ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ - สัปดาห์ที่ผ่านมามีมติคณะรัฐมนตรีเรื่องหนึ่ง ที่เกี่ยวกับคณะรัฐมนตรี 36 คนโดยตรง เพราะมีการปรับเปลี่ยนระบบสำหรับการประชุมคณะรัฐมนตรี จากระบบเอกสาร ระบบมือ หรือ ที่เรียกว่า manul มาเป็น แบบอิเล็กทรอนิกส์”
ระบบที่ว่า มีชื่อย่อ ภาษาอังกฤษว่า “CABNET” หรือ CABINET NETWORK เป็นระบบที่ใช้ในการส่งข้อมูลสารสนเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ประชุมครม.ไฟเขียวให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีนำมาใช้ หลังจากที่ทดลองใช้ตลอดปี 2553
เป็นการเปลี่ยนแปลงกระบวนการจัดการเอกสารการประชุมคณะรัฐมนตรีในขั้นตอนต่าง ๆ จากเดิมที่ใช้เอกสาร มาเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยระบบ online
ที่ ครม.เห็นชอบเรื่องนี้ ก็เพราะคณะรัฐมนตรี ของ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” จะเป็นคณะแรกที่ใช้ระบบนี้ในการประชุมคณะรัฐมนตรี เป็นการการนำระบบ CABNET มาใช้กับหน่วยงานทั้งหมดตามโครงการ จะอย่างเต็มรูปแบบ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2554 นี้
หากย้อนไปจากจุดเริ่มต้นของโครงการ “CABNET” เกิดขึ้นในปี 2549 มี “ รองพล เจริญพันธุ์” เลขาธิการครม. สมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ร่วมผลักดัน โดยการว่า จ้างที่ปรึกษาโครงการจาก “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ระบบสารสนเทศการประชุมคณะรัฐมนตรีแบบอิเล็กทรอนิกส์
ใช้งบประมาณรวมกว่า “76,414,400 ล้านบาท”
มีการดำเนินการพัฒนาระบบ CABNET ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2552 - พฤศจิกายน 2553 ด้วยงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2549 สำหรับเป็นค่าจ้างที่ปรึกษาและค่าใช้จ่ายของโครงการ
โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินการเชื่อมต่อเครือข่ายและพัฒนาระบบจนมีความพร้อมใช้งาน และมีการทดสอบการใช้งานกับหน่วยงานนำร่อง 12 หน่วยงาน ในช่วงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2553 มีการทดลองปฏิบัติงานกับหน่วยงานนำร่องในช่วงเดือนมีนาคม-กันยายน 2553 รวมทั้งชี้แจงการใช้ระบบกับหน่วยงานทั้งหมดในช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2553
ถามว่าทำไมถึงต้องมีระบบ “CABNET” สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ชี้แจงว่า ได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานในการสนับสนุนการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีอย่างต่อเนื่อง
หากย้อนหลังไปดูระบบเก็บข้อมูลเพื่อนำเสนอ ครม. ในปี 2532 สมัยรัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา เริ่มเปลี่ยนแปลงระบบเอกสาร (แผ่นกระดาษ) ด้วยการใช้ระบบจัดเก็บและสืบค้นข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี และต่อเนื่องมาด้วยระบบสารบรรณอัตโนมัติ เพื่อใช้ในการติดตามสถานภาพเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี
ใช้ระบบนี้มายาวนานกว่า 13 ปี จนสมัย “พ.ต.ท.ทักษิณ” ปี 2544ได้มีการนำระบบจัดทำวาระการประชุมคณะรัฐมนตรีในรูปแบบ CD เพื่อลดเอกสารและเพิ่มระบบการประชุมคณะรัฐมนตรีทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference) เข้ามาใช้
