สวนดุสิตโพล เผยผลสำรวจกรณีเตรียมนำกฎหมายห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ออกจากบ้านหลัง 4 ทุ่ม พบว่า ร้อยละ 65.91 เห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 62.87 บอกว่ากฎหมายนี้ช่วยแก้ปัญหาอาชญากรรมและเป็นการป้องกันสิ่งที่จะเกิดได้ และร้อยละ 68.15 เห็นว่า เป็นการคุ้มครองเด็กตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
วันนี้ (16 ม.ค.) “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นกรณีกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) เตรียมนำกฎหมายห้ามเด็กอายุไม่ถึง 18 ปี ออกจากบ้านหลัง เวลา 22.00 น.มาบังคับใช้ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากการกระทำของเด็กวัยรุ่นและเยาวชน จากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,549 คน ระหว่างวันที่ 13-15 มกราคม 2554 พบว่าร้อยละ 65.91 เห็นด้วย เพราะช่วยลดปัญหาอาชญากรรมได้, เพิ่มคุณภาพให้เยาวชนที่ยังต้องอาศัยการดูแลจากผู้ใหญ่, ทำให้ครอบครัวได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันมากขึ้น ขณะที่ร้อยละ 34.09 ไม่เห็นด้วย เพราะเหตุผลยังไม่เพียงพอ เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
ทั้งนี้ ร้อยละ 62.87 เห็นว่า กฎหมายดังกล่าวช่วยแก้ปัญหาอาชญากรรมได้ เพราะเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในระดับหนึ่ง เด็กจะได้ไม่ออกมามั่วสุมกัน เนื่องจากข่าวที่เกิดขึ้นมีทั้งตัวเด็กเองที่เป็นผู้ก่อเหตุและโดนลูกหลง, ช่วงเวลาที่เกิดเหตุส่วนใหญ่มักเป็นยามวิกาล ขณะที่ร้อยละ 37.13 เพราะผู้ปกครองอาจดูแลไม่ทั่วถึง หากผู้ปกครองไม่อยู่หรือไปธุระก็ไม่สามารถควบคุมดูแลเด็กได้, การแก้ปัญหาอาชญากรรมต้องแก้ที่ต้นเหตุหรือบริเวณที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดปัญหา นอกจากนี้ ร้อยละ 68.15 เห็นว่า เป็นการคุ้มครองเด็กตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 เพราะเป็นเครื่องมือลดความเสี่ยงและช่วยป้องกัน คุ้มครองเยาวชนให้ปลอดภัย, เยาวชนและผู้ปกครองทุกคนจะต้องยึดถือและปฏิบัติตาม ร้อยละ 25.93 ไม่ถือว่าเป็นการคุ้มครอง เพราะเป็นการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นมากกว่า, เป็นการบังคับและละเมิดสิทธิเด็ก
วันนี้ (16 ม.ค.) “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นกรณีกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) เตรียมนำกฎหมายห้ามเด็กอายุไม่ถึง 18 ปี ออกจากบ้านหลัง เวลา 22.00 น.มาบังคับใช้ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากการกระทำของเด็กวัยรุ่นและเยาวชน จากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,549 คน ระหว่างวันที่ 13-15 มกราคม 2554 พบว่าร้อยละ 65.91 เห็นด้วย เพราะช่วยลดปัญหาอาชญากรรมได้, เพิ่มคุณภาพให้เยาวชนที่ยังต้องอาศัยการดูแลจากผู้ใหญ่, ทำให้ครอบครัวได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันมากขึ้น ขณะที่ร้อยละ 34.09 ไม่เห็นด้วย เพราะเหตุผลยังไม่เพียงพอ เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
ทั้งนี้ ร้อยละ 62.87 เห็นว่า กฎหมายดังกล่าวช่วยแก้ปัญหาอาชญากรรมได้ เพราะเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในระดับหนึ่ง เด็กจะได้ไม่ออกมามั่วสุมกัน เนื่องจากข่าวที่เกิดขึ้นมีทั้งตัวเด็กเองที่เป็นผู้ก่อเหตุและโดนลูกหลง, ช่วงเวลาที่เกิดเหตุส่วนใหญ่มักเป็นยามวิกาล ขณะที่ร้อยละ 37.13 เพราะผู้ปกครองอาจดูแลไม่ทั่วถึง หากผู้ปกครองไม่อยู่หรือไปธุระก็ไม่สามารถควบคุมดูแลเด็กได้, การแก้ปัญหาอาชญากรรมต้องแก้ที่ต้นเหตุหรือบริเวณที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดปัญหา นอกจากนี้ ร้อยละ 68.15 เห็นว่า เป็นการคุ้มครองเด็กตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 เพราะเป็นเครื่องมือลดความเสี่ยงและช่วยป้องกัน คุ้มครองเยาวชนให้ปลอดภัย, เยาวชนและผู้ปกครองทุกคนจะต้องยึดถือและปฏิบัติตาม ร้อยละ 25.93 ไม่ถือว่าเป็นการคุ้มครอง เพราะเป็นการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นมากกว่า, เป็นการบังคับและละเมิดสิทธิเด็ก