ASTVผู้จัดการรายวัน - "พิศมัย-สุประวัติ -หงา คาราวาน" ขึ้นแท่นศิลปินแห่งชาติ ปี 53 พร้อมชู “ชวน” ผู้มีคุณูปการต่อโครงการศิลปินแห่งชาติ ด้าน พิศมัย ระบุ รางวัลสูงสุดในชีวิต น้าหงา แย้มจะสร้างสรรค์ผลงานเพิ่มขึ้น
วานนี้ ( 4 ก.พ.) ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้แทน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในการเป็นประธานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.) เพื่อพิจารณาคัดเลือกศิลปินแห่งชาติ ปี 2553 โดย นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้แถลงผลการคัดเลือกเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปิน ผู้มีความสามารถ และอุทิศตนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจนโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ชัดต่อสาธารณชน เป็นศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2553 ดังนี้ 1.สาขาทัศนศิลป์ ได้แก่ นายธงชัย รักปทุม (จิตรกรรม) นายเผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี (สถาปัตยกรรมไทย) และ นางประนอม ทาแปง (ประณีตศิลป์- ศิลปะผ้าทอ)
2. สาขาวรรณศิลป์ ได้แก่ นายสมบัติ พลายน้อย (สารคดี เรื่องสั้น) และนายสุรชัย จันทิมาธร (เรื่องสั้น สารคดี กวีนิพนธ์ ) 3.สาขาศิลปะการแสดง ได้แก่ นายควน ทวนยก (ดนตรีพื้นบ้าน) ผศ. พันเอกพิเศษชูชาติ พิทักษากร (ดนตรีสากล) นางสาวพิศมัย วิไลศักดิ์ (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์- นักแสดง) และนายสุประวัติ ปัทมสูต (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ - ผู้กำกับ นักแสดง)นอกจากนี้ ในที่ประชุม ยังได้มีการรับทราบผลการประชุม ของมูลนิธิศิลปินแห่งชาติ ที่มีมติเอกฉันท์ยกช่องเชิดชูเกียรติให้ นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ที่มีคุณูปการต่อโครงการศิลปินแห่งชาติ อีกด้วย
สำหรับเกณฑ์การคัดเลือกศิลปินแห่งชาตินี้ ประกอบด้วย 3 หลักเกณฑ์ใหญ่ ดังนี้ เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญและมีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับของวงการศิลปะแขนงนั้น เป็นผู้มีคุณธรรม มีผลงานที่ยังประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติ โดยศิลปินแห่งชาติปี 2553 จะเข้ารับพระราชทานโล่และเข็มเชิดชูเกียรติจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554 เนื่องในวันศิลปินแห่งชาติ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้นับตั้งแต่เริ่มโครงการศิลปินแห่งชาติมาเมื่อปีพุทธศักราช 2527 และประกาศผลการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติในปีแรกเมื่อพุทธศักราช 2528 จนปัจจุบัน มีศิลปินสาขาต่างๆที่ได้รับการคัดเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติแล้วรวม 212 คน เสียชีวิต 87 คน ยังมีชีวิตอยู่ 125 คน สำหรับการช่วยเหลือศิลปินแห่งชาติ รัฐบาลได้มอบเงินอุดหนุนผ่านกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมว่าด้วยการจัดสวัสดิการศิลปินและผู้มีผลงานทางวัฒนธรรม ดูแลในเรื่องของค่าตอบแทนเดือนละ 20,000 บาท ค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน 40,000 ต่อปี เงินช่วยเหลือเมื่อประสบภัยไม่เกินคนละ 50,000 ต่อปี ค่าของเยี่ยม ไม่เกินคนละ 2,000 บาท ค่าเบี้ยประกันคนละไม่เกิน 300,000 บาท เมื่อเสียชีวิตจะได้รับการช่วยเหลือคนละ 15,000 บาท ค่าเครื่องเคารพศพ ไม่เกินคนละ 2,000 บาท และค่าจัดพิมพ์หนังสือไม่เกินคนละ 120,000 บาท
