สังคมไทยตอนนี้กำลังประสบปัญหาเรื่องความแตกแยกอย่างรุนแรง ซึ่งลุกลามไปเกินกว่าจะเป็นปัญหาเรื่องคนคนเดียวอย่างที่หลายคนเข้าใจ ปัญหาเรื่องการชุมนุมทางการเมืองซึ่งมีมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จนถึงปัจจุบัน แน่นอนว่าการที่ประชาชนจำนวนมากออกมาชุมนุมบนท้องถนนอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นสีใด จะฝักฝ่ายใด ก็ย่อมไม่สามารถเกิดจากการจ้างวานหรือจากการโฆษณาชวนเชื่อเพียงเท่านั้น
แต่ประชาชนส่วนหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นส่วนใหญ่ที่ไม่อาจจะอดทนต่อการกดขี่จากผู้ถืออำนาจรัฐ ไม่ว่าจะเป็นภาคการเมืองไปจนถึงเจ้าหน้าที่ และไม่ว่าจะเป็นจากฝ่ายไหนก็ตาม และปัญหาของสังคมไทยดูเหมือนจะก้าวเข้าสู่ขั้นวิกฤต เมื่อฝ่ายตุลาการได้ถูกทำให้แสดงบทบาทมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดคำถามเรื่องความยุติธรรมในเวลาต่อมา
กระบวนการยุติธรรมของไทยมีปัญหา ซึ่งไม่ได้มาจากผลการตัดสินในคดีใดคดีหนึ่ง และกระบวนการยุติธรรมในที่นี้ ก็ไม่ได้หมายถึงแต่เพียงเรื่องของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ และศาลเท่านั้น แต่ดูเหมือนว่ากระบวนการจัดการความขัดแย้งหรือปัญหาให้เกิดข้อยุติในทุกระดับของสังคมไทยที่ได้ถูกจัดการอย่างเอารัดเอาเปรียบโดยมีเจ้าหน้าที่รัฐคอยกำกับ โดยกระบวนการดังกล่าวได้ดำรงสืบต่อมา จนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติและได้ถูกทำให้เชื่อว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง ชอบธรรม และทุกคนจะต้องยอมรับ แต่ความจริงกลับเป็นเรื่องที่สังคมได้ถูกยัดเยียดความไม่ยุติธรรมด้วยกระบวนการจัดการดังกล่าวของภาครัฐหรือเจ้าหน้าที่ภาครัฐนั่นเอง

ผู้เขียนขอยกตัวอย่างเป็นกรณีศึกษาของปัญหาในกระบวนการยุติธรรมส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องสืบเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2540 แสดงให้เห็นถึงการใช้พลังอำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐในกระบวนการยุติธรรมในการเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มทุนใหญ่ เพื่อจะสามารถดูดซับส่วนเกินทางเศรษฐกิจจากผลประโยชน์อันมหาศาลของประชาชนที่ตกอยู่ในสถานะที่ด้อยกว่าในทางสังคม เพราะเป็นจำเลยหรือลูกหนี้ในทางแพ่งเท่านั้น
ในปี 2539-2540 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศ รัฐบาลได้สั่งให้สถาบันการเงิน 58 แห่งระงับการดำเนินกิจการเป็นการชั่วคราวและให้สถาบันการเงินนั้นฟื้นฟูกิจการ ทางการได้ออกพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือกฎหมาย ปรส.ขึ้น เพื่อเข้ามาดำเนินการแก้ไขฟื้นฟูสถานะของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการเมื่อเดือนตุลาคม 2540 จากการดำเนินการของคณะกรรมการ ปรส. มีสถาบันการเงิน 2 แห่ง คือ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์บางกอกอินเวสท์เม้นท์ จำกัด เท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ฟื้นฟูกิจการได้เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2540