และสมัยนั้นได้มีการศึกษาระบบ CABNET ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศสนับสนุนภารกิจของคณะรัฐมนตรีในกระบวนการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรีทั้งระบบ ตั้งแต่การวางแผนการเสนอเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี การจัดทำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี การแจ้งระเบียบวาระการประชุมและส่งเอกสารการประชุมคณะรัฐมนตรี การแจ้งมติคณะรัฐมนตรี รวมทั้งการสืบค้นข้อมูลคณะรัฐมนตรี โดยหน่วยงานที่ใช้ระบบมีจำนวน 37 หน่วยงาน
ถามว่า ระบบ “CABNET” มีประโยชน์แค่ทำให้ ครม.ได้รับข้อมูลที่รวดเร็วเท่านั้นหรือไม่ ถ้าว่ากันอย่างนั้นก็ได้ เพราะวาระครม.ที่ส่วนใหญ่จัดทำเป็นรูปแบบของเอกสาร อย่างวาระเพื่อพิจารณาปกติจะเป็นเอกสารที่หนาเทอะทะ จะแบกมาร่วมประชุมก็จะสร้างความรำคาญกว่าจะเปิดแต่ละหน้ารัฐมนตรี ก็อาจจะหาจนตาลาย ระบบ“CABNET” เข้ามาช่วย โดยหน่วยงานในกระทรวงต่าง ๆ ที่ใช้ระบบล่าสุดมีจำนวน 37 หน่วยงาน และจะเพิ่มขึ้นในอนาคต เป็นประโยชน์ที่จะสามารถดึงข้อมูลต่อข้อมูลจาก 37 หน่วยงานได้โดยตรง ซึ่งผู้ใช้จะต้องมีพาสเวิร์ดของตัวเองในการสู่ข้อมูลนี้
จากปัญหาในอดีต เรื่องที่ส่วนราชการเสนอที่ไม่เป็นไปตามแนวทางที่พระราชกฤษฎีกาและระเบียบกำหนด เรื่องที่ส่วนราชการเสนอไม่ชัดเจน เรื่องที่ส่วนราชการเสนอมีหลายรูปแบบ การประสานขอความเห็นในเรื่องด่วนมีเวลาจำกัด การส่งวาระการประชุมล่าช้า การแจ้งมติคณะรัฐมนตรีให้หน่วยงานล่าช้า
ก็จะได้ประโยชน์ นอกจากจะมีความรวดเร็วในการเสนอเรื่อง ประสานความเห็น การแจ้งวาระการประชุม การแจ้งมติคณะรัฐมนตรี ความเป็นมาตรฐานในการจัดทำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวมถึงการประหยัดค่าใช้จ่าย เวลา น้ำมันรถส่งเอกสารและ
ที่สำคัญ หากมีการตกลงในระดับรัฐมนตรีว่า จะถอนเรื่องนั้นเรื่องนี้ออกก่อนประชุม รัฐมนตรี ก็สามารถ คลิกถอนเรื่องนั้นออกได้ทันที โดยจะปรากฎหลักฐานว่า กระทรวงนั้นได้ถอนเรื่องนั้นออกจาก ครม. เพื่อเป็นหลักฐานในระบบนั้นด้วย และไม่ขัดกับพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548
ระบบที่ว่า มีชื่อย่อ ภาษาอังกฤษว่า “CABNET” หรือ CABINET NETWORK เป็นระบบที่ใช้ในการส่งข้อมูลสารสนเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ประชุมครม.ไฟเขียวให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีนำมาใช้ หลังจากที่ทดลองใช้ตลอดปี 2553
เป็นการเปลี่ยนแปลงกระบวนการจัดการเอกสารการประชุมคณะรัฐมนตรีในขั้นตอนต่าง ๆ จากเดิมที่ใช้เอกสาร มาเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยระบบ online
ที่ ครม.เห็นชอบเรื่องนี้ ก็เพราะคณะรัฐมนตรี ของ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” จะเป็นคณะแรกที่ใช้ระบบนี้ในการประชุมคณะรัฐมนตรี เป็นการการนำระบบ CABNET มาใช้กับหน่วยงานทั้งหมดตามโครงการ จะอย่างเต็มรูปแบบ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2554 นี้
หากย้อนไปจากจุดเริ่มต้นของโครงการ “CABNET” เกิดขึ้นในปี 2549 มี “ รองพล เจริญพันธุ์” เลขาธิการครม. สมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ร่วมผลักดัน โดยการว่า จ้างที่ปรึกษาโครงการจาก “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ระบบสารสนเทศการประชุมคณะรัฐมนตรีแบบอิเล็กทรอนิกส์
ใช้งบประมาณรวมกว่า “76,414,400 ล้านบาท”
มีการดำเนินการพัฒนาระบบ CABNET ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2552 - พฤศจิกายน 2553 ด้วยงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2549 สำหรับเป็นค่าจ้างที่ปรึกษาและค่าใช้จ่ายของโครงการ
โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินการเชื่อมต่อเครือข่ายและพัฒนาระบบจนมีความพร้อมใช้งาน และมีการทดสอบการใช้งานกับหน่วยงานนำร่อง 12 หน่วยงาน ในช่วงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2553 มีการทดลองปฏิบัติงานกับหน่วยงานนำร่องในช่วงเดือนมีนาคม-กันยายน 2553 รวมทั้งชี้แจงการใช้ระบบกับหน่วยงานทั้งหมดในช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2553
ถามว่าทำไมถึงต้องมีระบบ “CABNET” สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ชี้แจงว่า ได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานในการสนับสนุนการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีอย่างต่อเนื่อง
หากย้อนหลังไปดูระบบเก็บข้อมูลเพื่อนำเสนอ ครม. ในปี 2532 สมัยรัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา เริ่มเปลี่ยนแปลงระบบเอกสาร (แผ่นกระดาษ) ด้วยการใช้ระบบจัดเก็บและสืบค้นข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี และต่อเนื่องมาด้วยระบบสารบรรณอัตโนมัติ เพื่อใช้ในการติดตามสถานภาพเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี
ใช้ระบบนี้มายาวนานกว่า 13 ปี จนสมัย “พ.ต.ท.ทักษิณ” ปี 2544ได้มีการนำระบบจัดทำวาระการประชุมคณะรัฐมนตรีในรูปแบบ CD เพื่อลดเอกสารและเพิ่มระบบการประชุมคณะรัฐมนตรีทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference) เข้ามาใช้
และสมัยนั้นได้มีการศึกษาระบบ CABNET ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศสนับสนุนภารกิจของคณะรัฐมนตรีในกระบวนการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรีทั้งระบบ ตั้งแต่การวางแผนการเสนอเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี การจัดทำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี การแจ้งระเบียบวาระการประชุมและส่งเอกสารการประชุมคณะรัฐมนตรี การแจ้งมติคณะรัฐมนตรี รวมทั้งการสืบค้นข้อมูลคณะรัฐมนตรี โดยหน่วยงานที่ใช้ระบบมีจำนวน 37 หน่วยงาน
ถามว่า ระบบ “CABNET” มีประโยชน์แค่ทำให้ ครม.ได้รับข้อมูลที่รวดเร็วเท่านั้นหรือไม่ ถ้าว่ากันอย่างนั้นก็ได้ เพราะวาระครม.ที่ส่วนใหญ่จัดทำเป็นรูปแบบของเอกสาร อย่างวาระเพื่อพิจารณาปกติจะเป็นเอกสารที่หนาเทอะทะ จะแบกมาร่วมประชุมก็จะสร้างความรำคาญกว่าจะเปิดแต่ละหน้ารัฐมนตรี ก็อาจจะหาจนตาลาย ระบบ“CABNET” เข้ามาช่วย โดยหน่วยงานในกระทรวงต่าง ๆ ที่ใช้ระบบล่าสุดมีจำนวน 37 หน่วยงาน และจะเพิ่มขึ้นในอนาคต เป็นประโยชน์ที่จะสามารถดึงข้อมูลต่อข้อมูลจาก 37 หน่วยงานได้โดยตรง ซึ่งผู้ใช้จะต้องมีพาสเวิร์ดของตัวเองในการสู่ข้อมูลนี้
จากปัญหาในอดีต เรื่องที่ส่วนราชการเสนอที่ไม่เป็นไปตามแนวทางที่พระราชกฤษฎีกาและระเบียบกำหนด เรื่องที่ส่วนราชการเสนอไม่ชัดเจน เรื่องที่ส่วนราชการเสนอมีหลายรูปแบบ การประสานขอความเห็นในเรื่องด่วนมีเวลาจำกัด การส่งวาระการประชุมล่าช้า การแจ้งมติคณะรัฐมนตรีให้หน่วยงานล่าช้า
ก็จะได้ประโยชน์ นอกจากจะมีความรวดเร็วในการเสนอเรื่อง ประสานความเห็น การแจ้งวาระการประชุม การแจ้งมติคณะรัฐมนตรี ความเป็นมาตรฐานในการจัดทำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวมถึงการประหยัดค่าใช้จ่าย เวลา น้ำมันรถส่งเอกสารและ
ที่สำคัญ หากมีการตกลงในระดับรัฐมนตรีว่า จะถอนเรื่องนั้นเรื่องนี้ออกก่อนประชุม รัฐมนตรี ก็สามารถ คลิกถอนเรื่องนั้นออกได้ทันที โดยจะปรากฎหลักฐานว่า กระทรวงนั้นได้ถอนเรื่องนั้นออกจาก ครม. เพื่อเป็นหลักฐานในระบบนั้นด้วย และไม่ขัดกับพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548