การชุมนุมทางการเมืองครั้งใหญ่ของกองทัพเสื้อแดงนาม “นปช.” ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2553 เป็นต้นมา ลงเอยด้วยความพ่ายแพ้อย่างแน่นอน และจะลงเอยเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ตราบใดที่พวกเขายังติดอยู่ในวังวนของความ “เขลา” ทางการเมืองใหญ่ๆ 3 ประการ คือ
1. การชูธงทักษิณ ต่อสู้เพื่อทักษิณ อยู่ภายใต้การบงการของทักษิณ
2. การใช้ความเท็จเป็นตัวเดิน
3. การนำเสนอการต่อสู้ทางชนชั้น (ไพร่-อำมาตย์)
1. การชูธงทักษิณ ต่อสู้เพื่อทักษิณ อยู่ภายใต้การบงการของทักษิณ
ทักษิณเป็นนักการเมืองที่ชาวโลกรับรู้แล้วว่า เป็นนักการเมืองโคตรโกง ขัดแย้งกับลักษณะการเมืองยุคสมัยปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง เห็นได้จากประเทศที่เจริญแล้วทั่วโลกแสดงท่าทีปฏิเสธในตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
การเชิดชูเขาเป็นผู้นำ จึงเท่ากับพากันวิ่งเข้าชนกำแพงแห่งยุคสมัย รังแต่จะหัวร้างข้างแตกเปล่าๆ ยิ่งชนก็ยิ่งเจ็บ
2. การใช้ความเท็จเป็นตัวเดิน
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง “ตกหล่ม” ความเท็จของตนเองอยู่ตลอดเวลา เช่น ใช้คลิปเสียงที่ตัดต่อแล้วบิดเบือนความหมายไปตามความต้องการของผู้ตัดต่อของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็น “เครื่องมือ” ปลุกกระแสต่อต้านรัฐบาลในที่ชุมนุมมวลชน สะท้อนให้เห็นถึงความต่ำทรามทางคุณธรรมของผู้นำเสนอ รังแต่จะลากเอาขบวนการการเมืองภาคประชาชนในซีกคนเสื้อแดงตกต่ำลงไปอีก สร้างความเสียหายให้แก่ภาพลักษณ์ทางการเมืองของขบวนการการเมืองภาคประชาชน เป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการของขบวนการการเมืองภาคประชาชนโดยรวมอย่างชัดเจน
ในที่สุด ผู้มีแนวคิดทางการเมืองที่ก้าวหน้า ต้องการการเมืองใหม่ ก็จะผละจากกลุ่มคนเสื้อแดง หรือเลิกสนับสนุนกลุ่มคนเสื้อแดงไปเลย
3. การนำเสนอการต่อสู้ทางชนชั้น (ไพร่-อำมาตย์)
นับเป็นความผิดพลาดทางความคิดอย่างมหันต์ของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่พยายาม “เปิดแผล”ทางชนชั้นขึ้นในสังคมไทย
จริงอยู่ สังคมไทยและสังคมอื่นๆ ส่วนใหญ่ของโลก ยังมีลักษณะของความเป็นสังคมชนชั้นดำรงอยู่ แต่ก็เป็นเพียงปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงกระบวนการพัฒนาการของสังคมมนุษยชาติตามการอธิบายของปรมาจารย์ (คาร์ล มาร์กซ์) ที่เห็นว่า สังคมมนุษย์พัฒนามาอย่างไร ด้วยพลังขับเคลื่อนอันใด และประมวลออกมาเป็นทฤษฎีปฏิวัติสังคมตามสภาวะที่เป็นไปได้ ตามสภาพเป็นจริงของประวัติศาสตร์ในแต่ละห้วงแห่งยุคสมัย ซึ่งหลักใหญ่ยังต้องยืนอยู่บนฐานการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หากมิใช่ขึ้นอยู่กับความต้องการของใครคนหนึ่งคนใดหรือคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด
แม้แต่ประเทศจีน ซึ่งผ่านการปฏิวัติทางสังคม จากความเป็นกึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินา มาเป็นสังคมนิยมแล้ว ก็ยังต้องเร่งพัฒนาทางเศรษฐกิจ เพื่อให้สังคมพัฒนาก้าวหน้าได้อย่างจริงจัง เพราะลำพังแต่เพียงโครงสร้างสังคมแบบสังคมนิยม จะไม่ช่วยให้สังคมจีนพัฒนาไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองแต่ประการใด