เมื่อสถาบันการเงิน 56 แห่งถูกปิดกิจการเป็นการถาวร คณะกรรมการที่คณะกรรมการ ปรส.แต่งตั้งให้เข้าไปดำเนินการแทนบริษัทที่ถูกปิดกิจการรวมทั้งคณะกรรมการ ปรส.ไม่ได้ทำการชำระบัญชีบริษัทที่ถูกปิดกิจการก่อนนำทรัพย์สินออกขายหรือจำหน่ายเลย ซึ่งความจริงจะต้องทำการชำระบัญชีเสียก่อนตามที่พระราชกำหนดได้บัญญัติไว้ ตามมาตรา 7 (3) มาตรา 30 วรรคแรก ก่อนที่จะขายทรัพย์สินเพื่อชำระบัญชีบริษัทตามมาตรา 30 วรรคห้า การชำระบัญชีก็เพื่อแยกหนี้ดี หนี้เสีย เป็นรายบริษัทเสียก่อน (Good Asset/Bad Asset)
เมื่อไม่มีการชำระบัญชีบริษัทที่ถูกปิดกิจการ แต่ ปรส.ได้นำสินทรัพย์ของบริษัทและที่อ้างว่าเป็นของบริษัทที่ถูกปิดกิจการออกขายโดยการประมูลขายบ้าง โดยวิธีการพิเศษบ้าง ทำให้สิทธิในทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็นสิทธิจำนอง สิทธิจำนำ สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ ฯลฯ ได้ถูกโอนหรือถูกเปลี่ยนมือไปยังบริษัทที่ประมูลได้ และ/หรือไปยังกองทุนรวมที่ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเฉพาะกิจเพื่อให้มีการเปลี่ยนมือไปซึ่งสิทธิในทรัพย์สิน โดยมีการโอนสิทธิในทรัพย์จากบริษัทที่ประมูลหรือซื้อสินทรัพย์ได้จากการขายของ ปรส. มายังกองทุนรวมเฉพาะกิจเพื่อประโยชน์ในเรื่องภาษี (กองทุนรวมไม่ต้องเสียภาษีทุกชนิด)
เมื่อมีการเปลี่ยนมือไปซึ่งสิทธิในทรัพย์สินจากการขายของ ปรส.แล้ว ทำให้มีการฟ้องร้องเป็นคดีที่ศาลเพื่อบังคับชำระหนี้เป็นจำนวนมากอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน และผลจากการฟ้องคดีจึงมีทรัพย์สินของประชาชนจำนวนมหาศาลที่จะต้องทำการขายบังคับชำระหนี้ไปกองอยู่ที่กรมบังคับคดี

กรมบังคับคดีซึ่งสังกัดกระทรวงยุติธรรม อันเป็นหน่วยงานที่อำนวยความยุติธรรมที่สำคัญอย่างยิ่งเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม โดยอธิบดีกรมบังคับคดีได้ออกประกาศกรมบังคับคดีเรื่อง นโยบายการขายทอดตลาดทรัพย์สินของกรมบังคับคดี เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2546 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2547 และต่อมากรมบังคับคดีก็ได้ออกประกาศเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2552 เรื่อง แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์ ซึ่งมีสาระสำคัญในทำนองเดียวกับประกาศที่ออกใช้บังคับในเดือนมกราคม 2547 ซึ่งให้อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือหน่วยงานของกรมบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ในขณะยึดได้ โดยผู้ประเมินราคาทรัพย์ของกรมบังคับคดี ไม่ใช่ผู้ประเมินราคาทรัพย์ของประชาชนเพื่อที่จะนำออกขายหรือจำหน่าย แต่เป็นผู้ประเมินเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมของกรมบังคับคดีเท่านั้น
แต่การประเมินราคาทรัพย์ตามประกาศกรมบังคับคดี เป็นการประเมินราคาทรัพย์เพื่อที่จะนำทรัพย์ไปจำหน่ายโดยการขายทอดตลาด อันเป็นการใช้อำนาจที่เกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของประชาชน อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550มาตรา 41 และ/หรือรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 48 ซึ่งต้องได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ สิทธิในการประเมินเพื่อจำหน่ายทรัพย์สินของประชาชนจะต้องออกเป็นกฎหมายเพื่อให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หาใช่ออกเป็นประกาศโดยบุคคลในระดับอธิบดีเพียงคนเดียวได้ไม่ และการออกประกาศของกรมบังคับคดีก็ไม่ได้อ้างอำนาจตามกฎหมายใดที่มารองรับอำนาจให้กระทำได้ แต่อ้างนโยบายของรัฐบาล (ในสมัยปี 2546) และอ้างเพื่อความสะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพในการขายของกรมบังคับคดี (ในสมัยปี 2552) เท่านั้น
ประกาศกรมบังคับคดีดังกล่าวยังได้กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดี มีอำนาจให้จำหน่ายทรัพย์สินโดยการขายทอดตลาด โดยลดราคาจากราคาประเมินเหลือร้อยละ 80 และกำหนดให้เป็น “ราคาเริ่มต้น” และให้ถือเป็น “ราคาสมควรขาย” ได้ คือ ให้เคาะไม้ขายได้ และในราคาขายครั้งที่ 2 เจ้าพนักงานบังคับคดีก็มีอำนาจที่จะกำหนด “ราคาสมควรขาย” โดยลดราคาลงร้อยละ 50 ของราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินได้อีก การประกาศดังกล่าวจึงเป็นประกาศที่กรมบังคับคดีเป็นผู้กำหนดราคาขายทอดตลาดไว้ล่วงหน้า หรือเป็นผู้กำหนดราคาขายทอดตลาดไว้เป็นจำนวนที่แน่นอนได้นั่นเอง
ในกรณีผู้มีส่วนได้เสียคัดค้านราคาขายในครั้งแรกว่าราคาต่ำไป ประกาศกรมบังคับคดีดังกล่าวก็ปิดกั้นปิดปากผู้มีส่วนได้เสียและไม่เกิดประโยชน์อะไรแก่ผู้คัดค้านราคาประเมินของเจ้าพนักงาน เพราะประกาศดังกล่าวได้กำหนดให้ผู้คัดค้านกำหนดราคาให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีว่า จะมีผู้เสนอราคาตามที่คัดค้านหรือไม่ หากมีผู้รับราคาก็ให้เคาะไม้ขาย แต่หากไม่มีผู้เสนอราคาก็ให้เลื่อนการขาย (เพราะมีผู้คัดค้านราคา) และในการเลื่อนการขายทอดตลาดไปก็ได้มีการกำหนดให้ผู้เสนอราคาสูงสุดผูกพันราคาดังกล่าวไว้ในการขายทอดตลาดครั้งต่อไปได้ ซึ่งเท่ากับการคัดค้านราคาประเมินของผู้มีส่วนได้เสียนั้น ก็จะไร้ผลไปในทันทีและถูกยกเลิกไปด้วย
การกำหนดให้ผู้คัดค้านกำหนดราคาที่คัดค้านให้กับเจ้าพนักงาน ซึ่งไม่มีกฎหมายให้อำนาจที่จะให้ผู้คัดค้านราคาเป็นผู้กำหนดราคาขึ้นมาใหม่ แทนการกำหนดราคาของเจ้าพนักงานได้ วิธีการดังกล่าวเป็นเล่ห์กลที่จะทำให้ราคาที่เจ้าพนักงานประเมินนั้น เป็นราคาที่ถูกต้องและเป็นการผูกมัดผู้มีส่วนได้เสียให้อยู่ในกรอบของราคาที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดไว้เท่านั้น เมื่อผู้คัดค้านราคาไม่ได้เสนอราคาคัดค้านต่อเจ้าพนักงาน และมีการเลื่อนการขายไปโดยให้ผู้รับราคาผูกพันราคาดังกล่าวไปขายในรอบที่สองได้ ก็เท่ากับการขายรอบที่ 2 เป็นการขายเพื่อรับรองราคาที่เจ้าพนักงานประเมินราคาไว้เป็นราคาจำหน่ายทรัพย์สินที่ถูกต้องตามที่เจ้าพนักงานกำหนดไว้เท่านั้น
