ถึงเวลากระทรวงการท่องเที่ยว ต้องเร่งปรับตัวเอง ก้าวทันการเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เอกชนย้ำได้เวลายกเครื่องการทำงาน ขับ
เคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ เน้น พัฒนาเพิ่มแหล่งท่องเที่ยว เปิดกว้างการลงทุน การจัดทำระบบเก็บสถิติ แก้ปัญหาสมองไหล ปรับปรุงประสิทธิภาพบุคคลากร ใช้ภูมิศาสตร์ที่ตั้งประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด
แนวโน้มการเติบโตต่อเนื่องของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประเทศไทย ซึ่งปี 2554 มีลุ้น ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ จะทำได้ถึง 16-17 ล้านคน เงินสะพัดกว่า 6 แสนล้านบาท เป็นผลการโตต่อเนื่องจากปี 53 ที่ทะลุเป้าหมายไปปิดมากกว่า 15 ล้านคน
****เร่งพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามโครงข่ายคมนาคม****
ปัจจัยเกื้อหนุนที่ทำให้ไทยมีความโดดเด่น จากประเทศอื่นๆ และถึงเวลาแล้ว ที่รัฐบาลและกระทรวงการท่องเที่ยว ควรหันมาเอาจริงเอาจังกับการพัฒนาสิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว และเศรษฐกิจของประเทศ คือ ความได้เปรียบด้านภูมิศาตร์ ที่ตั้งประเทศ ที่เป็นจุดศูนย์กลางของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เห็นได้จากความเป็นฮับด้านการบิน ทั้งโลว์คอสต์แอร์ไลน์ และ สายการบินจากกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ต่าง เข้ามาจับจองเปิดเส้นทางบินมาประเทศไทยทั้งที่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต เชียงใหม่ นอกจากนั้นสายการบินโลว์คอสต์ อย่างไทยแอร์เอเชีย ซึ่งมีบริษัทแม่อยู่ที่มาเลเซีย ยังเข้ามาจับจอง เปิดเส้นทางบิน เชื่อมระหว่างประเทศ และ เชื่อมหัวเมืองใหญ่ อย่าง อุบลราชธานี อุดรธานี เชียงใหม่ ภูเก็ต หาดใหญ่ เพื่อการเดินทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
รวมถึงโครงการถนน R3 ซึ่งเมื่อดูจากแผนที่จะตอบโจทย์ ได้ดีที่สุด เพราะเป็นถนนที่เชื่อมต่อ จีนตอนใต้ พม่า ลาว และ ไทย และ ถนนสายอีสท์เวส อิโคโนมิค ดอริคอ หรือ ถนนสายตะวันตก-ตะวันออก ซึ่งเชื่อมต่อถนนที่มาจากพุกาม ประเทศพม่า ตรงชายแดนที่ จ.ตาก มาผ่าน จ.สุโขทัย และไปสุดปลายทางที่ จ.มุกดาหาร เพื่อเชื่อมต่อไปหลวงพระบาง และเว้ และ ยังมีถนนจากจังหวัดสุโขทัย มุ่งตรงไป อุบลราชธานี เชื่อมเข้าสู่
นครวัด ประเทศกัมพูชา พร้อมโครงการความร่วมมือ ACMECS (Ayeawady-Chao Phraya – Mekong Economic Cooperation Strategy) ภายใต้โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวสังวาลย์มรดกแห่งเอเชีย (Heritage Necklace of Asia) จึงถึงเวลาแล้ว ที่กระทรวงการท่องเที่ยวและหน่วยงานเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวจะต้องพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ในเส้นทางดังกล่าว เพื่อรองรับการมาเยี่ยมเยียนของนักท่องเที่ยวกลุ่มประชาคมอาเซียน ซึ่งมีจำนวนเกือบ 600 ล้านคน
