ด่วนที่สุด
19 มกราคม 2554
เรื่อง ขอประณามการกระทำอันชั่วช้าของตำรวจ
เรียน ฯพณฯ นรม., ผบ.ตร, พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร
ผมเขียนหนังสือนี้ถึงท่านผู้มีหน้าที่รับผิดชอบร่วมกันในการบังคับบัญชา บริหาร และปฏิรูปสำนักงานตำรวจแห่งชาติทันทีที่ผมดูทีวีจบ เรื่องตำรวจอุ้มผู้ต้องหาคือ ฯพณฯ นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ อดีต รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อเวลาหนึ่งชั่วโมงโดยประมาณก่อนเที่ยงคืนวันนี้
ทีวีนี้หากนำไปฉายสู่โลกภายนอก เว้นเสียแต่ในประเทศที่มีตำรวจป่าเถื่อน ผู้ดูที่มีวัฒนธรรมจะออกความเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่าประเทศไทยเป็นประเทศด้อยพัฒนาล้าหลัง ไม่เคารพสิทธิมนุษยชน และตำรวจเป็นเครื่องมือหรือส่วนหนึ่งของรัฐตำรวจ
สำหรับคำว่า “การกระทำอันชั่วช้า” นั้น ผมยืนยันว่ายังเป็นคำที่อ่อนเกินไป เมื่อคำนึงถึงนัยทางการเมืองและโครงสร้างของการบริหารราชการแผ่นดินที่จำต้องมีเนื้อหาและลักษณะทางพฤติกรรมที่เป็นประชาธิปไตย
การกระทำดังกล่าว เมื่อเปรียบเทียบกับการสังหารนักการเมืองฝ่ายตรงกันข้ามในสมัยพล.ต.อ.เผ่า การจับผู้ต้องหาเรียกค่าไถ่ การประกอบอาชญากรรมทางการเมืองและทางอาญาโดยตำรวจ ซึ่งยังมีอยู่ประปรายจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ มีความน่าเป็นห่วงในด้านโครงสร้างไม่เท่ากับกรณีการอุ้มนายไชยวัฒน์ในวันที่ 18 มกราคม 2554 เสียอีก
ทั้งนี้ผมสงสารและไม่อยากกล่าวโทษตำรวจชั้นผู้น้อยที่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือรู้แต่หวังความก้าวหน้าและลาภยศในการช่วยผู้บังคับบัญชาและนายเหนือหัวให้สำเร็จ
ผมใคร่ขอความกรุณาให้ท่านเรียกเอาฟิล์มในทีวีนั้นมาฉายซ้ำดู หากท่านเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาถูกต้องแล้ว ตำรวจปฏิบัติหน้าที่ดีที่สุดแล้ว ขอให้ท่านได้แถลงยืนยันปกป้องการกระทำของบรรดาตำรวจที่เข้าร่วมปฏิบัติการดังกล่าว
แต่ถ้าในทางตรงกันข้าม ถ้าสมมติว่าท่านต้องเป็นผู้สั่งการหรือควบคุมการปฏิบัติการนั้นๆ ท่านกลับเห็นว่ามีความบกพร่องไม่สมควรอย่างรุนแรง ผมจะเคารพและสรรเสริญความกล้าหาญของท่านที่จะออกมาขอโทษและชี้แจงให้สาธารณชนเข้าใจ
การกระทำที่ผมเห็นว่าชั่วช้านั้นเป็นอย่างไร ผมขอยกเอาคำพูดของอดีตสมาชิกวุฒิสภาท่านหนึ่ง ซึ่งมีความรู้และความคุ้นเคยกับกิจการตำรวจทั้งนอกและในประเทศดี
ท่านอดีตวุฒิสมาชิกโทร.มาถึงผมว่า เห็นการเข้าจับกุมคุณไชยวัฒน์ในทีวีแล้ว เกิดความสลดหดหู่ใจในความล้าหลังของกรมตำรวจ และพฤติกรรมที่ดูราวกับการไล่จับหมูไปเข้าโรงฆ่าสัตว์