น.ส. พิศมัย วิไลศักดิ์ กล่าวว่า ถือเป็นรางวัลสูงสุดของชีวิตนักแสดง ที่ได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติ ซึ่งตลอดระยะเวลา 53 ปีที่อยู่ในวงการบันเทิง ได้ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการแสดงให้กับนักแสดงรุ่นใหม่ และถึงแม้ว่าได้รับเป็นศิลปินแห่งชาติแล้ว ตนก็จะยังยึดอาชีพนักแสดงต่อไป จนกว่า จะไม่มีแรงทำงาน และตนก็ยินดีที่จะถ่ายทอดวิชาความรู้เกี่ยวกับศิลปะการแสดงให้ผู้ที่สนใจต่อไป
นายควน ทวนยก กล่าวว่า รู้สึกยินดีและภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับการยกย่องในครั้งนี้ โดยจะขอทำงานด้านการสืบสานศิลปะพื้นบ้านต่อไป และแผนงานที่จะทำต่อไปคือ การตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้านดนตรีพื้นบ้านขึ้น โดยในศูนย์แห่งนี้จะแบ่งศิลปะพื้นบ้านเป็น 5 แขนง ได้แก่ หนังตะลุง โนราห์ เครื่องดนตรีพื้นบ้าน และการร้อยลูกปัดเพื่อทำเครื่องแต่งมโนราห์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้เด็กและเยาวชนหรือประชาชนที่สนใจได้การศึกษาเรียนรู้และร่วมกันอนุรักษ์สิ่งดีๆ ของท้องถิ่นไว้ต่อไป
นายเผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี กล่าวว่า รู้สึกดีใจมากที่ได้รับการคัดเลือก สถานการณ์สถาปัตยกรรมไทยในปัจจุบันค่อยๆ ดีขึ้น เปรียบเทียบจากแต่ก่อนที่จำนวนคนที่มีความรู้ความสามารถด้านสถาปัตยกรรมไทยนั้นมีจำนวนจำกัด เนื่องจากหลักสูตรด้านสถาปัตยกรรมไทยถูกปรับเปลี่ยนเป็นสถาปัตยกรรมสากล แต่เมื่อสังคมได้ตระหนักถึงความเสี่ยงในการสูญหายของสถาปัตยกรรมไทย หลักสูตรด้านสถาปัตยกรรมไทยโดยตรงก็ได้รับการปัดฝุ่นขึ้นอีกครั้งและได้รับความสนใจจากเยาวชนไทยเพิ่มมากขึ้น และตนเชื่อว่าสถาปัตยกรรมไทยจะมีอายุยืนยาวต่อไปได้ และตนพร้อมที่จะผลิตบัณฑิตเพื่อสร้างสรรค์ผลงานด้านสถาปัตยกรรมไทยที่มีคุณภาพต่อไป
นางประนอม ทาแปง กล่าวถึงความรู้สึกที่ได้เป็นศิลปินแห่งชาติ ว่า รู้สึกดีใจและเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล ส่วนตัวไม่คิดว่าจะได้รับการคัดเลือกในปีนี้ เพราะทางสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ได้เสนอรายชื่อเข้าคัดเลือกหลายครั้ง ในรอบ 3 - 4 ปีที่่ผ่านมา อย่างไรก็ตามสำหรับเหตุผลที่อยากเป็นศิลปินแห่งชาติ เพราะคิดว่าจะช่วยให้การเผยแพร่ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน โดยเฉพาะการทอผ้าซิ่นตีนจกให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายได้มากยิ่งขึ้น โดยความมุ่งหวังสูงสุดที่ต้องการคืออยากให้คนไทยได้เข้าใจถึงคุณค่าของผ้าไทยที่ต้องใช้จิตวิญญาณของผู้ทอ
นายสุรชัย จันทิมาธร หรือหงา คาราวาน กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่ได้รับคัดเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติ การได้รับเลือกไม่ได้ทำให้ต้องหยุดสร้างสรรค์ผลงาน ยังคงทำงานต่อไป และกลับมองว่าจะต้องขยัน และสร้างผลงานเพิ่มมากขึ้น เพราะได้รับคัดเลือกแล้วต้องถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ให้กับคนรุ่นหลัง รวมทั้งเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่
