นายประเกียรติ นาสิมมา ส.ส.ระบบสัดส่วน พรรคเพื่อไทย ถามนายกรัฐมนตรี กระทู้ถามสด เรื่องระบบโทรศัพท์ 3 จี ว่า คลื่นโทรศัพท์เป็นเรื่องสำคัญเป็นทรัพยากรของชาติ ใครก็ตามที่ได้สัมปทานคลื่นผู้นั้นจะเป็นมหาเศรษฐีในทันที เพราะคลื่นที่ใช้กับการสื่อสารทำให้หลายคนร่ำรวยขึ้นมาอย่างกะทันหัน เรื่องคลื่นความถี่ 3 จี มีปัญหาเริ่มตั้งแต่การประมูลโดยศาลปกครองสูงสุดสั่งให้ระงับการประมูล เนื่องจากไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ประเทศไทยพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารได้ช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้อาจเพราะเป็นเรื่องที่มีปผลประโยชน์มหาศาล
นายประเกียรติ กล่าวอีกว่า เดิมการบริการคลื่นความถี่มีคณะกรรมการบริหาร โดยมี 2 หน่วยงานของรัฐคือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท) และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) ได้รับคลื่นความถี่ในดำเนินการ โดยกสท.ได้ทำสัญญาร่วมการงานกับเอกชนให้การใช้คลื่นความถี่ในการให้บริการ ในส่วนของกสท. ต่อมาเปลี่ยนเป็น บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ได้รับอนุมติคลื่นความถี่ 2 ช่วง คือ 850 เมกกะเฮิร์ต และ 1800 เมกะเฮิร์ต โดย กสท.ได้ทำสัญญาร่วมการงานกับบริษัทเอกชน อาทิ บริษัท ดีแทค บริษัททรูคอปเปอเรชั่น ฯลฯ
ต่อมาช่วงความถี่ 850 ซึ่งเป็นอะนาลอก เสื่อมความนิยมไป และต่อมาบริษัทกสท. ได้มอบให้บริษัททรูมูฟ ไปพัฒนาเครือข่าย 3 จี โดยกำหนดพื้นที่ให้บริการและอุปกรณ์ บริการครั้งนี้เป็นการทดสอบบริการที่ยังไม่ให้บริการเชิงพาณิชย์
ต่อมาบริษัททรูมูฟ ทำผิดเงื่อนไขโดยมีการให้บริการเชิงพาณิชย์ มีการขยายพื้นที่และติดตั้งอุปกรณ์ โดยไม่ได้รับอนุญาต คณะกรรมการของบริษัทกสท จึงมีมติให้บริษัททรูมูฟ ยกเลิกบริการ และถอนอุปกรณ์ออก รวมถึงให้ดำเนินคดีอาญาตาม พ.ร.บ.วิทยุโทรคมนาคม พ.ศ. 2498 แต่ปรากฏว่า บริษัททรูมูฟ กลับไม่หยุดการให้บริการ โดยมีการโหมโฆษณาว่า เป็นผู้พัฒนาเครือข่าย 3 จี รายแรก และให้บริการทั่วประเทศ จึงอยากถามว่า เมื่อรัฐบาลนี้เข้ามาดูแล รมว.ไอซีที ได้ดำเนินคดีกับบริษัททรูมูฟ อย่างไร
ด้านนายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชี้แจงแทนนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จุดมุ่งหมายการพัฒนาเครือข่าย 3 จี คือการยกระดับโครงข่ายการสื่อสารของประเทศ ปัจจัยเรื่องเทคโนโลยีเป็นตัวชี้วัดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รัฐบาลมีนโยบายต้องการสร้างโอกาสให้กับประชาชน ด้วยการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และบริการสาธารณสุขให้กับประชาชนผ่านบริการบรอดแบนด์แห่งชาติ การทำ 3 จี ยังจะช่วยลดช่องว่างทางดิจิตอลของประชาชนในพื้นที่ห่างไกล
