จากสถิติของ UNCTAD ประเทศไทยมีตัวเลขมูลค่าการลงทุนโดยตรงยังต่างประเทศ (OFDI) สะสม นับตั้งแต่อดีตจนถึงปี 2551 น้อยมาก คือ มีมูลค่า 10,857 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 4 ของ GDP เท่านั้น

สำหรับปัญหาและอุปสรรคของการลงทุนไทยในต่างประเทศมีมากมายหลายประการ ซึ่งจำเป็นต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน เป็นต้นว่า
ปัญหาความยุ่งยากของกฎระเบียบของประเทศเป้าหมาย โดยกฎหมายและกฎระเบียบเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง มีความแตกต่างระหว่างกฎหมายและกฎระเบียบที่ออกโดยรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น ทำให้ยากในการทำความเข้าใจ
อย่างไรก็ตาม หลักการสำคัญที่นักธุรกิจทุกคนต้องใส่ใจเกี่ยวกับการลงทุนในต่างประเทศ คือ จะต้องไม่มาทำธุรกิจในประเทศใดประเทศหนึ่ง โดยคาดหวังว่ารูปแบบการดำเนินธุรกิจจะต้องเหมือนกับในประเทศที่ตนเองคุ้นเคย โดยจำเป็นจะต้องปรับตัวและยอมรับถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรม ต้องเข้าใจระบบและวิธีบริหารจัดการต่างๆ เช่น ระบบการทำบัญชี ระบบภาษีอากร กฎระเบียบด้านการเงิน ฯลฯ ของประเทศนั้นๆ
“ไทยมีมูลค่าการลงทุนโดยตรงยังต่างประเทศสะสม
นับตั้งแต่อดีตจนถึงปี 2551 น้อยมาก
คือมีมูลค่า 10,857 ล้านเหรียญสหรัฐ
คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 4 ของ GDP เท่านั้น”
ปัญหาภาพลักษณ์ของการลงทุนไทยในประเทศเป้าหมายไม่ค่อยดีนัก ประชาชนในประเทศเพื่อนบ้านยังมีทัศนคติไม่ดีต่อรัฐบาลไทย โดยมองว่าไม่จริงใจและไม่ให้ความเคารพในศักดิ์ศรีของประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านต่ำต้อยกว่า ทำให้ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา ซึ่งแม้มีความคล้ายคลึงในด้านวัฒนธรรมกับไทยมาก แต่ในด้านการเมืองและความรู้สึกนึกคิดของประชาชนแล้ว กลับใกล้ชิดกับเวียดนามมากกว่า
สถาบันเอเชีย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับศูนย์สังคมอนุภูมิภาคแม่โขง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยพนมเปญ ได้เคยร่วมมือกันจัดทำการสำรวจทัศนคติของชาวกัมพูชาในกรุงพนมเปญภายหลังเกิดเหตุการณ์การประท้วงและก่อจลาจลต่อประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2546 พบว่าชาวกัมพูชาร้อยละ 33 ของกลุ่มตัวอย่างของการสำรวจ ให้ทัศนะว่าไม่ชอบคนไทย ซึ่งส่วนใหญ่มีทัศนคติเชิงลบมาจากกลุ่มข้าราชการกัมพูชา และนักศึกษามหาวิทยาลัย เนื่องจากสาเหตุหลัก 3 ประการ คือ คนไทยชอบดูถูกชาวกัมพูชา คนไทยชอบเอารัดเอาเปรียบ และไทยมีความพยายามที่จะครอบงำวัฒนธรรมของชาวกัมพูชา
อนึ่ง เมื่อเกิดเหตุการณ์กระทบความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชาเมื่อปลายปี 2552 สถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่งได้นำบุคคลท่านหนึ่งมาสนทนาเพื่อแสดงความคิดเห็น โดยเนื้อหาตอนหนึ่งให้ทัศนะว่า “ประเทศกัมพูชาเศรษฐกิจไม่พัฒนา ดำรงประเทศอยู่ได้ก็ด้วยความช่วยเหลือจากต่างประเทศเท่านั้น” ซึ่งเมื่อเนื้อหานี้เผยแพร่ออกไปยังชาวกัมพูชาที่สามารถเข้าใจภาษาไทยได้ ย่อมไม่เป็นผลดีต่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ รวมถึงการลงทุนไทยในประเทศกัมพูชาแต่อย่างใด
ปัญหาเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล รัฐบาลไทยเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง มักเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศ ตามกระแสสังคม ทำให้นโยบายขาดความต่อเนื่อง แตกต่างจากประเทศอื่นๆ เช่น สิงคโปร์ ซึ่งมีทิศทางของนโยบายชัดเจนและเน้นระยะยาว ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ซึ่งการปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศต่อประเทศใดประเทศหนึ่ง ย่อมส่งกระทบต่อการลงทุนไทยในประเทศนั้นๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ปัญหาขาดสิทธิและประโยชน์ที่เกื้อหนุนและจูงใจเพียงพอ ยังขาดสิทธิและประโยชน์ในการชักจูงการลงทุนที่มากพอเพียงให้เกิดการขยายการลงทุนในต่างประเทศ เช่น การหักค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเป็นพิเศษ การอุดหนุนการพัฒนาบุคลากรเพื่อให้พร้อมในการสนับสนุนการลงทุนไทยในต่างประเทศ เป็นต้น
ปัญหาความพร้อมของนักลงทุน การขาดข้อมูลที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะข้อมูลทางการตลาดที่ต้องใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน ซึ่งต้องการข้อมูลเชิงลึก เช่น โครงสร้างทางการตลาด กำแพงภาษีสินค้า เป็นต้น ทำให้เกิดความล่าช้าในการตัดสินใจลงทุน และขยายตลาด การขาดความรู้ ภาษาท้องถิ่น ทำให้ยากในการเจรจาธุรกิจและสามารถสร้างสัมพันธ์กับข้าราชการและผู้ประกอบการท้องถิ่น
ปัญหาผู้ประกอบการไทยยังไม่ให้ความสนใจเกี่ยวกับการลงทุนต่างประเทศเท่าที่ควร แม้บางบริษัท เช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์ เครือซิเมนต์ไทย เครือบ้านปู ฯลฯ ได้ให้ความสำคัญกับการลงทุนไทยในต่างประเทศเป็นอย่างมาก แต่นักลงทุนไทยส่วนใหญ่มีทัศนคติว่าการลงทุนในต่างประเทศเป็นเพียงแนวทางหนึ่งที่จะขยายโอกาสทางธุรกิจ
ทัศนะของนักลงทุนไทยจึงนับว่าแตกต่างจากนักลงทุนของประเทศอื่นๆ เช่น ไต้หวัน ฯลฯ ซึ่งถือว่าการลงทุนในต่างประเทศเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความสามารถในการแข่งขันและการอยู่รอดของบริษัท ดังนั้น จะต้องส่งบุคคลที่ยอดเยี่ยมที่สุดไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ พร้อมกับทุ่มเททรัพยากรจำนวนมากในการทำธุรกิจในต่างประเทศ
ปัญหาการขาดแหล่งเงินทุน ในระยะแรกการลงทุนในต่างประเทศจะมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ทำให้กระแสเงินสดติดลบ ยากที่จะทำกำไรในระยะสั้น แม้บางหน่วยงานจะมีมาตรการสนับสนุน เช่น ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ได้เสนอให้สินเชื่อแก่นักลงทุน แต่ยังมีเงื่อนไขและข้อกำหนดในการขอรับการสนับสนุนที่ยุ่งยาก โดยเฉพาะในด้านหลักทรัพย์ค้ำประกัน
รัฐบาลได้ตระหนักถึงปัญหาการละเลยเกี่ยวกับการลงทุนต่างประเทศข้างต้นว่าอาจจะส่งผลกระทบทำให้ประเทศไทยสูญเสียความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน (Competitive Advantage) ในระยะยาวและแบบยั่งยืน หากไม่ปรับตัวในเชิงโครงสร้างทางธุรกิจโดยแปรสภาพจากการเป็นประเทศผู้รองรับการลงทุนมาเป็นประเทศผู้ลงทุน ดังนั้น นโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2551 จึงได้กำหนดส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพและสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เพื่อสนองนโยบายข้างต้น คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจึงได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน มีอำนาจหน้าที่ในการศึกษาแนวทางและกำหนดยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ เตรียมการร่างกฎหมายเพื่อส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ และศึกษาความเหมาะสมในการจัดตั้งองค์กรถาวรเพื่อรับผิดชอบงานด้านส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ
