ASTVผู้จัดการรายวัน - สวนดุสิตโพลชี้ประชาชนส่วนใหญ่กว่า 65% หนุนให้รัฐใช้มาตรการเคอร์ฟิวเด็กต่ำกว่า 18 ห้ามออกจากบ้านเกิน 4 ทุ่ม เชื่อลดอาชญากรรม เพราะช่วยป้องกันเด็กมั่วสุม ลดความเสี่ยง “ชินวรณ์” เมินทั้งไม้เรียว-ห้ามเด็กออกจากบ้าน หวั่นละเมิดสิทธิเด็ก ด้าน “หมอท็อป” เผยปชป.เห็นด้วยแต่ต้องจัดการแบบสมดุล
วานนี้ (16 ม.ค.) สวนดุสิตโพลมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็น กรณีกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) เตรียมนำกฎหมายห้ามเด็กอายุไม่ถึง 18 ปี ออกจากบ้านหลัง เวลา 22.00 น. มาบังคับใช้ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากการกระทำของเด็กวัยรุ่นและเยาวชน จากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,549 คน ระหว่างวันที่ 13-15 มกราคม 2554 พบว่าร้อยละ 65.91 เห็นด้วย เพราะช่วยลดปัญหาอาชญากรรมได้, เพิ่มคุณภาพให้เยาวชนที่ยังต้องอาศัยการดูแลจากผู้ใหญ่, ทำให้ครอบครัวได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันมากขึ้น ขณะที่ร้อยละ 34.09 ไม่เห็นด้วย เพราะเหตุผลยังไม่เพียงพอ เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
นอกจากนี้ ร้อยละ 62.87 เห็นว่ากฎหมายดังกล่าวช่วยแก้ปัญหาอาชญากรรมได้ เพราะเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในระดับหนึ่ง เด็กจะได้ไม่ออกมามั่วสุมกันเนื่องจากข่าวที่เกิดขึ้นมีทั้งตัวเด็กเองที่เป็นผู้ก่อเหตุและโดนลูกหลง, ช่วงเวลาที่เกิดเหตุส่วนใหญ่มักเป็นยามวิกาล ขณะที่ร้อยละ 37.13 เพราะผู้ปกครองอาจดูแลไม่ทั่วถึง หากผู้ปกครองไม่อยู่หรือไปธุระก็ไม่สามารถควบคุมดูแลเด็กได้, การแก้ปัญหาอาชญากรรมต้องแก้ที่ต้นเหตุหรือบริเวณที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดปัญหา
ทั้งนี้ ร้อยละ 68.15 เห็นว่าเป็นการคุ้มครองเด็กตาม พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 เพราะ เป็นเครื่องมือลดความเสี่ยงและช่วยป้องกัน คุ้มครองเยาวชนให้ปลอดภัย, เยาวชนและผู้ปกครองทุกคนจะต้องยึดถือและปฏิบัติตาม ร้อยละ 25.93 ไม่ถือว่าเป็นการคุ้มครองเพราะ เป็นการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นมากกว่า, เป็นการบังคับและละเมิดสิทธิเด็ก
ด้านนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึง
มาตรการห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีออกจากบ้านหลัง 4 ทุ่มเพื่อป้องกันปัญหาอาชญากรรมที่จะเกิดแก่เด็กและเยาวชนนั้น ว่า ตนไม่เห็นด้วยกับการที่เด็กจะออกจากบ้านในยามวิกาลหากไม่มีเหตุจำเป็น แต่ถ้าหากเด็กมีความจำเป็น อาทิ ไปหาหมอ ก็เป็นสิทธิ์ในตัวเด็กอยู่แล้ว แต่หากบังคับทุกคนเกรงจะเป็นการละเมิดสิทธิเด็ก ดังนั้น น่าจะดูเป็นรายกรณี หากนักเรียนคนใดมีพฤติกรรมส่อก่อเหตุทะเลาะวิวาท หนีเรียน ไปตามแหล่งมั่วสุม ชู้สาว และยาเสพติด ทางตำรวจก็สามารถเชิญตัวมาโรงพักได้และเชิญผู้ปกครองมาชี้แจงได้
นายชินวรณ์ กล่าวถึงกรณีที่สวนดุสิตโพลสำรวจความคิดเห็นกรณีการใช้ไม้เรียวตีเด็กด้วยว่า ทุกฝ่ายตระหนักในความประพฤติของนักเรียน นักศึกษาไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทะเลาะ วิวาท การหนีเรียนจนทำให้การเรียนตกต่ำ หรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด ตลอดจนการท้องก่อนวัยอันสมควร