ส่วนประเด็นที่ศาลปกครองสูงสุดให้ความคุ้มครองการประมูลใบอนุญาต 3 จีรัฐบาลรู้สึกตกใจ เพราะต้องการสนับสนุนให้เกิด 3 จี ที่ผ่านมาก่อนการระงับการประมูลไม่มีใครสนใจบริษัทกสท หรือบริษัททีโอที มีแต่มุ่งพัฒนาเครือข่าย 3 จี ของตัวเอง บริษัทกสท.และบริษัททีโอที จึงไม่ได้รับความสนใจ แต่พอการประมูลชะงักทุกคนจึงหันกลับมามองบริษัท กสทฯ และบริษัท ทีโอที
นายจุติ กล่าวอีกว่า วันนี้ผู้ประกอบการทั้ง 5 ราย คือ เอไอเอส, ดีแทค, ฮัทซ์, ทรูมูฟ,กสท. และทีโอที อยากเป็นคนแรกที่ให้บริการ 3 จี เพื่อแย่งฐานลูกค้า ปัญหาการทำผิดกฎหมายของ บ.ทรูมูฟ เมื่อสอบถามจากฝ่ายกฎหมายของ กสท. ได้รับรายงานว่าเป็นการติดตั้งอุปกรณ์นอกเขตพื้นที่ที่อนุญาต โดยบริษัท ได้แจ้งไปยังคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช )และ บ.ทรูมูฟ แล้ว ทางบริษัทได้ทำการถอดอุปกรณ์นอกเขตพื้นที่ออกแล้ว การดำเนินการจากนี้จึงอยู่ที่ กทช.จะดำเนินการเอาผิดกับ บ.ทรูมูฟ อย่างไรต่อไป
นายประเกียรติ ถามต่อว่า กรณีที่ครม.ในอดีตอนุมัติให้ กสท. ซื้อหุ้นของ บ.ฮัทชิสัน ซีเอทีไวส์เลสมัลติมีเดีย (ฮัทซ์) มูลค่า 7,500 ล้านบาท ส่งผลให้ กสท. ซึ่งให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่แล้วใน 51 จังหวัด ได้พื้นที่ให้บริการของฮัทซ์ที่ได้รับอนุญาตให้บริการใน 25 จังหวัด ทำให้ สามารถให้บริการทั่วประเทศได้
ต่อมาในสมัยรัฐบาลนี้ นายจุติ กลับมีนโยบายว่า การซื้อหุ้นฮัทซ์ของกสท.ไม่คุ้มค่า และให้ บ.ทรูมูฟ ทำสัญญาซื้อกิจการของฮัทซ์ ในมูลค่าใกล้เคียงกัน เมื่อเทคโอเวอร์ฮัทซ์แล้วบ.ทรูมูฟ ได้ทำสัญญากับ กสท.จำนวน 4 ฉบับ ภายใต้ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) โดยไม่เปิดเผยสัญญาอ้างว่าเป็นความลับ จึงอยากทราบว่า การทำสัญญาระหว่าง บ.ทรูมูฟ กับ กสท. 4 สัญญา มีความซับซ้อนซ่อนเงื่อน เพื่อทำให้ทรูมูฟได้คลื่นความที่ไปให้บริการ 3 จี โดยไม่ต้องประมูลใบอนุญาต 3 จี ใช่หรือไม่ ประโยชน์ที่รัฐและประชาชนจะได้รับจะขาดหายไป ในส่วนนี้รัฐบาลใช้กฎหมายอะไร และที่เคยมีการให้สัมภาษณ์ของ รมว.ไอซีที ว่าไม่ได้รับทราบเรื่องนี้เป็นความจริงแค่ไหน
นายจุติ กล่าวชี้แจงว่า กรณี ครม.อนุมัติให้บริษัทกสท. ซื้อหุ้นบ.ฮัทซ์ ในราคา 7,500 ล้านบาทนั้น เป็นความจริง โดยมีการอนุมัติตั้งแต่ปี 2552 โดยก่อนการอนุมัติมีการเตรียมการมาก่อนหน้านานมาก ก่อนการศึกษา ต่อมาตนมารับตำแหน่งในปี 2553 ก็มีความเห็นว่า กสท.ไม่ควรซื้อกิจการฮัทซ์ หรือหากจะซื้อควรซื้อในราคาถูก มีเหตุผล 2 ประเด็น คือ สภาพแวดล้อมทางการแข่งขันที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง เนื่องจากระบบซีดีเอ็มเอ ของฮัทซ์ ไม่มีอนาคต เพราะผู้ผลิตอุปกรณ์ซีดีเอ็มเอ ในโลกนี้เหลือแค่ร้อยละ 10 ส่วนใหญ่การพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารจะเป็นระบบ 4 จี โดยใช้เทคโนโลยีเอสเอชพีเอ ในเชิงพาณิชย์จึงเป็นการโง่มากที่กสท.จะไปซื้อหุ้นบริษัทที่ให้บริการซีดีเอ็มเอ แต่ควรเปลี่ยนไปลงทุนในกิจการที่ใช้เทคโนโลยีเอสเอชพีเอ
ส่วนการเซ็นลงนามในสัญญาขอยืนยันว่าไม่มีเงื่อนงำ ไม่ได้สลับซับซ้อน ตนได้รับรายงานจากประธานกรรมการและฝ่ายบริหารของกสท.ว่า คลื่นความถี่ยังเป็นของกสท ไม่ได้ให้บ.ทรูมูฟ และกสทเป็นผู้ให้บริการขายส่งอยู่ กสท.ไม่ได้ให้สัมปทาน นอกจานี้ยังมีความเห็นของคณะกรรมการกฤษฏีกา สนับสนุน และประกาศกทชชัดเจน การดำเนินการโดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติ หากกสท.ลงทุนซื้อฮัทซ์ 7,500 ล้านบาท จะต้องลงทุนอีก 3,800 ล้านบาทในการเปลี่ยนเครือข่ายเป็นเอสเอชพีเอ โดยรวมทำให้รัฐบาลต้องลงทุนอีกอย่างน้อย 11,300 ล้านบาท แต่รัฐบาลได้ประหยัดเงินงบประมาณโดยให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนแทนที่จะต้องลงทุนเอง โดยการลงทุนโดยเอกชนจะทำให้รัฐได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้เต็มที่
“ ขอยืนยันว่าประโยชน์ที่กสท.ได้รับจาการทำสัญญามีมากกว่าระบบสัมปทาน โดยจะทำให้รัฐนำเงินที่ต้องลงทุนไปพัฒนาบริการภาครัฐที่มีประโยชน์ด้านอื่นแทน” รมว.ไอซีที กล่าว
นายประเกียรติ กล่าวอีกว่า เดิมการบริการคลื่นความถี่มีคณะกรรมการบริหาร โดยมี 2 หน่วยงานของรัฐคือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท) และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) ได้รับคลื่นความถี่ในดำเนินการ โดยกสท.ได้ทำสัญญาร่วมการงานกับเอกชนให้การใช้คลื่นความถี่ในการให้บริการ ในส่วนของกสท. ต่อมาเปลี่ยนเป็น บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ได้รับอนุมติคลื่นความถี่ 2 ช่วง คือ 850 เมกกะเฮิร์ต และ 1800 เมกะเฮิร์ต โดย กสท.ได้ทำสัญญาร่วมการงานกับบริษัทเอกชน อาทิ บริษัท ดีแทค บริษัททรูคอปเปอเรชั่น ฯลฯ
ต่อมาช่วงความถี่ 850 ซึ่งเป็นอะนาลอก เสื่อมความนิยมไป และต่อมาบริษัทกสท. ได้มอบให้บริษัททรูมูฟ ไปพัฒนาเครือข่าย 3 จี โดยกำหนดพื้นที่ให้บริการและอุปกรณ์ บริการครั้งนี้เป็นการทดสอบบริการที่ยังไม่ให้บริการเชิงพาณิชย์
