ASTVผู้จัดการรายวัน -กลุ่มผู้ประกอบการกระเบื้องใยหินไครโซไทล์ ออกแถลงการณ์ถึงความจำเป็นใช้ใยหินในการผลิต ด้านกระเบื้องโอฬารขู่ใช้วัสดุทดแทนต้นทุนเพิ่ม 2 เท่าต้องขายกระเบื้องแพงขึ้น 25-30% กระทบผู้บริโภคกว่า 2 ล้านคน
วานนี้ (20 ม.ค.54)ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์และกลุ่มผู้ประกอบการที่ใช้ใยหินไครโซไทล์เป็นวัตถุดิบผลิตสินค้า ได้ร่วมกันแถลงการณ์ชี้แจงถึงความจำเป็นของการใช้ใยหินไครโซไทล์ในอุตสาหกรรมไทย หลังจากสภาที่ปรึกษาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เสนอให้กระทรวงอุตสาหกรรมยกเลิกการนำเข้าใยหินไครโซไทล์ใน 3 เดือน และยกเลิกการผลิตและจำหน่ายสินค้าที่มีวัตถุดิบสารทดแทนมาใช้แทนใยหินไครโซไทล์ภายใน 1 ปี ซึ่งมาตรการดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถการแข่งขันทางการค้าของผู้ประกอบการไทย และผู้บริโภคที่มีรายได้น้อยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าที่สูงขึ้น
นายมานพ เจริญจิตต์ ผู้อำนวยการศูนย์ไครโซไทล์ กล่าวว่า ปัจจุบันไครโซไทล์ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมใน 114 ประเทศ คิดเป็นจำนวนประชากรกว่า 5,565 ล้านคน และมีเพียง 48 ประเทศที่ห้ามใช้ หรือคิดเป็นจำนวนประชากรเพียง 1,048 ล้านคนเท่านั้น โดยประเทศสหรัฐฯและแคนนาดา ยังคงอนุญาตให้ใช้ใยหินไครโซไทล์ในสินค้าบางประเภท แต่อยู่ภายใต้การดูแลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ด้านนายอุฬาร เกรียวสกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัทกระเบื้องโอฬาร จำกัด กล่าวว่า กระเบื้องมุงหลังคาที่มีใยหินไครโซไทล์เป็นวัตถุดิบ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มกระเบื้องมุงหลังคาประเภทลอนคู่ ที่ใช้ในประเทศไทยมานานกว่า 70 ปี โดยกลุ่มลูกค้าที่ใช้เป็นกลุ่มที่มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบหากภาครัฐดำเนินมาตรการยกเลิกการนำเข้าใยหินเป็นวัตถุดิบในการผลิต และส่งผลกระทบต่อภาพรวมของอุตสาหกรรมและตลาดผู้ใช้กระเบื้องมุงหลังคากว่า 570,000 ครัวเรือน (ประมาณ 64 ล้านตร.ม.) คิดเป็นประชากรที่ได้รับผลกระทบอย่างน้อย 2 ล้านคนทั่วประเทศ
เนื่องจากต้นทุนการนำเข้าสารทดแทนมีราคาสูงกว่าใยหินไครโซไทล์ถึง 2 เท่า ส่งผลต่อราคาจำหน่ายที่ต้องปรับตัวขึ้นทันที่ 25-30% ขณะที่คุณภาพของกระเบื้องมุงหลังคาที่ใช้วัสดุทดแทนมีคุณภาพที่ด้อยกว่ากระเบื้องมุงหลังคาที่ใช้ใยหินไครโซไทล์ ที่มีความแข็งแรงถึง 433 กิโลกรัม/เมตร ขณะที่ กระเบื้องที่ใช้สารทดแทนมีความแข็งแรงเพียง 153 กิโลกรัม/เมตรเท่านั้น หรือมีคุณภาพที่ด้อยกว่า 3 เท่าตัว นอกจากนี้ การต้านทานการแตกหักของกระเบื้องมุงหลังคาที่มีใยหิน ยังสามารถรับแรงกดทับได้ดีสูงกว่ามาตรฐานองค์การอุตสาหกรรม (มอก.75-2529) ที่กำหนดไว้ 4,250 นิวตันต่อเมตร และสูงกว่ากระเบื้องหลังคาที่ใช้สารทดแทนที่ต้านแรงแตกหักได้เพียง 1,500 นิวตันต่อเมตรเท่านั้น
วานนี้ (20 ม.ค.54)ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์และกลุ่มผู้ประกอบการที่ใช้ใยหินไครโซไทล์เป็นวัตถุดิบผลิตสินค้า ได้ร่วมกันแถลงการณ์ชี้แจงถึงความจำเป็นของการใช้ใยหินไครโซไทล์ในอุตสาหกรรมไทย หลังจากสภาที่ปรึกษาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เสนอให้กระทรวงอุตสาหกรรมยกเลิกการนำเข้าใยหินไครโซไทล์ใน 3 เดือน และยกเลิกการผลิตและจำหน่ายสินค้าที่มีวัตถุดิบสารทดแทนมาใช้แทนใยหินไครโซไทล์ภายใน 1 ปี ซึ่งมาตรการดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถการแข่งขันทางการค้าของผู้ประกอบการไทย และผู้บริโภคที่มีรายได้น้อยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าที่สูงขึ้น
นายมานพ เจริญจิตต์ ผู้อำนวยการศูนย์ไครโซไทล์ กล่าวว่า ปัจจุบันไครโซไทล์ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมใน 114 ประเทศ คิดเป็นจำนวนประชากรกว่า 5,565 ล้านคน และมีเพียง 48 ประเทศที่ห้ามใช้ หรือคิดเป็นจำนวนประชากรเพียง 1,048 ล้านคนเท่านั้น โดยประเทศสหรัฐฯและแคนนาดา ยังคงอนุญาตให้ใช้ใยหินไครโซไทล์ในสินค้าบางประเภท แต่อยู่ภายใต้การดูแลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ด้านนายอุฬาร เกรียวสกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัทกระเบื้องโอฬาร จำกัด กล่าวว่า กระเบื้องมุงหลังคาที่มีใยหินไครโซไทล์เป็นวัตถุดิบ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มกระเบื้องมุงหลังคาประเภทลอนคู่ ที่ใช้ในประเทศไทยมานานกว่า 70 ปี โดยกลุ่มลูกค้าที่ใช้เป็นกลุ่มที่มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบหากภาครัฐดำเนินมาตรการยกเลิกการนำเข้าใยหินเป็นวัตถุดิบในการผลิต และส่งผลกระทบต่อภาพรวมของอุตสาหกรรมและตลาดผู้ใช้กระเบื้องมุงหลังคากว่า 570,000 ครัวเรือน (ประมาณ 64 ล้านตร.ม.) คิดเป็นประชากรที่ได้รับผลกระทบอย่างน้อย 2 ล้านคนทั่วประเทศ
เนื่องจากต้นทุนการนำเข้าสารทดแทนมีราคาสูงกว่าใยหินไครโซไทล์ถึง 2 เท่า ส่งผลต่อราคาจำหน่ายที่ต้องปรับตัวขึ้นทันที่ 25-30% ขณะที่คุณภาพของกระเบื้องมุงหลังคาที่ใช้วัสดุทดแทนมีคุณภาพที่ด้อยกว่ากระเบื้องมุงหลังคาที่ใช้ใยหินไครโซไทล์ ที่มีความแข็งแรงถึง 433 กิโลกรัม/เมตร ขณะที่ กระเบื้องที่ใช้สารทดแทนมีความแข็งแรงเพียง 153 กิโลกรัม/เมตรเท่านั้น หรือมีคุณภาพที่ด้อยกว่า 3 เท่าตัว นอกจากนี้ การต้านทานการแตกหักของกระเบื้องมุงหลังคาที่มีใยหิน ยังสามารถรับแรงกดทับได้ดีสูงกว่ามาตรฐานองค์การอุตสาหกรรม (มอก.75-2529) ที่กำหนดไว้ 4,250 นิวตันต่อเมตร และสูงกว่ากระเบื้องหลังคาที่ใช้สารทดแทนที่ต้านแรงแตกหักได้เพียง 1,500 นิวตันต่อเมตรเท่านั้น