นายชูชาติ พิทักษากร กล่าวว่า รู้สึกดีใจ จากนี้จะทำงานให้หนักขึ้น โดยการเผยแพร่ความรู้ด้านดนตรีสากลให้กับคนรุ่นหลังได้ศึกษา ซึ่งปัจจุบันสาขาศิลปะการแสดงมีคนสนใจเรียนจำนวนมาก ดังนั้นการที่จะสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับวงการนี้น่าจะเป็นหนทางที่จะสร้างเด็กรุ่นใหม่เข้ามาสู่วงการมากขึ้น
นายสมบัติ พลายน้อย กล่าวว่า คาดไม่ถึงว่าจะได้รับคัดเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติ เพราะไม่ใช่นักเขียนโด่งดัง แต่รู้สึกดีใจและจะทำงานเขียนหนังสือต่อไป ตามความรู้ ความสามารถ สารคดีและเรื่องสั้น เขียนให้ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมไทย และเผยแพร่ภูมิปัญญาไทย เพราะอยากเก็บรากฐานความเป็นไทยเอาไว้ ต่อไปอาจจะสูญหาย เพราะคนไม่ใส่ใจความเป็นไทย และสิ่งที่บรรพบุรุษสร้างไว้ จึงเก็บรักษาไว้เป็นตัวหนังสือ เพื่อเป็นประโยชน์กับนักเรียนนักศึกษาในอนาคต คนไทยทุกวันนี้ไม่ค่อยอ่านวรรณกรรมไทย คุยแต่เรื่องวรรณกรรมต่างประเทศ วรรณกรรมไทยถูกเมิน ทั้งที่วรรณกรรมไทยสอดแทรกขนบธรรมเนียมภาษา และมีข้อคิดเตือนสติได้
ด้านนายธงชัย รักปทุม กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่ได้รับเกียรตินี้ ปัจจุบันจิตรกรรมไทยมีการสร้างสรรค์หลากหลายรูปแบบ แล้วแต่ศิลปินคนใดจะสร้างสรรค์ ทุกอย่างเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสุขแก่ประชาชนทุกรูปแบบ ตนไม่ห่วงงานจิตรกรรมไทยทุกวันนี้ เพราะทุกงานเป็นงานศิลปะทั้งหมด จะเป็นอื่นไปไม่ได้ ที่สำคัญคนทำเป็นคนไทย ทุกคนต้องรักในความเป็นไทย และมีรากฐานของศิลปกรรมไทยโดยแท้ ถึงแม้จะมีการร่ำเรียนในสิ่งที่เป็นสากล แต่ก็ปรับปรุงทั้งสองอย่างเข้าหากันได้ ทั้งนี้ตนจะสืบสานงานศิลปะต่อไป เพราะศิลปะคือชีวิต ทุกอย่างที่เราทำคือชีวิตเรา เป็นโลกของเราที่สร้างสรรค์ขึ้น เป็นลมหายใจ ตราบใดที่เรามีชีวิตอยู่เราต้องทำต่อไป เพราะการทำงานศิลปะทำให้เรามีความสุข
วานนี้ ( 4 ก.พ.) ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้แทน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในการเป็นประธานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.) เพื่อพิจารณาคัดเลือกศิลปินแห่งชาติ ปี 2553 โดย นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้แถลงผลการคัดเลือกเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปิน ผู้มีความสามารถ และอุทิศตนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจนโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ชัดต่อสาธารณชน เป็นศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2553 ดังนี้ 1.สาขาทัศนศิลป์ ได้แก่ นายธงชัย รักปทุม (จิตรกรรม) นายเผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี (สถาปัตยกรรมไทย) และ นางประนอม ทาแปง (ประณีตศิลป์- ศิลปะผ้าทอ)
2. สาขาวรรณศิลป์ ได้แก่ นายสมบัติ พลายน้อย (สารคดี เรื่องสั้น) และนายสุรชัย จันทิมาธร (เรื่องสั้น สารคดี กวีนิพนธ์ ) 3.สาขาศิลปะการแสดง ได้แก่ นายควน ทวนยก (ดนตรีพื้นบ้าน) ผศ. พันเอกพิเศษชูชาติ พิทักษากร (ดนตรีสากล) นางสาวพิศมัย วิไลศักดิ์ (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์- นักแสดง) และนายสุประวัติ ปัทมสูต (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ - ผู้กำกับ นักแสดง)นอกจากนี้ ในที่ประชุม ยังได้มีการรับทราบผลการประชุม ของมูลนิธิศิลปินแห่งชาติ ที่มีมติเอกฉันท์ยกช่องเชิดชูเกียรติให้ นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ที่มีคุณูปการต่อโครงการศิลปินแห่งชาติ อีกด้วย
