รอยเตอร์ – แม้การเล่นอินเทอร์เน็ตเป็นพฤติกรรมปกติของวัยรุ่น แต่ถ้ามากหรือน้อยเกินไป อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้อาการซึมเศร้า
การค้นพบที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสารเพเดรียทริกส์ ไม่ได้หมายความว่าอินเทอร์เน็ตเป็นต้นเหตุ เพราะในการศึกษาพบว่าวัยรุ่นที่ไม่เล่นอินเทอร์เน็ตเลยมีความเสี่ยงซึมเศร้าเช่นเดียวกัน
แต่สิ่งที่นักวิจัยต้องการสื่อคือ ทั้งการเล่นเน็ตมากและไม่เล่นเลย อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเด็กกำลังมีปัญหา
ดร.ปิแอร์-อังเดร มิโชด์ และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโลซานน์ สวิตเซอร์แลนด์ ศึกษากลุ่มตัวอย่างอายุ 16-20 ปี จำนวน 7,200 คน เกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ต
ทั้งนี้ เด็กที่ออนไลน์วันละ 2 ชั่วโมงขึ้นไปถือว่าเป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ‘จัด’ ขณะที่เด็กที่ออนไลน์สัปดาห์ละหลายชั่วโมงจนถึงวันละ 2 ชั่วโมงถือว่าเป็นผู้ใช้ ‘ประจำ’
กลุ่มตัวอย่างยังต้องตอบคำถามเกี่ยวกับสุขภาพ ซึ่งรวมถึงคำถามมาตรฐานเกี่ยวกับ ‘แนวโน้มซึมเศร้า’ ที่วัดว่าแต่ละคนรู้สึกเศร้าหรือสิ้นหวังบ่อยแค่ไหน
เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นประจำ ทีมนักวิจัยพบว่าเด็กที่ใช้เน็ตมากหรือไม่ใช้เลยมีแนวโน้มซึมเศร้าหรือซึมเศร้ารุนแรงมากกว่า
ในกลุ่มวัยรุ่นชาย ผู้ใช้เน็ตมากและไม่ใช้เลยมีแนวโน้มมากกว่าราว 1 ใน 3 ที่จะมีอาการซึมเศร้าสูงเมื่อเทียบกับผู้ใช้เป็นประจำ
สำหรับในกลุ่มเด็กผู้หญิง ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากมีแนวโน้มซึมเศร้ามากกว่าถึง 86% และ 46% สำหรับผู้ที่ไม่ใช้เลย ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับผู้ใช้เป็นประจำ
โดยทั้งหมดนี้พิจารณาปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น รายได้ของครอบครัว ปัญหาสุขภาพเรื้อรัง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม คะแนนอาการซึมเศร้าเฉลี่ยในหมู่ผู้ไม่ใช้เน็ต ผู้ใช้ประจำ และผู้ใช้มากอยู่ที่ 1-2 จากคะแนนสูงสุด 4 โดยที่ 1 หมายถึงไม่ซึมเศร้าเลย
ผู้จัดทำรายงานไม่ได้แจกแจงชัดเจนว่ามีเด็กมากน้อยเพียงใดในแต่ละกลุ่มที่ซึมเศร้า
งานศึกษาอีกชิ้นจากสวิตเซอร์แลนด์ที่เผยแพร่ออกมาเมื่อปีที่แล้วขอให้กุมารแพทย์ในประเทศประเมินอัตราความผิดปกติทางจิตของผู้ป่วยเด็ก ซึ่งผลการประเมินระบุอัตราซึมเศร้าไว้ที่เฉลี่ย 1.4%