ผมเองยินดีที่จะหยุดอธิบายคำว่า “การกระทำอันชั่วช้า” ไว้ก่อน แต่อยากจะขออนุญาตตั้งคำถามต่อท่าน เพราะเกรงว่าจะไม่มีผู้ใดตั้งคำถามเหล่านี้ เพราะความเกรงใจ ความเคยชิน หรือความที่รู้สึกว่าตนเองไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นสภาผู้แทนราษฎรก็ดี วุฒิสภาก็ดี สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนก็ดี ผู้ตรวจราชการแผ่นดินก็ดี สื่อและสถาบันวิชาการที่ต้องทำหน้าที่สอนและวิจัยทางรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ก็ดี
คำถามดังกล่าวเกี่ยวกับทัศนคติและความเข้าใจของท่านต่อจรรยาบรรณและมาตรฐานทางวิชาชีพของตำรวจ โดยใช้ตัวอย่างการเข้าจับกุมนายไชยวัฒน์เป็นกรณีศึกษา ดังนี้
1. เกี่ยวกับตัวผู้ต้องหา เป็นที่ปรากฏชัดว่าตำรวจติดตามประกบตัวผู้ต้องหา ซึ่งมีกิจกรรมทางการเมืองโดยสงบอหิงสาและเปิดเผย ซ้ำเคยเสนอที่จะไปมอบตัวและรอคอยการนัดหมายจากทางการตำรวจเสียด้วย ผมใคร่ทราบว่าผู้บังคับบัญชาที่ออกคำสั่งให้ไปจับกุม ได้ชี้แจงให้ผู้ปฏิบัติการทราบหรือไม่ ผู้ปฏิบัติการทราบหรือไม่ว่าผู้ถูกจับกุมเป็นผู้ใด และมีความจำเป็นอย่างไรจึงจะต้องจับกุมในวัน เวลา และวินาทีนั้นๆ แม้จะขอผ่อนผันรับประทานอาหารก็ไม่ยอม
2. ความรู้เกี่ยวกับหลักรัฐธรรมนูญและสิทธิในระบอบประชาธิปไตย ผู้บังคับบัญชาและผู้ปฏิบัติการมีความสำนึกและความรู้เพียงใดว่าปฏิบัติการดังกล่าวแทนที่จะส่งเสริมให้เกิดความสงบเรียบร้อย และมั่นคงภายในประเทศ กลับจะกลายเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนซึ่งได้รับความคุ้มครองตามหลักรัฐธรรมนูญ ซ้ำยังจะทำให้เกิดเหตุลุกลามบานปลายไป ทำให้ทั้งผู้ฉวยโอกาสและผู้เชื่อโดยสนิทใจ มีความเกลียดชังตำรวจและรัฐบาลเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบกระเทือนถึงความสงบในบ้านเมืองโดยตรง
3. ความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ผมขอให้ท่านรีบสอบถามไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน หรือผมเองอาจส่งหนังสือนี้ไปยังคณะกรรมการ เพื่อสอบถามว่านายไชยวัฒน์มีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองประการใดบ้าง และการเข้าจับกุมนายไชยวัฒน์มีลักษณะอาการทั้งทางกายกรรม วจีกรรมใดๆ บ้างของเจ้าหน้าที่ที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยตรง
4. ความรู้เกี่ยวกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายอาญาและกฎหมายปกครอง ในประเทศที่ศิวิไลซ์แล้ว เขามีกฎหมายคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาถูกจับกุม ผู้ที่เข้าจับกุมจะต้องแสดงหมายและอธิบายให้ผู้ที่ต้องจับกุมทราบเสียก่อนว่าตนมีสิทธิอะไรบ้าง รวมทั้งสิทธิที่จะไม่พูด และการปรึกษาทนาย ถึงแม้ป.วิ.อาญาเราจะยังไม่ครอบคลุมกว้างขวางถึงเพียงนั้น ก็ได้มีกำหนดไว้โดยละเอียดว่าสิ่งใดควร และไม่ควรกระทำในการออกหมาย ส่งหมายและเข้าจับกุมผู้ต้องหา ในกรณีของนายไชยวัฒน์นี้ผู้เข้าจับกุมปฏิเสธมิให้ดูหมายและมิให้ผู้ต้องหากระทำหรือไม่กระทำอะไร ท่านโปรดสอบถามรายละเอียดดูว่ามีการกระทำของเจ้าพนักงานที่ขัดกับป.วิ.อาญาหรือไม่