คณะอนุกรรมการฯ ได้ประชุมหารือและเห็นชอบเบื้องต้นกับกลยุทธ์ส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ ประกอบด้วย 5 มาตรการ กล่าวคือ มาตรการลดความเสี่ยงในการไปลงทุนต่างประเทศ มาตรการจูงใจให้ไปลงทุนต่างประเทศโดยใช้มาตรการการเงินและการคลัง มาตรการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเป้าหมายที่รองรับการลงทุน มาตรการพัฒนานักธุรกิจไทยและบุคลากรให้มีความพร้อมในการลงทุนต่างประเทศ และมาตรการอำนวยความสะดวกและแก้ไขปัญหาแก่นักลงทุนไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศ พร้อมกับกำหนดให้จัดสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จึงได้ร่วมมือกับศูนย์แม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดสัมมนาเรื่อง “การลงทุนไทยในต่างประเทศ : วิกฤต โอกาส และความเป็นไปได้ของนักลงทุนไทย” ขึ้น ในวันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม 2553 เวลา 08.30-16.00 น. ณ ห้องมิราเคิลแกรนด์ B และ C ชั้น 4 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น
การสัมมนาข้างต้น นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม จะกล่าวเปิดสัมมนา จากนั้นจะเป็นการบรรยายเรื่อง “BOI กับบทบาทการสนับสนุนการลงทุนไทยในต่างประเทศ” โดย ดร.อรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวมถึงการเสวนาเรื่อง “การลงทุนไทยในต่างประเทศ : วิกฤต โอกาส และความเป็นไปได้ของนักลงทุนไทย” โดยมีผู้เข้าร่วมการเสวนา คือ ดร.สุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง ผู้แทนการค้าไทย นายราเชนทร์ พจนสุนทร รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ และนายสมพร จิตเป็นธม รองกรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (Exim Bank) โดยมีนายสรยุทธ์ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นผู้ดำเนินรายการ
สำหรับภาคบ่ายของการสัมมนา จะเป็นการระดมความคิดเห็นเรื่อง “ปัญหาและอุปสรรค โอกาสการลงทุน สิ่งที่นักลงทุนคาดหวัง และข้อเสนอแนะ” โดยเป็นการประชุม 5 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มขนส่ง กลุ่มสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องหนัง กลุ่มเกษตร ประมง และอาหารแปรรูป กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มท่องเที่ยว การบริการ และอสังหาริมทรัพย์ เพื่อนำข้อสรุปเสนอคณะอนุกรรมการฯ เพื่อประกอบการจัดทำกลยุทธ์ส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศต่อไป
การสัมมนาข้างต้นไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ทั้งนี้ หากท่านผู้ใดสนใจ สามารถติดต่อเพื่อขอเข้าร่วมการสัมมนาได้ที่ คุณณัฐชลัยย์ ธนปุณยารักษ์ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2537-8111 และ 0-2537-8155 ต่อ 1117 หรือติดต่อทาง E-mail : natchalai@boi.go.th และ khanidtha.k@chula.ac.th
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th
สำหรับปัญหาและอุปสรรคของการลงทุนไทยในต่างประเทศมีมากมายหลายประการ ซึ่งจำเป็นต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน เป็นต้นว่า
ปัญหาความยุ่งยากของกฎระเบียบของประเทศเป้าหมาย โดยกฎหมายและกฎระเบียบเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง มีความแตกต่างระหว่างกฎหมายและกฎระเบียบที่ออกโดยรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น ทำให้ยากในการทำความเข้าใจ