การต่อสู้ทางชนชั้น การขจัดความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น หรือปรากฏการณ์ “สองมาตรฐาน”ในด้านต่างๆ ที่มีอยู่มากในสังคมจีน ล้วนแต่ต้องดำเนินไปในระบบ ด้วยการปฏิรูปและพัฒนาระบบให้ดีขึ้นเรื่อยๆ หากมิใช่ด้วยการปลุกระดม ห้ำหั่นกันทางชนชั้น จนเกิดความแตกแยกในสังคม
ภารกิจของรัฐบาลจีนหลักๆ จึงอยู่ที่การปฏิรูปและพัฒนาระบบ กลไกต่างๆ ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะระบบกฎหมาย ให้เกิดความเป็นธรรม ให้มีความเสมอภาคในโอกาสของคนทุกระดับชั้นในสังคม ควบคู่ไปกับการปลูกฝังแนวคิดอุดมการณ์ที่ก้าวหน้าให้แก่บุคลากรของรัฐอย่างเป็นระบบ
ประเทศไทยวันนี้ การต่อสู้ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สามารถดำเนินไปได้ในครรลองของความถูกต้องชอบธรรม ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ หากมิใช่ด้วยการปลุกระดมทางชนชั้น สร้างความแตกแยกขึ้นมาในสังคมไทย
กระนั้นก็ตาม ผู้เขียนไม่คิดว่า การปลุกระดมทางชนชั้นของกลุ่มคนเสื้อแดงบนเวที จะประสบความสำเร็จ เพราะทุกฝ่ายต่างมองเห็นว่า มันจะนำไปสู่หายนะของประเทศชาติ ประชาชนชาวไทยจะไม่ได้ประโยชน์อันใด
อีกทั้ง ในความเป็นจริง สังคมไทยวันนี้ได้ผ่านเลยสภาวะการดำรงอยู่ทางชนชั้นระหว่าง “เจ้า-ไพร่” (มิใช่ “อำมาตย์-ไพร่”) มานานแล้ว พวกเจ้าหรืออำมาตย์เป็นเพียงสัญลักษณ์ปะหน้าให้ดูดีทางสังคมให้แก่ชนชั้นสูงที่ได้ผันตัวเองมาเป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นนายทุนแล้วเท่านั้นเอง (อาจเรียกขานพวกเขาว่าเป็น “นายทุนชั้นสูง” ก็ได้) ด้วยเหตุนี้ ชนชั้นที่มีอำนาจจริง กำหนดทิศทางพัฒนาการของสังคมไทย ก็คือชนชั้นนายทุน ทั้งที่มาจากชนชั้นสูงดั้งเดิม และชนชั้นนายทุนที่มาจากสามัญชน โดยเฉพาะคนไทยเชื้อสายจีน
การที่เจ้าหรืออำมาตย์ (ในฐานะส่วนตัว มิใช่ชนชั้น) ยังคงมีบทบาทเชิงอำนาจเหนือการเมืองระดับชาติอยู่บ้าง ที่สำคัญเพราะความไม่สมบูรณ์ของการเมืองในระบบรัฐสภา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้อำนาจการเมืองเป็นเครื่องแสวงประโยชน์ส่วนตนของกลุ่มพรรคการเมือง ที่ส่วนใหญ่แล้วมาจากกลุ่มทุน ที่กระทำการมาอย่างต่อเนื่องยาวนานหลายสิบปี สร้างความไม่พอใจให้แก่ประชาชนเป็นอย่างมาก เปิดช่องให้ “เจ้า” หรือ “อำมาตย์” ซึ่งมากด้วยบารมีส่วนตัว เป็นที่ยอมรับของสังคม ทำการแทรกแซง ซึ่งในแต่ละครั้งก็มักจะมีเหตุมีผลอยู่ในตัว
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรัฐประหารครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 สามารถหักโค่นอำนาจรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรได้สำเร็จเป็นเบื้องต้น ไม่เพียงได้หยุดยั้งกระบวนการกลืนกินประเทศไทยของกลุ่มทุนในระบอบทักษิณเท่านั้น แต่ยังได้เปิดช่องให้แก่การพัฒนาเติบใหญ่ของขบวนการการเมืองภาคประชาชนอย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย
ทั้งในรูปของกลุ่มคนเสื้อเหลืองและกลุ่มคนเสื้อแดง
ประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศไทยตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา เป็นประวัติศาสตร์ของการเมืองฉ้อฉลเป็นสำคัญ อำนาจบริหารประเทศตกอยู่ในมือของกลุ่มทหารและกลุ่มทุนตามลำดับ ดำเนินมาในลักษณะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน “กิน” โดยตลอด การเมืองในระบบรัฐสภามีสภาพเป็นเพียงแผ่นฉลากสีสวยที่ติดปะหน้าเอาไว้เท่านั้นเอง