และในการขายครั้งที่ 2 (ในกรณีไม่มีผู้สู้ราคา) ตามประกาศให้อำนาจเจ้าพนักงานลดราคาลงได้อีกร้อยละ 50 ซึ่งเป็นการกำหนดราคาสมควรขายไว้ล่วงหน้า ประกาศดังกล่าวทำให้ไม่มีผู้สู้ราคาในครั้งแรก และรอการลดราคาในการขายครั้งที่ 2 เป็นการฉุดราคาทรัพย์สินให้ต่ำลงตามประกาศของกรมบังคับคดี ซึ่งมีผลต่อสิทธิในทรัพย์สินของประชาชนที่การขายนั้นอยู่ในอำนาจการควบคุมราคาให้ต่ำลงได้โดยกรมบังคับคดี
ประกาศกรมบังคับคดีดังกล่าวจึงขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 ที่ผู้ทอดตลาดจะต้องจัดให้มีผู้สู้ราคาสูงสุดเท่านั้น ไม่ใช่ผู้ทอดตลาดกำหนดราคาทอดตลาดเองไว้ล่วงหน้าได้
และที่นอกเหนือไปจากนั้น กฎหมายบัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเท่านั้น เป็นผู้มีอำนาจออกกฎหมายโดยต้องออกเป็นกฎกระทรวง และไม่ใช่เรื่องที่จะใช้อำนาจในทางปกครองมอบหมายให้อธิบดีไปทำการแทนได้แต่อย่างใดไม่ ทั้งนี้เป็นไปตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีแพ่ง พ.ศ.2477 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2543) มาตรา 5 (2) ซึ่งบัญญัติให้เป็นอำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มีอำนาจออกกฎกระทรวง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในเรื่องดังต่อไปนี้ (2) “จัดวางระเบียบทางธุรการในเรื่องการยึดและอายัด และการจำหน่ายทรัพย์สินเป็นตัวเงิน โดยวิธีการขายทอดตลาดหรือโดยวิธีอื่น และในเรื่องวิธีการบังคับคดีทางอื่นๆ ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะพึงปฏิบัติ กฎกระทรวงนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้”
การออกประกาศกรมบังคับคดีในเรื่องการจำหน่ายทรัพย์สินเป็นตัวเงินโดยการขายทอดตลาดซึ่งเป็นอำนาจของรัฐมนตรีที่จะต้องออกกฎกระทรวงมาใช้บังคับ เมื่อกรมบังคับคดีได้นำเอาอำนาจดังกล่าวมาดำเนินการโดยการออกเป็นประกาศเสียเอง ประกาศกรมบังคับคดีดังกล่าวจึงก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมและความยุติธรรมแก่ประชาชน และเป็นช่องทางแห่งการทุจริตในเชิงนโยบายของหน่วยงานของรัฐ เพราะสามารถควบคุมราคาขายทอดตลาดทรัพย์สินได้ตั้งแต่การประเมินราคาของเจ้าพนักงาน และอำนาจในการลดราคาการขายทอดตลาดได้
การหลีกเลี่ยงไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่จะต้องให้รัฐมนตรีเป็นผู้ออกกฎกระทรวงเพื่อใช้บังคับกับทรัพย์สินแก่ประชาชนในการขายทอดตลาด แต่อาศัยอำนาจของอธิบดีเพียงคนเดียวที่ออกนโยบายมาใช้บังคับเอากับทรัพย์สินของประชาชนได้นั้น จึงก่อให้เกิดวิวัฒนาการ “การรวยกระจุก จนกระจาย” แก่สังคมในปัจจุบัน เพราะจำเลยที่จะต้องถูกบังคับคดีขายทรัพย์สินอยู่แล้ว สามารถกลายเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและล้มละลายได้โดยง่ายด้วยการขายทอดตลาดตามนโยบายนอกกฎหมายและเหนือรัฐธรรมนูญของกรมบังคับคดี