"โดยส่วนตัวผมเห็นว่ากรณีการลงโทษนักเรียนนั้น ยังมีมาตรการอย่างอื่นที่จะลงโทษนักเรียนได้ ส่วนการใช้ไม้เรียวนั้น ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปแก้ไขระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548 แต่สิ่งที่อยากเรียกร้องคือ ให้ครูและผู้ปกครองได้ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ และให้ความใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น และถ้านักเรียนเกิดมีปัญหาก็ให้เชิญผู้ปกครองมารับทราบปัญหาดังกล่าว อย่างไรก็ตามเป็นหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา ที่จะต้องหามาตรการร่วมกันว่าจะแก้ไขปัญหาด้วยวิธีใด แต่เห็นว่าควรมีมาตรการลงโทษที่ไม่เกินเลยต่อระเบียบที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้"รมว.ศธ. กล่าว
นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงมาตรการเคอร์ฟิวเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ห้ามออกนอกเคหะสถานหลังเวลา 22.00น.ของบช.น.ว่า พรรคเห็นว่าแนวทางดังกล่าวควรสร้างความสมดุล 2 ลักษณะ คือ 1. ต้องเป็นมาตรการในการสนับสนุนให้ครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการปกป้องประเทศ ไม่ใช่การเอาผิด เช่น ไม่บรรลุนิติภาวะ ทางเจ้าหน้าที่ต้องช่วยเหลือด้วยการนำเด็กไปส่งที่บ้าน และให้ชุมชนมีส่วนร่วมส่งเสริมสถาบันครอบครัว 2 .มาตรการเข้มงวดต่อจุดเสี่ยงและเกิดอาชญากรรม เช่น ร้านเกม โต๊ะสนุกเกอร์ เหล้าปั่น และจุดที่มีการมั่วสุมอบายมุข ก็ควรดำเนินการกับบุคคลที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการกระทำความผิด ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าว ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของสถาบันชุมชน ครอบครัว รวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อให้มาตรการคุ้มครองสิทธิ์ให้กับเยาวชน ไม่ให้เข้าไปอยู่ในวังวนการกระทำผิด.
วานนี้ (16 ม.ค.) สวนดุสิตโพลมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็น กรณีกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) เตรียมนำกฎหมายห้ามเด็กอายุไม่ถึง 18 ปี ออกจากบ้านหลัง เวลา 22.00 น. มาบังคับใช้ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากการกระทำของเด็กวัยรุ่นและเยาวชน จากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,549 คน ระหว่างวันที่ 13-15 มกราคม 2554 พบว่าร้อยละ 65.91 เห็นด้วย เพราะช่วยลดปัญหาอาชญากรรมได้, เพิ่มคุณภาพให้เยาวชนที่ยังต้องอาศัยการดูแลจากผู้ใหญ่, ทำให้ครอบครัวได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันมากขึ้น ขณะที่ร้อยละ 34.09 ไม่เห็นด้วย เพราะเหตุผลยังไม่เพียงพอ เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
นอกจากนี้ ร้อยละ 62.87 เห็นว่ากฎหมายดังกล่าวช่วยแก้ปัญหาอาชญากรรมได้ เพราะเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในระดับหนึ่ง เด็กจะได้ไม่ออกมามั่วสุมกันเนื่องจากข่าวที่เกิดขึ้นมีทั้งตัวเด็กเองที่เป็นผู้ก่อเหตุและโดนลูกหลง, ช่วงเวลาที่เกิดเหตุส่วนใหญ่มักเป็นยามวิกาล ขณะที่ร้อยละ 37.13 เพราะผู้ปกครองอาจดูแลไม่ทั่วถึง หากผู้ปกครองไม่อยู่หรือไปธุระก็ไม่สามารถควบคุมดูแลเด็กได้, การแก้ปัญหาอาชญากรรมต้องแก้ที่ต้นเหตุหรือบริเวณที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดปัญหา
ทั้งนี้ ร้อยละ 68.15 เห็นว่าเป็นการคุ้มครองเด็กตาม พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 เพราะ เป็นเครื่องมือลดความเสี่ยงและช่วยป้องกัน คุ้มครองเยาวชนให้ปลอดภัย, เยาวชนและผู้ปกครองทุกคนจะต้องยึดถือและปฏิบัติตาม ร้อยละ 25.93 ไม่ถือว่าเป็นการคุ้มครองเพราะ เป็นการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นมากกว่า, เป็นการบังคับและละเมิดสิทธิเด็ก
ด้านนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึง
มาตรการห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีออกจากบ้านหลัง 4 ทุ่มเพื่อป้องกันปัญหาอาชญากรรมที่จะเกิดแก่เด็กและเยาวชนนั้น ว่า ตนไม่เห็นด้วยกับการที่เด็กจะออกจากบ้านในยามวิกาลหากไม่มีเหตุจำเป็น แต่ถ้าหากเด็กมีความจำเป็น อาทิ ไปหาหมอ ก็เป็นสิทธิ์ในตัวเด็กอยู่แล้ว แต่หากบังคับทุกคนเกรงจะเป็นการละเมิดสิทธิเด็ก ดังนั้น น่าจะดูเป็นรายกรณี หากนักเรียนคนใดมีพฤติกรรมส่อก่อเหตุทะเลาะวิวาท หนีเรียน ไปตามแหล่งมั่วสุม ชู้สาว และยาเสพติด ทางตำรวจก็สามารถเชิญตัวมาโรงพักได้และเชิญผู้ปกครองมาชี้แจงได้
นายชินวรณ์ กล่าวถึงกรณีที่สวนดุสิตโพลสำรวจความคิดเห็นกรณีการใช้ไม้เรียวตีเด็กด้วยว่า ทุกฝ่ายตระหนักในความประพฤติของนักเรียน นักศึกษาไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทะเลาะ วิวาท การหนีเรียนจนทำให้การเรียนตกต่ำ หรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด ตลอดจนการท้องก่อนวัยอันสมควร
"โดยส่วนตัวผมเห็นว่ากรณีการลงโทษนักเรียนนั้น ยังมีมาตรการอย่างอื่นที่จะลงโทษนักเรียนได้ ส่วนการใช้ไม้เรียวนั้น ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปแก้ไขระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548 แต่สิ่งที่อยากเรียกร้องคือ ให้ครูและผู้ปกครองได้ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ และให้ความใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น และถ้านักเรียนเกิดมีปัญหาก็ให้เชิญผู้ปกครองมารับทราบปัญหาดังกล่าว อย่างไรก็ตามเป็นหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา ที่จะต้องหามาตรการร่วมกันว่าจะแก้ไขปัญหาด้วยวิธีใด แต่เห็นว่าควรมีมาตรการลงโทษที่ไม่เกินเลยต่อระเบียบที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้"รมว.ศธ. กล่าว
นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงมาตรการเคอร์ฟิวเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ห้ามออกนอกเคหะสถานหลังเวลา 22.00น.ของบช.น.ว่า พรรคเห็นว่าแนวทางดังกล่าวควรสร้างความสมดุล 2 ลักษณะ คือ 1. ต้องเป็นมาตรการในการสนับสนุนให้ครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการปกป้องประเทศ ไม่ใช่การเอาผิด เช่น ไม่บรรลุนิติภาวะ ทางเจ้าหน้าที่ต้องช่วยเหลือด้วยการนำเด็กไปส่งที่บ้าน และให้ชุมชนมีส่วนร่วมส่งเสริมสถาบันครอบครัว 2 .มาตรการเข้มงวดต่อจุดเสี่ยงและเกิดอาชญากรรม เช่น ร้านเกม โต๊ะสนุกเกอร์ เหล้าปั่น และจุดที่มีการมั่วสุมอบายมุข ก็ควรดำเนินการกับบุคคลที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการกระทำความผิด ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าว ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของสถาบันชุมชน ครอบครัว รวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อให้มาตรการคุ้มครองสิทธิ์ให้กับเยาวชน ไม่ให้เข้าไปอยู่ในวังวนการกระทำผิด.