เมื่ออำนาจในมือกลุ่มทุน “สั่นคลอน” กลุ่มทหารส่วนใหญ่เลือกที่จะทำตัวเป็นทหารอาชีพ จึงเป็นโอกาสของขบวนการการเมืองภาคประชาชน ที่จะก้าวขึ้นสู่เวทีการเมือง แสดงตนเป็น “เจ้าภาพ” จัดการให้การเมืองในระบบรัฐสภา ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข “เข้าที่เข้าทาง” กำกับการใช้อำนาจบริหารประเทศของกลุ่มพรรคการเมืองชนชั้นนายทุน ในรูป “ประชาธิปไตยทางตรง” ที่ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจบริหารประเทศโดยตรง
ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ การเร่งสร้างพลังอำนาจทางการเมืองอันยิ่งใหญ่ ให้เป็นอำนาจกำหนดใหม่ จึงเป็นภารกิจทางประวัติศาสตร์ของขบวนการการเมืองภาคประชาชน ที่ประกอบไปด้วยพลังรวมจากทุกฝ่ายที่ต้องการการเมืองใหม่ที่สะอาด ซื่อๆ ตรงๆ ผู้ใช้อำนาจบริหารประเทศมุ่งทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมอย่างแท้จริง
ในบริบททางสังคมเช่นนี้ จึงมีแต่ “การเมืองใหม่” เท่านั้น ที่จะเป็นคำตอบของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง
จากเหตุผล 3 ประการข้างต้น ผู้เขียนขอบอกและเสนอแก่กลุ่มคนเสื้อแดงว่า พวกคุณเดินผิดทาง ยิ่งเดินก็ยิ่งตัน ถ้าเป็นเรือก็ต้องอับปาง หากต้องการการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจริงๆ แล้ว จะต้องละทิ้งหลักยึดผิดๆ ทั้ง 3 ประการ อย่างไม่มีเงื่อนไขทันที แล้วหันมาเดินทางสายใหม่ คือทางแห่งการเมืองใหม่ ที่ประชาชนเป็นเจ้าภาพ กำกับการขับเคลื่อนของสังคมไทยไปในทิศทางที่ถูกต้อง ประเทศชาติเจริญก้าวหน้า ประชาชนอยู่ดีมีสุขถ้วนหน้า
สังคมไทยร่มเย็น เป็นที่พักพิงของชนทุกระดับชั้น ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน
1. การชูธงทักษิณ ต่อสู้เพื่อทักษิณ อยู่ภายใต้การบงการของทักษิณ
2. การใช้ความเท็จเป็นตัวเดิน
3. การนำเสนอการต่อสู้ทางชนชั้น (ไพร่-อำมาตย์)
1. การชูธงทักษิณ ต่อสู้เพื่อทักษิณ อยู่ภายใต้การบงการของทักษิณ
ทักษิณเป็นนักการเมืองที่ชาวโลกรับรู้แล้วว่า เป็นนักการเมืองโคตรโกง ขัดแย้งกับลักษณะการเมืองยุคสมัยปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง เห็นได้จากประเทศที่เจริญแล้วทั่วโลกแสดงท่าทีปฏิเสธในตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
การเชิดชูเขาเป็นผู้นำ จึงเท่ากับพากันวิ่งเข้าชนกำแพงแห่งยุคสมัย รังแต่จะหัวร้างข้างแตกเปล่าๆ ยิ่งชนก็ยิ่งเจ็บ
2. การใช้ความเท็จเป็นตัวเดิน
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง “ตกหล่ม” ความเท็จของตนเองอยู่ตลอดเวลา เช่น ใช้คลิปเสียงที่ตัดต่อแล้วบิดเบือนความหมายไปตามความต้องการของผู้ตัดต่อของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็น “เครื่องมือ” ปลุกกระแสต่อต้านรัฐบาลในที่ชุมนุมมวลชน สะท้อนให้เห็นถึงความต่ำทรามทางคุณธรรมของผู้นำเสนอ รังแต่จะลากเอาขบวนการการเมืองภาคประชาชนในซีกคนเสื้อแดงตกต่ำลงไปอีก สร้างความเสียหายให้แก่ภาพลักษณ์ทางการเมืองของขบวนการการเมืองภาคประชาชน เป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการของขบวนการการเมืองภาคประชาชนโดยรวมอย่างชัดเจน
ในที่สุด ผู้มีแนวคิดทางการเมืองที่ก้าวหน้า ต้องการการเมืองใหม่ ก็จะผละจากกลุ่มคนเสื้อแดง หรือเลิกสนับสนุนกลุ่มคนเสื้อแดงไปเลย
3. การนำเสนอการต่อสู้ทางชนชั้น (ไพร่-อำมาตย์)
นับเป็นความผิดพลาดทางความคิดอย่างมหันต์ของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่พยายาม “เปิดแผล”ทางชนชั้นขึ้นในสังคมไทย
จริงอยู่ สังคมไทยและสังคมอื่นๆ ส่วนใหญ่ของโลก ยังมีลักษณะของความเป็นสังคมชนชั้นดำรงอยู่ แต่ก็เป็นเพียงปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงกระบวนการพัฒนาการของสังคมมนุษยชาติตามการอธิบายของปรมาจารย์ (คาร์ล มาร์กซ์) ที่เห็นว่า สังคมมนุษย์พัฒนามาอย่างไร ด้วยพลังขับเคลื่อนอันใด และประมวลออกมาเป็นทฤษฎีปฏิวัติสังคมตามสภาวะที่เป็นไปได้ ตามสภาพเป็นจริงของประวัติศาสตร์ในแต่ละห้วงแห่งยุคสมัย ซึ่งหลักใหญ่ยังต้องยืนอยู่บนฐานการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หากมิใช่ขึ้นอยู่กับความต้องการของใครคนหนึ่งคนใดหรือคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด
แม้แต่ประเทศจีน ซึ่งผ่านการปฏิวัติทางสังคม จากความเป็นกึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินา มาเป็นสังคมนิยมแล้ว ก็ยังต้องเร่งพัฒนาทางเศรษฐกิจ เพื่อให้สังคมพัฒนาก้าวหน้าได้อย่างจริงจัง เพราะลำพังแต่เพียงโครงสร้างสังคมแบบสังคมนิยม จะไม่ช่วยให้สังคมจีนพัฒนาไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองแต่ประการใด
การต่อสู้ทางชนชั้น การขจัดความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น หรือปรากฏการณ์ “สองมาตรฐาน”ในด้านต่างๆ ที่มีอยู่มากในสังคมจีน ล้วนแต่ต้องดำเนินไปในระบบ ด้วยการปฏิรูปและพัฒนาระบบให้ดีขึ้นเรื่อยๆ หากมิใช่ด้วยการปลุกระดม ห้ำหั่นกันทางชนชั้น จนเกิดความแตกแยกในสังคม
ภารกิจของรัฐบาลจีนหลักๆ จึงอยู่ที่การปฏิรูปและพัฒนาระบบ กลไกต่างๆ ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะระบบกฎหมาย ให้เกิดความเป็นธรรม ให้มีความเสมอภาคในโอกาสของคนทุกระดับชั้นในสังคม ควบคู่ไปกับการปลูกฝังแนวคิดอุดมการณ์ที่ก้าวหน้าให้แก่บุคลากรของรัฐอย่างเป็นระบบ
ประเทศไทยวันนี้ การต่อสู้ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สามารถดำเนินไปได้ในครรลองของความถูกต้องชอบธรรม ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ หากมิใช่ด้วยการปลุกระดมทางชนชั้น สร้างความแตกแยกขึ้นมาในสังคมไทย
กระนั้นก็ตาม ผู้เขียนไม่คิดว่า การปลุกระดมทางชนชั้นของกลุ่มคนเสื้อแดงบนเวที จะประสบความสำเร็จ เพราะทุกฝ่ายต่างมองเห็นว่า มันจะนำไปสู่หายนะของประเทศชาติ ประชาชนชาวไทยจะไม่ได้ประโยชน์อันใด
อีกทั้ง ในความเป็นจริง สังคมไทยวันนี้ได้ผ่านเลยสภาวะการดำรงอยู่ทางชนชั้นระหว่าง “เจ้า-ไพร่” (มิใช่ “อำมาตย์-ไพร่”) มานานแล้ว พวกเจ้าหรืออำมาตย์เป็นเพียงสัญลักษณ์ปะหน้าให้ดูดีทางสังคมให้แก่ชนชั้นสูงที่ได้ผันตัวเองมาเป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นนายทุนแล้วเท่านั้นเอง (อาจเรียกขานพวกเขาว่าเป็น “นายทุนชั้นสูง” ก็ได้) ด้วยเหตุนี้ ชนชั้นที่มีอำนาจจริง กำหนดทิศทางพัฒนาการของสังคมไทย ก็คือชนชั้นนายทุน ทั้งที่มาจากชนชั้นสูงดั้งเดิม และชนชั้นนายทุนที่มาจากสามัญชน โดยเฉพาะคนไทยเชื้อสายจีน