ในขณะเดียวกันด้วยนโยบายดังกล่าว ก็ได้เพิ่มความมั่นคงมั่งคั่งให้แก่ฝ่ายทุนใหญ่ ซึ่งสามารถกอบโกยผลกำไรอันมหาศาลจากกระบวนการขายทอดตลาดที่สามารถกดราคา และช้อนซื้อทรัพย์สินในราคาถูก โดยกระบวนการของหน่วยงานภาครัฐในกระบวนการยุติธรรมนั่นเอง
แต่ประชาชนส่วนหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นส่วนใหญ่ที่ไม่อาจจะอดทนต่อการกดขี่จากผู้ถืออำนาจรัฐ ไม่ว่าจะเป็นภาคการเมืองไปจนถึงเจ้าหน้าที่ และไม่ว่าจะเป็นจากฝ่ายไหนก็ตาม และปัญหาของสังคมไทยดูเหมือนจะก้าวเข้าสู่ขั้นวิกฤต เมื่อฝ่ายตุลาการได้ถูกทำให้แสดงบทบาทมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดคำถามเรื่องความยุติธรรมในเวลาต่อมา
กระบวนการยุติธรรมของไทยมีปัญหา ซึ่งไม่ได้มาจากผลการตัดสินในคดีใดคดีหนึ่ง และกระบวนการยุติธรรมในที่นี้ ก็ไม่ได้หมายถึงแต่เพียงเรื่องของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ และศาลเท่านั้น แต่ดูเหมือนว่ากระบวนการจัดการความขัดแย้งหรือปัญหาให้เกิดข้อยุติในทุกระดับของสังคมไทยที่ได้ถูกจัดการอย่างเอารัดเอาเปรียบโดยมีเจ้าหน้าที่รัฐคอยกำกับ โดยกระบวนการดังกล่าวได้ดำรงสืบต่อมา จนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติและได้ถูกทำให้เชื่อว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง ชอบธรรม และทุกคนจะต้องยอมรับ แต่ความจริงกลับเป็นเรื่องที่สังคมได้ถูกยัดเยียดความไม่ยุติธรรมด้วยกระบวนการจัดการดังกล่าวของภาครัฐหรือเจ้าหน้าที่ภาครัฐนั่นเอง
ผู้เขียนขอยกตัวอย่างเป็นกรณีศึกษาของปัญหาในกระบวนการยุติธรรมส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องสืบเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2540 แสดงให้เห็นถึงการใช้พลังอำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐในกระบวนการยุติธรรมในการเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มทุนใหญ่ เพื่อจะสามารถดูดซับส่วนเกินทางเศรษฐกิจจากผลประโยชน์อันมหาศาลของประชาชนที่ตกอยู่ในสถานะที่ด้อยกว่าในทางสังคม เพราะเป็นจำเลยหรือลูกหนี้ในทางแพ่งเท่านั้น
ในปี 2539-2540 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศ รัฐบาลได้สั่งให้สถาบันการเงิน 58 แห่งระงับการดำเนินกิจการเป็นการชั่วคราวและให้สถาบันการเงินนั้นฟื้นฟูกิจการ ทางการได้ออกพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือกฎหมาย ปรส.ขึ้น เพื่อเข้ามาดำเนินการแก้ไขฟื้นฟูสถานะของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการเมื่อเดือนตุลาคม 2540 จากการดำเนินการของคณะกรรมการ ปรส. มีสถาบันการเงิน 2 แห่ง คือ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์บางกอกอินเวสท์เม้นท์ จำกัด เท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ฟื้นฟูกิจการได้เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2540