สำหรับเกณฑ์การคัดเลือกศิลปินแห่งชาตินี้ ประกอบด้วย 3 หลักเกณฑ์ใหญ่ ดังนี้ เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญและมีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับของวงการศิลปะแขนงนั้น เป็นผู้มีคุณธรรม มีผลงานที่ยังประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติ โดยศิลปินแห่งชาติปี 2553 จะเข้ารับพระราชทานโล่และเข็มเชิดชูเกียรติจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554 เนื่องในวันศิลปินแห่งชาติ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้นับตั้งแต่เริ่มโครงการศิลปินแห่งชาติมาเมื่อปีพุทธศักราช 2527 และประกาศผลการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติในปีแรกเมื่อพุทธศักราช 2528 จนปัจจุบัน มีศิลปินสาขาต่างๆที่ได้รับการคัดเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติแล้วรวม 212 คน เสียชีวิต 87 คน ยังมีชีวิตอยู่ 125 คน สำหรับการช่วยเหลือศิลปินแห่งชาติ รัฐบาลได้มอบเงินอุดหนุนผ่านกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมว่าด้วยการจัดสวัสดิการศิลปินและผู้มีผลงานทางวัฒนธรรม ดูแลในเรื่องของค่าตอบแทนเดือนละ 20,000 บาท ค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน 40,000 ต่อปี เงินช่วยเหลือเมื่อประสบภัยไม่เกินคนละ 50,000 ต่อปี ค่าของเยี่ยม ไม่เกินคนละ 2,000 บาท ค่าเบี้ยประกันคนละไม่เกิน 300,000 บาท เมื่อเสียชีวิตจะได้รับการช่วยเหลือคนละ 15,000 บาท ค่าเครื่องเคารพศพ ไม่เกินคนละ 2,000 บาท และค่าจัดพิมพ์หนังสือไม่เกินคนละ 120,000 บาท
น.ส. พิศมัย วิไลศักดิ์ กล่าวว่า ถือเป็นรางวัลสูงสุดของชีวิตนักแสดง ที่ได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติ ซึ่งตลอดระยะเวลา 53 ปีที่อยู่ในวงการบันเทิง ได้ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการแสดงให้กับนักแสดงรุ่นใหม่ และถึงแม้ว่าได้รับเป็นศิลปินแห่งชาติแล้ว ตนก็จะยังยึดอาชีพนักแสดงต่อไป จนกว่า จะไม่มีแรงทำงาน และตนก็ยินดีที่จะถ่ายทอดวิชาความรู้เกี่ยวกับศิลปะการแสดงให้ผู้ที่สนใจต่อไป
นายควน ทวนยก กล่าวว่า รู้สึกยินดีและภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับการยกย่องในครั้งนี้ โดยจะขอทำงานด้านการสืบสานศิลปะพื้นบ้านต่อไป และแผนงานที่จะทำต่อไปคือ การตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้านดนตรีพื้นบ้านขึ้น โดยในศูนย์แห่งนี้จะแบ่งศิลปะพื้นบ้านเป็น 5 แขนง ได้แก่ หนังตะลุง โนราห์ เครื่องดนตรีพื้นบ้าน และการร้อยลูกปัดเพื่อทำเครื่องแต่งมโนราห์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้เด็กและเยาวชนหรือประชาชนที่สนใจได้การศึกษาเรียนรู้และร่วมกันอนุรักษ์สิ่งดีๆ ของท้องถิ่นไว้ต่อไป
นายเผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี กล่าวว่า รู้สึกดีใจมากที่ได้รับการคัดเลือก สถานการณ์สถาปัตยกรรมไทยในปัจจุบันค่อยๆ ดีขึ้น เปรียบเทียบจากแต่ก่อนที่จำนวนคนที่มีความรู้ความสามารถด้านสถาปัตยกรรมไทยนั้นมีจำนวนจำกัด เนื่องจากหลักสูตรด้านสถาปัตยกรรมไทยถูกปรับเปลี่ยนเป็นสถาปัตยกรรมสากล แต่เมื่อสังคมได้ตระหนักถึงความเสี่ยงในการสูญหายของสถาปัตยกรรมไทย หลักสูตรด้านสถาปัตยกรรมไทยโดยตรงก็ได้รับการปัดฝุ่นขึ้นอีกครั้งและได้รับความสนใจจากเยาวชนไทยเพิ่มมากขึ้น และตนเชื่อว่าสถาปัตยกรรมไทยจะมีอายุยืนยาวต่อไปได้ และตนพร้อมที่จะผลิตบัณฑิตเพื่อสร้างสรรค์ผลงานด้านสถาปัตยกรรมไทยที่มีคุณภาพต่อไป