****เปิดแหล่งท่องเที่ยวใหม่-ฟื้นแหล่งเก่า****
เสียงเรียกร้องจากภาคเอกชน ทั้งจากสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ กลุ่มสหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย(เฟตต้า) ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั้งประเทศ ที่ต้องการให้ภาครัฐ โดยเริ่มจากกระทรวงการท่องเที่ยว เร่งยกเครื่องเรื่องการทำงาน หันมาบูรณาการการทำงานอย่างเป็นระบบวางแผนรับมือการท่องเที่ยวของไทยที่จะเติบโตต่อไปในอนาคตให้ได้อย่างยั่งยืน และรับมือกับการแข่งขันในเวทีอาเซียน เร่งพัฒนา เปิดแหล่งท่องเที่ยว ฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม จัดระบบการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว รองรับการขยายตัวของจำนวนนนักท่องเที่ยว เปิดกว้างให้ผู้สนใจลงทุนเมกกะโปรเจกต์
****ตบเท้าจี้ ก.ท่องเที่ยวเร่งทำระบบเก็บสถิติ****
อีกหนึ่งประเด็นสำคัญ คือ การจัดทำระบบการจัดเก็บสถิตินักท่องเที่ยว แบบเจาะลึกทั้งจำนวนและการใช้จ่าย เพื่อให้รู้ถึง พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวแบบเจาะลึก จพได้นำเสนอสินค้าและบริการได้ตรงตามไลฟ์สไตล์ แม้การจัดเก็บสถิติจะโอนย้ายจาก ททท.มาอยู่ที่กระทรวงการท่องเที่ยวเกือบ 3 ปี แต่ การทำงานก็ยัง
ไม่คืบหน้า มีเพียงการเก็บตัวเลขแบบหยาบๆ จากด่านตรวจคนเข้าเมือง ทำให้ข้อมูลที่ได้ขัดแย้งกับสมาคมโรงแรม และสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว ที่ทิ้งห่างกันอยู่เป็นหลักล้านคน โดยตัวเลขของกระทรวงฯมักจะมากกว่าเป็นล้านคน ก่อเกิดปัญหาการลงทุนสร้างโรงแรมในบ้างพื้นที่ถึงกับโอเวอร์ซัพพลาย เช่น กรุงเทพฯ และ
เชียงใหม่
***ข้อมูลเชิงลึกเครื่องมือสำคัญของการทำตลาด***
ด้านการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สุรพล เศวตเศรนี ผู้ว่าการ ททท. พูดในประเด็นนี้ว่า ต้องการให้สถิตินักท่องเที่ยวมีมิติในเชิงลึกมากขึ้นทั้งนักท่องเที่ยวต่างประเทศและนักท่องเที่ยวคนไทยเที่ยวในประเทศ เพื่อประโยชน์ของการเป็นข้อมูลใช้ตัดสินใจด้านการกำหนดแผนการทำตลาด ข้อมูลสำคัญ และจะมีประโยชน์อย่างยิ่งกับ ททท. คือเรื่องของ อายุ เพศ วัย การศึกษาและพฤติกรรมการท่องเที่ยวและการคำนวนการใช้จ่าย ของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และนักท่องเที่ยวคนไทย โดยหากข้อมูลเหล่านี้สามารถมีการจัดเก็บได้อย่างมีระบบ ไม่แค่ททท.เท่านั้นจะได้ใช้ประโยชน์ แต่ภาคเอกชนในธุรกิจท่องเที่ยวก็สามารถนำข้อมูลที่ได้นี้ไปกำหนดแผนธุรกิจของตัวเองได้เช่นกัน
สิ่งที่เอกชนต้องการเห็น คือ การเร่งสานต่อโครงการทัวริสซึ่ม แซทเทอไรท์ แอคเคาท์ (TSA) ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลเชิงลึก เพื่อให้ทราบรายได้ของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ตกอยู่ในประเทศจริงๆ รวมถึง การจำแนก กลุ่มและพฤติกรรมนักท่องเที่ยว ให้ชัด
ปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.) กล่าวว่า ถึงเวลาที่ภาครัฐต้องยกเครื่องการทำงาน เพื่อเอื้อให้เอกชนท่องเที่ยวได้เดินหน้าต่อไปได้อย่างยั่งยืน หลังจากที่เอกชนเอง ได้หาวิธีช่วยเหลือกันเองมาโดยตลอด เพื่อจะได้เป็นสัญญาณส่งถึงผู้ประกอบการโรงแรม และธุรกิจ
ท่องเที่ยว ที่ต้องการขยายการลงทุน ได้ใช้ประกอบการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันการเกิดโอเวอร์ซัพพลาย
***ก.ท่องเที่ยวสมองไหลย้าย-ลาออก ***
ถึงวันนี้ คงเป็นภาระกิจด้านนโยบาย ซึ่งเป็นหน้าที่ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่ต้องเข้ามาปรับปรุงแก้ไขอย่างจริงจัง หรือจะรอให้ภาคเอกชนต้องออกมาพูดกันสักกี่ครั้งว่า"ควรยุบกระทรวงการท่องเที่ยวนี้ไปเสีย" เพราะ นั่นเป็นคำพูดที่สะท้อนออกมาถึงความอัดอั้น ว่าการมีกระทรวงท่องเที่ยวมานาน 9 ปี
แล้วแต่ไม่สามารถช่วยกันสร้างสรรอุตสาหกรรมนี้ให้แข็งแกร่งอย่างเป็นระบบได้ หากแต่สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นล้วนเป็นไปตามธรรมชาติและวงจรของการท่องเที่ยว การทำงานของเอกชน และ ททท. เท่านั้นหรือไม่ ทุกวันนี้ สถานการณ์ของกระทรวงการท่องเที่ยวฯ กำลังอยู่ในช่วง"สมองไหล" คือ คนที่ทำงานเป็นและเก่ง กลับอยู่ไม่ได้ จะด้วยเพราะไม่ได้รับการเติบโตในการทำงาน หรือด้วยเหตุใดไม่ทราบได้ หลายฝ่าย หลายกอง ที่มีบุคคลากรขอย้าย ขอลาออก กันเป็นใบไม้ล่วง แต่ที่สำคัญ กลับปล่อยให้ตำแหน่งนั้นๆ ว่างอยู่นาน ไม่รู้ พณฯท่าน ชุมพล ศิลปอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยว รับรู้หรือไม่ หรือใส่เกียร์ว่างไว้ก่อน เป็นเพียงร่างทรงการทำงานเท่านั้น
เคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ เน้น พัฒนาเพิ่มแหล่งท่องเที่ยว เปิดกว้างการลงทุน การจัดทำระบบเก็บสถิติ แก้ปัญหาสมองไหล ปรับปรุงประสิทธิภาพบุคคลากร ใช้ภูมิศาสตร์ที่ตั้งประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด
แนวโน้มการเติบโตต่อเนื่องของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประเทศไทย ซึ่งปี 2554 มีลุ้น ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ จะทำได้ถึง 16-17 ล้านคน เงินสะพัดกว่า 6 แสนล้านบาท เป็นผลการโตต่อเนื่องจากปี 53 ที่ทะลุเป้าหมายไปปิดมากกว่า 15 ล้านคน
****เร่งพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามโครงข่ายคมนาคม****
ปัจจัยเกื้อหนุนที่ทำให้ไทยมีความโดดเด่น จากประเทศอื่นๆ และถึงเวลาแล้ว ที่รัฐบาลและกระทรวงการท่องเที่ยว ควรหันมาเอาจริงเอาจังกับการพัฒนาสิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว และเศรษฐกิจของประเทศ คือ ความได้เปรียบด้านภูมิศาตร์ ที่ตั้งประเทศ ที่เป็นจุดศูนย์กลางของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เห็นได้จากความเป็นฮับด้านการบิน ทั้งโลว์คอสต์แอร์ไลน์ และ สายการบินจากกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ต่าง เข้ามาจับจองเปิดเส้นทางบินมาประเทศไทยทั้งที่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต เชียงใหม่ นอกจากนั้นสายการบินโลว์คอสต์ อย่างไทยแอร์เอเชีย ซึ่งมีบริษัทแม่อยู่ที่มาเลเซีย ยังเข้ามาจับจอง เปิดเส้นทางบิน เชื่อมระหว่างประเทศ และ เชื่อมหัวเมืองใหญ่ อย่าง อุบลราชธานี อุดรธานี เชียงใหม่ ภูเก็ต หาดใหญ่ เพื่อการเดินทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
