ศาสตราจารย์นายแพทย์ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี เป็นกัลยาณมิตรที่ทำให้ผมภูมิใจในคำว่าเพื่อน
ผมรู้จักอาจารย์หมอประดิษฐ์ ผ่านกัลยาณมิตรอีก 2 ท่าน คือ อาจารย์หมอประสาน ต่างใจ กับอาจารย์หมอประเวศ วะสี
ตั้งแต่รู้จักกันมาหลายสิบปี อาจารย์หมอประดิษฐ์ก็เป็น “วงจรมงคล” ในชีวิตผมมาโดยตลอด วงจรมงคลแปลว่ามิตรที่ชวนกันและช่วยกันทำความดีเพื่อส่วนรวมและสังคม
ถึงแม้อาจารย์หมอประดิษฐ์จะมีนามสกุลยาวกว่าอาจารย์หมอประสานกับอาจารย์หมอประเวศรวมกัน แต่เมื่อผมขอร้องให้ทำอะไร อาจารย์หมอประดิษฐ์ไม่เคยซักถามให้ยืดยาวมากความเลย ทำอะไรได้ก็ทำให้เลยทันที อะไรทำให้ไม่ได้ก็บอกเลยเดี๋ยวนั้นเหมือนกัน แต่อันหลังนี้ ผมกลับนึกไม่ออกว่ามีอะไรบ้าง
ผมจึงคอยบอกเพื่อนๆ ว่า พึ่งอาจารย์หมอประดิษฐ์ได้ง่ายพอๆ กับเพื่อนฝรั่งที่มีpropensity toward action สูง และเต็มใจสนองราวกับว่าเป็นหนี้เรามาแต่ชาติก่อนก็ไม่ปาน
ผมอยากเล่าเรื่องเด่นๆ และยากๆ ที่อาจารย์หมอประดิษฐ์ทำคุณูปการให้กับผม ผ่านไปยังสังคมส่วนรวม โดยไม่คำนึงว่าจะมีชื่อเสียงหรือได้รับผลตอบแทนอะไร ส่วนใหญ่ไม่มีใครล่วงรู้ด้วยซ้ำ
เรื่องที่ 1 หานักวิทยาศาสตร์ระดับโลกให้เมืองไทย ครั้งหนึ่งระหว่างปี ค.ศ. 1980-87 ผมมีนิวาสถานอยู่ที่เมือง Cold Spring Harbor. Long Island, New York ละแวกล้านมี Lab วิทยาศาสตร์ระดับ Nobel Prize อยู่ถึง 3 แห่ง คือ Cold Spring Harbor, Brook Haven และStony Brook มีนักวิทยาศาสตร์ชาวจีนที่อเมริกันตะครุบตัวไว้คราวที่เขาติดตามมาดูแลลูกเติ้ง เสี่ยว ผิง เรียนหนังสือ ต่อมาได้ภริยาไทย และอยากกลับมาอยู่เมืองไทย ฟังความได้ว่าเกิดเมืองไทย เรียนอยู่ ร.ร.อินทรศึกษาจนถึง ม. 4 จึงหนีไปเมืองจีนด้วยอุดมการณ์ พอเติบโตเป็นนักวิทยาศาสตร์ จึงพบว่าจีนกีดกันลูกจีนที่เกิดต่างประเทศ เก่งแค่ไหนก็เป็นได้แค่สมาชิกสำรองใน Academy of Sciences ผมส่งเรื่องให้อาจารย์หมอประดิษฐ์ปรากฏว่าเรียบร้อยทุกอย่าง คือการสืบและคืนสัญชาติไทย ชื่อพระราชทาน และงบประมาณทำวิจัย ดร.ฟู อยู่เมืองไทยได้พักใหญ่ก็กลับไปสหรัฐฯ บอกผมว่ารักและอาลัยนักเรียน แต่ทนเพื่อนร่วมงานที่เอาแต่แก่งแย่งทำลายกันไม่ไหว
