ASTVผู้จัดการรายวัน - ธปท.เผยต้นปีจนถึงปัจจุบันเงินนอกไหลเข้าไทย 1 พันล้านเหรียญหรือ 3.2 หมื่นล้านบาท ระบุเงินบาทแข็งค่า 3.18% ยังน้อยกว่ามาเลเซีย ย้ำลดความผันผวนถึงที่สุด บิ๊ก ธสน.ชี้เงินไหลเข้าตลาดหุ้นมาก ส่งผลให้บาทแข็งค่าเร็วเกินจริง คาดปลายปีบาท 32.5
นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้เงินทุนจากต่างประเทศยังคงไหลเข้ามาลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในตลาดหุ้น โดยตั้งแต่ต้นปีนี้ถึงปัจจุบันมีเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาซื้อหุ้นสุทธิ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.2 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับที่ประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชีย เช่น เกาหลี และอินเดีย ที่มีเงินทุนไหลเข้าประเทศประมาณ 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ และฟิลิปปินส์ประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ถือว่าเงินทุนจากต่างประเทศที่ไหลเข้าไทยน้อยมาก และคาดว่าเงินทุนต่างประเทศจะไหลเข้าภูมิภาคเอเชียรวมถึงไทยอย่างต่อเนื่อง
ผู้สื่อข่าวซักถามต่อว่า เงินทุนจากต่างชาติที่ไหลเข้ามาในขณะนี้ถือเป็นการโจมตีค่าเงินบาทหรือไม่นั้น นางสุชาดา กล่าวว่า เท่าที่ธปท.ตรวจสอบเงินทุนไหลเข้ายังเป็นปกติอยู่ อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องปกติที่เมื่อมีการลงทุนก็ต้องหวังผลกำไร แต่ด้วยกฎเกณฑ์ที่มีอยู่ ทำให้นักลงทุนจะลงทุนได้เฉพาะภายในกรอบดังกล่าวเท่านั้นไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในตลาดหุ้นหรือพันธบัตร เป็นต้น
ทั้งนี้ การคลื่อนไหวของค่าเงินบาทกับสกุลเงินอื่นของประเทศคู่แข็ง ถือว่าผู้ส่งออกยังสามารถแข่งขันได้หรือเงินบาทไม่ได้แข็งค่าสูงสุด โดยนับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันเงินบาทแข็งค่า 3.18% แต่ค่าเงินริงกิตของมาเลเซียแข็งค่ามากกว่าถึง 3.3% เนื่องจากมาเลเซียมีการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายไปแล้ว ขณะเดียวกันยังมีสกุลเงินอื่นแข็งค่าน้อยกว่าไทย อาทิ ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซีย 3.17% และค่าเงินเยนของญี่ปุ่น 3.02% และเงินวอนของเกาหลีแข็งค่า 2.68% และหากเทียบตั้งแต่ต้นเดือนมี.ค.จนถึงปัจจุบัน ค่าเงินบาทแข็งค่า 3.23% ริงกิตแข็งค่า 2.6% รูเปีย 2.5% และเกาหลี 2.3%
"เงินบาทแข็งค่าขึ้นในขณะนี้อาจเป็นปัจจัยชั่วคราวที่เกิดจาก การเมือง การจ่ายเงินปันผลในหลายบริษัท หรือมีลงทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาในตลาดหุ้นมาก รวมถึงปัจจัยการเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโรแข็งหรืออ่อนค่าขึ้น ซึ่งมีผลต่อสกุลเงินในภูมิภาคได้ "นางสุชาดากล่าว
อย่างไรก็ตาม เงินบาทแข็งค่าไม่ได้มีผลต่อภาคการส่งออกไทยเห็นได้จากตัวเลขการส่งออก 2 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเติบโตได้ดี แต่ภาคการส่งออกขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้ามากกว่า ฉะนั้นสิ่งที่สำคัญ คือ ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าต้องมีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ในขณะที่ธปท.ได้ย้ำหลายครั้งอยู่แล้วว่าจะพยายามลดอุปสรรคให้ผู้ส่งออกหรือผู้นำเข้าไทย
คาดปลายปีนี้บาทแตะ32.5บ./ดอลลาร์
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(ธสน.) กล่าวว่า ระดับทุนสำรองทางการระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และล่าสุดอยู่ที่ 1.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐสามารถรองรับการใช้หนี้ต่างประเทศระยะสั้นได้ถึง 3 เท่าทั้งที่ค่าใช้จ่าย เพื่อรองรับการนำเข้าปกตินั้นจะใช้เงินสำรองไม่เกิน 6 เดือนหรือประมาณ 6-7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐหรือใช้หนุนหลังการออกธนบัตรในระบบก็ไม่เกิน 4 หมื่นล้านดอลลาร์ ดังนั้น ในระดับที่มีจึงถือว่ามากเกินไป ทำให้เป็นภาระต่อการบริหารจัดการ
