ASTVผู้จัดการรายวัน – ททท. หวั่นคนกรุงฯเบื่อม็อบเสื้อแดง งดเที่ยวสงกรานต์ ปีนี้ไหวตัว ใช้ 9 วัดดังในกทม.เป็นพื้นที่จัดงาน เชื่อวัดเป็นเขตปลอดม็อบที่ดีที่สุด “เพ็ญสุดา” เผย โปรยงบจัดกิจกรรมสงกรานต์ปีนี้ 34 ล้านบาท ลดจากปีก่อน ราว 10 ล้านบาท ตั้งเป้าโต 3 เล็งเพิ่มกิจกรรมกระตุ้นตลาดผู้หญิงวัยทำงานเปิดตัว สิงหาคมปีนี้
น.ส.เพ็ญสุดา ไพรอร่าม รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) เปิดเผยว่า ททท.เตรียมใช้งบประมาณ 34 ล้านบาท จัดกิจกรรมในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ทั่วประเทศ ภายใต้แคมเปญ "เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์" ส่วนต่างจังหวัดรณรงค์ด้วยสโลแกนม "สงกรานต์รักบ้านเกิด" ซึ่งเป็นวงเงินที่น้อยกว่าปีก่อนราว 8-10 ล้านบาท เพราะปีนี้ในพื้นที่กรุงเทพฯ จะเน้นการโฆษณาผ่านสื่อในระบบไอทีและอินเทอร์เน็ต จากเดิมที่เน้นใช้สื่อแมสพื้นฐานทั่วไปซึ่งทำให้ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณจำนวนมาก
ขณะที่พื้นที่ต่างจังหวัดยังคงใช้สื่อแมสเป็นหลัก เช่น ป้ายโฆษณา สปอร์ตวิทยุ และสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น คาดจำนวนนักท่องเที่ยวและเงินสะพัดปีนี้จะเติบโตจากปีก่อนราว 3% โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในพื้นที่ต่างจังหวัด ส่วนพื้นที่กรุงเทพฯอาจไม่เติบโต
***ชู 9 วัดจัดงานหนีม็อบเสื้อแดง****
สำหรับแผนงานกิจกรรมช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ ททท.จะเน้นโปรโมตกิจกรรมที่จัดภายในวัด รวม 9 แห่งตามกิจกรรมไหว้พระ 9 วัด ได้แก่ วัดพระเชตุพนธ์(วัดโพธิ์) วัดสุทัศน์ วัดชนะสงคราม วัดบวร วัดสระเกศ วัดอรุณ เป็นต้น เพราะเห็นว่าในสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังมีความวุ่นวายประชาชนอาจเกิดความไม่มั่นใจที่จะออกมาเที่ยวเล่นในเทศกาลปีใหม่ไทยเช่นนี้ แต่มั่นใจว่า วัดเป็นสถานที่เดียวที่การชุมนุมทางการเมืองจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว ทำให้ประชาชนที่สนใจร่วมกิจกรรมรื่นเริงในวันสงกรานต์ 12-16 เม.ย.53 สามารถเข้าชมงานได้อย่างสบายใจ
“ททท.เราปรับรูปแบบกิจกรรมสงกรานต์มาให้ความสำคัญกับการสร้างกิจกรรมในพื้นที่ของวัดมาตั้งแต่ปีก่อน เพราะช่วงเทศกาลสงกรานต์ก็มีเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองเช่นกัน แต่ปีนี้ เราจะโปรโมต สร้างการรับรู้ให้คนกรุงเทพฯที่ยังต้องการมีกิจกรรมรื่นเริงในช่วงเทศกาลดังกล่าวนี้ แต่กังวลกับความไม่ปลอดภัยหรือความวุ่นวายในพื้นที่ต่างๆ ให้รับรู้ว่าสามารถ เข้าไปทำกิจกรรมรื่นเริ่งตามประเพณิวัฒนธรรมไทยได้ที่วัดต่างๆดังกล่าว เช่น ทำบุญ ใส่บาตร สรงน้ำพระ การเล่นไทย เป็นต้น ”
สำหรับพื้นที่ทั่วไป ททท.ได้ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร จัดกิจกรรมงานสงกรานต์ที่สวนสันติชัยปราการ และ ร่วมกับสมาคมผู้ค้าถนนข้าวสาร จัดที่ถนนข้าวสารด้วย ส่วนต่างจังหวัด เน้นหัวเมืองใหญ่ 12 พื้นที่ ใน 12 จังหวัด เช่น ภูเก็ต ,เชียงใหม่, มิดไนท์สงกรานต์ หาดใหญ่ ,หนองคาย ,นครพนม ,ชลบุรี และ ปิดท้ายที่สงกรานต์พระประแดง จ.สมุทรปราการ เป็นต้น
***เล็งเพิ่มกิจกรรมจับสาวทำงาน*****
น.ส.เพ็ญสุดา กล่าวอีกว่า ฝ่ายงานด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยวอยู่ระหว่างการจัดหากิจกรรมใหม่ๆเข้ามาส่งเสริมให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มเติมจากกิจกรรมเดิมๆที่มีอยู่ เช่น เดือน พ.ค.เป็นกิจกรรมอร่อยทุกไร่ชิมไปทุกสวน และ ท่องเที่ยวหัวใจสีเขียว เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมใหม่ที่กำลังอยู่ระหว่างการคิดนี้รูปแบบจะเจาะกลุ่มเป้าหมายความสนใจเฉพาะหรือนีชมาร์เก็ต ประเดิมที่กลุ่มผู้หญิงทำงาน อายุตั้งแต่ 25-40 ปี เป็นหลัก ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดวางโปรแกรมท่องเที่ยว คาดว่าจะเปิดตัวราวปลายเดือน ก.ค.หรือต้นเดือน ส.ค.ปีนี้ ก่อนเทศกาลวันแม่
“จากการสำรวจพบว่า ผู้หญิงในช่วงอายุดังกล่าวมีไลฟ์สไตล์ของการท่องเที่ยว มีกำลังซื้อแต่ต้องมีแรงจูงใจ ซึ่งจากผลสำรวจของ ททท.พบว่าในกรุงเทพฯมีประชากรผู้หญิงช่วงอายุ 25-40 ปี ราว 1.7 ล้านคน ต่างจังหวัดมี 5 ล้านคน เป้าหมายต้องการให้คนกลุ่มนี้นำเงินมาใช้เพื่อท่องเที่ยวในประเทศไทยเฉลี่ยปีละ 2 หมื่นล้านบาทซึ่งจะสร้างเม็ดเงินให้กับท่องเที่ยวได้ได้จำนวนมาก”
***ใช้ 9 ล้านบาท สร้างฐานข้อมูลนักท่องเที่ยว******
นอกจากนั้น ททท.ยังเตรียมใช้งบอีกราว 8-9 ล้านบาท จัดทำฐานข้อมูลนักท่องเที่ยว โดยแบ่งตามกลุ่มไลฟ์สไตล์ของการท่องเที่ยว โดยข้อมูลที่ได้มาจะไปลิ้งกับฝ่ายสารสนเทศของ ททท. เพื่อจะเพิ่มบริการส่งข้อมูลข่าวาสาร ผ่านอีเมลล์ และ SMS ตรงถึงตัวบุคคลเวลาที่ ททท.จัดกิจกรรมที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์การท่องเที่ยวของบุคคล โดย ฐานข้อมูลนี้จะไม่ทับซ้อนกับแผนแม่บทการพัฒนาฐานข้อมูลการท่องเที่ยวเชิงการตลาดซึ่งเป็นแผนระยะ 5 ปี แต่แผนงานนี้คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี2553 นี้
น.ส.เพ็ญสุดา ไพรอร่าม รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) เปิดเผยว่า ททท.เตรียมใช้งบประมาณ 34 ล้านบาท จัดกิจกรรมในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ทั่วประเทศ ภายใต้แคมเปญ "เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์" ส่วนต่างจังหวัดรณรงค์ด้วยสโลแกนม "สงกรานต์รักบ้านเกิด" ซึ่งเป็นวงเงินที่น้อยกว่าปีก่อนราว 8-10 ล้านบาท เพราะปีนี้ในพื้นที่กรุงเทพฯ จะเน้นการโฆษณาผ่านสื่อในระบบไอทีและอินเทอร์เน็ต จากเดิมที่เน้นใช้สื่อแมสพื้นฐานทั่วไปซึ่งทำให้ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณจำนวนมาก
ขณะที่พื้นที่ต่างจังหวัดยังคงใช้สื่อแมสเป็นหลัก เช่น ป้ายโฆษณา สปอร์ตวิทยุ และสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น คาดจำนวนนักท่องเที่ยวและเงินสะพัดปีนี้จะเติบโตจากปีก่อนราว 3% โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในพื้นที่ต่างจังหวัด ส่วนพื้นที่กรุงเทพฯอาจไม่เติบโต
***ชู 9 วัดจัดงานหนีม็อบเสื้อแดง****
สำหรับแผนงานกิจกรรมช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ ททท.จะเน้นโปรโมตกิจกรรมที่จัดภายในวัด รวม 9 แห่งตามกิจกรรมไหว้พระ 9 วัด ได้แก่ วัดพระเชตุพนธ์(วัดโพธิ์) วัดสุทัศน์ วัดชนะสงคราม วัดบวร วัดสระเกศ วัดอรุณ เป็นต้น เพราะเห็นว่าในสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังมีความวุ่นวายประชาชนอาจเกิดความไม่มั่นใจที่จะออกมาเที่ยวเล่นในเทศกาลปีใหม่ไทยเช่นนี้ แต่มั่นใจว่า วัดเป็นสถานที่เดียวที่การชุมนุมทางการเมืองจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว ทำให้ประชาชนที่สนใจร่วมกิจกรรมรื่นเริงในวันสงกรานต์ 12-16 เม.ย.53 สามารถเข้าชมงานได้อย่างสบายใจ