เรื่องที่ 2 ช่วยเวียดนามให้พัฒนาศักยภาพในการทำวิจัยร่วมกับต่างประเทศ ผมได้รับงบประมาณและคำขอร้องจากกรมวิเทศสหการให้ไปสร้างความสัมพันธ์กับนักวิชาการและสถาบันวิจัยและการศึกษาเวียดนามสมัยเปิดประเทศไม่นาน ผมกวนให้อาจารย์หมอประดิษฐ์นำทีมไปแทน ลูกทีมมี ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อ.ธีรยุทธ บุญมี และลูกศิษย์ผมจบปริญญาเอกจากฝรั่งเศส นามสกุลเพชรมีศรี ขณะนี้เป็นอาจารย์มีชื่อเสียงอยู่ที่มหิดลเพราะกลับมาแล้วตามไปทำงานกับอาจารย์ ปรากฏว่า mission ของอาจารย์ประสบความสำเร็จจนเวียดนามเก่งกว่าไทย คือแห่งหนึ่งสามารถร่วมวิจัยและส่งนักเรียนไปสถาบัน Yenching ของ Harvard ติดต่อกันได้ทุกปี
เรื่องที่ 3 ช่วยผมตั้ง First Global Community College ผมอยากนำนวัตกรรมอุดมศึกษาที่เด่นที่สุดของอเมริกันคือ community college มาประยุกต์ในเมืองไทย โดยระวังไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมนุษย์อัจฉริยะรู้ทุกเรื่องหมดถนัดสร้างตึกและอัตรากำลัง ผมจึงปรึกษาอาจารย์หมอประดิษฐ์ซึ่งตอนนั้นเป็นอธิการบดีว่าเอายังไงดี อาจารย์เห็นด้วยกับผมว่าอย่าอยู่ในระบบราชการและอย่าเป็นสถาบันเอกชนแสวงหากำไร จึงแนะนำผมว่า เอายังงี้ซิ ทดลองดำเนินงานไปก่อนในฐานะเป็นวิทยบริการของมหิดล โดยอาจารย์หมอประดิษฐ์ได้ส่งรองอธิการบดี 2 ท่านไปช่วย ฯลฯ
ผมยังนึกไม่ออกว่าผมเคยช่วยอาจารย์หมอประดิษฐ์ทำอะไรบ้าง นอกจากช่วยขัดคอ เช่น ครั้งหนึ่ง ตอนอาจารย์หมอประดิษฐ์เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ต้องการจะตั้งคณะคุรุศาสตร์ ผมบอกว่าตั้งไปทำไม เปลืองตึกเปลืองงบประมาณ รกอาจารย์และรกนักเรียน ผลตอบแทนคืนให้สังคมไม่คุ้ม คนอื่นเขาก็ทำอยู่จนมั่วแล้ว ผมแนะให้อาจารย์ร่วมมือกับ Institute of Education มหาวิทยาลัย London ทำการศึกษาทางเทคโนโลยีและการแพทย์ซึ่งเป็นจุดแข็งของมหิดล อาจารย์หมอประดิษฐ์ก็เชื่อ และเดี๋ยวนี้มหิดลกับ IE ก็น่าจะร่วมมือกันอยู่เป็นอย่างดี
สำหรับเรื่องอื่นๆ เช่น เรื่องสิทธิมนุษยชน การศึกษาเรื่องสันติวิธี และความขัดแย้ง การร่างรัฐธรรมนูญในฐานะ ส.ส.ร. อาจารย์หมอประดิษฐ์มีฉันทะและสถานภาพเหมาะสมที่จะผลักดันอยู่แล้ว อะไรที่มาขอให้ผมช่วย อย่างมากผมก็ช่วยเป็นสักขีพยานและให้กำลังใจ อาจารย์หมอประดิษฐ์ล้วนแต่สามารถทำได้เองและสำเร็จด้วยดีทั้งสิ้น
ผมใจหายที่อาจารย์หมอประดิษฐ์รีบจากไป เสียดายที่ไม่มีโอกาสไปเยี่ยมหรือแม้กระทั่งไปรดน้ำ
แต่ผมเชื่อว่าอาจารย์หมอประดิษฐ์คงเข้าใจและให้อภัย ที่แน่ๆ ถึงแม้ว่าอาจารย์หมอประดิษฐ์จะจากไป แต่วงจรมงคลที่เราทั้งสองร่วมกันสร้างก็ยังอยู่