รวมถึงโครงการถนน R3 ซึ่งเมื่อดูจากแผนที่จะตอบโจทย์ ได้ดีที่สุด เพราะเป็นถนนที่เชื่อมต่อ จีนตอนใต้ พม่า ลาว และ ไทย และ ถนนสายอีสท์เวส อิโคโนมิค ดอริคอ หรือ ถนนสายตะวันตก-ตะวันออก ซึ่งเชื่อมต่อถนนที่มาจากพุกาม ประเทศพม่า ตรงชายแดนที่ จ.ตาก มาผ่าน จ.สุโขทัย และไปสุดปลายทางที่ จ.มุกดาหาร เพื่อเชื่อมต่อไปหลวงพระบาง และเว้ และ ยังมีถนนจากจังหวัดสุโขทัย มุ่งตรงไป อุบลราชธานี เชื่อมเข้าสู่
นครวัด ประเทศกัมพูชา พร้อมโครงการความร่วมมือ ACMECS (Ayeawady-Chao Phraya – Mekong Economic Cooperation Strategy) ภายใต้โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวสังวาลย์มรดกแห่งเอเชีย (Heritage Necklace of Asia) จึงถึงเวลาแล้ว ที่กระทรวงการท่องเที่ยวและหน่วยงานเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวจะต้องพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ในเส้นทางดังกล่าว เพื่อรองรับการมาเยี่ยมเยียนของนักท่องเที่ยวกลุ่มประชาคมอาเซียน ซึ่งมีจำนวนเกือบ 600 ล้านคน
****เปิดแหล่งท่องเที่ยวใหม่-ฟื้นแหล่งเก่า****
เสียงเรียกร้องจากภาคเอกชน ทั้งจากสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ กลุ่มสหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย(เฟตต้า) ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั้งประเทศ ที่ต้องการให้ภาครัฐ โดยเริ่มจากกระทรวงการท่องเที่ยว เร่งยกเครื่องเรื่องการทำงาน หันมาบูรณาการการทำงานอย่างเป็นระบบวางแผนรับมือการท่องเที่ยวของไทยที่จะเติบโตต่อไปในอนาคตให้ได้อย่างยั่งยืน และรับมือกับการแข่งขันในเวทีอาเซียน เร่งพัฒนา เปิดแหล่งท่องเที่ยว ฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม จัดระบบการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว รองรับการขยายตัวของจำนวนนนักท่องเที่ยว เปิดกว้างให้ผู้สนใจลงทุนเมกกะโปรเจกต์
****ตบเท้าจี้ ก.ท่องเที่ยวเร่งทำระบบเก็บสถิติ****
อีกหนึ่งประเด็นสำคัญ คือ การจัดทำระบบการจัดเก็บสถิตินักท่องเที่ยว แบบเจาะลึกทั้งจำนวนและการใช้จ่าย เพื่อให้รู้ถึง พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวแบบเจาะลึก จพได้นำเสนอสินค้าและบริการได้ตรงตามไลฟ์สไตล์ แม้การจัดเก็บสถิติจะโอนย้ายจาก ททท.มาอยู่ที่กระทรวงการท่องเที่ยวเกือบ 3 ปี แต่ การทำงานก็ยัง
ไม่คืบหน้า มีเพียงการเก็บตัวเลขแบบหยาบๆ จากด่านตรวจคนเข้าเมือง ทำให้ข้อมูลที่ได้ขัดแย้งกับสมาคมโรงแรม และสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว ที่ทิ้งห่างกันอยู่เป็นหลักล้านคน โดยตัวเลขของกระทรวงฯมักจะมากกว่าเป็นล้านคน ก่อเกิดปัญหาการลงทุนสร้างโรงแรมในบ้างพื้นที่ถึงกับโอเวอร์ซัพพลาย เช่น กรุงเทพฯ และ