5. อนึ่ง ในการเข้าจับกุมนายไชยวัฒน์นี้ นอกจากจะลือกันว่าเป็นการเอาใจเพื่อกลบข่าวเขมรและการโจมตีรัฐบาลยังมีข่าวเสริมออกมาทางสื่อ มิทราบว่าเจ้าพนักงานหรือโฆษกตำรวจหรือผู้ใดเป็นผู้แจกจ่ายว่ายังมีผู้ต้องหาหนีการจับกุมอยู่อีกหลายคน รวมทั้งผมด้วย ผมขอปฏิเสธว่าไม่เคยหนีการจับกุม และได้เคยมีหนังสือถึง ผบ.ตร.สำเนาถึงนรม.และท่านประธานกรรมการปฏิรูปตำรวจหลายครั้ง ขอให้มีการออกหมายและนำส่งหมายอย่างถูกต้องป.วิ.อาญามาให้ผม และหรือให้ท่านนัดหมายให้ผมไปพบกับ ผบ.ตร.และพล.ต.ท.สมยศ เมื่อใดก็ได้ การออกข่าวเช่นนั้นเป็นการละเมิดสิทธิของผม ผมเองไม่ต้องการมีอภิสิทธิ์และการเลือกปฏิบัติ แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า ถ้าจะให้ความเป็นธรรมกับนายไชยวัฒน์ ตำรวจจะต้องกระทำอย่างเดียวกันกับผมด้วย
อนึ่ง ผมขอยืนยันว่ามิได้จงเกลียดจงชังตำรวจส่วนใหญ่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งตำรวจชั้นผู้น้อยที่จำเป็นต้องปฏิบัติหน้าที่อุ้มนายไชยวัฒน์ในครั้งนี้ การกระทำความชั่วช้านั้นเป็นความผิดของโครงสร้างมากกว่าตัวบุคคล แต่บุคคลที่เป็นผู้นำจะต้องนำในการแก้ไข มิใช่ปล่อยให้ผู้น้อยกระทำความผิดครั้งแล้วครั้งเล่า แล้วปล่อยให้เสี่ยงคุกเสี่ยงตะรางไปตามยถากรรม
ขอแสดงความนับถือ
นายปราโมทย์ นาครทรรพ
pnakornthab@gmail.com
19 มกราคม 2554
เรื่อง ขอประณามการกระทำอันชั่วช้าของตำรวจ
เรียน ฯพณฯ นรม., ผบ.ตร, พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร
ผมเขียนหนังสือนี้ถึงท่านผู้มีหน้าที่รับผิดชอบร่วมกันในการบังคับบัญชา บริหาร และปฏิรูปสำนักงานตำรวจแห่งชาติทันทีที่ผมดูทีวีจบ เรื่องตำรวจอุ้มผู้ต้องหาคือ ฯพณฯ นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ อดีต รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อเวลาหนึ่งชั่วโมงโดยประมาณก่อนเที่ยงคืนวันนี้
ทีวีนี้หากนำไปฉายสู่โลกภายนอก เว้นเสียแต่ในประเทศที่มีตำรวจป่าเถื่อน ผู้ดูที่มีวัฒนธรรมจะออกความเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่าประเทศไทยเป็นประเทศด้อยพัฒนาล้าหลัง ไม่เคารพสิทธิมนุษยชน และตำรวจเป็นเครื่องมือหรือส่วนหนึ่งของรัฐตำรวจ
สำหรับคำว่า “การกระทำอันชั่วช้า” นั้น ผมยืนยันว่ายังเป็นคำที่อ่อนเกินไป เมื่อคำนึงถึงนัยทางการเมืองและโครงสร้างของการบริหารราชการแผ่นดินที่จำต้องมีเนื้อหาและลักษณะทางพฤติกรรมที่เป็นประชาธิปไตย
การกระทำดังกล่าว เมื่อเปรียบเทียบกับการสังหารนักการเมืองฝ่ายตรงกันข้ามในสมัยพล.ต.อ.เผ่า การจับผู้ต้องหาเรียกค่าไถ่ การประกอบอาชญากรรมทางการเมืองและทางอาญาโดยตำรวจ ซึ่งยังมีอยู่ประปรายจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ มีความน่าเป็นห่วงในด้านโครงสร้างไม่เท่ากับกรณีการอุ้มนายไชยวัฒน์ในวันที่ 18 มกราคม 2554 เสียอีก