และอาจารย์หมอประดิษฐ์ก็จะยังอยู่ในความทรงจำของผม และในวงจรมงคลซึ่งไม่มีวันตายของพวกเราตลอดไป
ผมรู้จักอาจารย์หมอประดิษฐ์ ผ่านกัลยาณมิตรอีก 2 ท่าน คือ อาจารย์หมอประสาน ต่างใจ กับอาจารย์หมอประเวศ วะสี
ตั้งแต่รู้จักกันมาหลายสิบปี อาจารย์หมอประดิษฐ์ก็เป็น “วงจรมงคล” ในชีวิตผมมาโดยตลอด วงจรมงคลแปลว่ามิตรที่ชวนกันและช่วยกันทำความดีเพื่อส่วนรวมและสังคม
ถึงแม้อาจารย์หมอประดิษฐ์จะมีนามสกุลยาวกว่าอาจารย์หมอประสานกับอาจารย์หมอประเวศรวมกัน แต่เมื่อผมขอร้องให้ทำอะไร อาจารย์หมอประดิษฐ์ไม่เคยซักถามให้ยืดยาวมากความเลย ทำอะไรได้ก็ทำให้เลยทันที อะไรทำให้ไม่ได้ก็บอกเลยเดี๋ยวนั้นเหมือนกัน แต่อันหลังนี้ ผมกลับนึกไม่ออกว่ามีอะไรบ้าง
ผมจึงคอยบอกเพื่อนๆ ว่า พึ่งอาจารย์หมอประดิษฐ์ได้ง่ายพอๆ กับเพื่อนฝรั่งที่มีpropensity toward action สูง และเต็มใจสนองราวกับว่าเป็นหนี้เรามาแต่ชาติก่อนก็ไม่ปาน
ผมอยากเล่าเรื่องเด่นๆ และยากๆ ที่อาจารย์หมอประดิษฐ์ทำคุณูปการให้กับผม ผ่านไปยังสังคมส่วนรวม โดยไม่คำนึงว่าจะมีชื่อเสียงหรือได้รับผลตอบแทนอะไร ส่วนใหญ่ไม่มีใครล่วงรู้ด้วยซ้ำ
เรื่องที่ 1 หานักวิทยาศาสตร์ระดับโลกให้เมืองไทย ครั้งหนึ่งระหว่างปี ค.ศ. 1980-87 ผมมีนิวาสถานอยู่ที่เมือง Cold Spring Harbor. Long Island, New York ละแวกล้านมี Lab วิทยาศาสตร์ระดับ Nobel Prize อยู่ถึง 3 แห่ง คือ Cold Spring Harbor, Brook Haven และStony Brook มีนักวิทยาศาสตร์ชาวจีนที่อเมริกันตะครุบตัวไว้คราวที่เขาติดตามมาดูแลลูกเติ้ง เสี่ยว ผิง เรียนหนังสือ ต่อมาได้ภริยาไทย และอยากกลับมาอยู่เมืองไทย ฟังความได้ว่าเกิดเมืองไทย เรียนอยู่ ร.ร.อินทรศึกษาจนถึง ม. 4 จึงหนีไปเมืองจีนด้วยอุดมการณ์ พอเติบโตเป็นนักวิทยาศาสตร์ จึงพบว่าจีนกีดกันลูกจีนที่เกิดต่างประเทศ เก่งแค่ไหนก็เป็นได้แค่สมาชิกสำรองใน Academy of Sciences ผมส่งเรื่องให้อาจารย์หมอประดิษฐ์ปรากฏว่าเรียบร้อยทุกอย่าง คือการสืบและคืนสัญชาติไทย ชื่อพระราชทาน และงบประมาณทำวิจัย ดร.ฟู อยู่เมืองไทยได้พักใหญ่ก็กลับไปสหรัฐฯ บอกผมว่ารักและอาลัยนักเรียน แต่ทนเพื่อนร่วมงานที่เอาแต่แก่งแย่งทำลายกันไม่ไหว