การที่เจ้าหรืออำมาตย์ (ในฐานะส่วนตัว มิใช่ชนชั้น) ยังคงมีบทบาทเชิงอำนาจเหนือการเมืองระดับชาติอยู่บ้าง ที่สำคัญเพราะความไม่สมบูรณ์ของการเมืองในระบบรัฐสภา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้อำนาจการเมืองเป็นเครื่องแสวงประโยชน์ส่วนตนของกลุ่มพรรคการเมือง ที่ส่วนใหญ่แล้วมาจากกลุ่มทุน ที่กระทำการมาอย่างต่อเนื่องยาวนานหลายสิบปี สร้างความไม่พอใจให้แก่ประชาชนเป็นอย่างมาก เปิดช่องให้ “เจ้า” หรือ “อำมาตย์” ซึ่งมากด้วยบารมีส่วนตัว เป็นที่ยอมรับของสังคม ทำการแทรกแซง ซึ่งในแต่ละครั้งก็มักจะมีเหตุมีผลอยู่ในตัว
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรัฐประหารครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 สามารถหักโค่นอำนาจรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรได้สำเร็จเป็นเบื้องต้น ไม่เพียงได้หยุดยั้งกระบวนการกลืนกินประเทศไทยของกลุ่มทุนในระบอบทักษิณเท่านั้น แต่ยังได้เปิดช่องให้แก่การพัฒนาเติบใหญ่ของขบวนการการเมืองภาคประชาชนอย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย
ทั้งในรูปของกลุ่มคนเสื้อเหลืองและกลุ่มคนเสื้อแดง
ประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศไทยตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา เป็นประวัติศาสตร์ของการเมืองฉ้อฉลเป็นสำคัญ อำนาจบริหารประเทศตกอยู่ในมือของกลุ่มทหารและกลุ่มทุนตามลำดับ ดำเนินมาในลักษณะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน “กิน” โดยตลอด การเมืองในระบบรัฐสภามีสภาพเป็นเพียงแผ่นฉลากสีสวยที่ติดปะหน้าเอาไว้เท่านั้นเอง
เมื่ออำนาจในมือกลุ่มทุน “สั่นคลอน” กลุ่มทหารส่วนใหญ่เลือกที่จะทำตัวเป็นทหารอาชีพ จึงเป็นโอกาสของขบวนการการเมืองภาคประชาชน ที่จะก้าวขึ้นสู่เวทีการเมือง แสดงตนเป็น “เจ้าภาพ” จัดการให้การเมืองในระบบรัฐสภา ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข “เข้าที่เข้าทาง” กำกับการใช้อำนาจบริหารประเทศของกลุ่มพรรคการเมืองชนชั้นนายทุน ในรูป “ประชาธิปไตยทางตรง” ที่ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจบริหารประเทศโดยตรง
ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ การเร่งสร้างพลังอำนาจทางการเมืองอันยิ่งใหญ่ ให้เป็นอำนาจกำหนดใหม่ จึงเป็นภารกิจทางประวัติศาสตร์ของขบวนการการเมืองภาคประชาชน ที่ประกอบไปด้วยพลังรวมจากทุกฝ่ายที่ต้องการการเมืองใหม่ที่สะอาด ซื่อๆ ตรงๆ ผู้ใช้อำนาจบริหารประเทศมุ่งทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมอย่างแท้จริง
ในบริบททางสังคมเช่นนี้ จึงมีแต่ “การเมืองใหม่” เท่านั้น ที่จะเป็นคำตอบของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง
จากเหตุผล 3 ประการข้างต้น ผู้เขียนขอบอกและเสนอแก่กลุ่มคนเสื้อแดงว่า พวกคุณเดินผิดทาง ยิ่งเดินก็ยิ่งตัน ถ้าเป็นเรือก็ต้องอับปาง หากต้องการการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจริงๆ แล้ว จะต้องละทิ้งหลักยึดผิดๆ ทั้ง 3 ประการ อย่างไม่มีเงื่อนไขทันที แล้วหันมาเดินทางสายใหม่ คือทางแห่งการเมืองใหม่ ที่ประชาชนเป็นเจ้าภาพ กำกับการขับเคลื่อนของสังคมไทยไปในทิศทางที่ถูกต้อง ประเทศชาติเจริญก้าวหน้า ประชาชนอยู่ดีมีสุขถ้วนหน้า
สังคมไทยร่มเย็น เป็นที่พักพิงของชนทุกระดับชั้น ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน