ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติพร้อมส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบธนบัตรปลอมย่านประตูน้ำ หลังพ่อค้าโวยช่วงมีม็อบแบงก์ปลอมระบาด ส่วนการรับมือค่าบาทแข็งช่วง 12-19 มี.ค. ใช้เงินแทรกแซง 3.4 หมื่นล้านบาท
จากกรณีธนบัตรปลอมเริ่มระบาดในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา หรือช่วงชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง โดยเฉพาะในศูนย์การค้าย่านประตูน้ำและบริเวณใกล้เคียง นายวรพร ตั้งสง่าศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการ ฝ่ายกลยุทธ์และวางแผน สายออกบัตรธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ขณะนี้ ธปท.ยังไม่ได้รับการร้องเรียน แต่จะส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายลงพื้นที่ เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะจุดเป็นพิเศษไปก่อน
"1-2 วันข้างหน้า เราจะส่งคนเข้าไปตรวจสอบ เพื่อสอดรับกับการที่ ธปท.พยายามรณรงค์ต่อต้านธนบัตรปลอมให้กับพ่อค้า แม่ค้าในพื้นที่ต่างๆ รับทราบอยู่แล้ว เชื่อว่าจากการรณรงค์ต่อเนื่อง การขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะทำให้แนวโน้มธนบัตรปลอมลดลง" นายวรพรกล่าว
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับภาพรวมการปลอมธนบัตรในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้เทียบปีก่อน พบว่าการปลอมธนบัตรลดลง โดยเฉลี่ยธนบัตรที่ใช้หมุนเวียนในระบบประมาณ 1 ล้านฉบับทุกชนิดทุกราคา มีการตรวจพบธนบัตรปลอมผ่านการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจและการคัดกรอกของธนาคารพาณิชย์และธปท.เฉลี่ย 3-4 ฉบับ เทียบกับปี 51 ที่มีธนบัตรปลอมระบาดมากที่สุด เฉลี่ย 7-8 ฉบับและที่ยังคงเหมือนเดิมในหลายปีที่ผ่านมา คือ ส่วนใหญ่พบธนบัตรปลอมชนิดราคา 1,000 บาท
โดยก่อนหน้านี้ นายอรรคบุษย์ ไกรฤกษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายช่วยงานบริหาร ธปท.กล่าวว่า ในปี 52 ธปท.มีการผลิตธนบัตรทุกชนิดราคาทั้งสิ้น 2,757 ล้านฉบับ เพิ่มขึ้นจากปี 51 ประมาณ 0.4% โดยมีธนบัตรที่นำออกใช้ 3,978 ล้านฉบับ เพิ่มขึ้นจากปี 51 ประมาณ 6.9% มีมูลค่ารวม 1,054,485 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.5% สำหรับธนบัตรปลอมที่ตรวจพบและจับกุมได้ในปี 52 มีทั้งสิ้น 12,162 ฉบับ หรือประมาณ 4 ฉบับต่อธนบัตรหมุนเวียนในระบบล้านฉบับ ถือว่าลดลงจากปี 51 ประมาณ 42.9%.
***ใช้ 3.4 หมื่นล้านรับมือบาทแข็ง
ธปท.ได้รายงานฐานะทุนสำรองทางการระหว่างประเทศและฐานะสุทธิการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Forward) ช่วงวันที่ 12-19 มี.ค. สัปดาห์ที่มีเงินทุนต่างประเทศไหลเข้าจำนวนมาก เพื่อลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ ส่งผลค่าเงินบาทแข็งค่าสูงสุดในรอบ 21 เดือน ที่ 32.53 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ19 มี.ค.
ธปท.ได้เข้าซื้อดอลลาร์ทันทีและล่วงหน้ากว่า 1,016.86 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทย 34,510 ล้านบาท (32.50 บาทต่อดอลลาร์) ส่งผลให้เงินสำรองทางการ ณ วันที่ 19 มี.ค.เพิ่มขึ้นเป็น 143,765 ล้านเหรียญสหรัฐ จาก 143,483.08 ล้านเหรียญสหรัฐ ในวันที่ 12 มี.ค. และฐานะซื้อขายเงินตราต่างประเทศสุทธิ ณ 19 มี.ค.อยู่ที่ 12,739 ล้านเหรียญสหรัฐ จาก 12,005 ล้านเหรียญสหรัฐ ในวันที่ 12 มี.ค.
