ปีนี้เป็นปีดีเดย์หมวกนิรภัย 100% ของประเทศไทยหลังมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 มกราคมที่ผ่านมา กำหนดให้ปี 2544 เป็นปีแห่งการรณรงค์ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย 100% เพื่อสร้างกระแสแก่ประชาชนให้ตระหนักถึงประโยชน์ของการสวมหมวกนิรภัย ในขณะเดียวกันก็กระตุ้นเตือนให้ผู้ขับขี่และผู้ซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์สวมหมวกนิรภัยทุกครั้งเพื่อยับยั้งความสูญเสียมหาศาลจากอุบัติเหตุจราจร
เนื่องเพราะแม้ประเทศไทยจะมีกฎหมายจราจรว่าด้วยการสวมหมวกนิรภัยมาเนิ่นนานแล้ว แต่การบังคับใช้ในทางปฏิบัติกลับเผชิญปัญหานานัปการ นับแต่การเลือกปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐ บทลงโทษทัณฑ์บางเบา จนถึงคุณภาพหมวกนิรภัยด้อยมาตรฐาน กระทั่งส่งผลให้ไม่เพียงความปลอดภัยทางถนนอย่างยั่งยืนจะเกิดขึ้นไม่ได้เสียทีถึงจะมีกิจกรรมรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทั้งจากหน่วยงานรัฐ เอกชน และประชาสังคม จำนวนมาก หากแต่ยอดผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุในแต่ละปียังไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญด้วย
แม้แต่เป้าหมายลดคนตายและอุบัติเหตุลงร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าก็ยังล้มเหลว เพราะช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมาจำนวนอุบัติเหตุลดลงแค่ร้อยละ 1.05 ทว่าผู้เสียชีวิตกลับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3.17
สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ บาดเจ็บ พิการ ตายจากรถจักรยานยนต์ ผลักดันให้การจะบรรลุเป้าหมายระดับประเทศในการลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนจาก 17.77 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคนให้เหลือ 14.15 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคนภายในปี 2555 ตามตัวชี้วัดวาระแห่งชาติด้านความปลอดภัยทางถนน และเป็นส่วนสำคัญระดับโลกที่จะลดผู้เสียชีวิตและอุบัติเหตุลงร้อยละ 50 ภายในหนึ่งทศวรรษหน้า จำเป็นต้องรณรงค์ส่งเสริมสวมหมวกนิรภัย 100% ที่นำไปปฏิบัติได้เป็นรูปธรรมทุกระดับ ทั่วทุกภูมิภาค
ทศวรรษความปลอดภัยทางถนนจึงต้อง ‘ดีเดย์’ รณรงค์ประชาสัมพันธ์ สร้างเสริมทัศนคติ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ขับขี่และซ้อนท้ายรถจักรยานยนให้สวมหมวกนิรภัยทุกครั้ง ทั้งเพื่อความปลอดภัย ป้องกันการสูญเสียชีวิต ลดความรุนแรง และผลกระทบต่อตนเองและครอบครัวข้างหลัง ดังข้อความ รณรงค์ที่ว่า ‘ไม่ใส่หมวกกันน็อก ไม่ได้น็อกคนเดียว’ ทั้งยังเป็นการสร้างเสริมวินัย เคารพและปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ถูกขนานนามจากสังคมว่า ‘ขาดวินัยจราจรสูงสุด’ อีกด้วย
การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนอย่างยั่งยืนในกลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่จะเป็นปัจจัยหลักของความสำเร็จในการลดจำนวนผู้เสียชีวิตและอุบัติเหตุทางถนนของไทยทั้งในเวทีระดับประเทศและโลกจึงต้องตั้งต้นที่จุดคานงัด ‘สวมหมวกนิรภัย 100%’ เนื่องจากปัจจุบันมีทั้งกฎหมายรองรับ และหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ตลอดจนอาสาสมัครที่มุ่งมั่นเอาจริงเอาจัง ดังความร่วมมือระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) คณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน และหน่วยงานภาคีเครือข่ายด้านความปลอดภัยทางถนน เช่น ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) ที่จัดกิจกรรมโครงการปีแห่งการรณรงค์ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย 100%
กิจกรรมมากมายที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นขบวนรณรงค์บังคับใช้กฎหมาย ขบวนอาสาสมัครกู้ชีพ กู้ภัย หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ขบวนรณรงค์ขององค์กรภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ที่รณรงค์ไปยังพื้นที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ จึงสร้างกระแสตื่นตัวสวมหมวกนิรภัยได้ไม่น้อย