เมื่อสถาบันการเงิน 56 แห่งถูกปิดกิจการเป็นการถาวร คณะกรรมการที่คณะกรรมการ ปรส.แต่งตั้งให้เข้าไปดำเนินการแทนบริษัทที่ถูกปิดกิจการรวมทั้งคณะกรรมการ ปรส.ไม่ได้ทำการชำระบัญชีบริษัทที่ถูกปิดกิจการก่อนนำทรัพย์สินออกขายหรือจำหน่ายเลย ซึ่งความจริงจะต้องทำการชำระบัญชีเสียก่อนตามที่พระราชกำหนดได้บัญญัติไว้ ตามมาตรา 7 (3) มาตรา 30 วรรคแรก ก่อนที่จะขายทรัพย์สินเพื่อชำระบัญชีบริษัทตามมาตรา 30 วรรคห้า การชำระบัญชีก็เพื่อแยกหนี้ดี หนี้เสีย เป็นรายบริษัทเสียก่อน (Good Asset/Bad Asset)
เมื่อไม่มีการชำระบัญชีบริษัทที่ถูกปิดกิจการ แต่ ปรส.ได้นำสินทรัพย์ของบริษัทและที่อ้างว่าเป็นของบริษัทที่ถูกปิดกิจการออกขายโดยการประมูลขายบ้าง โดยวิธีการพิเศษบ้าง ทำให้สิทธิในทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็นสิทธิจำนอง สิทธิจำนำ สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ ฯลฯ ได้ถูกโอนหรือถูกเปลี่ยนมือไปยังบริษัทที่ประมูลได้ และ/หรือไปยังกองทุนรวมที่ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเฉพาะกิจเพื่อให้มีการเปลี่ยนมือไปซึ่งสิทธิในทรัพย์สิน โดยมีการโอนสิทธิในทรัพย์จากบริษัทที่ประมูลหรือซื้อสินทรัพย์ได้จากการขายของ ปรส. มายังกองทุนรวมเฉพาะกิจเพื่อประโยชน์ในเรื่องภาษี (กองทุนรวมไม่ต้องเสียภาษีทุกชนิด)
เมื่อมีการเปลี่ยนมือไปซึ่งสิทธิในทรัพย์สินจากการขายของ ปรส.แล้ว ทำให้มีการฟ้องร้องเป็นคดีที่ศาลเพื่อบังคับชำระหนี้เป็นจำนวนมากอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน และผลจากการฟ้องคดีจึงมีทรัพย์สินของประชาชนจำนวนมหาศาลที่จะต้องทำการขายบังคับชำระหนี้ไปกองอยู่ที่กรมบังคับคดี
กรมบังคับคดีซึ่งสังกัดกระทรวงยุติธรรม อันเป็นหน่วยงานที่อำนวยความยุติธรรมที่สำคัญอย่างยิ่งเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม โดยอธิบดีกรมบังคับคดีได้ออกประกาศกรมบังคับคดีเรื่อง นโยบายการขายทอดตลาดทรัพย์สินของกรมบังคับคดี เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2546 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2547 และต่อมากรมบังคับคดีก็ได้ออกประกาศเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2552 เรื่อง แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์ ซึ่งมีสาระสำคัญในทำนองเดียวกับประกาศที่ออกใช้บังคับในเดือนมกราคม 2547 ซึ่งให้อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือหน่วยงานของกรมบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ในขณะยึดได้ โดยผู้ประเมินราคาทรัพย์ของกรมบังคับคดี ไม่ใช่ผู้ประเมินราคาทรัพย์ของประชาชนเพื่อที่จะนำออกขายหรือจำหน่าย แต่เป็นผู้ประเมินเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมของกรมบังคับคดีเท่านั้น
แต่การประเมินราคาทรัพย์ตามประกาศกรมบังคับคดี เป็นการประเมินราคาทรัพย์เพื่อที่จะนำทรัพย์ไปจำหน่ายโดยการขายทอดตลาด อันเป็นการใช้อำนาจที่เกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของประชาชน อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550มาตรา 41 และ/หรือรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 48 ซึ่งต้องได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ สิทธิในการประเมินเพื่อจำหน่ายทรัพย์สินของประชาชนจะต้องออกเป็นกฎหมายเพื่อให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หาใช่ออกเป็นประกาศโดยบุคคลในระดับอธิบดีเพียงคนเดียวได้ไม่ และการออกประกาศของกรมบังคับคดีก็ไม่ได้อ้างอำนาจตามกฎหมายใดที่มารองรับอำนาจให้กระทำได้ แต่อ้างนโยบายของรัฐบาล (ในสมัยปี 2546) และอ้างเพื่อความสะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพในการขายของกรมบังคับคดี (ในสมัยปี 2552) เท่านั้น
ประกาศกรมบังคับคดีดังกล่าวยังได้กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดี มีอำนาจให้จำหน่ายทรัพย์สินโดยการขายทอดตลาด โดยลดราคาจากราคาประเมินเหลือร้อยละ 80 และกำหนดให้เป็น “ราคาเริ่มต้น” และให้ถือเป็น “ราคาสมควรขาย” ได้ คือ ให้เคาะไม้ขายได้ และในราคาขายครั้งที่ 2 เจ้าพนักงานบังคับคดีก็มีอำนาจที่จะกำหนด “ราคาสมควรขาย” โดยลดราคาลงร้อยละ 50 ของราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินได้อีก การประกาศดังกล่าวจึงเป็นประกาศที่กรมบังคับคดีเป็นผู้กำหนดราคาขายทอดตลาดไว้ล่วงหน้า หรือเป็นผู้กำหนดราคาขายทอดตลาดไว้เป็นจำนวนที่แน่นอนได้นั่นเอง
ในกรณีผู้มีส่วนได้เสียคัดค้านราคาขายในครั้งแรกว่าราคาต่ำไป ประกาศกรมบังคับคดีดังกล่าวก็ปิดกั้นปิดปากผู้มีส่วนได้เสียและไม่เกิดประโยชน์อะไรแก่ผู้คัดค้านราคาประเมินของเจ้าพนักงาน เพราะประกาศดังกล่าวได้กำหนดให้ผู้คัดค้านกำหนดราคาให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีว่า จะมีผู้เสนอราคาตามที่คัดค้านหรือไม่ หากมีผู้รับราคาก็ให้เคาะไม้ขาย แต่หากไม่มีผู้เสนอราคาก็ให้เลื่อนการขาย (เพราะมีผู้คัดค้านราคา) และในการเลื่อนการขายทอดตลาดไปก็ได้มีการกำหนดให้ผู้เสนอราคาสูงสุดผูกพันราคาดังกล่าวไว้ในการขายทอดตลาดครั้งต่อไปได้ ซึ่งเท่ากับการคัดค้านราคาประเมินของผู้มีส่วนได้เสียนั้น ก็จะไร้ผลไปในทันทีและถูกยกเลิกไปด้วย
การกำหนดให้ผู้คัดค้านกำหนดราคาที่คัดค้านให้กับเจ้าพนักงาน ซึ่งไม่มีกฎหมายให้อำนาจที่จะให้ผู้คัดค้านราคาเป็นผู้กำหนดราคาขึ้นมาใหม่ แทนการกำหนดราคาของเจ้าพนักงานได้ วิธีการดังกล่าวเป็นเล่ห์กลที่จะทำให้ราคาที่เจ้าพนักงานประเมินนั้น เป็นราคาที่ถูกต้องและเป็นการผูกมัดผู้มีส่วนได้เสียให้อยู่ในกรอบของราคาที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดไว้เท่านั้น เมื่อผู้คัดค้านราคาไม่ได้เสนอราคาคัดค้านต่อเจ้าพนักงาน และมีการเลื่อนการขายไปโดยให้ผู้รับราคาผูกพันราคาดังกล่าวไปขายในรอบที่สองได้ ก็เท่ากับการขายรอบที่ 2 เป็นการขายเพื่อรับรองราคาที่เจ้าพนักงานประเมินราคาไว้เป็นราคาจำหน่ายทรัพย์สินที่ถูกต้องตามที่เจ้าพนักงานกำหนดไว้เท่านั้น
