เชียงราย – กรรมาธิการฯลงพื้นที่สำรวจสภาวะในน้ำโขง ชงข้อมูลเสนอที่ประชุมสุดยอดผู้นำฯที่หัวหิน ต้นเดือนหน้าอีกทาง พบจีนเริ่มปล่อยน้ำหล่อเลี้ยงโขงแล้ว 200-400 ลบ.ม./วินาที ก่อนการประชุมจะเริ่มขึ้น หลังถูกจี้ทำผิดข้อตกลง JCCCN ชัดเจน ปล่อยระดับน้ำแห้งสุดรอบ 30 ปี
ขณะที่คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงหรือ MRC (The Mekong River Commission) มีกำหนดจัดประชุมที่หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างวันที่ 2-5 เมษายนนี้ ล่าสุดคณะกรรมาธิการวิสามัญ สภาผู้แทนราษฎร นำโดยนายสุทัศน์ เงินหมื่น ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ ได้เดินทางไปยังชายแดนไทย-สปป.ลาว ด้าน จ.เชียงราย เพื่อสำรวจสภาพแม่น้ำโขงที่แห้งแล้งอย่างหนักในฤดูแล้งปีนี้
นอกจากจะเดินทางไปรับทราบข้อมูลจากศูนย์สำรวจอุทกวิทยาที่ 12 เชียงแสน ซึ่งมีหน้าที่ตรวจวัดระดับน้ำโขงโดยเฉพาะรวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี จ.เชียงราย การท่าเรือแห่งประเทศไทย ศุลกากร ฝ่ายปกครอง อ.เชียงแสน ฯลฯ ณ ห้องประชุมที่ว่าการ อ.เชียงแสน แล้ว คณะยังได้นั่งเรือเล็กออกสำรวจสภาพที่แท้จริงตั้งแต่บริเวณสามเหลี่ยมทองคำชายแดนไทย-สปป.ลาว-พม่า หมู่บ้านสบรวก หมู่ 1 ต.เวียง อ.เชียงแสน ไปจนถึงที่ว่าการ อ.เชียงแสน ด้วย
นายสุทัศน์ กล่าวว่า หลังจากรวบรวมข้อมูลและสำรวจสภาพพื้นที่แล้ว จะนำข้อเท็จจริงทั้งหมดโดยเฉพาะการวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้ระดับของแม่น้ำโขงลดต่ำลงมากที่สุดในรอบ 30 ปี เสนอเข้าสู่ที่ประชุมสุดยอดลุ่มน้ำโขง ซึ่งประกอบไปด้วยไทย สปป.ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมีจีนเข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วย เพื่อที่จะได้นำข้อมูลที่ได้ไปสู่การแก้ไขปัญหาให้ถูกประเด็นและอย่างถาวรต่อไป
"ในการประชุมสุดยอดลุ่มน้ำโขงครั้งนี้ ไทยได้เชิญผู้แทนจากประเทศจีนเข้าร่วมรับฟังด้วย เนื่องจากปัจจุบันยังมีอีก 2 ประเทศที่ไม่ได้เข้าเป็นกรรมาธิการลุ่มน้ำโขงคือจีนและพม่า ซึ่งการไม่ได้เข้าเป็นกรรมาธิการของทั้ง 2 ประเทศทำให้ข้อมูลน้ำโขงที่แท้จริงอาจจะสับสนและคลาดเคลื่อน ดังนั้นวิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้องคือทุกประเทศในลุ่มน้ำโขง ต้องหันหน้าเข้ามาช่วยกันอย่างครบถ้วน" นายสุทัศน์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ คำภิโล หัวหน้าสำนักงานขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี จ.เชียงราย บอกว่า ในที่ประชุมร่วมกับ กมธ.ได้หารือเบื้องต้นถึงสาเหตุน้ำโขงแห้งแล้ง เชื่อว่านอกจากเรื่องเขื่อนจีนแล้ว ยังมีต้นเหตุมาจากปัญหาความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นทั่วโลก
นอกจากนี้ ยังพบข้อมูลยืนยันได้ว่า น้ำในแม่น้ำโขง 55% มาจากต้นทางในจีน ที่เหลืออีก 45%จึงเป็นน้ำจากแม่น้ำสาขาในพม่า สปป.ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม
ขณะเดียวกันยังมีการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในแม่น้ำโขงด้วยว่า แต่เดิมแม่น้ำโขงจะมีความลึกเฉลี่ยตลอดทั้งปี 3 เมตร แต่ปีนี้กลับแห้งที่สุดในรอบ 30 ปี และที่จริงแล้วใน คณะกรรมการประสานการดำเนินการตามความตกลงว่าด้วยการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง (The Joint Committee on Coordination of Commercial Navigation on the Lancang-Mekong River-JCCCN) ได้มีข้อตกลง ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า จีน จะต้องปล่อยน้ำให้สามารถเดินเรือในแม่น้ำโขงตอนบน (เชียงรุ่ง – หลวงพระบาง) ได้ตลอดทั้งปี ก็คือ ต้องทำให้แม่น้ำโขงมีระดับน้ำเฉลี่ย 1.50-1.60 เมตร แต่ที่ผ่านมาน้ำโขงกลับลดลงต่ำกว่า 1 เมตร ทำให้ไม่สามารถแล่นเรือได้ ซึ่ง JCCCN ไทยเคยทำหนังสือถึงจีนแล้ว ทำให้ระยะหลังมีการปล่อยน้ำจากเขื่อนจีนลงมาประมาณ 200-400 ลบ.ม./วินาที จนแม่น้ำโขงมีน้ำเพิ่มขึ้นเป็น 1.5-1.6 เมตรในขณะนี้