“ททท.เราปรับรูปแบบกิจกรรมสงกรานต์มาให้ความสำคัญกับการสร้างกิจกรรมในพื้นที่ของวัดมาตั้งแต่ปีก่อน เพราะช่วงเทศกาลสงกรานต์ก็มีเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองเช่นกัน แต่ปีนี้ เราจะโปรโมต สร้างการรับรู้ให้คนกรุงเทพฯที่ยังต้องการมีกิจกรรมรื่นเริงในช่วงเทศกาลดังกล่าวนี้ แต่กังวลกับความไม่ปลอดภัยหรือความวุ่นวายในพื้นที่ต่างๆ ให้รับรู้ว่าสามารถ เข้าไปทำกิจกรรมรื่นเริ่งตามประเพณิวัฒนธรรมไทยได้ที่วัดต่างๆดังกล่าว เช่น ทำบุญ ใส่บาตร สรงน้ำพระ การเล่นไทย เป็นต้น ”
สำหรับพื้นที่ทั่วไป ททท.ได้ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร จัดกิจกรรมงานสงกรานต์ที่สวนสันติชัยปราการ และ ร่วมกับสมาคมผู้ค้าถนนข้าวสาร จัดที่ถนนข้าวสารด้วย ส่วนต่างจังหวัด เน้นหัวเมืองใหญ่ 12 พื้นที่ ใน 12 จังหวัด เช่น ภูเก็ต ,เชียงใหม่, มิดไนท์สงกรานต์ หาดใหญ่ ,หนองคาย ,นครพนม ,ชลบุรี และ ปิดท้ายที่สงกรานต์พระประแดง จ.สมุทรปราการ เป็นต้น
***เล็งเพิ่มกิจกรรมจับสาวทำงาน*****
น.ส.เพ็ญสุดา กล่าวอีกว่า ฝ่ายงานด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยวอยู่ระหว่างการจัดหากิจกรรมใหม่ๆเข้ามาส่งเสริมให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มเติมจากกิจกรรมเดิมๆที่มีอยู่ เช่น เดือน พ.ค.เป็นกิจกรรมอร่อยทุกไร่ชิมไปทุกสวน และ ท่องเที่ยวหัวใจสีเขียว เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมใหม่ที่กำลังอยู่ระหว่างการคิดนี้รูปแบบจะเจาะกลุ่มเป้าหมายความสนใจเฉพาะหรือนีชมาร์เก็ต ประเดิมที่กลุ่มผู้หญิงทำงาน อายุตั้งแต่ 25-40 ปี เป็นหลัก ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดวางโปรแกรมท่องเที่ยว คาดว่าจะเปิดตัวราวปลายเดือน ก.ค.หรือต้นเดือน ส.ค.ปีนี้ ก่อนเทศกาลวันแม่
“จากการสำรวจพบว่า ผู้หญิงในช่วงอายุดังกล่าวมีไลฟ์สไตล์ของการท่องเที่ยว มีกำลังซื้อแต่ต้องมีแรงจูงใจ ซึ่งจากผลสำรวจของ ททท.พบว่าในกรุงเทพฯมีประชากรผู้หญิงช่วงอายุ 25-40 ปี ราว 1.7 ล้านคน ต่างจังหวัดมี 5 ล้านคน เป้าหมายต้องการให้คนกลุ่มนี้นำเงินมาใช้เพื่อท่องเที่ยวในประเทศไทยเฉลี่ยปีละ 2 หมื่นล้านบาทซึ่งจะสร้างเม็ดเงินให้กับท่องเที่ยวได้ได้จำนวนมาก”
***ใช้ 9 ล้านบาท สร้างฐานข้อมูลนักท่องเที่ยว******
นอกจากนั้น ททท.ยังเตรียมใช้งบอีกราว 8-9 ล้านบาท จัดทำฐานข้อมูลนักท่องเที่ยว โดยแบ่งตามกลุ่มไลฟ์สไตล์ของการท่องเที่ยว โดยข้อมูลที่ได้มาจะไปลิ้งกับฝ่ายสารสนเทศของ ททท. เพื่อจะเพิ่มบริการส่งข้อมูลข่าวาสาร ผ่านอีเมลล์ และ SMS ตรงถึงตัวบุคคลเวลาที่ ททท.จัดกิจกรรมที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์การท่องเที่ยวของบุคคล โดย ฐานข้อมูลนี้จะไม่ทับซ้อนกับแผนแม่บทการพัฒนาฐานข้อมูลการท่องเที่ยวเชิงการตลาดซึ่งเป็นแผนระยะ 5 ปี แต่แผนงานนี้คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี2553 นี้