นางประนอม ทาแปง กล่าวถึงความรู้สึกที่ได้เป็นศิลปินแห่งชาติ ว่า รู้สึกดีใจและเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล ส่วนตัวไม่คิดว่าจะได้รับการคัดเลือกในปีนี้ เพราะทางสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ได้เสนอรายชื่อเข้าคัดเลือกหลายครั้ง ในรอบ 3 - 4 ปีที่่ผ่านมา อย่างไรก็ตามสำหรับเหตุผลที่อยากเป็นศิลปินแห่งชาติ เพราะคิดว่าจะช่วยให้การเผยแพร่ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน โดยเฉพาะการทอผ้าซิ่นตีนจกให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายได้มากยิ่งขึ้น โดยความมุ่งหวังสูงสุดที่ต้องการคืออยากให้คนไทยได้เข้าใจถึงคุณค่าของผ้าไทยที่ต้องใช้จิตวิญญาณของผู้ทอ
นายสุรชัย จันทิมาธร หรือหงา คาราวาน กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่ได้รับคัดเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติ การได้รับเลือกไม่ได้ทำให้ต้องหยุดสร้างสรรค์ผลงาน ยังคงทำงานต่อไป และกลับมองว่าจะต้องขยัน และสร้างผลงานเพิ่มมากขึ้น เพราะได้รับคัดเลือกแล้วต้องถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ให้กับคนรุ่นหลัง รวมทั้งเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่
นายชูชาติ พิทักษากร กล่าวว่า รู้สึกดีใจ จากนี้จะทำงานให้หนักขึ้น โดยการเผยแพร่ความรู้ด้านดนตรีสากลให้กับคนรุ่นหลังได้ศึกษา ซึ่งปัจจุบันสาขาศิลปะการแสดงมีคนสนใจเรียนจำนวนมาก ดังนั้นการที่จะสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับวงการนี้น่าจะเป็นหนทางที่จะสร้างเด็กรุ่นใหม่เข้ามาสู่วงการมากขึ้น
นายสมบัติ พลายน้อย กล่าวว่า คาดไม่ถึงว่าจะได้รับคัดเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติ เพราะไม่ใช่นักเขียนโด่งดัง แต่รู้สึกดีใจและจะทำงานเขียนหนังสือต่อไป ตามความรู้ ความสามารถ สารคดีและเรื่องสั้น เขียนให้ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมไทย และเผยแพร่ภูมิปัญญาไทย เพราะอยากเก็บรากฐานความเป็นไทยเอาไว้ ต่อไปอาจจะสูญหาย เพราะคนไม่ใส่ใจความเป็นไทย และสิ่งที่บรรพบุรุษสร้างไว้ จึงเก็บรักษาไว้เป็นตัวหนังสือ เพื่อเป็นประโยชน์กับนักเรียนนักศึกษาในอนาคต คนไทยทุกวันนี้ไม่ค่อยอ่านวรรณกรรมไทย คุยแต่เรื่องวรรณกรรมต่างประเทศ วรรณกรรมไทยถูกเมิน ทั้งที่วรรณกรรมไทยสอดแทรกขนบธรรมเนียมภาษา และมีข้อคิดเตือนสติได้
ด้านนายธงชัย รักปทุม กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่ได้รับเกียรตินี้ ปัจจุบันจิตรกรรมไทยมีการสร้างสรรค์หลากหลายรูปแบบ แล้วแต่ศิลปินคนใดจะสร้างสรรค์ ทุกอย่างเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสุขแก่ประชาชนทุกรูปแบบ ตนไม่ห่วงงานจิตรกรรมไทยทุกวันนี้ เพราะทุกงานเป็นงานศิลปะทั้งหมด จะเป็นอื่นไปไม่ได้ ที่สำคัญคนทำเป็นคนไทย ทุกคนต้องรักในความเป็นไทย และมีรากฐานของศิลปกรรมไทยโดยแท้ ถึงแม้จะมีการร่ำเรียนในสิ่งที่เป็นสากล แต่ก็ปรับปรุงทั้งสองอย่างเข้าหากันได้ ทั้งนี้ตนจะสืบสานงานศิลปะต่อไป เพราะศิลปะคือชีวิต ทุกอย่างที่เราทำคือชีวิตเรา เป็นโลกของเราที่สร้างสรรค์ขึ้น เป็นลมหายใจ ตราบใดที่เรามีชีวิตอยู่เราต้องทำต่อไป เพราะการทำงานศิลปะทำให้เรามีความสุข