วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ผ่านมามีเรื่องราวเกิดขึ้นมากมาย
ถ้าเป็นสมัยเมื่อ 30 – 40 ปีก่อน หรือก่อนหน้านั้น กิจกรรมหนึ่งที่จะเป็นไฮไลท์และเป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์โดดเด่นเหนือก็คืองานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ไม่ใช่แต่เพียงผลการแข่งขัน หากแต่เป็นขบวนพาเหรดและการแปรอักษรล้อเลียนสังคมและการเมือง แต่เมื่อสังคมไทยพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปมาพักใหญ่แล้วด้วยหลายหลากเหตุผล ในระยะหลัง ๆ งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์จึงไม่ค่อยเป็นจุดสนใจเท่าที่ควร รวมถึงครั้งที่ 67 เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาก็เหมือนเดิม ก่อนหน้าก็ไม่ค่อยเป็นที่สนใจของคนทั่วไปนัก แต่ปรากฎว่าเมื่องานเริ่มต้นขึ้นมากลับผิดคาด ขบวนพาเหรดล้อการเมืองของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลายเป็นข่าวฮ็อตในโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คทันทีตั้งแต่บ่าย
ภาพฮิตที่แพร่กระจายไปทั่วก็คือภาพนี้ครับ....
มีคำบรรยายเพื่อความเข้าใจดังนี้....
นางอับ(ปรี)สิทธิ์
“ขณะที่นายกรัฐมนตรีไทยยืนกรานที่ใช้ MOU43 ในการเจรจาตกลงข้อพิพาทไทย-กัมพูชา จิตใจของนายกฯได้กลายเป็นเขมรไปแล้วกึ่งหนึ่ง ส่งผลให้ร่างกายท่านนายกฯเป็นรูปปั้นศักดิ์สิทธิ์ประจำโบราณสถานเขมรตลอดทั่วร่าง คงเหลือไว้เพียงใบหน้าอันหล่อเหลา....
“บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกไทย-กัมพูชา เป็นบันทึกที่ทำให้ฝ่ายไทยเสียเปรียบทั้งเรื่องดินแดนและผลประโยชน์ ดังเห็นได้จากกรณี 7 คนไทยที่โดนจับกุมข้อหาบุกรุก แต่นายกฯกลับผลักไสให้ไปสู่กระบวนกรยุติธรรมของกัมพูชา นั่นเท่ากับการถือ MOU43 ข้อตกลงที่ส่อเค้าให้ไทยเสียดินแดน ....
“อย่างนี้จะไม่ให้เรียกว่า ‘หน้าไทยใจเขมร’ ได้อย่างไรล่ะท่านนายกฯ !”
ความที่โต๊ะข่าว Campus ของ Manager Online เผยแพร่ภาพและข่าวนี้เป็นรายแรก ๆ ทำให้เกิดข่าวเล่าลือว่าทีมงาน “ASTV ผู้จัดการรายวัน” ทำขึ้นเพื่อล้อเลียนนายกรัฐมนตรี บางคนก็คาดเดาว่าเป็นฝีมือของทีมงาน “ผู้จัดกวน” ไปโน่น อาจจะเพราะบังเอิญวันเสารที่ 5 มกราคม 2554 เป็นวันนัดหมายสำคัญของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยด้วย
หามิได้ครับ !
เป็นฝีมือของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เนื้อ ๆ จะเป็นลูกเต้าเหล่าใครก็ไม่ทราบ แต่ที่แน่ ๆ ไม่มีความสัมพันธ์กับคณะที่ต่อสู้เรื่องนี้ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ ทำเนียบรัฐบาล หรือบ้านพระอาทิตย์ อย่างน้อยก็เท่าที่ตรวจสอบกันในเบื้องต้นอย่างกว้างขวางพอสมควร
ในฐานะเลือดเหลือง-แดงคนหนึ่งก็อดปลื้มใจไม่ได้ !
เพราะก่อนหน้านี้ ดูเหมือนจะมีคนปรามาสว่าคนที่คัดค้านรัฐบาลในเรื่อง MOU 2543 นี้มีไม่กี่คน ไม่กี่กลุ่ม ขณะที่คนทั่วไปไม่ใส่ใจ เพราะเป็นเรื่องเข้าใจยาก เห็นว่าควรเป็นหน้าที่ของรัฐบาล และโลกยุคนี้เป็นโลกยุคไร้พรมแดน ความรักชาติในวันนี้ถูกประณามว่าเป็นการคลั่งชาติ
จะไม่ให้ปลื้มใจได้อย่างไรล่ะในเมื่อนักศึกษาธรรมศาสตร์ให้ความสนใจและให้ความสำคัญในเรื่องนี้
นักศึกษาที่ดูเหมือนว่าจะไม่ได้มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของบ้านนี้เมืองนี้มานานแล้ว ไม่เหมือนในช่วงยุค 14 ตุลาคม 2516 หรือก่อนหน้านั้นขึ้นไป
พลังรักชาติของนักศึกษาในอดีตนั้นแสดงออกในวาระสำคัญ ๆ ของบ้านนี้เมืองนี้มาโดยตลอด
เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการพิทักษ์รักษาอธิปไตยเหนือดินแดนก็มีมาตั้งแต่ยุคสงครามมหาเอเชียบูรพา ยุคต่อสู้กัมพูชาในศาลโลก หรือล่าสุดก็เป็นเรื่องพิทักษ์รักษาอธิปไตยในทางเศรษฐกิจกรณีต่อต้านสินค้าญี่ปุ่นและรณรงค์ให้ใช้สินค้าไทยโดยเฉพาะผ้าดิบในช่วงปี 2512
ท่านนายกฯไม่น่าจะพอใจนักที่โดน “เล่นแรง” ขนาดนี้ !
แต่ในฐานะที่ท่านก็เคยเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ ช่วงระยะเวลาหนึ่งที่การบ้านการเมืองวิกฤต และชาวธรรมศาสตร์เริ่มเคลื่อนไหวมีบทบาทสำคัญอีกครั้งหนึ่ง มีการชุมนุมที่ลานโพธิ์ที่ถ้าจำไม่ผิดผมก็ได้รู้จักลีลาอาจารย์หนุ่มคณะเศรษฐศาสตร์ที่ชื่ออภิสิทธิ์ เวชชาชีวะก็ครั้งนั้นแหละ ประมาณปลายปี 2534
ท่านนายกฯควรจะทำใจให้ว่างทำจิตให้สงบเพื่อทบทวนเรื่อง MOU 2543 อีกครั้งหนึ่ง
เพราะที่ท่านโดน “เล่นแรง” เมื่อวันเสาร์ ไม่ใช่ฝีมือปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ไม่ใช่ฝีมือเทพมนตรี ลิมปพยอม และไม่ใช่ฝีมือประพันธ์ คูณมี แต่เป็นศิษย์แห่งสถาบันการศึกษาที่ท่านเคยสอนอยู่
เคยได้ยินคำ “กลับใจคือฟากฝั่ง” ไหมครับ !
ถ้าเป็นสมัยเมื่อ 30 – 40 ปีก่อน หรือก่อนหน้านั้น กิจกรรมหนึ่งที่จะเป็นไฮไลท์และเป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์โดดเด่นเหนือก็คืองานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ไม่ใช่แต่เพียงผลการแข่งขัน หากแต่เป็นขบวนพาเหรดและการแปรอักษรล้อเลียนสังคมและการเมือง แต่เมื่อสังคมไทยพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปมาพักใหญ่แล้วด้วยหลายหลากเหตุผล ในระยะหลัง ๆ งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์จึงไม่ค่อยเป็นจุดสนใจเท่าที่ควร รวมถึงครั้งที่ 67 เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาก็เหมือนเดิม ก่อนหน้าก็ไม่ค่อยเป็นที่สนใจของคนทั่วไปนัก แต่ปรากฎว่าเมื่องานเริ่มต้นขึ้นมากลับผิดคาด ขบวนพาเหรดล้อการเมืองของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลายเป็นข่าวฮ็อตในโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คทันทีตั้งแต่บ่าย
ภาพฮิตที่แพร่กระจายไปทั่วก็คือภาพนี้ครับ....
มีคำบรรยายเพื่อความเข้าใจดังนี้....
นางอับ(ปรี)สิทธิ์
“ขณะที่นายกรัฐมนตรีไทยยืนกรานที่ใช้ MOU43 ในการเจรจาตกลงข้อพิพาทไทย-กัมพูชา จิตใจของนายกฯได้กลายเป็นเขมรไปแล้วกึ่งหนึ่ง ส่งผลให้ร่างกายท่านนายกฯเป็นรูปปั้นศักดิ์สิทธิ์ประจำโบราณสถานเขมรตลอดทั่วร่าง คงเหลือไว้เพียงใบหน้าอันหล่อเหลา....
“บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกไทย-กัมพูชา เป็นบันทึกที่ทำให้ฝ่ายไทยเสียเปรียบทั้งเรื่องดินแดนและผลประโยชน์ ดังเห็นได้จากกรณี 7 คนไทยที่โดนจับกุมข้อหาบุกรุก แต่นายกฯกลับผลักไสให้ไปสู่กระบวนกรยุติธรรมของกัมพูชา นั่นเท่ากับการถือ MOU43 ข้อตกลงที่ส่อเค้าให้ไทยเสียดินแดน ....