เชียงใหม่
***ข้อมูลเชิงลึกเครื่องมือสำคัญของการทำตลาด***
ด้านการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สุรพล เศวตเศรนี ผู้ว่าการ ททท. พูดในประเด็นนี้ว่า ต้องการให้สถิตินักท่องเที่ยวมีมิติในเชิงลึกมากขึ้นทั้งนักท่องเที่ยวต่างประเทศและนักท่องเที่ยวคนไทยเที่ยวในประเทศ เพื่อประโยชน์ของการเป็นข้อมูลใช้ตัดสินใจด้านการกำหนดแผนการทำตลาด ข้อมูลสำคัญ และจะมีประโยชน์อย่างยิ่งกับ ททท. คือเรื่องของ อายุ เพศ วัย การศึกษาและพฤติกรรมการท่องเที่ยวและการคำนวนการใช้จ่าย ของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และนักท่องเที่ยวคนไทย โดยหากข้อมูลเหล่านี้สามารถมีการจัดเก็บได้อย่างมีระบบ ไม่แค่ททท.เท่านั้นจะได้ใช้ประโยชน์ แต่ภาคเอกชนในธุรกิจท่องเที่ยวก็สามารถนำข้อมูลที่ได้นี้ไปกำหนดแผนธุรกิจของตัวเองได้เช่นกัน
สิ่งที่เอกชนต้องการเห็น คือ การเร่งสานต่อโครงการทัวริสซึ่ม แซทเทอไรท์ แอคเคาท์ (TSA) ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลเชิงลึก เพื่อให้ทราบรายได้ของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ตกอยู่ในประเทศจริงๆ รวมถึง การจำแนก กลุ่มและพฤติกรรมนักท่องเที่ยว ให้ชัด
ปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.) กล่าวว่า ถึงเวลาที่ภาครัฐต้องยกเครื่องการทำงาน เพื่อเอื้อให้เอกชนท่องเที่ยวได้เดินหน้าต่อไปได้อย่างยั่งยืน หลังจากที่เอกชนเอง ได้หาวิธีช่วยเหลือกันเองมาโดยตลอด เพื่อจะได้เป็นสัญญาณส่งถึงผู้ประกอบการโรงแรม และธุรกิจ
ท่องเที่ยว ที่ต้องการขยายการลงทุน ได้ใช้ประกอบการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันการเกิดโอเวอร์ซัพพลาย
***ก.ท่องเที่ยวสมองไหลย้าย-ลาออก ***
ถึงวันนี้ คงเป็นภาระกิจด้านนโยบาย ซึ่งเป็นหน้าที่ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่ต้องเข้ามาปรับปรุงแก้ไขอย่างจริงจัง หรือจะรอให้ภาคเอกชนต้องออกมาพูดกันสักกี่ครั้งว่า"ควรยุบกระทรวงการท่องเที่ยวนี้ไปเสีย" เพราะ นั่นเป็นคำพูดที่สะท้อนออกมาถึงความอัดอั้น ว่าการมีกระทรวงท่องเที่ยวมานาน 9 ปี
แล้วแต่ไม่สามารถช่วยกันสร้างสรรอุตสาหกรรมนี้ให้แข็งแกร่งอย่างเป็นระบบได้ หากแต่สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นล้วนเป็นไปตามธรรมชาติและวงจรของการท่องเที่ยว การทำงานของเอกชน และ ททท. เท่านั้นหรือไม่ ทุกวันนี้ สถานการณ์ของกระทรวงการท่องเที่ยวฯ กำลังอยู่ในช่วง"สมองไหล" คือ คนที่ทำงานเป็นและเก่ง กลับอยู่ไม่ได้ จะด้วยเพราะไม่ได้รับการเติบโตในการทำงาน หรือด้วยเหตุใดไม่ทราบได้ หลายฝ่าย หลายกอง ที่มีบุคคลากรขอย้าย ขอลาออก กันเป็นใบไม้ล่วง แต่ที่สำคัญ กลับปล่อยให้ตำแหน่งนั้นๆ ว่างอยู่นาน ไม่รู้ พณฯท่าน ชุมพล ศิลปอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยว รับรู้หรือไม่ หรือใส่เกียร์ว่างไว้ก่อน เป็นเพียงร่างทรงการทำงานเท่านั้น