อย่างไรก็ตาม หลักการสำคัญที่นักธุรกิจทุกคนต้องใส่ใจเกี่ยวกับการลงทุนในต่างประเทศ คือ จะต้องไม่มาทำธุรกิจในประเทศใดประเทศหนึ่ง โดยคาดหวังว่ารูปแบบการดำเนินธุรกิจจะต้องเหมือนกับในประเทศที่ตนเองคุ้นเคย โดยจำเป็นจะต้องปรับตัวและยอมรับถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรม ต้องเข้าใจระบบและวิธีบริหารจัดการต่างๆ เช่น ระบบการทำบัญชี ระบบภาษีอากร กฎระเบียบด้านการเงิน ฯลฯ ของประเทศนั้นๆ
“ไทยมีมูลค่าการลงทุนโดยตรงยังต่างประเทศสะสม
นับตั้งแต่อดีตจนถึงปี 2551 น้อยมาก
คือมีมูลค่า 10,857 ล้านเหรียญสหรัฐ
คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 4 ของ GDP เท่านั้น”
ปัญหาภาพลักษณ์ของการลงทุนไทยในประเทศเป้าหมายไม่ค่อยดีนัก ประชาชนในประเทศเพื่อนบ้านยังมีทัศนคติไม่ดีต่อรัฐบาลไทย โดยมองว่าไม่จริงใจและไม่ให้ความเคารพในศักดิ์ศรีของประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านต่ำต้อยกว่า ทำให้ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา ซึ่งแม้มีความคล้ายคลึงในด้านวัฒนธรรมกับไทยมาก แต่ในด้านการเมืองและความรู้สึกนึกคิดของประชาชนแล้ว กลับใกล้ชิดกับเวียดนามมากกว่า
สถาบันเอเชีย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับศูนย์สังคมอนุภูมิภาคแม่โขง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยพนมเปญ ได้เคยร่วมมือกันจัดทำการสำรวจทัศนคติของชาวกัมพูชาในกรุงพนมเปญภายหลังเกิดเหตุการณ์การประท้วงและก่อจลาจลต่อประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2546 พบว่าชาวกัมพูชาร้อยละ 33 ของกลุ่มตัวอย่างของการสำรวจ ให้ทัศนะว่าไม่ชอบคนไทย ซึ่งส่วนใหญ่มีทัศนคติเชิงลบมาจากกลุ่มข้าราชการกัมพูชา และนักศึกษามหาวิทยาลัย เนื่องจากสาเหตุหลัก 3 ประการ คือ คนไทยชอบดูถูกชาวกัมพูชา คนไทยชอบเอารัดเอาเปรียบ และไทยมีความพยายามที่จะครอบงำวัฒนธรรมของชาวกัมพูชา
อนึ่ง เมื่อเกิดเหตุการณ์กระทบความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชาเมื่อปลายปี 2552 สถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่งได้นำบุคคลท่านหนึ่งมาสนทนาเพื่อแสดงความคิดเห็น โดยเนื้อหาตอนหนึ่งให้ทัศนะว่า “ประเทศกัมพูชาเศรษฐกิจไม่พัฒนา ดำรงประเทศอยู่ได้ก็ด้วยความช่วยเหลือจากต่างประเทศเท่านั้น” ซึ่งเมื่อเนื้อหานี้เผยแพร่ออกไปยังชาวกัมพูชาที่สามารถเข้าใจภาษาไทยได้ ย่อมไม่เป็นผลดีต่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ รวมถึงการลงทุนไทยในประเทศกัมพูชาแต่อย่างใด
ปัญหาเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล รัฐบาลไทยเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง มักเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศ ตามกระแสสังคม ทำให้นโยบายขาดความต่อเนื่อง แตกต่างจากประเทศอื่นๆ เช่น สิงคโปร์ ซึ่งมีทิศทางของนโยบายชัดเจนและเน้นระยะยาว ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ซึ่งการปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศต่อประเทศใดประเทศหนึ่ง ย่อมส่งกระทบต่อการลงทุนไทยในประเทศนั้นๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ปัญหาขาดสิทธิและประโยชน์ที่เกื้อหนุนและจูงใจเพียงพอ ยังขาดสิทธิและประโยชน์ในการชักจูงการลงทุนที่มากพอเพียงให้เกิดการขยายการลงทุนในต่างประเทศ เช่น การหักค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเป็นพิเศษ การอุดหนุนการพัฒนาบุคลากรเพื่อให้พร้อมในการสนับสนุนการลงทุนไทยในต่างประเทศ เป็นต้น