และในการขายครั้งที่ 2 (ในกรณีไม่มีผู้สู้ราคา) ตามประกาศให้อำนาจเจ้าพนักงานลดราคาลงได้อีกร้อยละ 50 ซึ่งเป็นการกำหนดราคาสมควรขายไว้ล่วงหน้า ประกาศดังกล่าวทำให้ไม่มีผู้สู้ราคาในครั้งแรก และรอการลดราคาในการขายครั้งที่ 2 เป็นการฉุดราคาทรัพย์สินให้ต่ำลงตามประกาศของกรมบังคับคดี ซึ่งมีผลต่อสิทธิในทรัพย์สินของประชาชนที่การขายนั้นอยู่ในอำนาจการควบคุมราคาให้ต่ำลงได้โดยกรมบังคับคดี
ประกาศกรมบังคับคดีดังกล่าวจึงขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 ที่ผู้ทอดตลาดจะต้องจัดให้มีผู้สู้ราคาสูงสุดเท่านั้น ไม่ใช่ผู้ทอดตลาดกำหนดราคาทอดตลาดเองไว้ล่วงหน้าได้
และที่นอกเหนือไปจากนั้น กฎหมายบัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเท่านั้น เป็นผู้มีอำนาจออกกฎหมายโดยต้องออกเป็นกฎกระทรวง และไม่ใช่เรื่องที่จะใช้อำนาจในทางปกครองมอบหมายให้อธิบดีไปทำการแทนได้แต่อย่างใดไม่ ทั้งนี้เป็นไปตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีแพ่ง พ.ศ.2477 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2543) มาตรา 5 (2) ซึ่งบัญญัติให้เป็นอำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มีอำนาจออกกฎกระทรวง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในเรื่องดังต่อไปนี้ (2) “จัดวางระเบียบทางธุรการในเรื่องการยึดและอายัด และการจำหน่ายทรัพย์สินเป็นตัวเงิน โดยวิธีการขายทอดตลาดหรือโดยวิธีอื่น และในเรื่องวิธีการบังคับคดีทางอื่นๆ ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะพึงปฏิบัติ กฎกระทรวงนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้”
การออกประกาศกรมบังคับคดีในเรื่องการจำหน่ายทรัพย์สินเป็นตัวเงินโดยการขายทอดตลาดซึ่งเป็นอำนาจของรัฐมนตรีที่จะต้องออกกฎกระทรวงมาใช้บังคับ เมื่อกรมบังคับคดีได้นำเอาอำนาจดังกล่าวมาดำเนินการโดยการออกเป็นประกาศเสียเอง ประกาศกรมบังคับคดีดังกล่าวจึงก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมและความยุติธรรมแก่ประชาชน และเป็นช่องทางแห่งการทุจริตในเชิงนโยบายของหน่วยงานของรัฐ เพราะสามารถควบคุมราคาขายทอดตลาดทรัพย์สินได้ตั้งแต่การประเมินราคาของเจ้าพนักงาน และอำนาจในการลดราคาการขายทอดตลาดได้
การหลีกเลี่ยงไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่จะต้องให้รัฐมนตรีเป็นผู้ออกกฎกระทรวงเพื่อใช้บังคับกับทรัพย์สินแก่ประชาชนในการขายทอดตลาด แต่อาศัยอำนาจของอธิบดีเพียงคนเดียวที่ออกนโยบายมาใช้บังคับเอากับทรัพย์สินของประชาชนได้นั้น จึงก่อให้เกิดวิวัฒนาการ “การรวยกระจุก จนกระจาย” แก่สังคมในปัจจุบัน เพราะจำเลยที่จะต้องถูกบังคับคดีขายทรัพย์สินอยู่แล้ว สามารถกลายเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและล้มละลายได้โดยง่ายด้วยการขายทอดตลาดตามนโยบายนอกกฎหมายและเหนือรัฐธรรมนูญของกรมบังคับคดี
ในขณะเดียวกันด้วยนโยบายดังกล่าว ก็ได้เพิ่มความมั่นคงมั่งคั่งให้แก่ฝ่ายทุนใหญ่ ซึ่งสามารถกอบโกยผลกำไรอันมหาศาลจากกระบวนการขายทอดตลาดที่สามารถกดราคา และช้อนซื้อทรัพย์สินในราคาถูก โดยกระบวนการของหน่วยงานภาครัฐในกระบวนการยุติธรรมนั่นเอง