านท่าสว่าง ต.โนนสำราญ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีความห่วงใยประชาชนชาวศรีสะเกษที่กำลังประสบปัญหาความเดือดร้อนจากการสู้รบระหว่างกองกำลังทหารไทยกับกองกำลังทหารประเทศเพื่อนบ้านเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ทรงมีพระราชบัณฑูรให้ ร.อ.ไพบูลย์ สุขเจตนี รองผู้อำนวยการ กองงานพระวรชายาฯ เป็นผู้แทนพระองค์ เดินทางมามอบถุงพระราชทานเพื่อเป็นการช่วยเหลือถุงพระราชทานมีทั้งสิ้น 1,000 ถุง พร้อมด้วยเครื่องอุปโภคบริโภค จำนวนมาก
โรงเรียภูมิซรอลวิทยา ต.เสาธงชัย มิสเตอร์ ทรีซิต บิซวาส ผู้แทนจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ และ มิส อาน อี เลอแคล หัวหน้าคณะผู้แทนประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สภากาชาดระหว่างประเทศ ได้นำคณะเดินทางมาตรวจสอบสภาพโรงเรียนภูมิซรอลวิทยา
ขณะที่นักการเมืองทั้งพรรคร่วมรัฐบาล พรรคฝ่ายค้าน และอดีตนักการเมืองก็เดินทางมาร่วมบริจาคและช่วยเหลือเป็นระยะ
**11 ก.พ.ชาวบ้านกลับไม่กลัวถูกซ้ำ
วันเดียวกันมีรายงานว่า ชาวบ้านหลายตำบลที่มีพื้นที่ติดกับชายแดน ได้ทยอยเดินทางกลับบ้านที่ทิ้งมากว่า 6 วัน นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผวจ.ศรีสะเกษ เปิดเผยว่า การที่ชาวบ้านจะกลับเข้าสู่หมู่บ้านในขณะนี้ทางจังหวัดก็ไม่ได้ห้าม
“หากคิดว่าเข้าไปเพื่อดูแลทรัพย์สินก็ไม่มีใครห้าม แต่หากเกิดเหตุการณ์ปะทะที่รุนแรงขึ้นก็ให้รีบกลับออกมาจากหมู่บ้านเพราะจะไม่ปลอดภัย หากชาวบ้านต้องการที่จะกลับเข้าไปในหมู่บ้านก็ไม่ได้ห้าม ขอเพียงว่าหากเกิดเหตุปะทะขึ้นอีกให้รีบกลับออกมา” นายสมศักดิ์ กล่าว
พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก กล่าวว่า หากสถานการณ์ดีขึ้นในช่วง 1-2 วันนี้ ในวันศุกร์ที่ 11 ก.พ.นี้ ก็น่าจะสามารถทยอยนำประชาชนกลับเข้าสู่พื้นที่ได้
ส่วนที่บริเวณแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จ.สุรินทร์ การค้าและการท่องเที่ยวยังซบเซาต่อเนื่อง ขณะที่ทหารยังตรึงกำลังลาดตระเวนตลอดแนว.