“ทั้งหมดนี้ กมธ.จะนำไปเสนอต่อที่ประชุม MRC รวมถึงเวที GMS เพื่อหาทางออกที่ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ร่วมกันต่อไป”
เบื้องต้น จีน ตกลงส่งข้อมูลระดับน้ำเหนือเขื่อน การปล่อยน้ำ และการคาดการณ์ระดับน้ำในอนาคตต่อสำนักงาน MRC ที่นครเวียงจัน สปป.ลาว ในทุกวันจันทร์ ตั้งแต่ 23 มีนาคม 2553 เป็นต้นไป
ในโอกาสที่มีการประชุมสุดยอดลุ่มน้ำโขงครั้งนี้ เครือข่ายองค์กรภาคเอกชนประมาณ 200 กว่าองค์กร จะจัดเวทีคู่ขนาน ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ เพื่อถกประเด็นปัญหาเกี่ยวกับแม่น้ำโขงและร่วมกันหาวิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหา ระหว่างวันที่ 1-3 เมษายนนี้ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องเขื่อนในประเทศจีนซึ่งมีข้อมูลจากองค์กรเอกชน รวมทั้งภาคประชาชนระบุชัดเจนว่า เป็นสาเหตุที่ทำให้แม่น้ำโขงขึ้นลงอย่างไม่เป็นธรรมชาติ และปัจจุบันหลังจากเปิดใช้เขื่อนแห่งที่ 4 ที่มณฑลหยุนหนัน จีนตอนใต้ ไปเมื่อเร็วๆ นี้ก็เกิดปัญหาแม่น้ำโขงแห้งอย่างหนักในรอบชั่วอายุคนช่วงเดือน กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
จากนั้นในวันสุดท้ายจะนำผลสรุปที่ได้นำเสนอต่อสถานเอกอัครราชทูตของประเทศจีนประจำประเทศไทยด้วย
ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วงที่มีการประชุม MRC กลุ่มองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะที่มาจากภาคเอกชนหรือ NGO ได้ถูกเฝ้าจับตามองจากหน่วยงานความมั่นคงต่างๆ อย่างหนักด้วย
ขณะที่คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงหรือ MRC (The Mekong River Commission) มีกำหนดจัดประชุมที่หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างวันที่ 2-5 เมษายนนี้ ล่าสุดคณะกรรมาธิการวิสามัญ สภาผู้แทนราษฎร นำโดยนายสุทัศน์ เงินหมื่น ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ ได้เดินทางไปยังชายแดนไทย-สปป.ลาว ด้าน จ.เชียงราย เพื่อสำรวจสภาพแม่น้ำโขงที่แห้งแล้งอย่างหนักในฤดูแล้งปีนี้
นอกจากจะเดินทางไปรับทราบข้อมูลจากศูนย์สำรวจอุทกวิทยาที่ 12 เชียงแสน ซึ่งมีหน้าที่ตรวจวัดระดับน้ำโขงโดยเฉพาะรวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี จ.เชียงราย การท่าเรือแห่งประเทศไทย ศุลกากร ฝ่ายปกครอง อ.เชียงแสน ฯลฯ ณ ห้องประชุมที่ว่าการ อ.เชียงแสน แล้ว คณะยังได้นั่งเรือเล็กออกสำรวจสภาพที่แท้จริงตั้งแต่บริเวณสามเหลี่ยมทองคำชายแดนไทย-สปป.ลาว-พม่า หมู่บ้านสบรวก หมู่ 1 ต.เวียง อ.เชียงแสน ไปจนถึงที่ว่าการ อ.เชียงแสน ด้วย
นายสุทัศน์ กล่าวว่า หลังจากรวบรวมข้อมูลและสำรวจสภาพพื้นที่แล้ว จะนำข้อเท็จจริงทั้งหมดโดยเฉพาะการวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้ระดับของแม่น้ำโขงลดต่ำลงมากที่สุดในรอบ 30 ปี เสนอเข้าสู่ที่ประชุมสุดยอดลุ่มน้ำโขง ซึ่งประกอบไปด้วยไทย สปป.ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมีจีนเข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วย เพื่อที่จะได้นำข้อมูลที่ได้ไปสู่การแก้ไขปัญหาให้ถูกประเด็นและอย่างถาวรต่อไป
