ASTV ผู้จัดการรายวัน – กลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์โอด ต้นทุนการผลิตพุ่งไม่ต่ำกว่า 10% สารพัดปัจจัยดันราคาวัตถุดิบเพิ่ม ทั้งเหล็กและพลาสติก ล่าสุดเจอนโยบายลอยตัวแอลพีจี ในภาคอุตสหกรรมของรัฐบาลถล่มซ้ำ ขณะที่ส่งออกช่วยไม่ได้ เหตุเงินบาทแข็งค่ามาก ทำให้ศักยภาพการแข่งขันไทยลดฮวบ เร่งรัฐช่วยแก้ปัญหาด่วน ก่อนถูกจีน อินเดีย หรือแม้แต่อินโดนีเซียชิงการลงทุนไปหมด
นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ และรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ(ส.อ.ท.) เปิดเผย “ASTV ผู้จัดการ” ว่า ในปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยเติบโตเป็นอย่างมาก สามารถทำสถิติสูงสุดในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขการผลิต ยอดขายตลาดในประเทศและส่งออก โดยเชื่อว่าทิศทางในปี 2554 ยังจะขยายตัวต่อเนื่อง จากสภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวไปได้ดี ทำให้คาดว่าการผลิตรถยนต์ในไทยปีนี้ จะอยู่ที่ประมาณ 1.8 ล้านคัน จากปีที่ผ่านมากว่า 1.645 ล้านคัน
“แม้ภาพรวมอุตสาหกรรมรถยนต์จะเติบโตด้วยดี แต่ยังมีปัจจัยหลายอย่างส่งผลกระทบต่อราคาวัตถุดิบ จนทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นไม่ต่ำกว่า 10% ซึ่งหากรัฐไม่เข้ามาดูแลอย่างเร่งด่วน จะส่งผลให้ศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมรถยนต์ในไทย และผู้ประกอบการลดลง รวมถึงความน่าสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในโครงการใหม่ๆ ที่อาจจะเลือกไปลงทุนประเทศอื่นๆ อย่างอินโดนีเซีย เพราะกำลังมีนโยบายดึงการลงทุนแข่งกับไทยอยู่ในตอนนี้”
ทั้งนี้ต้นทุนวัตถุดิบที่น่าห่วงเป็นเหล็กและพลาสติก เพราะถือเป็นชิ้นส่วนหลักของอุตสาหกรรมรถยนต์ ซึ่งพลาสติกได้รับผลกระทบตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นชัดเจน ขณะที่เหล็กนำมาผลิตรถยนต์ยังนำเข้าจากต่างประเทศ แม้จะได้รับโควต้าบางส่วน แต่ตลาดที่ขยายตัวมากขึ้นมาก ทำให้ปริมาณเหล็กตามโควต้าไม่เพียงพอรองรับการผลิต จึงต้องนำเข้านอกโควตา ทำให้ต้นทุนปรับเพิ่มขึ้น
นายศุภรัตน์กล่าวว่า หากให้อุตสาหกรรมรถยนต์ไทยมีศักยภาพแข่งขันได้อย่างแท้จริง จำเป็นต้องมีการผลิตเหล็กตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ แต่ในเมื่อยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องนี้ รัฐน่าจะเข้ามาช่วยผู้ประกอบการเกี่ยวกับเรื่องภาษี ส่วนที่จะให้ไปใช้สิทธิประโยชน์กับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอนั้น ยังติดขัดเรื่องของทางเทคนิคกฎระเบียบ ซึ่งจะต้องตีความอีกมาก ทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการได้ทันที
“นอกจากนี้ยังมีนโยบายประชาวิวัฒน์ของรัฐบาล ที่จะมีการลอยตัวราคาแอลพีจี(LPG) ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม เรื่องนี้เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออุตฯ รถยนต์ เพราะยังมีการใช้พลังงานแอลพีจีในบางส่วน เช่น กระบวนการอบและพ่นสี เป็นต้น แม้จะไม่กระทบมากเท่ากับกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก หรืออุตสาหกรรมแก้วและกระจก ที่มีต้นทุนด้านพลังงานสูง 25-40% แต่ก็เป็นปัจจัยทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น และส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมรถยนต์ลดลง ดังนั้นจึงอยากจะให้รัฐบาลชะลอการลอยตัวราคาแอลพีจีออกไปก่อน และดำเนินมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการในการจัดหาเชื้อเพลิงทางเลือกอื่นๆ มาทดแทนในราคาไม่แตกต่าง และช่วยปรับเปลี่ยนเครื่องจักรให้เหมาะสมกับเชื้อเพลิง”
สำหรับต้นทุนการผลิตทั้งหมดที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นนี้ ผู้ประกอบการจำต้องรับภาระ และไม่สามารถผลักไปให้กับผู้บริโภคได้ โดยเฉพาะในสภาวะที่การแข่งขันสูงเช่นนี้ ขณะที่การส่งออกก็ไม่สามารถช่วยได้ เพราะไม่เพียงต้นทุนสูงจนทำให้ศัยกภาพการแข่งขันลด ปัจจุบันเงินบาทยังแข็งค่ามาก จนแทบจะไม่เหลือกำไรมาช่วยรับภาระเลย ซึ่งหากรัฐบาลไม่เข้ามาแก้ไขหรือดูแลเร่งด่วน ศักยภาพการแข่งขันหรือความสนใจลงทุนของไทยย่อมลดลง เมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย หรือแม้แต่อินโดนีเซีย
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ยอดการผลิตรถยนต์ในไทยปี 2553 มีจำนวนทั้งสิ้น 1.645 ล้านคัน สูงสุดในรอบ 50 ปี หรือเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 64.63% โดยแยกผลิตรองรับตลาดในประเทศ 7.50 แสนคัน และผลิตเพื่อส่งออกขายต่างประเทศ 8.94 แสนคัน โดยทั้งหมดทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์อุตสาหกรรมรถยนต์ในไทย
“ในปี 2554 นี้คาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์ทั้งหมด 1.8 ล้านคัน หรือมากกว่าปีที่ผ่านมา 1.55 หมื่นคัน เพิ่มเป็น 9.42% โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อส่งออก 1 ล้านคัน หรือเท่ากับ 55.56% ของการผลิตทั้งหมด และผลิตเพื่อขายในประเทศ 8 แสนคัน”
ส่วนการส่งออกอุตสาหกรรมยานยนต์ ในปีที่ผ่านมารวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 6.22 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 51.8% และคาดว่าในปี 2554 จะมีมูลค่าส่งออกทั้งสิ้นประมาณ 7 แสนล้านบาท (ประเมินจากอัตราค่าเงินบาทปัจจุบัน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 30 บาท)
นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ และรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ(ส.อ.ท.) เปิดเผย “ASTV ผู้จัดการ” ว่า ในปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยเติบโตเป็นอย่างมาก สามารถทำสถิติสูงสุดในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขการผลิต ยอดขายตลาดในประเทศและส่งออก โดยเชื่อว่าทิศทางในปี 2554 ยังจะขยายตัวต่อเนื่อง จากสภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวไปได้ดี ทำให้คาดว่าการผลิตรถยนต์ในไทยปีนี้ จะอยู่ที่ประมาณ 1.8 ล้านคัน จากปีที่ผ่านมากว่า 1.645 ล้านคัน
“แม้ภาพรวมอุตสาหกรรมรถยนต์จะเติบโตด้วยดี แต่ยังมีปัจจัยหลายอย่างส่งผลกระทบต่อราคาวัตถุดิบ จนทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นไม่ต่ำกว่า 10% ซึ่งหากรัฐไม่เข้ามาดูแลอย่างเร่งด่วน จะส่งผลให้ศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมรถยนต์ในไทย และผู้ประกอบการลดลง รวมถึงความน่าสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในโครงการใหม่ๆ ที่อาจจะเลือกไปลงทุนประเทศอื่นๆ อย่างอินโดนีเซีย เพราะกำลังมีนโยบายดึงการลงทุนแข่งกับไทยอยู่ในตอนนี้”
ทั้งนี้ต้นทุนวัตถุดิบที่น่าห่วงเป็นเหล็กและพลาสติก เพราะถือเป็นชิ้นส่วนหลักของอุตสาหกรรมรถยนต์ ซึ่งพลาสติกได้รับผลกระทบตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นชัดเจน ขณะที่เหล็กนำมาผลิตรถยนต์ยังนำเข้าจากต่างประเทศ แม้จะได้รับโควต้าบางส่วน แต่ตลาดที่ขยายตัวมากขึ้นมาก ทำให้ปริมาณเหล็กตามโควต้าไม่เพียงพอรองรับการผลิต จึงต้องนำเข้านอกโควตา ทำให้ต้นทุนปรับเพิ่มขึ้น
