วันเด็กที่ผ่านมา หลายหน่วยงานได้จัดงานวันเด็ก ซึ่งแต่ละแห่งมีการจัดกิจกรรมให้เด็กได้แสดงออก แสดงความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ เช่น การแสดงบนเวทีอย่างการการประกวดร้องเพลง ประกวดเต้นประกอบจังหวะ ฯลฯ กิจกรรมเหล่านี้ได้สร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินให้กับเด็กๆ ที่สำคัญได้เสริมสร้างความผูกพันระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น
แต่กิจกรรมบางอย่างที่เน้นการประกวดอาจส่งผลเสียให้กับเด็กได้อย่างที่ผู้ใหญ่คาดไม่ถึง
จากการประชุมคณะทำงานพัฒนาวิชาการเพื่อเพื่อสนับสนุนคณะกรรมการประสานนโยบายการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย จัดโดยมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ และกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าการส่งเสริมให้เด็กแข่งขันโดยเน้นหาผู้ชนะเลิศ โดยมุ่งเน้นให้เด็กแสดงออกจากการเลียนแบบนักร้อง นักแสดงเจ้าของเพลง เช่น หากใครเลียนแบบได้เก่งกว่า ดีกว่า ก็จะเป็นผู้ชนะ ได้ส่งผลกระทบต่อการพัฒนากระบวนการฝึกให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็กอย่างน่าเสียดาย
ด้วยเด็กปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ขวบเป็นวัยที่มีพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว เนื่องจากสมองมีการพัฒนาสูงสุด หากได้รับการส่งเสริมดูแลอย่างเหมาะสมก็จะมีพัฒนาการเติบโตที่ดี โดยเฉพาะการส่งเสริมให้เด็กฝึกการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งมีความสำคัญต่อเด็กในอนาคต โดยจะส่งผลต่อเด็กในด้านต่างๆ อาทิ มีความคล่องตัวในการคิด เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ได้รวดเร็วฉับไว สามารถคิดแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว มีความคิดยืดหยุ่น ฉลาด หากเด็กมีความคิดริเริ่ม แปลกใหม่ ไม่ซ้ำใคร ก็จะส่งผลให้เด็กมีโอกาสประสบความสำเร็จในอนาคตได้มากขึ้น แต่หากไม่ได้รับการส่งเสริมที่ถูกต้องก็จะทำให้เด็กเสียโอกาสในการพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของตนเอง
เครื่องมือในการพัฒนากระบวนการฝึกการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้แก่เด็กที่ง่ายและดีที่สุดก็คือ ‘ดนตรี’ ใช้ดนตรีเป็นสื่อเพราะเป็นกิจกรรมที่สนุก เด็กจะชอบ แต่การทำกิจกรรมร้องเพลง เต้นประกอบดนตรีในลักษณะเน้นการประกวดแข่งขันให้เด็กทำเลียนแบบผู้ใหญ่ ดารา นักร้อง หรือโบกมือตามคุณครู จะทำให้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็กเกิดขึ้นน้อยมากหรืออาจไม่เกิดเลย
การใช้ดนตรีเป็นสื่อให้เด็กพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของตนเองทำได้ด้วยการให้เด็กได้เต้นรำ เคลื่อนไหว ไปตามจังหวะดนตรีที่เหมาะสมกับวัย และได้แสดงท่าทางตามจินตนาการของตัวเอง ซึ่งจะช่วยให้เด็กได้ฝึกใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตนเองที่แปลกใหม่ ไม่ซ้ำใครไปในตัว ขณะที่เด็กเองจะมีความสุข ผ่อนคลายในช่วงเวลานั้น ซึ่งจะช่วยให้เด็กไม่เครียด สมองพร้อมที่จะเปิดรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา
ดังนั้นการประกวดแข่งขันแพ้ชนะอาจเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ไม่ควรสนับสนุน เพราะเด็กจะเรียนรู้เรื่องของความสำเร็จและจะติดอยู่ในใจไปตลอดเวลา หากเราเคยเห็นการประกวดร้องเพลงเด็กเล็กที่ร้องเพลงเก่ง การแสดงดี แต่กลับร้องเพลงที่ไม่เหมาะสมกับวัย เช่น ร้องเพลงฉันรักผัวเขา และแสดงออกเหมือนรักสามีคนอื่นจริงๆ แต่งตัวสวย ใส่เสื้อสายเดี่ยว ล้วนเป็นภาพที่ไม่น่าดู
เหล่านี้ไม่ใช่ความผิดของเด็ก แต่ผู้ใหญ่เอง ควรเลือกเพลง หรือกิจกรรมที่เข้ากับวัยเด็กด้วย
ผู้ใหญ่สามารถใช้ดนตรีเป็นสื่อการสอนเพื่อช่วยเปิดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กในด้านต่างๆ ได้ด้วยการจัดกิจกรรมทางดนตรีให้เด็ก โดยเน้นให้เด็กใช้จินตนาการ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของตนเองอย่างเต็มที่ เช่น ให้ร้องเพลง เต้นรำ เล่นดนตรีอย่างเป็นอิสระตามแต่ใจของเด็ก ให้เด็กได้แสดงออกโดยไม่ปิดกั้น โดยแสดงท่าทางต่างๆ ประกอบดนตรี แต่ไม่ใช่การให้เด็กเต้นตาม ออกคำสั่งให้น้อยที่สุด เช่น ให้เด็กทำจับกลุ่มรวมตัวกันเป็นรูปจักรยาน รูปตัวอักษร โดยให้เด็กคิดเอง ค้นพบเอง และกล่าวชมเชยเด็กอย่างจริงใจ เพราะถ้าเด็กได้คิดเอง ลองผิดลองถูกบ้าง ก็จะมีความเชื่อมั่นและภูมิใจมากขึ้น ที่สำคัญไม่ควรแสดงอาการไม่พอใจหรือขบขันหากเด็กคิดท่าทางสร้างสรรค์แปลกๆ แต่ใช้วิธีแนะนำหรือตักเตือนหากเห็นว่าเด็กแสดงท่าทางไม่สุภาพหรือหยาบคายแทน
ส่วนคุณครูในโรงเรียนควรเปลี่ยนหลักสูตรดนตรี ไม่เน้นสอนให้เด็กเก่งแล้วไปประกวด เต้น เล่น ร้อง เพื่อเป็นสะพานเป้าหมายให้เด็กเป็นดารา เพราะกิจกรรมเหล่านี้ล้วนทำลายการพัฒนากระบวนการฝึกการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้แก่เด็ก
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org
แต่กิจกรรมบางอย่างที่เน้นการประกวดอาจส่งผลเสียให้กับเด็กได้อย่างที่ผู้ใหญ่คาดไม่ถึง
จากการประชุมคณะทำงานพัฒนาวิชาการเพื่อเพื่อสนับสนุนคณะกรรมการประสานนโยบายการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย จัดโดยมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ และกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าการส่งเสริมให้เด็กแข่งขันโดยเน้นหาผู้ชนะเลิศ โดยมุ่งเน้นให้เด็กแสดงออกจากการเลียนแบบนักร้อง นักแสดงเจ้าของเพลง เช่น หากใครเลียนแบบได้เก่งกว่า ดีกว่า ก็จะเป็นผู้ชนะ ได้ส่งผลกระทบต่อการพัฒนากระบวนการฝึกให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็กอย่างน่าเสียดาย
ด้วยเด็กปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ขวบเป็นวัยที่มีพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว เนื่องจากสมองมีการพัฒนาสูงสุด หากได้รับการส่งเสริมดูแลอย่างเหมาะสมก็จะมีพัฒนาการเติบโตที่ดี โดยเฉพาะการส่งเสริมให้เด็กฝึกการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งมีความสำคัญต่อเด็กในอนาคต โดยจะส่งผลต่อเด็กในด้านต่างๆ อาทิ มีความคล่องตัวในการคิด เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ได้รวดเร็วฉับไว สามารถคิดแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว มีความคิดยืดหยุ่น ฉลาด หากเด็กมีความคิดริเริ่ม แปลกใหม่ ไม่ซ้ำใคร ก็จะส่งผลให้เด็กมีโอกาสประสบความสำเร็จในอนาคตได้มากขึ้น แต่หากไม่ได้รับการส่งเสริมที่ถูกต้องก็จะทำให้เด็กเสียโอกาสในการพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของตนเอง
เครื่องมือในการพัฒนากระบวนการฝึกการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้แก่เด็กที่ง่ายและดีที่สุดก็คือ ‘ดนตรี’ ใช้ดนตรีเป็นสื่อเพราะเป็นกิจกรรมที่สนุก เด็กจะชอบ แต่การทำกิจกรรมร้องเพลง เต้นประกอบดนตรีในลักษณะเน้นการประกวดแข่งขันให้เด็กทำเลียนแบบผู้ใหญ่ ดารา นักร้อง หรือโบกมือตามคุณครู จะทำให้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็กเกิดขึ้นน้อยมากหรืออาจไม่เกิดเลย
การใช้ดนตรีเป็นสื่อให้เด็กพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของตนเองทำได้ด้วยการให้เด็กได้เต้นรำ เคลื่อนไหว ไปตามจังหวะดนตรีที่เหมาะสมกับวัย และได้แสดงท่าทางตามจินตนาการของตัวเอง ซึ่งจะช่วยให้เด็กได้ฝึกใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตนเองที่แปลกใหม่ ไม่ซ้ำใครไปในตัว ขณะที่เด็กเองจะมีความสุข ผ่อนคลายในช่วงเวลานั้น ซึ่งจะช่วยให้เด็กไม่เครียด สมองพร้อมที่จะเปิดรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา
ดังนั้นการประกวดแข่งขันแพ้ชนะอาจเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ไม่ควรสนับสนุน เพราะเด็กจะเรียนรู้เรื่องของความสำเร็จและจะติดอยู่ในใจไปตลอดเวลา หากเราเคยเห็นการประกวดร้องเพลงเด็กเล็กที่ร้องเพลงเก่ง การแสดงดี แต่กลับร้องเพลงที่ไม่เหมาะสมกับวัย เช่น ร้องเพลงฉันรักผัวเขา และแสดงออกเหมือนรักสามีคนอื่นจริงๆ แต่งตัวสวย ใส่เสื้อสายเดี่ยว ล้วนเป็นภาพที่ไม่น่าดู
เหล่านี้ไม่ใช่ความผิดของเด็ก แต่ผู้ใหญ่เอง ควรเลือกเพลง หรือกิจกรรมที่เข้ากับวัยเด็กด้วย
ผู้ใหญ่สามารถใช้ดนตรีเป็นสื่อการสอนเพื่อช่วยเปิดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กในด้านต่างๆ ได้ด้วยการจัดกิจกรรมทางดนตรีให้เด็ก โดยเน้นให้เด็กใช้จินตนาการ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของตนเองอย่างเต็มที่ เช่น ให้ร้องเพลง เต้นรำ เล่นดนตรีอย่างเป็นอิสระตามแต่ใจของเด็ก ให้เด็กได้แสดงออกโดยไม่ปิดกั้น โดยแสดงท่าทางต่างๆ ประกอบดนตรี แต่ไม่ใช่การให้เด็กเต้นตาม ออกคำสั่งให้น้อยที่สุด เช่น ให้เด็กทำจับกลุ่มรวมตัวกันเป็นรูปจักรยาน รูปตัวอักษร โดยให้เด็กคิดเอง ค้นพบเอง และกล่าวชมเชยเด็กอย่างจริงใจ เพราะถ้าเด็กได้คิดเอง ลองผิดลองถูกบ้าง ก็จะมีความเชื่อมั่นและภูมิใจมากขึ้น ที่สำคัญไม่ควรแสดงอาการไม่พอใจหรือขบขันหากเด็กคิดท่าทางสร้างสรรค์แปลกๆ แต่ใช้วิธีแนะนำหรือตักเตือนหากเห็นว่าเด็กแสดงท่าทางไม่สุภาพหรือหยาบคายแทน
ส่วนคุณครูในโรงเรียนควรเปลี่ยนหลักสูตรดนตรี ไม่เน้นสอนให้เด็กเก่งแล้วไปประกวด เต้น เล่น ร้อง เพื่อเป็นสะพานเป้าหมายให้เด็กเป็นดารา เพราะกิจกรรมเหล่านี้ล้วนทำลายการพัฒนากระบวนการฝึกการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้แก่เด็ก
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org