โดยเงินทุนที่ไหลเข้ามาลงทุนต่อเนื่อง ทำให้มีแรงกดดันต่อค่าเงินบาทให้แข็งค่าขึ้น โดยเฉพาะเงินลงทุนในตลาดหุ้นจำนวนมากช่วงนี้ ซึ่งเป็นช่วงที่บริษัทจดทะเบียน(บจ.)จะประกาศจ่ายเงินปันผล ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าเร็วเกินไปมาอยู่ที่ระดับ 32.5 บาทต่อดอลลาร์ ทั้งที่ระดับดังกล่าวน่าจะเป็นการค่อยๆแข็งค่าขึ้นและเป็นระดับที่ควรจะอยู่ในช่วงปลายปี อย่างไรก็ตาม คาดว่าเงินจะค่อยไหลออกจากตลาดหุ้น หลังจากประกาศจ่ายปันผลไปแล้ว และน่าจะช่วยให้ค่าเงินค่อยอ่อนค่าลงได้ ทำให้ทั้งปีคาดว่าจะเฉลี่ยที่ 32.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
อย่างไรก็ตาม ธปท.ได้เปิดทางให้เงินทุนสำรองทางการระหว่างประเทศลดลง ด้วยการออกประกาศระเบียบการใช้เงินในต่างประเทศ เพื่อให้เอกชนสามารถนำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น ทั้งการออกกองทุน เพื่อไปลงทุนในพันธบัตรต่างประเทศ เช่น เกาหลี ออสเตรเลีย หรือการลงทุนในทองคำ เพื่อให้เงินทุนไหลออกและลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาท
สิ่งที่อยากเห็น คือ ให้รัฐบาลรีบเดินหน้าลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อจะได้นำเงินตราต่างประเทศที่มีไปซื้อเครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง เช่น หัวรถจักรรถไฟ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา หาหักอัตราเงินเฟ้อออก จะเห็นว่าไม่ขยายตัวเลย แต่หากเร่งลงทุนก็จะทำให้ทุนสำรองลดลงได้ และอีกทางหนึ่งคือ ให้รัฐวิสาหกิจที่จะลงทุนด้วยการซื้ออุปกรณ์ต่างประเทศ เปลี่ยนเป็นการออกพันธบัตรขายให้ธปท.แทน เพื่อจะได้นำเงินทุนสำรองออกไปใช้ในการซื้อเครื่องจักรอุปกรณ์ได้
อย่างไรก็ตาม สำหรับมาตรการช่วยเหลือผู้นำเข้าและผู้มีเงินกู้ต่างประเทศให้เร่งชำระหนี้ เพื่อใช้โอกาสจากช่วงค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น นายณรงค์ชัยกล่าวว่า ผู้กู้เงินเองมีเงื่อนไขสัญญาเงินกู้ที่ต้องปฏิบัติตาม เช่น ค่าธรรมเนียมในการชำระคืนก่อนกำหนด 2% หากส่วนต่างค่าเงินบาทต่อดอลลาร์แข็งค่ามากกว่า 2% ก็อาจจะคุ้มค่าในการชำระคืนก่อนกำหนด ขณะที่ในส่วนของการนำเข้านั้น ปัญหาการไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง ทำให้นักลงไม่มั่นใจ การลงทุนภาคเอกชนจึงยังไม่เกิดขึ้น แต่จากตัวเลขอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ค่อนข้างสูง จะมีช่วงจังหวะใหม่ๆที่จะขยายการลงทุน และเชื่อว่า น่าจะเห็นการลงทุนต่างๆมากขึ้นได้
บาทแกว่งรับหุ้นไทยขึ้น
นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพกล่าวว่า ค่าเงินบาทวานนี้เปิดตลาดที่ระดับ 32.32-32.33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ โดยปิดตลาดที่ระดับ 32.33-32.35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยปัจจัยหนุนยังเป็นดัชนีตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามามากนัก
ส่วนสกุลเงินต่างประเทศช่วงปิดตลาดเย็นนี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 90.30 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.3520 ดอลลาร์ต่อยูโร
สำหรับข้อมูลทางเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐที่ต้องจับตาดูต่อไปได้แก่ สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติรายงานยอดขายบ้านมือสองเดือนก.พ. และกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานยอดขายบ้านใหม่เดือนก.พ. ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนก.พ. และสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของสหรัฐ(EIA) เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์
ส่วนวันนี้ค่าเงินบาทยังเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ให้กรอบไว้ที่ระดับ 32.30-32.40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ.
นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้เงินทุนจากต่างประเทศยังคงไหลเข้ามาลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในตลาดหุ้น โดยตั้งแต่ต้นปีนี้ถึงปัจจุบันมีเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาซื้อหุ้นสุทธิ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.2 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับที่ประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชีย เช่น เกาหลี และอินเดีย ที่มีเงินทุนไหลเข้าประเทศประมาณ 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ และฟิลิปปินส์ประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ถือว่าเงินทุนจากต่างประเทศที่ไหลเข้าไทยน้อยมาก และคาดว่าเงินทุนต่างประเทศจะไหลเข้าภูมิภาคเอเชียรวมถึงไทยอย่างต่อเนื่อง
ผู้สื่อข่าวซักถามต่อว่า เงินทุนจากต่างชาติที่ไหลเข้ามาในขณะนี้ถือเป็นการโจมตีค่าเงินบาทหรือไม่นั้น นางสุชาดา กล่าวว่า เท่าที่ธปท.ตรวจสอบเงินทุนไหลเข้ายังเป็นปกติอยู่ อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องปกติที่เมื่อมีการลงทุนก็ต้องหวังผลกำไร แต่ด้วยกฎเกณฑ์ที่มีอยู่ ทำให้นักลงทุนจะลงทุนได้เฉพาะภายในกรอบดังกล่าวเท่านั้นไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในตลาดหุ้นหรือพันธบัตร เป็นต้น
ทั้งนี้ การคลื่อนไหวของค่าเงินบาทกับสกุลเงินอื่นของประเทศคู่แข็ง ถือว่าผู้ส่งออกยังสามารถแข่งขันได้หรือเงินบาทไม่ได้แข็งค่าสูงสุด โดยนับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันเงินบาทแข็งค่า 3.18% แต่ค่าเงินริงกิตของมาเลเซียแข็งค่ามากกว่าถึง 3.3% เนื่องจากมาเลเซียมีการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายไปแล้ว ขณะเดียวกันยังมีสกุลเงินอื่นแข็งค่าน้อยกว่าไทย อาทิ ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซีย 3.17% และค่าเงินเยนของญี่ปุ่น 3.02% และเงินวอนของเกาหลีแข็งค่า 2.68% และหากเทียบตั้งแต่ต้นเดือนมี.ค.จนถึงปัจจุบัน ค่าเงินบาทแข็งค่า 3.23% ริงกิตแข็งค่า 2.6% รูเปีย 2.5% และเกาหลี 2.3%
"เงินบาทแข็งค่าขึ้นในขณะนี้อาจเป็นปัจจัยชั่วคราวที่เกิดจาก การเมือง การจ่ายเงินปันผลในหลายบริษัท หรือมีลงทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาในตลาดหุ้นมาก รวมถึงปัจจัยการเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโรแข็งหรืออ่อนค่าขึ้น ซึ่งมีผลต่อสกุลเงินในภูมิภาคได้ "นางสุชาดากล่าว
อย่างไรก็ตาม เงินบาทแข็งค่าไม่ได้มีผลต่อภาคการส่งออกไทยเห็นได้จากตัวเลขการส่งออก 2 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเติบโตได้ดี แต่ภาคการส่งออกขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้ามากกว่า ฉะนั้นสิ่งที่สำคัญ คือ ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าต้องมีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ในขณะที่ธปท.ได้ย้ำหลายครั้งอยู่แล้วว่าจะพยายามลดอุปสรรคให้ผู้ส่งออกหรือผู้นำเข้าไทย
คาดปลายปีนี้บาทแตะ32.5บ./ดอลลาร์
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(ธสน.) กล่าวว่า ระดับทุนสำรองทางการระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และล่าสุดอยู่ที่ 1.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐสามารถรองรับการใช้หนี้ต่างประเทศระยะสั้นได้ถึง 3 เท่าทั้งที่ค่าใช้จ่าย เพื่อรองรับการนำเข้าปกตินั้นจะใช้เงินสำรองไม่เกิน 6 เดือนหรือประมาณ 6-7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐหรือใช้หนุนหลังการออกธนบัตรในระบบก็ไม่เกิน 4 หมื่นล้านดอลลาร์ ดังนั้น ในระดับที่มีจึงถือว่ามากเกินไป ทำให้เป็นภาระต่อการบริหารจัดการ