นายศุภรัตน์กล่าวว่า หากให้อุตสาหกรรมรถยนต์ไทยมีศักยภาพแข่งขันได้อย่างแท้จริง จำเป็นต้องมีการผลิตเหล็กตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ แต่ในเมื่อยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องนี้ รัฐน่าจะเข้ามาช่วยผู้ประกอบการเกี่ยวกับเรื่องภาษี ส่วนที่จะให้ไปใช้สิทธิประโยชน์กับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอนั้น ยังติดขัดเรื่องของทางเทคนิคกฎระเบียบ ซึ่งจะต้องตีความอีกมาก ทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการได้ทันที
“นอกจากนี้ยังมีนโยบายประชาวิวัฒน์ของรัฐบาล ที่จะมีการลอยตัวราคาแอลพีจี(LPG) ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม เรื่องนี้เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออุตฯ รถยนต์ เพราะยังมีการใช้พลังงานแอลพีจีในบางส่วน เช่น กระบวนการอบและพ่นสี เป็นต้น แม้จะไม่กระทบมากเท่ากับกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก หรืออุตสาหกรรมแก้วและกระจก ที่มีต้นทุนด้านพลังงานสูง 25-40% แต่ก็เป็นปัจจัยทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น และส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมรถยนต์ลดลง ดังนั้นจึงอยากจะให้รัฐบาลชะลอการลอยตัวราคาแอลพีจีออกไปก่อน และดำเนินมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการในการจัดหาเชื้อเพลิงทางเลือกอื่นๆ มาทดแทนในราคาไม่แตกต่าง และช่วยปรับเปลี่ยนเครื่องจักรให้เหมาะสมกับเชื้อเพลิง”
สำหรับต้นทุนการผลิตทั้งหมดที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นนี้ ผู้ประกอบการจำต้องรับภาระ และไม่สามารถผลักไปให้กับผู้บริโภคได้ โดยเฉพาะในสภาวะที่การแข่งขันสูงเช่นนี้ ขณะที่การส่งออกก็ไม่สามารถช่วยได้ เพราะไม่เพียงต้นทุนสูงจนทำให้ศัยกภาพการแข่งขันลด ปัจจุบันเงินบาทยังแข็งค่ามาก จนแทบจะไม่เหลือกำไรมาช่วยรับภาระเลย ซึ่งหากรัฐบาลไม่เข้ามาแก้ไขหรือดูแลเร่งด่วน ศักยภาพการแข่งขันหรือความสนใจลงทุนของไทยย่อมลดลง เมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย หรือแม้แต่อินโดนีเซีย
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ยอดการผลิตรถยนต์ในไทยปี 2553 มีจำนวนทั้งสิ้น 1.645 ล้านคัน สูงสุดในรอบ 50 ปี หรือเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 64.63% โดยแยกผลิตรองรับตลาดในประเทศ 7.50 แสนคัน และผลิตเพื่อส่งออกขายต่างประเทศ 8.94 แสนคัน โดยทั้งหมดทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์อุตสาหกรรมรถยนต์ในไทย
“ในปี 2554 นี้คาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์ทั้งหมด 1.8 ล้านคัน หรือมากกว่าปีที่ผ่านมา 1.55 หมื่นคัน เพิ่มเป็น 9.42% โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อส่งออก 1 ล้านคัน หรือเท่ากับ 55.56% ของการผลิตทั้งหมด และผลิตเพื่อขายในประเทศ 8 แสนคัน”
ส่วนการส่งออกอุตสาหกรรมยานยนต์ ในปีที่ผ่านมารวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 6.22 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 51.8% และคาดว่าในปี 2554 จะมีมูลค่าส่งออกทั้งสิ้นประมาณ 7 แสนล้านบาท (ประเมินจากอัตราค่าเงินบาทปัจจุบัน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 30 บาท)