ทีมนักวิจัยของมิโชด์ไม่ได้อธิบายแน่ชัดว่า เหตุใดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากและผู้ที่ไม่ใช้เลยจึงมีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงซึมเศร้าเพิ่มขึ้น
เนื่องจากปกติแล้ววัยรุ่นมักเล่นเน็ตเพื่อติดต่อกับเพื่อน นักวิจัยจึงคาดว่าเด็กที่ไม่ออนไลน์เลยอาจถูกโดดเดี่ยวทางสังคม
สำหรับเด็กที่เล่นเน็ตมาก งานศึกษาในอดีตบางชิ้นพบความเชื่อมโยงกับอาการซึมเศร้าแต่ไม่ได้ให้เหตุผลชัดเจนใดๆ อย่างไรก็ดี มิโชด์ชี้ว่าการศึกษาชิ้นหนึ่งจากไต้หวันพบว่า อาการซึมเศร้ามักเกิดก่อนที่เด็กจะเล่นเน็ตมากๆ
ในการศึกษาล่าสุด เด็กที่เล่นเน็ตมากๆ มีประเด็นที่ต้องเป็นห่วงด้านสุขภาพอื่นๆ กล่าวคือสำหรับวัยรุ่นชาย ปัญหาคือน้ำหนัก โดย 18% จะมีน้ำหนักเกินเมื่อเทียบกับเด็กชายที่เล่นเน็ตเป็นประจำ
ส่วนวัยรุ่นหญิงที่เล่นเน็ตมาก 59% มีแนวโน้มนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ เทียบกับ 35% ของพวกที่เล่นประจำ
ในกรณีการอดนอน นักวิจัยชี้ว่าอาจเป็นเพราะเด็กผู้หญิงบางคนเล่นเน็ตดึกดื่นแทนที่จะนอน
ส่วนกรณีที่เด็กผู้ชายอ้วนขึ้นนั้น นักวิจัยไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะการนั่งจ่อมหน้าคอมพิวเตอร์เป็นสาเหตุให้น้ำหนักขึ้นหรือเป็นเพราะเด็กอ้วนมักเลือกใช้เวลาอยู่หน้าจอมากกว่า
สรุปก็คือ การใช้เวลาออนไลน์มากไป น้อยไปหรือไม่เลย อาจเป็นตัวบ่งชี้ว่าวัยรุ่นกำลังมีปัญหา
การค้นพบที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสารเพเดรียทริกส์ ไม่ได้หมายความว่าอินเทอร์เน็ตเป็นต้นเหตุ เพราะในการศึกษาพบว่าวัยรุ่นที่ไม่เล่นอินเทอร์เน็ตเลยมีความเสี่ยงซึมเศร้าเช่นเดียวกัน
แต่สิ่งที่นักวิจัยต้องการสื่อคือ ทั้งการเล่นเน็ตมากและไม่เล่นเลย อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเด็กกำลังมีปัญหา
ดร.ปิแอร์-อังเดร มิโชด์ และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโลซานน์ สวิตเซอร์แลนด์ ศึกษากลุ่มตัวอย่างอายุ 16-20 ปี จำนวน 7,200 คน เกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ต
ทั้งนี้ เด็กที่ออนไลน์วันละ 2 ชั่วโมงขึ้นไปถือว่าเป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ‘จัด’ ขณะที่เด็กที่ออนไลน์สัปดาห์ละหลายชั่วโมงจนถึงวันละ 2 ชั่วโมงถือว่าเป็นผู้ใช้ ‘ประจำ’
กลุ่มตัวอย่างยังต้องตอบคำถามเกี่ยวกับสุขภาพ ซึ่งรวมถึงคำถามมาตรฐานเกี่ยวกับ ‘แนวโน้มซึมเศร้า’ ที่วัดว่าแต่ละคนรู้สึกเศร้าหรือสิ้นหวังบ่อยแค่ไหน
เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นประจำ ทีมนักวิจัยพบว่าเด็กที่ใช้เน็ตมากหรือไม่ใช้เลยมีแนวโน้มซึมเศร้าหรือซึมเศร้ารุนแรงมากกว่า