"ในการประชุมสุดยอดลุ่มน้ำโขงครั้งนี้ ไทยได้เชิญผู้แทนจากประเทศจีนเข้าร่วมรับฟังด้วย เนื่องจากปัจจุบันยังมีอีก 2 ประเทศที่ไม่ได้เข้าเป็นกรรมาธิการลุ่มน้ำโขงคือจีนและพม่า ซึ่งการไม่ได้เข้าเป็นกรรมาธิการของทั้ง 2 ประเทศทำให้ข้อมูลน้ำโขงที่แท้จริงอาจจะสับสนและคลาดเคลื่อน ดังนั้นวิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้องคือทุกประเทศในลุ่มน้ำโขง ต้องหันหน้าเข้ามาช่วยกันอย่างครบถ้วน" นายสุทัศน์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ คำภิโล หัวหน้าสำนักงานขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี จ.เชียงราย บอกว่า ในที่ประชุมร่วมกับ กมธ.ได้หารือเบื้องต้นถึงสาเหตุน้ำโขงแห้งแล้ง เชื่อว่านอกจากเรื่องเขื่อนจีนแล้ว ยังมีต้นเหตุมาจากปัญหาความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นทั่วโลก
นอกจากนี้ ยังพบข้อมูลยืนยันได้ว่า น้ำในแม่น้ำโขง 55% มาจากต้นทางในจีน ที่เหลืออีก 45%จึงเป็นน้ำจากแม่น้ำสาขาในพม่า สปป.ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม
ขณะเดียวกันยังมีการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในแม่น้ำโขงด้วยว่า แต่เดิมแม่น้ำโขงจะมีความลึกเฉลี่ยตลอดทั้งปี 3 เมตร แต่ปีนี้กลับแห้งที่สุดในรอบ 30 ปี และที่จริงแล้วใน คณะกรรมการประสานการดำเนินการตามความตกลงว่าด้วยการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง (The Joint Committee on Coordination of Commercial Navigation on the Lancang-Mekong River-JCCCN) ได้มีข้อตกลง ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า จีน จะต้องปล่อยน้ำให้สามารถเดินเรือในแม่น้ำโขงตอนบน (เชียงรุ่ง – หลวงพระบาง) ได้ตลอดทั้งปี ก็คือ ต้องทำให้แม่น้ำโขงมีระดับน้ำเฉลี่ย 1.50-1.60 เมตร แต่ที่ผ่านมาน้ำโขงกลับลดลงต่ำกว่า 1 เมตร ทำให้ไม่สามารถแล่นเรือได้ ซึ่ง JCCCN ไทยเคยทำหนังสือถึงจีนแล้ว ทำให้ระยะหลังมีการปล่อยน้ำจากเขื่อนจีนลงมาประมาณ 200-400 ลบ.ม./วินาที จนแม่น้ำโขงมีน้ำเพิ่มขึ้นเป็น 1.5-1.6 เมตรในขณะนี้
“ทั้งหมดนี้ กมธ.จะนำไปเสนอต่อที่ประชุม MRC รวมถึงเวที GMS เพื่อหาทางออกที่ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ร่วมกันต่อไป”
เบื้องต้น จีน ตกลงส่งข้อมูลระดับน้ำเหนือเขื่อน การปล่อยน้ำ และการคาดการณ์ระดับน้ำในอนาคตต่อสำนักงาน MRC ที่นครเวียงจัน สปป.ลาว ในทุกวันจันทร์ ตั้งแต่ 23 มีนาคม 2553 เป็นต้นไป
ในโอกาสที่มีการประชุมสุดยอดลุ่มน้ำโขงครั้งนี้ เครือข่ายองค์กรภาคเอกชนประมาณ 200 กว่าองค์กร จะจัดเวทีคู่ขนาน ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ เพื่อถกประเด็นปัญหาเกี่ยวกับแม่น้ำโขงและร่วมกันหาวิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหา ระหว่างวันที่ 1-3 เมษายนนี้ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องเขื่อนในประเทศจีนซึ่งมีข้อมูลจากองค์กรเอกชน รวมทั้งภาคประชาชนระบุชัดเจนว่า เป็นสาเหตุที่ทำให้แม่น้ำโขงขึ้นลงอย่างไม่เป็นธรรมชาติ และปัจจุบันหลังจากเปิดใช้เขื่อนแห่งที่ 4 ที่มณฑลหยุนหนัน จีนตอนใต้ ไปเมื่อเร็วๆ นี้ก็เกิดปัญหาแม่น้ำโขงแห้งอย่างหนักในรอบชั่วอายุคนช่วงเดือน กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
จากนั้นในวันสุดท้ายจะนำผลสรุปที่ได้นำเสนอต่อสถานเอกอัครราชทูตของประเทศจีนประจำประเทศไทยด้วย
ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วงที่มีการประชุม MRC กลุ่มองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะที่มาจากภาคเอกชนหรือ NGO ได้ถูกเฝ้าจับตามองจากหน่วยงานความมั่นคงต่างๆ อย่างหนักด้วย