เรื่องที่ 2 ช่วยเวียดนามให้พัฒนาศักยภาพในการทำวิจัยร่วมกับต่างประเทศ ผมได้รับงบประมาณและคำขอร้องจากกรมวิเทศสหการให้ไปสร้างความสัมพันธ์กับนักวิชาการและสถาบันวิจัยและการศึกษาเวียดนามสมัยเปิดประเทศไม่นาน ผมกวนให้อาจารย์หมอประดิษฐ์นำทีมไปแทน ลูกทีมมี ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อ.ธีรยุทธ บุญมี และลูกศิษย์ผมจบปริญญาเอกจากฝรั่งเศส นามสกุลเพชรมีศรี ขณะนี้เป็นอาจารย์มีชื่อเสียงอยู่ที่มหิดลเพราะกลับมาแล้วตามไปทำงานกับอาจารย์ ปรากฏว่า mission ของอาจารย์ประสบความสำเร็จจนเวียดนามเก่งกว่าไทย คือแห่งหนึ่งสามารถร่วมวิจัยและส่งนักเรียนไปสถาบัน Yenching ของ Harvard ติดต่อกันได้ทุกปี
เรื่องที่ 3 ช่วยผมตั้ง First Global Community College ผมอยากนำนวัตกรรมอุดมศึกษาที่เด่นที่สุดของอเมริกันคือ community college มาประยุกต์ในเมืองไทย โดยระวังไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมนุษย์อัจฉริยะรู้ทุกเรื่องหมดถนัดสร้างตึกและอัตรากำลัง ผมจึงปรึกษาอาจารย์หมอประดิษฐ์ซึ่งตอนนั้นเป็นอธิการบดีว่าเอายังไงดี อาจารย์เห็นด้วยกับผมว่าอย่าอยู่ในระบบราชการและอย่าเป็นสถาบันเอกชนแสวงหากำไร จึงแนะนำผมว่า เอายังงี้ซิ ทดลองดำเนินงานไปก่อนในฐานะเป็นวิทยบริการของมหิดล โดยอาจารย์หมอประดิษฐ์ได้ส่งรองอธิการบดี 2 ท่านไปช่วย ฯลฯ
ผมยังนึกไม่ออกว่าผมเคยช่วยอาจารย์หมอประดิษฐ์ทำอะไรบ้าง นอกจากช่วยขัดคอ เช่น ครั้งหนึ่ง ตอนอาจารย์หมอประดิษฐ์เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ต้องการจะตั้งคณะคุรุศาสตร์ ผมบอกว่าตั้งไปทำไม เปลืองตึกเปลืองงบประมาณ รกอาจารย์และรกนักเรียน ผลตอบแทนคืนให้สังคมไม่คุ้ม คนอื่นเขาก็ทำอยู่จนมั่วแล้ว ผมแนะให้อาจารย์ร่วมมือกับ Institute of Education มหาวิทยาลัย London ทำการศึกษาทางเทคโนโลยีและการแพทย์ซึ่งเป็นจุดแข็งของมหิดล อาจารย์หมอประดิษฐ์ก็เชื่อ และเดี๋ยวนี้มหิดลกับ IE ก็น่าจะร่วมมือกันอยู่เป็นอย่างดี
สำหรับเรื่องอื่นๆ เช่น เรื่องสิทธิมนุษยชน การศึกษาเรื่องสันติวิธี และความขัดแย้ง การร่างรัฐธรรมนูญในฐานะ ส.ส.ร. อาจารย์หมอประดิษฐ์มีฉันทะและสถานภาพเหมาะสมที่จะผลักดันอยู่แล้ว อะไรที่มาขอให้ผมช่วย อย่างมากผมก็ช่วยเป็นสักขีพยานและให้กำลังใจ อาจารย์หมอประดิษฐ์ล้วนแต่สามารถทำได้เองและสำเร็จด้วยดีทั้งสิ้น
ผมใจหายที่อาจารย์หมอประดิษฐ์รีบจากไป เสียดายที่ไม่มีโอกาสไปเยี่ยมหรือแม้กระทั่งไปรดน้ำ
แต่ผมเชื่อว่าอาจารย์หมอประดิษฐ์คงเข้าใจและให้อภัย ที่แน่ๆ ถึงแม้ว่าอาจารย์หมอประดิษฐ์จะจากไป แต่วงจรมงคลที่เราทั้งสองร่วมกันสร้างก็ยังอยู่
และอาจารย์หมอประดิษฐ์ก็จะยังอยู่ในความทรงจำของผม และในวงจรมงคลซึ่งไม่มีวันตายของพวกเราตลอดไป