ในกลุ่มวัยรุ่นชาย ผู้ใช้เน็ตมากและไม่ใช้เลยมีแนวโน้มมากกว่าราว 1 ใน 3 ที่จะมีอาการซึมเศร้าสูงเมื่อเทียบกับผู้ใช้เป็นประจำ
สำหรับในกลุ่มเด็กผู้หญิง ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากมีแนวโน้มซึมเศร้ามากกว่าถึง 86% และ 46% สำหรับผู้ที่ไม่ใช้เลย ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับผู้ใช้เป็นประจำ
โดยทั้งหมดนี้พิจารณาปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น รายได้ของครอบครัว ปัญหาสุขภาพเรื้อรัง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม คะแนนอาการซึมเศร้าเฉลี่ยในหมู่ผู้ไม่ใช้เน็ต ผู้ใช้ประจำ และผู้ใช้มากอยู่ที่ 1-2 จากคะแนนสูงสุด 4 โดยที่ 1 หมายถึงไม่ซึมเศร้าเลย
ผู้จัดทำรายงานไม่ได้แจกแจงชัดเจนว่ามีเด็กมากน้อยเพียงใดในแต่ละกลุ่มที่ซึมเศร้า
งานศึกษาอีกชิ้นจากสวิตเซอร์แลนด์ที่เผยแพร่ออกมาเมื่อปีที่แล้วขอให้กุมารแพทย์ในประเทศประเมินอัตราความผิดปกติทางจิตของผู้ป่วยเด็ก ซึ่งผลการประเมินระบุอัตราซึมเศร้าไว้ที่เฉลี่ย 1.4%
ทีมนักวิจัยของมิโชด์ไม่ได้อธิบายแน่ชัดว่า เหตุใดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากและผู้ที่ไม่ใช้เลยจึงมีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงซึมเศร้าเพิ่มขึ้น
เนื่องจากปกติแล้ววัยรุ่นมักเล่นเน็ตเพื่อติดต่อกับเพื่อน นักวิจัยจึงคาดว่าเด็กที่ไม่ออนไลน์เลยอาจถูกโดดเดี่ยวทางสังคม
สำหรับเด็กที่เล่นเน็ตมาก งานศึกษาในอดีตบางชิ้นพบความเชื่อมโยงกับอาการซึมเศร้าแต่ไม่ได้ให้เหตุผลชัดเจนใดๆ อย่างไรก็ดี มิโชด์ชี้ว่าการศึกษาชิ้นหนึ่งจากไต้หวันพบว่า อาการซึมเศร้ามักเกิดก่อนที่เด็กจะเล่นเน็ตมากๆ
ในการศึกษาล่าสุด เด็กที่เล่นเน็ตมากๆ มีประเด็นที่ต้องเป็นห่วงด้านสุขภาพอื่นๆ กล่าวคือสำหรับวัยรุ่นชาย ปัญหาคือน้ำหนัก โดย 18% จะมีน้ำหนักเกินเมื่อเทียบกับเด็กชายที่เล่นเน็ตเป็นประจำ
ส่วนวัยรุ่นหญิงที่เล่นเน็ตมาก 59% มีแนวโน้มนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ เทียบกับ 35% ของพวกที่เล่นประจำ
ในกรณีการอดนอน นักวิจัยชี้ว่าอาจเป็นเพราะเด็กผู้หญิงบางคนเล่นเน็ตดึกดื่นแทนที่จะนอน
ส่วนกรณีที่เด็กผู้ชายอ้วนขึ้นนั้น นักวิจัยไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะการนั่งจ่อมหน้าคอมพิวเตอร์เป็นสาเหตุให้น้ำหนักขึ้นหรือเป็นเพราะเด็กอ้วนมักเลือกใช้เวลาอยู่หน้าจอมากกว่า
สรุปก็คือ การใช้เวลาออนไลน์มากไป น้อยไปหรือไม่เลย อาจเป็นตัวบ่งชี้ว่าวัยรุ่นกำลังมีปัญหา