นอกจากนั้นที่กำลังจะมาถึงอย่างโครงการจัดจ้างผลิตหมวกนิรภัยสำหรับโครงการรณรงค์ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยโดยกรมการขนส่งทางบกเพื่อสนับสนุนมาตรการขับเคลื่อนทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนนของกระทรวงคมนาคม จำนวน 100,000 ใบ ภายใต้วงเงินงบประมาณ 30 ล้านบาทของกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) ที่กำลังอยู่ระหว่างประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่จะทำให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์หันมาสวมใส่หมวกนิรภัยมากขึ้นได้
ด้วยหมวกนิรภัยในโครงการนี้ใช่จะทำให้ผู้สวมใส่มั่นใจในความปลอดภัยมากขึ้นจากการได้รับการรับรองการจดทะเบียนมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตาม มอก.369-2539 หมวกนิรภัยสำหรับผู้ใช้ยานพาหนะ (Protective helmets for vehicle users) เท่านั้น ทว่าน่าจะขจัดนิสัยถาวรไม่ชอบสวมหมวกนิรภัยของคนไทยที่มักอ้างว่าใส่แล้วทัศนวิสัยไม่ดี อึดอัด หรือขนาดไม่พอดีศีรษะได้ ด้วยคุณลักษณะของหมวกนิรภัยที่จะจัดจ้างผลิตนี้เป็นแบบเต็มใบ ที่บังลมทำด้วยวัสดุโปร่งใสไม่มีสี เปิดได้ ปราศจากข้อบกพร่องเด่นชัดใดๆ ที่ลดการมองเห็น เช่น ฟองอากาศ รอยขูดขีด นูน หรือแตก มีรูระบายอากาศเพื่อระบายความร้อน รวมถึงสายรัดคางไม่มีถ้วยรัดคาง แต่เป็นคลิปล็อกทำด้วยโลหะทั้งตัวผู้-ตัวเมีย
ความโปร่งใสในการยื่นเอกสารการประกวดราคาจ้างในวันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้จึงสำคัญเท่าๆ กับการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานหมวกนิรภัยที่ต้องเข้มข้นทั้งวัสดุอุปกรณ์และการออกแบบที่ต้องสามารถให้ความปลอดภัย ป้องกัน และลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุได้จริง ด้วยหมวกนิรภัยเหล่านี้จะไปอยู่บน ‘หัว’ ของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ที่คนเหล่านั้นทุกคนต่างเป็น ‘หัวใจ’ ของคนที่รักเขาและเขารัก
2554 ปีดีเดย์หมวกนิรภัย 100% ของไทยจึงต้องระดมสรรพกำลังดั่งวันดีเดย์ (D-Day) ที่กองทหารสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่ฝั่งนอร์มังดีของฝรั่งเศสยุทธศาสตร์สำคัญของสงครามโลกครั้งที่สองก่อนจะชนะชัยในท้ายที่สุด เพราะการจะบรรลุจุดมุ่งหมายลดจำนวนผู้เสียชีวิตและอุบัติเหตุทางถนนต้องการการผนึกพลังสังคมทั้งหมดในการรณรงค์ส่งเสริมวินัยจราจรเรื่อง ‘หัว’
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org
เนื่องเพราะแม้ประเทศไทยจะมีกฎหมายจราจรว่าด้วยการสวมหมวกนิรภัยมาเนิ่นนานแล้ว แต่การบังคับใช้ในทางปฏิบัติกลับเผชิญปัญหานานัปการ นับแต่การเลือกปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐ บทลงโทษทัณฑ์บางเบา จนถึงคุณภาพหมวกนิรภัยด้อยมาตรฐาน กระทั่งส่งผลให้ไม่เพียงความปลอดภัยทางถนนอย่างยั่งยืนจะเกิดขึ้นไม่ได้เสียทีถึงจะมีกิจกรรมรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทั้งจากหน่วยงานรัฐ เอกชน และประชาสังคม จำนวนมาก หากแต่ยอดผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุในแต่ละปียังไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญด้วย
แม้แต่เป้าหมายลดคนตายและอุบัติเหตุลงร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าก็ยังล้มเหลว เพราะช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมาจำนวนอุบัติเหตุลดลงแค่ร้อยละ 1.05 ทว่าผู้เสียชีวิตกลับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3.17
สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ บาดเจ็บ พิการ ตายจากรถจักรยานยนต์ ผลักดันให้การจะบรรลุเป้าหมายระดับประเทศในการลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนจาก 17.77 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคนให้เหลือ 14.15 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคนภายในปี 2555 ตามตัวชี้วัดวาระแห่งชาติด้านความปลอดภัยทางถนน และเป็นส่วนสำคัญระดับโลกที่จะลดผู้เสียชีวิตและอุบัติเหตุลงร้อยละ 50 ภายในหนึ่งทศวรรษหน้า จำเป็นต้องรณรงค์ส่งเสริมสวมหมวกนิรภัย 100% ที่นำไปปฏิบัติได้เป็นรูปธรรมทุกระดับ ทั่วทุกภูมิภาค
