นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 93 - 98 โดยนายวิทยา แก้วภราดัย ประธานคณะกรรมการประสานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ออกมาระบุว่า ไม่สามารถคุมเสียงข้างมากของพรรคร่วมได้ว่า คงจะพูดตามความเป็นจริงว่า ขณะนี้ความเห็นยังแตกต่างกันอยู่ แต่เมื่อรายงานของกรรมาธิการแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จเรียบร้อย ทางพรรครัฐบาลต้องมาคุยกัน และในวันที่ 25 ม.ค.นี้ ตนจะเดินทางไปร่วมคุยกับพรรคร่วมรัฐบาลด้วยเช่นกัน พร้อมกับแสดงจุดยืน ในทั้ง 2 สถานะ และจะต้องบอกว่าจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์เป็นอย่างไร และในแง่ของตัวรัฐบาล จะเดินในเรื่องดังกล่าวอย่างไร ซึ่งในชั้นนี้จะต้องรอให้คณะกรรมาธิการทำรายงายออกมาให้ชัดเสียก่อน ขณะเดียวกัน การแสดงจุดยืนทั้ง 2 สถานะดังกล่าวจะ ไม่มีความขัดแย้งกัน แต่จะมีบทบาทที่ต่างกัน
เมื่อถามว่าหลังจากที่พูดคุยกันในส่วนของพรรคร่วมรัฐบาลคิดว่าจะสามารถทำความเข้าใจจนไม่เกิดปัญหาการอยู่ร่วมกันได้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องมีความชัดเจนว่าจะทำงานร่วมกันต่อไปภายใต้เงื่อนไขอย่างไร และไม่คิดว่าจะเป็นน้ำผึ้งหยดเดียว
เช่นเดียวกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง ในส่วนของส.ส.จะมีทางออกร่วมกันและเชื่อว่าจะไม่ทำให้เกิดความบาดหมางในพรรคร่วมรัฐบาล
ส่วนที่สมาชิกวุฒิสภาซึ่งมองว่าเป็นตัวแปรสำคัญในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และจะหมดวาระในเดือนก.พ.นั้นก็เชื่อว่าไม่มีปัญหา เมื่อเปิดสมัยประชุมสภา ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญก็คงจะผ่านการพิจารณาในชั้นกรรมาธิการเรียบร้อย และเดินหน้าเข้าสู่การพิจารณาในสภาได้
** จวกปชป.ปล่อยข่าวขู่ยุบสภา
ด้านนายวัชระ กรรณิการ์ โฆษกพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ขอให้ทุกฝ่ายใจเย็นต่อเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แม้จะเพิ่งผ่านการพิจารณาในชั้นคณะกรรมาธิการ(กมธ.)ที่มีมติยืนยันเข้าวาระ2 ของรัฐสภาให้ผลักดันที่มา ส.ส.375+125 ก็ตาม เพราะจากนี้ไปจะต้องพิจารณาในวาระที่ 2-3 ของรัฐสภา ซึ่งจะเป็นเรื่องที่จะมีการหยิบยกมาอภิปรายกันในสภาต่อไป อีกทั้งนายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชทพ. ก็แสดงความเห็นว่า ที่มาส.ส.ควรเป็น 400+100 จะเหมาะสมที่สุด
ทั้งนี้ชทพ.ยังยืนยันจุดยืนสนับสนุนในสูตรส.ส. 400+100 เพราะเหมาะสมต่อสภาพความเป็นจริงในทางการเมืองที่สุด แต่ไม่ว่าจะออกมาในสูตรใดก็ตามทางพรรคก็พร้อมยอมรับผลการพิจารณาของสภาในท้ายที่สุด
ทั้งนี้ ทางพรรคเห็นด้วยที่ให้ผู้ใหญ่ของพรรคร่วมรัฐบาลมีการพูดจากันก่อน เพราะจะเป็นกุญแจสำคัญให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านไปได้ด้วยดี เ
" ผมไม่สบายใจเพราะไม่อยากให้มีการปล่อยข่าวจากบรรดาลูกพรรคประชาธิปัตย์ที่ไม่ใช่แกนนำพรรค ออกมาข่มขู่ว่าหากการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่สำเร็จ จะมีการยุบสภาซึ่งไม่ใช่วิธีการที่ดี เพราะในฐานะพรรคร่วมรัฐบาลเราต้องทำงานร่วมกัน แต่ไม่ใช่ใช้วิธีการรุกไล่กัน อีกทั้งต้องย้อนถามว่า คนที่ขู่ด้วยการยุบสภานั้นเดาใจนายกรัฐมนตรีได้หรือว่าจะยุบหรือไม่ยุบสภา เพราะประเทศนี้มีนายกรัฐมนตรีคนเดียวเท่านั้นที่มีอำนาจในการยุบสภาได้ ดังนั้นการปล่อยข่าวในลักษณะขู่จะยุบสภาไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติเพราะจะเป็นการสร้างแรงกดดันให้กับนายกฯมากขึ้น" นายวัชระกล่าว
**"เพื่อแม้ว"ยังไม่มีมติที่ชัดเจน
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวหลังการประชุมพรรคว่า พรรคยังไม่มีมติที่ชัดเจน ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่างกันใน 2 ประเด็น ระหว่างการยึดจุดยืนเดิมของพรรคเพื่อไทย ที่จะไม่เข้าร่วมสังฆกรรมใดๆ ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และอีกส่วนเห็นว่าควรจะสนับสนุนสัดส่วนระบบสัดส่วน 400 ต่อ 100 ที่ตรงกับรัฐธรรมนูญปี 40 ซึ่งเป็นจุดยืนที่พรรคเพื่อไทย สนับสนุนเช่นกัน จึงทำให้ยังไม่สามารถได้ข้อสรุปที่ชัดเจน