ต่อมาบริษัททรูมูฟ ทำผิดเงื่อนไขโดยมีการให้บริการเชิงพาณิชย์ มีการขยายพื้นที่และติดตั้งอุปกรณ์ โดยไม่ได้รับอนุญาต คณะกรรมการของบริษัทกสท จึงมีมติให้บริษัททรูมูฟ ยกเลิกบริการ และถอนอุปกรณ์ออก รวมถึงให้ดำเนินคดีอาญาตาม พ.ร.บ.วิทยุโทรคมนาคม พ.ศ. 2498 แต่ปรากฏว่า บริษัททรูมูฟ กลับไม่หยุดการให้บริการ โดยมีการโหมโฆษณาว่า เป็นผู้พัฒนาเครือข่าย 3 จี รายแรก และให้บริการทั่วประเทศ จึงอยากถามว่า เมื่อรัฐบาลนี้เข้ามาดูแล รมว.ไอซีที ได้ดำเนินคดีกับบริษัททรูมูฟ อย่างไร
ด้านนายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชี้แจงแทนนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จุดมุ่งหมายการพัฒนาเครือข่าย 3 จี คือการยกระดับโครงข่ายการสื่อสารของประเทศ ปัจจัยเรื่องเทคโนโลยีเป็นตัวชี้วัดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รัฐบาลมีนโยบายต้องการสร้างโอกาสให้กับประชาชน ด้วยการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และบริการสาธารณสุขให้กับประชาชนผ่านบริการบรอดแบนด์แห่งชาติ การทำ 3 จี ยังจะช่วยลดช่องว่างทางดิจิตอลของประชาชนในพื้นที่ห่างไกล
ส่วนประเด็นที่ศาลปกครองสูงสุดให้ความคุ้มครองการประมูลใบอนุญาต 3 จีรัฐบาลรู้สึกตกใจ เพราะต้องการสนับสนุนให้เกิด 3 จี ที่ผ่านมาก่อนการระงับการประมูลไม่มีใครสนใจบริษัทกสท หรือบริษัททีโอที มีแต่มุ่งพัฒนาเครือข่าย 3 จี ของตัวเอง บริษัทกสท.และบริษัททีโอที จึงไม่ได้รับความสนใจ แต่พอการประมูลชะงักทุกคนจึงหันกลับมามองบริษัท กสทฯ และบริษัท ทีโอที
นายจุติ กล่าวอีกว่า วันนี้ผู้ประกอบการทั้ง 5 ราย คือ เอไอเอส, ดีแทค, ฮัทซ์, ทรูมูฟ,กสท. และทีโอที อยากเป็นคนแรกที่ให้บริการ 3 จี เพื่อแย่งฐานลูกค้า ปัญหาการทำผิดกฎหมายของ บ.ทรูมูฟ เมื่อสอบถามจากฝ่ายกฎหมายของ กสท. ได้รับรายงานว่าเป็นการติดตั้งอุปกรณ์นอกเขตพื้นที่ที่อนุญาต โดยบริษัท ได้แจ้งไปยังคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช )และ บ.ทรูมูฟ แล้ว ทางบริษัทได้ทำการถอดอุปกรณ์นอกเขตพื้นที่ออกแล้ว การดำเนินการจากนี้จึงอยู่ที่ กทช.จะดำเนินการเอาผิดกับ บ.ทรูมูฟ อย่างไรต่อไป
นายประเกียรติ ถามต่อว่า กรณีที่ครม.ในอดีตอนุมัติให้ กสท. ซื้อหุ้นของ บ.ฮัทชิสัน ซีเอทีไวส์เลสมัลติมีเดีย (ฮัทซ์) มูลค่า 7,500 ล้านบาท ส่งผลให้ กสท. ซึ่งให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่แล้วใน 51 จังหวัด ได้พื้นที่ให้บริการของฮัทซ์ที่ได้รับอนุญาตให้บริการใน 25 จังหวัด ทำให้ สามารถให้บริการทั่วประเทศได้
ต่อมาในสมัยรัฐบาลนี้ นายจุติ กลับมีนโยบายว่า การซื้อหุ้นฮัทซ์ของกสท.ไม่คุ้มค่า และให้ บ.ทรูมูฟ ทำสัญญาซื้อกิจการของฮัทซ์ ในมูลค่าใกล้เคียงกัน เมื่อเทคโอเวอร์ฮัทซ์แล้วบ.ทรูมูฟ ได้ทำสัญญากับ กสท.จำนวน 4 ฉบับ ภายใต้ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) โดยไม่เปิดเผยสัญญาอ้างว่าเป็นความลับ จึงอยากทราบว่า การทำสัญญาระหว่าง บ.ทรูมูฟ กับ กสท. 4 สัญญา มีความซับซ้อนซ่อนเงื่อน เพื่อทำให้ทรูมูฟได้คลื่นความที่ไปให้บริการ 3 จี โดยไม่ต้องประมูลใบอนุญาต 3 จี ใช่หรือไม่ ประโยชน์ที่รัฐและประชาชนจะได้รับจะขาดหายไป ในส่วนนี้รัฐบาลใช้กฎหมายอะไร และที่เคยมีการให้สัมภาษณ์ของ รมว.ไอซีที ว่าไม่ได้รับทราบเรื่องนี้เป็นความจริงแค่ไหน
นายจุติ กล่าวชี้แจงว่า กรณี ครม.อนุมัติให้บริษัทกสท. ซื้อหุ้นบ.ฮัทซ์ ในราคา 7,500 ล้านบาทนั้น เป็นความจริง โดยมีการอนุมัติตั้งแต่ปี 2552 โดยก่อนการอนุมัติมีการเตรียมการมาก่อนหน้านานมาก ก่อนการศึกษา ต่อมาตนมารับตำแหน่งในปี 2553 ก็มีความเห็นว่า กสท.ไม่ควรซื้อกิจการฮัทซ์ หรือหากจะซื้อควรซื้อในราคาถูก มีเหตุผล 2 ประเด็น คือ สภาพแวดล้อมทางการแข่งขันที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง เนื่องจากระบบซีดีเอ็มเอ ของฮัทซ์ ไม่มีอนาคต เพราะผู้ผลิตอุปกรณ์ซีดีเอ็มเอ ในโลกนี้เหลือแค่ร้อยละ 10 ส่วนใหญ่การพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารจะเป็นระบบ 4 จี โดยใช้เทคโนโลยีเอสเอชพีเอ ในเชิงพาณิชย์จึงเป็นการโง่มากที่กสท.จะไปซื้อหุ้นบริษัทที่ให้บริการซีดีเอ็มเอ แต่ควรเปลี่ยนไปลงทุนในกิจการที่ใช้เทคโนโลยีเอสเอชพีเอ
ส่วนการเซ็นลงนามในสัญญาขอยืนยันว่าไม่มีเงื่อนงำ ไม่ได้สลับซับซ้อน ตนได้รับรายงานจากประธานกรรมการและฝ่ายบริหารของกสท.ว่า คลื่นความถี่ยังเป็นของกสท ไม่ได้ให้บ.ทรูมูฟ และกสทเป็นผู้ให้บริการขายส่งอยู่ กสท.ไม่ได้ให้สัมปทาน นอกจานี้ยังมีความเห็นของคณะกรรมการกฤษฏีกา สนับสนุน และประกาศกทชชัดเจน การดำเนินการโดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติ หากกสท.ลงทุนซื้อฮัทซ์ 7,500 ล้านบาท จะต้องลงทุนอีก 3,800 ล้านบาทในการเปลี่ยนเครือข่ายเป็นเอสเอชพีเอ โดยรวมทำให้รัฐบาลต้องลงทุนอีกอย่างน้อย 11,300 ล้านบาท แต่รัฐบาลได้ประหยัดเงินงบประมาณโดยให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนแทนที่จะต้องลงทุนเอง โดยการลงทุนโดยเอกชนจะทำให้รัฐได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้เต็มที่
“ ขอยืนยันว่าประโยชน์ที่กสท.ได้รับจาการทำสัญญามีมากกว่าระบบสัมปทาน โดยจะทำให้รัฐนำเงินที่ต้องลงทุนไปพัฒนาบริการภาครัฐที่มีประโยชน์ด้านอื่นแทน” รมว.ไอซีที กล่าว