ศูนย์ข่าวภูเก็ต-โครงการถไฟฟ้ารางเบารอบเกาะภูเก็ตไม่ขยับ จังหวัดทาบนักลงทุนจีนอีกรอบ หลังก่อนหน้านี้เชิญชวนให้ศึกษาความเป็นไปได้ แต่ล่าสุดยังไม่มีความคืบหน้า
วานนี้( 7 ก.พ.) ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดภูเก็ต นายนิวิทย์ อรุณรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกจังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 1/2554 เพื่อร่วมกันวางแผนและแก้ไขปัญหาการจราจรจังหวัดภูเก็ต รวมทั้งติดตามผลการดำเนินการแก้ไขเกี่ยวกับจุดเสี่ยง และบริเวณอันตรายบนทางหลวงในจังหวัดภูเก็ต โดยมีตัวแทนจากสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และผู้ทรงคุณวุฒิ ที่เกี่ยวข้องด้านการจราจรและการขนส่ง การพัฒนาเมืองและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วม
นายประเจียด อักษรธรรมกุล หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดภูเก็ต ชี้แจงเกี่ยวกับความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนาดเบา รอบเกาะภูเก็ต ว่า สืบเนื่องจากการประชุมเมื่อกลางเดือนมี.ค. 2553 เห็นชอบให้ก่อสร้างรถไฟฟ้าขนาดเบาแต่ยังไม่มีงบประมาณ เห็นควรเสนอของบประมาณโดยผ่านกระทรวงคมนาคม ซึ่งต่อมากระทรวงคมนาคมแจ้งว่าไม่มีงบประมาณเช่นกัน ต้องให้เอกชนเข้าดำเนินการ
ในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัด (กรอ.จังหวัดภูเก็ต) เมื่อต้นเดือนก.ย. 2553 มีมติให้จังหวัดจัดหาผู้มาทำการศึกษาและออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าฯ โดยมีเงื่อนไขว่า ราชการไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินของทางราชการในค่าศึกษาและออกแบบ และจังหวัดได้ทำหนังสือเชิญบริษัท แพนไชน่า คอนสตรัคชั่น กรุ๊ป จำกัด และบริษัท Ershisanye Construction Group จำกัด ทำการศึกษาโครงการ แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร จากการที่ได้มีการสอบถามทราบว่ายังมีความสนใจอยู่
อย่างไรก็ตามนายประเจียด ยังกล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาจังหวัดภูเก็ตได้เคยมีการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทำการศึกษาออกแบบเบื้องต้นโครงการรถไฟฟ้ารางเบารอบเกาะภูเก็ต ได้ข้อสรุปว่า ให้มีการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบาใน 3 เส้นทาง ประกอบด้วย 1.เส้นทางสนามบิน-ห้าแยกฉลอง 2.เส้นทางจากสามแยกบางคู -ตัวเมืองภูเก็ต- ห้าแยกฉลอง และ 3.ตัวเมืองภูเก็ต-กะทู้-ป่าตอง รวมระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุนประมาณ 12,000-13,000 บาท ซึ่งก็ยังไม่มีความคืบหน้า แม้ว่าจะมีบริษัทสนใจที่จะเข้ามาลงทุนก็ตาม โดยขณะนี้ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อพิจารณาเรื่องนี้โดยเฉพาะ ซึ่งคิดว่าในอนาคตจะมีความคืบหน้ามากยิ่งขึ้น เนื่องจากจะมีการประชุมร่วมกันมากขึ้น
วานนี้( 7 ก.พ.) ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดภูเก็ต นายนิวิทย์ อรุณรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกจังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 1/2554 เพื่อร่วมกันวางแผนและแก้ไขปัญหาการจราจรจังหวัดภูเก็ต รวมทั้งติดตามผลการดำเนินการแก้ไขเกี่ยวกับจุดเสี่ยง และบริเวณอันตรายบนทางหลวงในจังหวัดภูเก็ต โดยมีตัวแทนจากสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และผู้ทรงคุณวุฒิ ที่เกี่ยวข้องด้านการจราจรและการขนส่ง การพัฒนาเมืองและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วม
นายประเจียด อักษรธรรมกุล หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดภูเก็ต ชี้แจงเกี่ยวกับความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนาดเบา รอบเกาะภูเก็ต ว่า สืบเนื่องจากการประชุมเมื่อกลางเดือนมี.ค. 2553 เห็นชอบให้ก่อสร้างรถไฟฟ้าขนาดเบาแต่ยังไม่มีงบประมาณ เห็นควรเสนอของบประมาณโดยผ่านกระทรวงคมนาคม ซึ่งต่อมากระทรวงคมนาคมแจ้งว่าไม่มีงบประมาณเช่นกัน ต้องให้เอกชนเข้าดำเนินการ
ในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัด (กรอ.จังหวัดภูเก็ต) เมื่อต้นเดือนก.ย. 2553 มีมติให้จังหวัดจัดหาผู้มาทำการศึกษาและออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าฯ โดยมีเงื่อนไขว่า ราชการไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินของทางราชการในค่าศึกษาและออกแบบ และจังหวัดได้ทำหนังสือเชิญบริษัท แพนไชน่า คอนสตรัคชั่น กรุ๊ป จำกัด และบริษัท Ershisanye Construction Group จำกัด ทำการศึกษาโครงการ แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร จากการที่ได้มีการสอบถามทราบว่ายังมีความสนใจอยู่
อย่างไรก็ตามนายประเจียด ยังกล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาจังหวัดภูเก็ตได้เคยมีการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทำการศึกษาออกแบบเบื้องต้นโครงการรถไฟฟ้ารางเบารอบเกาะภูเก็ต ได้ข้อสรุปว่า ให้มีการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบาใน 3 เส้นทาง ประกอบด้วย 1.เส้นทางสนามบิน-ห้าแยกฉลอง 2.เส้นทางจากสามแยกบางคู -ตัวเมืองภูเก็ต- ห้าแยกฉลอง และ 3.ตัวเมืองภูเก็ต-กะทู้-ป่าตอง รวมระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุนประมาณ 12,000-13,000 บาท ซึ่งก็ยังไม่มีความคืบหน้า แม้ว่าจะมีบริษัทสนใจที่จะเข้ามาลงทุนก็ตาม โดยขณะนี้ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อพิจารณาเรื่องนี้โดยเฉพาะ ซึ่งคิดว่าในอนาคตจะมีความคืบหน้ามากยิ่งขึ้น เนื่องจากจะมีการประชุมร่วมกันมากขึ้น