"การเข้าแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดความผันผวนไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่าเร็วเกินไป".
จากกรณีธนบัตรปลอมเริ่มระบาดในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา หรือช่วงชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง โดยเฉพาะในศูนย์การค้าย่านประตูน้ำและบริเวณใกล้เคียง นายวรพร ตั้งสง่าศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการ ฝ่ายกลยุทธ์และวางแผน สายออกบัตรธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ขณะนี้ ธปท.ยังไม่ได้รับการร้องเรียน แต่จะส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายลงพื้นที่ เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะจุดเป็นพิเศษไปก่อน
"1-2 วันข้างหน้า เราจะส่งคนเข้าไปตรวจสอบ เพื่อสอดรับกับการที่ ธปท.พยายามรณรงค์ต่อต้านธนบัตรปลอมให้กับพ่อค้า แม่ค้าในพื้นที่ต่างๆ รับทราบอยู่แล้ว เชื่อว่าจากการรณรงค์ต่อเนื่อง การขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะทำให้แนวโน้มธนบัตรปลอมลดลง" นายวรพรกล่าว
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับภาพรวมการปลอมธนบัตรในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้เทียบปีก่อน พบว่าการปลอมธนบัตรลดลง โดยเฉลี่ยธนบัตรที่ใช้หมุนเวียนในระบบประมาณ 1 ล้านฉบับทุกชนิดทุกราคา มีการตรวจพบธนบัตรปลอมผ่านการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจและการคัดกรอกของธนาคารพาณิชย์และธปท.เฉลี่ย 3-4 ฉบับ เทียบกับปี 51 ที่มีธนบัตรปลอมระบาดมากที่สุด เฉลี่ย 7-8 ฉบับและที่ยังคงเหมือนเดิมในหลายปีที่ผ่านมา คือ ส่วนใหญ่พบธนบัตรปลอมชนิดราคา 1,000 บาท
โดยก่อนหน้านี้ นายอรรคบุษย์ ไกรฤกษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายช่วยงานบริหาร ธปท.กล่าวว่า ในปี 52 ธปท.มีการผลิตธนบัตรทุกชนิดราคาทั้งสิ้น 2,757 ล้านฉบับ เพิ่มขึ้นจากปี 51 ประมาณ 0.4% โดยมีธนบัตรที่นำออกใช้ 3,978 ล้านฉบับ เพิ่มขึ้นจากปี 51 ประมาณ 6.9% มีมูลค่ารวม 1,054,485 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.5% สำหรับธนบัตรปลอมที่ตรวจพบและจับกุมได้ในปี 52 มีทั้งสิ้น 12,162 ฉบับ หรือประมาณ 4 ฉบับต่อธนบัตรหมุนเวียนในระบบล้านฉบับ ถือว่าลดลงจากปี 51 ประมาณ 42.9%.
***ใช้ 3.4 หมื่นล้านรับมือบาทแข็ง
ธปท.ได้รายงานฐานะทุนสำรองทางการระหว่างประเทศและฐานะสุทธิการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Forward) ช่วงวันที่ 12-19 มี.ค. สัปดาห์ที่มีเงินทุนต่างประเทศไหลเข้าจำนวนมาก เพื่อลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ ส่งผลค่าเงินบาทแข็งค่าสูงสุดในรอบ 21 เดือน ที่ 32.53 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ19 มี.ค.
ธปท.ได้เข้าซื้อดอลลาร์ทันทีและล่วงหน้ากว่า 1,016.86 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทย 34,510 ล้านบาท (32.50 บาทต่อดอลลาร์) ส่งผลให้เงินสำรองทางการ ณ วันที่ 19 มี.ค.เพิ่มขึ้นเป็น 143,765 ล้านเหรียญสหรัฐ จาก 143,483.08 ล้านเหรียญสหรัฐ ในวันที่ 12 มี.ค. และฐานะซื้อขายเงินตราต่างประเทศสุทธิ ณ 19 มี.ค.อยู่ที่ 12,739 ล้านเหรียญสหรัฐ จาก 12,005 ล้านเหรียญสหรัฐ ในวันที่ 12 มี.ค.
"การเข้าแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดความผันผวนไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่าเร็วเกินไป".