ASTVผู้จัดการรายวัน - “กรณ์” สั่ง สคร.ปล่อยหุ้นรัฐวิสาหกิจที่ถือส่วนเกิน เผยมี 5 แห่ง "MCOT - THAI - PTT - AOT - KTB" สั่งทำธุรกรรมในตลาด เพิ่มสภาพคล่องและปริมาณการซื้อขาย พร้อมลุยตั้งกองทุนอินฟราสตรักเจอร์ดันการประปานครหลวง - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ประเดิมตั้ง 2 กองเม็ดเงิน 2-3 พันล้านบาท
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ได้สั่งการให้ สคร.รวบรวมข้องมูลรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังถือหุ้นและมีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ในปัจจุบันว่ามีหุ้นรัฐวิสาหกิจใดบ้างและแต่ละแห่งกระทรวงการคลังและหน่วยงานของรัฐถือหุ้นตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ หากถือหุ้นเกินให้ทำแผนการขายหุ้นส่วนเกินกว่ากฎหมายกำหนดเสนอเข้ามาภายในเดือนมีนาคมนี้
“ตอนนี้ สคร.อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลเพื่อเสนอรัฐมนตรีเพราะการขายหุ้นในมือที่กระทรวงการคลังถืออยู่นั้นเป็นจำนวนมากจะส่งผลกระทบต่อตลาดจึงต้องทำแผนภาพรวมว่าจะทำอย่างไรกับหุ้นส่วนเกินเหล่านี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นการซื้อขายในตลาดให้กับหุ้นรัฐวิสาหกิจเหล่านี้ให้มากขึ้น” นายสมชัยกล่าว
ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังถือหุ้นและมีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีทั้งสิ้น 5 แห่ง ประกอบไปด้วย บริษัท อสมท จำกัด(มหาชน) MCOT กระทรวงการคลังและธนาคารออมสินถือหุ้นรวม 77% ตามกฎหมายกำหนดให้ถือ 70% ต้องขายออกไป 7% บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) THAI กระทรวงการคลังและกองทุนรวมวายุภักษ์ 1 ถือหุ้นรวม 67.99% ตามกฎหมายต้องถือเพียง 50%
บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) PTT กระทรวงการคลังและกองทุนรวมวายุภักษ์ 1 ถือหุ้นรวม 66.67% ตามกฎหมายต้องถือเพียง 50% บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) AOT กระทรวงการคลังถือหุ้น 70% และธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)KTB กระทรวงการคลังถือหุ้น 59.71%
สำหรับการจัดตั้งกองทุนสาธารณูปโภคพื้นฐาน หรืออินฟราสตรักเจอร์ฟันด์นั้นหลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ได้ประกาศหลักเกณฑ์เบื้องต้นในการจัดตั้งกองทุนแล้วขั้นตอนต่อไปต้องรอให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ประกาศเกณฑ์ในเรื่องสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีให้เรียบร้อยก่อนจะสามารถดำเนินการได้ทันที
“ตอนนี้มีรัฐวิสาหกิจ 2 แห่งคือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) และการประปานครหลวง(กปน.) ที่สนใจจัดตั้งกองทุนนี้วงเงินประมาณ 2-3 พันล้านบาทเพื่อพัฒนาระบบสายส่งและปรับปรุงระบบส่งน้ำใหม่ รวมทั้งบริษัท อสมท จำกัด(มหาชน) MCOT ที่เตรียมพัฒนาศูนย์กลางด้านการสื่อสารมวลชนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียนซึ่งได้สั่งการให้ไปศึกษาการทำโครงการด้วยการตั้งอินฟราสตรักเจอร์ฟันด์เช่นกัน” นายสมชัยกล่าว.
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ได้สั่งการให้ สคร.รวบรวมข้องมูลรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังถือหุ้นและมีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ในปัจจุบันว่ามีหุ้นรัฐวิสาหกิจใดบ้างและแต่ละแห่งกระทรวงการคลังและหน่วยงานของรัฐถือหุ้นตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ หากถือหุ้นเกินให้ทำแผนการขายหุ้นส่วนเกินกว่ากฎหมายกำหนดเสนอเข้ามาภายในเดือนมีนาคมนี้
“ตอนนี้ สคร.อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลเพื่อเสนอรัฐมนตรีเพราะการขายหุ้นในมือที่กระทรวงการคลังถืออยู่นั้นเป็นจำนวนมากจะส่งผลกระทบต่อตลาดจึงต้องทำแผนภาพรวมว่าจะทำอย่างไรกับหุ้นส่วนเกินเหล่านี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นการซื้อขายในตลาดให้กับหุ้นรัฐวิสาหกิจเหล่านี้ให้มากขึ้น” นายสมชัยกล่าว
ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังถือหุ้นและมีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีทั้งสิ้น 5 แห่ง ประกอบไปด้วย บริษัท อสมท จำกัด(มหาชน) MCOT กระทรวงการคลังและธนาคารออมสินถือหุ้นรวม 77% ตามกฎหมายกำหนดให้ถือ 70% ต้องขายออกไป 7% บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) THAI กระทรวงการคลังและกองทุนรวมวายุภักษ์ 1 ถือหุ้นรวม 67.99% ตามกฎหมายต้องถือเพียง 50%
บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) PTT กระทรวงการคลังและกองทุนรวมวายุภักษ์ 1 ถือหุ้นรวม 66.67% ตามกฎหมายต้องถือเพียง 50% บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) AOT กระทรวงการคลังถือหุ้น 70% และธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)KTB กระทรวงการคลังถือหุ้น 59.71%
สำหรับการจัดตั้งกองทุนสาธารณูปโภคพื้นฐาน หรืออินฟราสตรักเจอร์ฟันด์นั้นหลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ได้ประกาศหลักเกณฑ์เบื้องต้นในการจัดตั้งกองทุนแล้วขั้นตอนต่อไปต้องรอให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ประกาศเกณฑ์ในเรื่องสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีให้เรียบร้อยก่อนจะสามารถดำเนินการได้ทันที
“ตอนนี้มีรัฐวิสาหกิจ 2 แห่งคือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) และการประปานครหลวง(กปน.) ที่สนใจจัดตั้งกองทุนนี้วงเงินประมาณ 2-3 พันล้านบาทเพื่อพัฒนาระบบสายส่งและปรับปรุงระบบส่งน้ำใหม่ รวมทั้งบริษัท อสมท จำกัด(มหาชน) MCOT ที่เตรียมพัฒนาศูนย์กลางด้านการสื่อสารมวลชนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียนซึ่งได้สั่งการให้ไปศึกษาการทำโครงการด้วยการตั้งอินฟราสตรักเจอร์ฟันด์เช่นกัน” นายสมชัยกล่าว.