โดยเงินทุนที่ไหลเข้ามาลงทุนต่อเนื่อง ทำให้มีแรงกดดันต่อค่าเงินบาทให้แข็งค่าขึ้น โดยเฉพาะเงินลงทุนในตลาดหุ้นจำนวนมากช่วงนี้ ซึ่งเป็นช่วงที่บริษัทจดทะเบียน(บจ.)จะประกาศจ่ายเงินปันผล ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าเร็วเกินไปมาอยู่ที่ระดับ 32.5 บาทต่อดอลลาร์ ทั้งที่ระดับดังกล่าวน่าจะเป็นการค่อยๆแข็งค่าขึ้นและเป็นระดับที่ควรจะอยู่ในช่วงปลายปี อย่างไรก็ตาม คาดว่าเงินจะค่อยไหลออกจากตลาดหุ้น หลังจากประกาศจ่ายปันผลไปแล้ว และน่าจะช่วยให้ค่าเงินค่อยอ่อนค่าลงได้ ทำให้ทั้งปีคาดว่าจะเฉลี่ยที่ 32.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
อย่างไรก็ตาม ธปท.ได้เปิดทางให้เงินทุนสำรองทางการระหว่างประเทศลดลง ด้วยการออกประกาศระเบียบการใช้เงินในต่างประเทศ เพื่อให้เอกชนสามารถนำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น ทั้งการออกกองทุน เพื่อไปลงทุนในพันธบัตรต่างประเทศ เช่น เกาหลี ออสเตรเลีย หรือการลงทุนในทองคำ เพื่อให้เงินทุนไหลออกและลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาท
สิ่งที่อยากเห็น คือ ให้รัฐบาลรีบเดินหน้าลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อจะได้นำเงินตราต่างประเทศที่มีไปซื้อเครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง เช่น หัวรถจักรรถไฟ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา หาหักอัตราเงินเฟ้อออก จะเห็นว่าไม่ขยายตัวเลย แต่หากเร่งลงทุนก็จะทำให้ทุนสำรองลดลงได้ และอีกทางหนึ่งคือ ให้รัฐวิสาหกิจที่จะลงทุนด้วยการซื้ออุปกรณ์ต่างประเทศ เปลี่ยนเป็นการออกพันธบัตรขายให้ธปท.แทน เพื่อจะได้นำเงินทุนสำรองออกไปใช้ในการซื้อเครื่องจักรอุปกรณ์ได้
อย่างไรก็ตาม สำหรับมาตรการช่วยเหลือผู้นำเข้าและผู้มีเงินกู้ต่างประเทศให้เร่งชำระหนี้ เพื่อใช้โอกาสจากช่วงค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น นายณรงค์ชัยกล่าวว่า ผู้กู้เงินเองมีเงื่อนไขสัญญาเงินกู้ที่ต้องปฏิบัติตาม เช่น ค่าธรรมเนียมในการชำระคืนก่อนกำหนด 2% หากส่วนต่างค่าเงินบาทต่อดอลลาร์แข็งค่ามากกว่า 2% ก็อาจจะคุ้มค่าในการชำระคืนก่อนกำหนด ขณะที่ในส่วนของการนำเข้านั้น ปัญหาการไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง ทำให้นักลงไม่มั่นใจ การลงทุนภาคเอกชนจึงยังไม่เกิดขึ้น แต่จากตัวเลขอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ค่อนข้างสูง จะมีช่วงจังหวะใหม่ๆที่จะขยายการลงทุน และเชื่อว่า น่าจะเห็นการลงทุนต่างๆมากขึ้นได้
บาทแกว่งรับหุ้นไทยขึ้น
นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพกล่าวว่า ค่าเงินบาทวานนี้เปิดตลาดที่ระดับ 32.32-32.33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ โดยปิดตลาดที่ระดับ 32.33-32.35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยปัจจัยหนุนยังเป็นดัชนีตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามามากนัก
ส่วนสกุลเงินต่างประเทศช่วงปิดตลาดเย็นนี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 90.30 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.3520 ดอลลาร์ต่อยูโร
สำหรับข้อมูลทางเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐที่ต้องจับตาดูต่อไปได้แก่ สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติรายงานยอดขายบ้านมือสองเดือนก.พ. และกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานยอดขายบ้านใหม่เดือนก.พ. ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนก.พ. และสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของสหรัฐ(EIA) เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์
ส่วนวันนี้ค่าเงินบาทยังเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ให้กรอบไว้ที่ระดับ 32.30-32.40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ.