ASTVผู้จัดการรายวัน- ครม.เห็นชอบการบินไทยจัดหาเครื่องบิน 15 ลำ ตามแผนระยะสั้น 5 ปี (53-57) วงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท ทดแทนเครื่องบินเก่าอายุเกิน 20 ปีที่เตรียมปลดระวางจำนวน 25ลำ คาดผู้โดยสาร 5 ปีจะเติบโต 6% ต่อปี
นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (30 มี.ค.) ว่า ที่ประชุมอนุมัติให้บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) จัดหาเครื่องบินจำนวน 15 ลำ วงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท ในช่วงปี 2553-2557 ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยเป็นการจัดหาเครื่องบิน 15 ลำ รวมเครื่อง ยนต์อะไหล่ 5 เครื่องยนต์ วงเงินลงทุน 35,484 ล้านบาท
โดยแบ่งเป็น เครื่องบินภูมิภาคความจุประมาณ 300 ที่นั่ง จำนวน 7 ลำ โดยวิธีเช่าซื้อ (Financial Lease) วงเงิน 31,259 ล้านบาท ซึ่งTHAIจะกู้เงินมาจัดหาจำนวน25,077ล้านบาทและใช้เครื่องบินเป็นหลักทรัพย์ ค้ำประกันในวงเงิน 80% ของราคาเครื่องบินและอุปกรณ์ตกแต่ง โดยปี 2554 มีความต้องการใช้เงิน 10,455 ล้านบาท ปี 2555 จำนวน 7,177 ล้านบาท และปี 2556 อีก 7,375 ล้านบาท ซึ่งการบินไทยอาจขอรับค้ำประกันเงินกู้จาก Export Credit Agencies หรือ US Ex-lm Bank ต่อไป
เครื่องบินข้ามทวีปความจุประมาณ 350 ที่นั่ง จำนวน 8 ลำ โดยวิธีการเช่าดำเนินงาน (Operating Lease) วงเงิน 79,185 ล้านบาท ซึ่งจะไม่รวมอยู่ในเงินลงทุนโครงการ แต่จะใช้รายได้มาจ่ายค่าเช่า , เครื่องยนต์อะไหล่สำหรับเครื่องบินภูมิภาค 2 เครื่องยนต์ วงเงิน 922 ล้านบาท และเครื่องยนต์อะไหล่สำหรับเครื่องบินข้ามทวีป 3 เครื่องยนต์ วงเงิน 3,303 ล้านบาท
ทั้งนี้ เครื่องบินภูมิภาคจำนวน 7 ลำ จะนำมาให้บริการในเส้นทาง กรุงเทพฯ-เพิร์ธ ,กรุงเทพ-เพิร์ธ-ภูเก็ต, กรุงเทพฯ-ดูไบ, กรุงเทพฯ-เซี่ยงไฮ้, กรุงเทพฯ-ไทเป, กรุงเทพฯ-มุมไบ, กรุงเทพฯ-ฮ่องกง, กรุงเทพฯ-กัลกัตตา, กรุงเทพฯบังกาลอร์, กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ-ภูเก็ต
ส่วนเครื่องบินข้ามทวีปจำนวน 8 ลำ จะนำมาให้บริการในเส้นทาง กรุงเทพฯ-สต๊อคโฮม, กรุงเทพฯ-โคเปนเฮเก้น, กรุงเทพฯ-ออสโล, กรุงเทพฯ-โซล-ลอสแองเจลิส, กรุงเทพฯ-นิวเดลี, กรุงเทพฯ-ปักกิ่ง และกรุงเทพฯ-เชียงใหม่
ในระยะ 5 ปี (2553-2557) จะปลดระวางเครื่องบินที่มีอายุการใช้งานนานกว่า 20 ปี หรือมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูง จำนวน 25 ลำ ประกอบด้วย โบอิ้ง 747-400 อายุการใช้งาน 20-22 ปี จำนวน 6 ลำ , แอร์บัส A 300-600 อายุการใช้งาน 20-22 ปี จำนวน 10 ลำ,แอร์บัส A 340-500 อายุการใช้งาน 6-8 ปี จำนวน 4 ลำ , โบอิ้ง 737-400 อายุการใช้งาน 18-19 ปี จำนวน 3 ลำ (ให้นกแอร์เช่า) และ ATR อายุการใช้งาน 20 ปี จำนวน 2 ลำ (ให้นกแอร์เช่า) และอยู่ระหว่างการรับมอบเครื่องบินจากที่ ครม.ได้ให้ความเห็นชอบแล้วจำนวน 9 ลำ ซึ่งระหว่างปี 2553-2557 การบินไทยจะมีเครื่องบินใหม่รวม 24 ลำ และมีเครื่องบินในฝูงบิน 87 ลำ อายุเฉลี่ยของฝูงบิน 11.3 ปี
สำหรับแผนการจัดหาเครื่องบินดังกล่าว เป็นการดำเนินงานตามแผนช่วง 5 ปีแรก ของแผนพัฒนาเครือข่ายเส้นทางบินและฝูงบินระยะเวลา 15 ปี ซึ่งจะต้องจัดหาเครื่องบินรวม 90 ลำ และปลดระวางเครื่องบิน 77 ลำ และคาดว่าจะมีผลตอบแทนมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) จากการลงทุนรวม 17,393 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ(IATA)ได้คาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยของการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทางอากาศระหว่างปี 2554-2556 จะเพิ่มขึ้นอีก 4.9 % ต่อปี การบินไทยคาดว่าผู้โดยสารระหว่างประเทศระหว่างปี 2553-2557 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก 6% ต่อปี ดังนั้นจึงต้องมีการจัดหาเครื่องบิน ใหม่ 15 ลำช่วยเสริมศักยภาพการบริการ
นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (30 มี.ค.) ว่า ที่ประชุมอนุมัติให้บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) จัดหาเครื่องบินจำนวน 15 ลำ วงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท ในช่วงปี 2553-2557 ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยเป็นการจัดหาเครื่องบิน 15 ลำ รวมเครื่อง ยนต์อะไหล่ 5 เครื่องยนต์ วงเงินลงทุน 35,484 ล้านบาท
โดยแบ่งเป็น เครื่องบินภูมิภาคความจุประมาณ 300 ที่นั่ง จำนวน 7 ลำ โดยวิธีเช่าซื้อ (Financial Lease) วงเงิน 31,259 ล้านบาท ซึ่งTHAIจะกู้เงินมาจัดหาจำนวน25,077ล้านบาทและใช้เครื่องบินเป็นหลักทรัพย์ ค้ำประกันในวงเงิน 80% ของราคาเครื่องบินและอุปกรณ์ตกแต่ง โดยปี 2554 มีความต้องการใช้เงิน 10,455 ล้านบาท ปี 2555 จำนวน 7,177 ล้านบาท และปี 2556 อีก 7,375 ล้านบาท ซึ่งการบินไทยอาจขอรับค้ำประกันเงินกู้จาก Export Credit Agencies หรือ US Ex-lm Bank ต่อไป
เครื่องบินข้ามทวีปความจุประมาณ 350 ที่นั่ง จำนวน 8 ลำ โดยวิธีการเช่าดำเนินงาน (Operating Lease) วงเงิน 79,185 ล้านบาท ซึ่งจะไม่รวมอยู่ในเงินลงทุนโครงการ แต่จะใช้รายได้มาจ่ายค่าเช่า , เครื่องยนต์อะไหล่สำหรับเครื่องบินภูมิภาค 2 เครื่องยนต์ วงเงิน 922 ล้านบาท และเครื่องยนต์อะไหล่สำหรับเครื่องบินข้ามทวีป 3 เครื่องยนต์ วงเงิน 3,303 ล้านบาท
ทั้งนี้ เครื่องบินภูมิภาคจำนวน 7 ลำ จะนำมาให้บริการในเส้นทาง กรุงเทพฯ-เพิร์ธ ,กรุงเทพ-เพิร์ธ-ภูเก็ต, กรุงเทพฯ-ดูไบ, กรุงเทพฯ-เซี่ยงไฮ้, กรุงเทพฯ-ไทเป, กรุงเทพฯ-มุมไบ, กรุงเทพฯ-ฮ่องกง, กรุงเทพฯ-กัลกัตตา, กรุงเทพฯบังกาลอร์, กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ-ภูเก็ต
ส่วนเครื่องบินข้ามทวีปจำนวน 8 ลำ จะนำมาให้บริการในเส้นทาง กรุงเทพฯ-สต๊อคโฮม, กรุงเทพฯ-โคเปนเฮเก้น, กรุงเทพฯ-ออสโล, กรุงเทพฯ-โซล-ลอสแองเจลิส, กรุงเทพฯ-นิวเดลี, กรุงเทพฯ-ปักกิ่ง และกรุงเทพฯ-เชียงใหม่
ในระยะ 5 ปี (2553-2557) จะปลดระวางเครื่องบินที่มีอายุการใช้งานนานกว่า 20 ปี หรือมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูง จำนวน 25 ลำ ประกอบด้วย โบอิ้ง 747-400 อายุการใช้งาน 20-22 ปี จำนวน 6 ลำ , แอร์บัส A 300-600 อายุการใช้งาน 20-22 ปี จำนวน 10 ลำ,แอร์บัส A 340-500 อายุการใช้งาน 6-8 ปี จำนวน 4 ลำ , โบอิ้ง 737-400 อายุการใช้งาน 18-19 ปี จำนวน 3 ลำ (ให้นกแอร์เช่า) และ ATR อายุการใช้งาน 20 ปี จำนวน 2 ลำ (ให้นกแอร์เช่า) และอยู่ระหว่างการรับมอบเครื่องบินจากที่ ครม.ได้ให้ความเห็นชอบแล้วจำนวน 9 ลำ ซึ่งระหว่างปี 2553-2557 การบินไทยจะมีเครื่องบินใหม่รวม 24 ลำ และมีเครื่องบินในฝูงบิน 87 ลำ อายุเฉลี่ยของฝูงบิน 11.3 ปี
สำหรับแผนการจัดหาเครื่องบินดังกล่าว เป็นการดำเนินงานตามแผนช่วง 5 ปีแรก ของแผนพัฒนาเครือข่ายเส้นทางบินและฝูงบินระยะเวลา 15 ปี ซึ่งจะต้องจัดหาเครื่องบินรวม 90 ลำ และปลดระวางเครื่องบิน 77 ลำ และคาดว่าจะมีผลตอบแทนมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) จากการลงทุนรวม 17,393 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ(IATA)ได้คาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยของการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทางอากาศระหว่างปี 2554-2556 จะเพิ่มขึ้นอีก 4.9 % ต่อปี การบินไทยคาดว่าผู้โดยสารระหว่างประเทศระหว่างปี 2553-2557 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก 6% ต่อปี ดังนั้นจึงต้องมีการจัดหาเครื่องบิน ใหม่ 15 ลำช่วยเสริมศักยภาพการบริการ