“อย่างนี้จะไม่ให้เรียกว่า ‘หน้าไทยใจเขมร’ ได้อย่างไรล่ะท่านนายกฯ !”
ความที่โต๊ะข่าว Campus ของ Manager Online เผยแพร่ภาพและข่าวนี้เป็นรายแรก ๆ ทำให้เกิดข่าวเล่าลือว่าทีมงาน “ASTV ผู้จัดการรายวัน” ทำขึ้นเพื่อล้อเลียนนายกรัฐมนตรี บางคนก็คาดเดาว่าเป็นฝีมือของทีมงาน “ผู้จัดกวน” ไปโน่น อาจจะเพราะบังเอิญวันเสารที่ 5 มกราคม 2554 เป็นวันนัดหมายสำคัญของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยด้วย
หามิได้ครับ !
เป็นฝีมือของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เนื้อ ๆ จะเป็นลูกเต้าเหล่าใครก็ไม่ทราบ แต่ที่แน่ ๆ ไม่มีความสัมพันธ์กับคณะที่ต่อสู้เรื่องนี้ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ ทำเนียบรัฐบาล หรือบ้านพระอาทิตย์ อย่างน้อยก็เท่าที่ตรวจสอบกันในเบื้องต้นอย่างกว้างขวางพอสมควร
ในฐานะเลือดเหลือง-แดงคนหนึ่งก็อดปลื้มใจไม่ได้ !
เพราะก่อนหน้านี้ ดูเหมือนจะมีคนปรามาสว่าคนที่คัดค้านรัฐบาลในเรื่อง MOU 2543 นี้มีไม่กี่คน ไม่กี่กลุ่ม ขณะที่คนทั่วไปไม่ใส่ใจ เพราะเป็นเรื่องเข้าใจยาก เห็นว่าควรเป็นหน้าที่ของรัฐบาล และโลกยุคนี้เป็นโลกยุคไร้พรมแดน ความรักชาติในวันนี้ถูกประณามว่าเป็นการคลั่งชาติ
จะไม่ให้ปลื้มใจได้อย่างไรล่ะในเมื่อนักศึกษาธรรมศาสตร์ให้ความสนใจและให้ความสำคัญในเรื่องนี้
นักศึกษาที่ดูเหมือนว่าจะไม่ได้มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของบ้านนี้เมืองนี้มานานแล้ว ไม่เหมือนในช่วงยุค 14 ตุลาคม 2516 หรือก่อนหน้านั้นขึ้นไป
พลังรักชาติของนักศึกษาในอดีตนั้นแสดงออกในวาระสำคัญ ๆ ของบ้านนี้เมืองนี้มาโดยตลอด
เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการพิทักษ์รักษาอธิปไตยเหนือดินแดนก็มีมาตั้งแต่ยุคสงครามมหาเอเชียบูรพา ยุคต่อสู้กัมพูชาในศาลโลก หรือล่าสุดก็เป็นเรื่องพิทักษ์รักษาอธิปไตยในทางเศรษฐกิจกรณีต่อต้านสินค้าญี่ปุ่นและรณรงค์ให้ใช้สินค้าไทยโดยเฉพาะผ้าดิบในช่วงปี 2512
ท่านนายกฯไม่น่าจะพอใจนักที่โดน “เล่นแรง” ขนาดนี้ !
แต่ในฐานะที่ท่านก็เคยเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ ช่วงระยะเวลาหนึ่งที่การบ้านการเมืองวิกฤต และชาวธรรมศาสตร์เริ่มเคลื่อนไหวมีบทบาทสำคัญอีกครั้งหนึ่ง มีการชุมนุมที่ลานโพธิ์ที่ถ้าจำไม่ผิดผมก็ได้รู้จักลีลาอาจารย์หนุ่มคณะเศรษฐศาสตร์ที่ชื่ออภิสิทธิ์ เวชชาชีวะก็ครั้งนั้นแหละ ประมาณปลายปี 2534
ท่านนายกฯควรจะทำใจให้ว่างทำจิตให้สงบเพื่อทบทวนเรื่อง MOU 2543 อีกครั้งหนึ่ง
เพราะที่ท่านโดน “เล่นแรง” เมื่อวันเสาร์ ไม่ใช่ฝีมือปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ไม่ใช่ฝีมือเทพมนตรี ลิมปพยอม และไม่ใช่ฝีมือประพันธ์ คูณมี แต่เป็นศิษย์แห่งสถาบันการศึกษาที่ท่านเคยสอนอยู่
เคยได้ยินคำ “กลับใจคือฟากฝั่ง” ไหมครับ !