นายพร้อมพงศ์ ยืนยันว่า ไม่มีสมาชิกพรรคคนใดสนับสนุนระบบสัดส่วน 375 + 125 เนื่องจากมองว่าไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ต่อประชาชน ทั้งนี้คณะทำงานของพรรคเพื่อไทยจะทำโพลสำรวจความคิดเห็นในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญจากประชาชนในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ว่ามีความคิดเห็นอย่างไร รวมถึงรอดูท่าทีของพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคร่วมรัฐบาลที่ได้มีการนัดกินเลี้ยงก่อนการเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 25 ม.ค.นี้ด้วย
เมื่อถามว่าหลังจากที่พูดคุยกันในส่วนของพรรคร่วมรัฐบาลคิดว่าจะสามารถทำความเข้าใจจนไม่เกิดปัญหาการอยู่ร่วมกันได้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องมีความชัดเจนว่าจะทำงานร่วมกันต่อไปภายใต้เงื่อนไขอย่างไร และไม่คิดว่าจะเป็นน้ำผึ้งหยดเดียว
เช่นเดียวกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง ในส่วนของส.ส.จะมีทางออกร่วมกันและเชื่อว่าจะไม่ทำให้เกิดความบาดหมางในพรรคร่วมรัฐบาล
ส่วนที่สมาชิกวุฒิสภาซึ่งมองว่าเป็นตัวแปรสำคัญในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และจะหมดวาระในเดือนก.พ.นั้นก็เชื่อว่าไม่มีปัญหา เมื่อเปิดสมัยประชุมสภา ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญก็คงจะผ่านการพิจารณาในชั้นกรรมาธิการเรียบร้อย และเดินหน้าเข้าสู่การพิจารณาในสภาได้
** จวกปชป.ปล่อยข่าวขู่ยุบสภา
ด้านนายวัชระ กรรณิการ์ โฆษกพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ขอให้ทุกฝ่ายใจเย็นต่อเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แม้จะเพิ่งผ่านการพิจารณาในชั้นคณะกรรมาธิการ(กมธ.)ที่มีมติยืนยันเข้าวาระ2 ของรัฐสภาให้ผลักดันที่มา ส.ส.375+125 ก็ตาม เพราะจากนี้ไปจะต้องพิจารณาในวาระที่ 2-3 ของรัฐสภา ซึ่งจะเป็นเรื่องที่จะมีการหยิบยกมาอภิปรายกันในสภาต่อไป อีกทั้งนายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชทพ. ก็แสดงความเห็นว่า ที่มาส.ส.ควรเป็น 400+100 จะเหมาะสมที่สุด
ทั้งนี้ชทพ.ยังยืนยันจุดยืนสนับสนุนในสูตรส.ส. 400+100 เพราะเหมาะสมต่อสภาพความเป็นจริงในทางการเมืองที่สุด แต่ไม่ว่าจะออกมาในสูตรใดก็ตามทางพรรคก็พร้อมยอมรับผลการพิจารณาของสภาในท้ายที่สุด
ทั้งนี้ ทางพรรคเห็นด้วยที่ให้ผู้ใหญ่ของพรรคร่วมรัฐบาลมีการพูดจากันก่อน เพราะจะเป็นกุญแจสำคัญให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านไปได้ด้วยดี เ
" ผมไม่สบายใจเพราะไม่อยากให้มีการปล่อยข่าวจากบรรดาลูกพรรคประชาธิปัตย์ที่ไม่ใช่แกนนำพรรค ออกมาข่มขู่ว่าหากการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่สำเร็จ จะมีการยุบสภาซึ่งไม่ใช่วิธีการที่ดี เพราะในฐานะพรรคร่วมรัฐบาลเราต้องทำงานร่วมกัน แต่ไม่ใช่ใช้วิธีการรุกไล่กัน อีกทั้งต้องย้อนถามว่า คนที่ขู่ด้วยการยุบสภานั้นเดาใจนายกรัฐมนตรีได้หรือว่าจะยุบหรือไม่ยุบสภา เพราะประเทศนี้มีนายกรัฐมนตรีคนเดียวเท่านั้นที่มีอำนาจในการยุบสภาได้ ดังนั้นการปล่อยข่าวในลักษณะขู่จะยุบสภาไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติเพราะจะเป็นการสร้างแรงกดดันให้กับนายกฯมากขึ้น" นายวัชระกล่าว
**"เพื่อแม้ว"ยังไม่มีมติที่ชัดเจน
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวหลังการประชุมพรรคว่า พรรคยังไม่มีมติที่ชัดเจน ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่างกันใน 2 ประเด็น ระหว่างการยึดจุดยืนเดิมของพรรคเพื่อไทย ที่จะไม่เข้าร่วมสังฆกรรมใดๆ ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และอีกส่วนเห็นว่าควรจะสนับสนุนสัดส่วนระบบสัดส่วน 400 ต่อ 100 ที่ตรงกับรัฐธรรมนูญปี 40 ซึ่งเป็นจุดยืนที่พรรคเพื่อไทย สนับสนุนเช่นกัน จึงทำให้ยังไม่สามารถได้ข้อสรุปที่ชัดเจน
นายพร้อมพงศ์ ยืนยันว่า ไม่มีสมาชิกพรรคคนใดสนับสนุนระบบสัดส่วน 375 + 125 เนื่องจากมองว่าไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ต่อประชาชน ทั้งนี้คณะทำงานของพรรคเพื่อไทยจะทำโพลสำรวจความคิดเห็นในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญจากประชาชนในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ว่ามีความคิดเห็นอย่างไร รวมถึงรอดูท่าทีของพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคร่วมรัฐบาลที่ได้มีการนัดกินเลี้ยงก่อนการเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 25 ม.ค.นี้ด้วย