ทศวรรษความปลอดภัยทางถนนจึงต้อง ‘ดีเดย์’ รณรงค์ประชาสัมพันธ์ สร้างเสริมทัศนคติ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ขับขี่และซ้อนท้ายรถจักรยานยนให้สวมหมวกนิรภัยทุกครั้ง ทั้งเพื่อความปลอดภัย ป้องกันการสูญเสียชีวิต ลดความรุนแรง และผลกระทบต่อตนเองและครอบครัวข้างหลัง ดังข้อความ รณรงค์ที่ว่า ‘ไม่ใส่หมวกกันน็อก ไม่ได้น็อกคนเดียว’ ทั้งยังเป็นการสร้างเสริมวินัย เคารพและปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ถูกขนานนามจากสังคมว่า ‘ขาดวินัยจราจรสูงสุด’ อีกด้วย
การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนอย่างยั่งยืนในกลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่จะเป็นปัจจัยหลักของความสำเร็จในการลดจำนวนผู้เสียชีวิตและอุบัติเหตุทางถนนของไทยทั้งในเวทีระดับประเทศและโลกจึงต้องตั้งต้นที่จุดคานงัด ‘สวมหมวกนิรภัย 100%’ เนื่องจากปัจจุบันมีทั้งกฎหมายรองรับ และหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ตลอดจนอาสาสมัครที่มุ่งมั่นเอาจริงเอาจัง ดังความร่วมมือระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) คณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน และหน่วยงานภาคีเครือข่ายด้านความปลอดภัยทางถนน เช่น ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) ที่จัดกิจกรรมโครงการปีแห่งการรณรงค์ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย 100%
กิจกรรมมากมายที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นขบวนรณรงค์บังคับใช้กฎหมาย ขบวนอาสาสมัครกู้ชีพ กู้ภัย หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ขบวนรณรงค์ขององค์กรภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ที่รณรงค์ไปยังพื้นที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ จึงสร้างกระแสตื่นตัวสวมหมวกนิรภัยได้ไม่น้อย
นอกจากนั้นที่กำลังจะมาถึงอย่างโครงการจัดจ้างผลิตหมวกนิรภัยสำหรับโครงการรณรงค์ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยโดยกรมการขนส่งทางบกเพื่อสนับสนุนมาตรการขับเคลื่อนทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนนของกระทรวงคมนาคม จำนวน 100,000 ใบ ภายใต้วงเงินงบประมาณ 30 ล้านบาทของกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) ที่กำลังอยู่ระหว่างประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่จะทำให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์หันมาสวมใส่หมวกนิรภัยมากขึ้นได้
ด้วยหมวกนิรภัยในโครงการนี้ใช่จะทำให้ผู้สวมใส่มั่นใจในความปลอดภัยมากขึ้นจากการได้รับการรับรองการจดทะเบียนมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตาม มอก.369-2539 หมวกนิรภัยสำหรับผู้ใช้ยานพาหนะ (Protective helmets for vehicle users) เท่านั้น ทว่าน่าจะขจัดนิสัยถาวรไม่ชอบสวมหมวกนิรภัยของคนไทยที่มักอ้างว่าใส่แล้วทัศนวิสัยไม่ดี อึดอัด หรือขนาดไม่พอดีศีรษะได้ ด้วยคุณลักษณะของหมวกนิรภัยที่จะจัดจ้างผลิตนี้เป็นแบบเต็มใบ ที่บังลมทำด้วยวัสดุโปร่งใสไม่มีสี เปิดได้ ปราศจากข้อบกพร่องเด่นชัดใดๆ ที่ลดการมองเห็น เช่น ฟองอากาศ รอยขูดขีด นูน หรือแตก มีรูระบายอากาศเพื่อระบายความร้อน รวมถึงสายรัดคางไม่มีถ้วยรัดคาง แต่เป็นคลิปล็อกทำด้วยโลหะทั้งตัวผู้-ตัวเมีย
ความโปร่งใสในการยื่นเอกสารการประกวดราคาจ้างในวันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้จึงสำคัญเท่าๆ กับการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานหมวกนิรภัยที่ต้องเข้มข้นทั้งวัสดุอุปกรณ์และการออกแบบที่ต้องสามารถให้ความปลอดภัย ป้องกัน และลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุได้จริง ด้วยหมวกนิรภัยเหล่านี้จะไปอยู่บน ‘หัว’ ของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ที่คนเหล่านั้นทุกคนต่างเป็น ‘หัวใจ’ ของคนที่รักเขาและเขารัก
2554 ปีดีเดย์หมวกนิรภัย 100% ของไทยจึงต้องระดมสรรพกำลังดั่งวันดีเดย์ (D-Day) ที่กองทหารสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่ฝั่งนอร์มังดีของฝรั่งเศสยุทธศาสตร์สำคัญของสงครามโลกครั้งที่สองก่อนจะชนะชัยในท้ายที่สุด เพราะการจะบรรลุจุดมุ่งหมายลดจำนวนผู้เสียชีวิตและอุบัติเหตุทางถนนต้องการการผนึกพลังสังคมทั้งหมดในการรณรงค์ส่งเสริมวินัยจราจรเรื่อง ‘หัว’
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org