ทั้งนี้ผมสงสารและไม่อยากกล่าวโทษตำรวจชั้นผู้น้อยที่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือรู้แต่หวังความก้าวหน้าและลาภยศในการช่วยผู้บังคับบัญชาและนายเหนือหัวให้สำเร็จ
ผมใคร่ขอความกรุณาให้ท่านเรียกเอาฟิล์มในทีวีนั้นมาฉายซ้ำดู หากท่านเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาถูกต้องแล้ว ตำรวจปฏิบัติหน้าที่ดีที่สุดแล้ว ขอให้ท่านได้แถลงยืนยันปกป้องการกระทำของบรรดาตำรวจที่เข้าร่วมปฏิบัติการดังกล่าว
แต่ถ้าในทางตรงกันข้าม ถ้าสมมติว่าท่านต้องเป็นผู้สั่งการหรือควบคุมการปฏิบัติการนั้นๆ ท่านกลับเห็นว่ามีความบกพร่องไม่สมควรอย่างรุนแรง ผมจะเคารพและสรรเสริญความกล้าหาญของท่านที่จะออกมาขอโทษและชี้แจงให้สาธารณชนเข้าใจ
การกระทำที่ผมเห็นว่าชั่วช้านั้นเป็นอย่างไร ผมขอยกเอาคำพูดของอดีตสมาชิกวุฒิสภาท่านหนึ่ง ซึ่งมีความรู้และความคุ้นเคยกับกิจการตำรวจทั้งนอกและในประเทศดี
ท่านอดีตวุฒิสมาชิกโทร.มาถึงผมว่า เห็นการเข้าจับกุมคุณไชยวัฒน์ในทีวีแล้ว เกิดความสลดหดหู่ใจในความล้าหลังของกรมตำรวจ และพฤติกรรมที่ดูราวกับการไล่จับหมูไปเข้าโรงฆ่าสัตว์
ผมเองยินดีที่จะหยุดอธิบายคำว่า “การกระทำอันชั่วช้า” ไว้ก่อน แต่อยากจะขออนุญาตตั้งคำถามต่อท่าน เพราะเกรงว่าจะไม่มีผู้ใดตั้งคำถามเหล่านี้ เพราะความเกรงใจ ความเคยชิน หรือความที่รู้สึกว่าตนเองไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นสภาผู้แทนราษฎรก็ดี วุฒิสภาก็ดี สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนก็ดี ผู้ตรวจราชการแผ่นดินก็ดี สื่อและสถาบันวิชาการที่ต้องทำหน้าที่สอนและวิจัยทางรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ก็ดี
คำถามดังกล่าวเกี่ยวกับทัศนคติและความเข้าใจของท่านต่อจรรยาบรรณและมาตรฐานทางวิชาชีพของตำรวจ โดยใช้ตัวอย่างการเข้าจับกุมนายไชยวัฒน์เป็นกรณีศึกษา ดังนี้
1. เกี่ยวกับตัวผู้ต้องหา เป็นที่ปรากฏชัดว่าตำรวจติดตามประกบตัวผู้ต้องหา ซึ่งมีกิจกรรมทางการเมืองโดยสงบอหิงสาและเปิดเผย ซ้ำเคยเสนอที่จะไปมอบตัวและรอคอยการนัดหมายจากทางการตำรวจเสียด้วย ผมใคร่ทราบว่าผู้บังคับบัญชาที่ออกคำสั่งให้ไปจับกุม ได้ชี้แจงให้ผู้ปฏิบัติการทราบหรือไม่ ผู้ปฏิบัติการทราบหรือไม่ว่าผู้ถูกจับกุมเป็นผู้ใด และมีความจำเป็นอย่างไรจึงจะต้องจับกุมในวัน เวลา และวินาทีนั้นๆ แม้จะขอผ่อนผันรับประทานอาหารก็ไม่ยอม
2. ความรู้เกี่ยวกับหลักรัฐธรรมนูญและสิทธิในระบอบประชาธิปไตย ผู้บังคับบัญชาและผู้ปฏิบัติการมีความสำนึกและความรู้เพียงใดว่าปฏิบัติการดังกล่าวแทนที่จะส่งเสริมให้เกิดความสงบเรียบร้อย และมั่นคงภายในประเทศ กลับจะกลายเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนซึ่งได้รับความคุ้มครองตามหลักรัฐธรรมนูญ ซ้ำยังจะทำให้เกิดเหตุลุกลามบานปลายไป ทำให้ทั้งผู้ฉวยโอกาสและผู้เชื่อโดยสนิทใจ มีความเกลียดชังตำรวจและรัฐบาลเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบกระเทือนถึงความสงบในบ้านเมืองโดยตรง
3. ความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ผมขอให้ท่านรีบสอบถามไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน หรือผมเองอาจส่งหนังสือนี้ไปยังคณะกรรมการ เพื่อสอบถามว่านายไชยวัฒน์มีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองประการใดบ้าง และการเข้าจับกุมนายไชยวัฒน์มีลักษณะอาการทั้งทางกายกรรม วจีกรรมใดๆ บ้างของเจ้าหน้าที่ที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยตรง
4. ความรู้เกี่ยวกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายอาญาและกฎหมายปกครอง ในประเทศที่ศิวิไลซ์แล้ว เขามีกฎหมายคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาถูกจับกุม ผู้ที่เข้าจับกุมจะต้องแสดงหมายและอธิบายให้ผู้ที่ต้องจับกุมทราบเสียก่อนว่าตนมีสิทธิอะไรบ้าง รวมทั้งสิทธิที่จะไม่พูด และการปรึกษาทนาย ถึงแม้ป.วิ.อาญาเราจะยังไม่ครอบคลุมกว้างขวางถึงเพียงนั้น ก็ได้มีกำหนดไว้โดยละเอียดว่าสิ่งใดควร และไม่ควรกระทำในการออกหมาย ส่งหมายและเข้าจับกุมผู้ต้องหา ในกรณีของนายไชยวัฒน์นี้ผู้เข้าจับกุมปฏิเสธมิให้ดูหมายและมิให้ผู้ต้องหากระทำหรือไม่กระทำอะไร ท่านโปรดสอบถามรายละเอียดดูว่ามีการกระทำของเจ้าพนักงานที่ขัดกับป.วิ.อาญาหรือไม่
5. อนึ่ง ในการเข้าจับกุมนายไชยวัฒน์นี้ นอกจากจะลือกันว่าเป็นการเอาใจเพื่อกลบข่าวเขมรและการโจมตีรัฐบาลยังมีข่าวเสริมออกมาทางสื่อ มิทราบว่าเจ้าพนักงานหรือโฆษกตำรวจหรือผู้ใดเป็นผู้แจกจ่ายว่ายังมีผู้ต้องหาหนีการจับกุมอยู่อีกหลายคน รวมทั้งผมด้วย ผมขอปฏิเสธว่าไม่เคยหนีการจับกุม และได้เคยมีหนังสือถึง ผบ.ตร.สำเนาถึงนรม.และท่านประธานกรรมการปฏิรูปตำรวจหลายครั้ง ขอให้มีการออกหมายและนำส่งหมายอย่างถูกต้องป.วิ.อาญามาให้ผม และหรือให้ท่านนัดหมายให้ผมไปพบกับ ผบ.ตร.และพล.ต.ท.สมยศ เมื่อใดก็ได้ การออกข่าวเช่นนั้นเป็นการละเมิดสิทธิของผม ผมเองไม่ต้องการมีอภิสิทธิ์และการเลือกปฏิบัติ แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า ถ้าจะให้ความเป็นธรรมกับนายไชยวัฒน์ ตำรวจจะต้องกระทำอย่างเดียวกันกับผมด้วย
อนึ่ง ผมขอยืนยันว่ามิได้จงเกลียดจงชังตำรวจส่วนใหญ่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งตำรวจชั้นผู้น้อยที่จำเป็นต้องปฏิบัติหน้าที่อุ้มนายไชยวัฒน์ในครั้งนี้ การกระทำความชั่วช้านั้นเป็นความผิดของโครงสร้างมากกว่าตัวบุคคล แต่บุคคลที่เป็นผู้นำจะต้องนำในการแก้ไข มิใช่ปล่อยให้ผู้น้อยกระทำความผิดครั้งแล้วครั้งเล่า แล้วปล่อยให้เสี่ยงคุกเสี่ยงตะรางไปตามยถากรรม
ขอแสดงความนับถือ
นายปราโมทย์ นาครทรรพ
pnakornthab@gmail.com