ปัญหาความพร้อมของนักลงทุน การขาดข้อมูลที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะข้อมูลทางการตลาดที่ต้องใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน ซึ่งต้องการข้อมูลเชิงลึก เช่น โครงสร้างทางการตลาด กำแพงภาษีสินค้า เป็นต้น ทำให้เกิดความล่าช้าในการตัดสินใจลงทุน และขยายตลาด การขาดความรู้ ภาษาท้องถิ่น ทำให้ยากในการเจรจาธุรกิจและสามารถสร้างสัมพันธ์กับข้าราชการและผู้ประกอบการท้องถิ่น
ปัญหาผู้ประกอบการไทยยังไม่ให้ความสนใจเกี่ยวกับการลงทุนต่างประเทศเท่าที่ควร แม้บางบริษัท เช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์ เครือซิเมนต์ไทย เครือบ้านปู ฯลฯ ได้ให้ความสำคัญกับการลงทุนไทยในต่างประเทศเป็นอย่างมาก แต่นักลงทุนไทยส่วนใหญ่มีทัศนคติว่าการลงทุนในต่างประเทศเป็นเพียงแนวทางหนึ่งที่จะขยายโอกาสทางธุรกิจ
ทัศนะของนักลงทุนไทยจึงนับว่าแตกต่างจากนักลงทุนของประเทศอื่นๆ เช่น ไต้หวัน ฯลฯ ซึ่งถือว่าการลงทุนในต่างประเทศเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความสามารถในการแข่งขันและการอยู่รอดของบริษัท ดังนั้น จะต้องส่งบุคคลที่ยอดเยี่ยมที่สุดไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ พร้อมกับทุ่มเททรัพยากรจำนวนมากในการทำธุรกิจในต่างประเทศ
ปัญหาการขาดแหล่งเงินทุน ในระยะแรกการลงทุนในต่างประเทศจะมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ทำให้กระแสเงินสดติดลบ ยากที่จะทำกำไรในระยะสั้น แม้บางหน่วยงานจะมีมาตรการสนับสนุน เช่น ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ได้เสนอให้สินเชื่อแก่นักลงทุน แต่ยังมีเงื่อนไขและข้อกำหนดในการขอรับการสนับสนุนที่ยุ่งยาก โดยเฉพาะในด้านหลักทรัพย์ค้ำประกัน
รัฐบาลได้ตระหนักถึงปัญหาการละเลยเกี่ยวกับการลงทุนต่างประเทศข้างต้นว่าอาจจะส่งผลกระทบทำให้ประเทศไทยสูญเสียความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน (Competitive Advantage) ในระยะยาวและแบบยั่งยืน หากไม่ปรับตัวในเชิงโครงสร้างทางธุรกิจโดยแปรสภาพจากการเป็นประเทศผู้รองรับการลงทุนมาเป็นประเทศผู้ลงทุน ดังนั้น นโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2551 จึงได้กำหนดส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพและสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เพื่อสนองนโยบายข้างต้น คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจึงได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน มีอำนาจหน้าที่ในการศึกษาแนวทางและกำหนดยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ เตรียมการร่างกฎหมายเพื่อส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ และศึกษาความเหมาะสมในการจัดตั้งองค์กรถาวรเพื่อรับผิดชอบงานด้านส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ
คณะอนุกรรมการฯ ได้ประชุมหารือและเห็นชอบเบื้องต้นกับกลยุทธ์ส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ ประกอบด้วย 5 มาตรการ กล่าวคือ มาตรการลดความเสี่ยงในการไปลงทุนต่างประเทศ มาตรการจูงใจให้ไปลงทุนต่างประเทศโดยใช้มาตรการการเงินและการคลัง มาตรการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเป้าหมายที่รองรับการลงทุน มาตรการพัฒนานักธุรกิจไทยและบุคลากรให้มีความพร้อมในการลงทุนต่างประเทศ และมาตรการอำนวยความสะดวกและแก้ไขปัญหาแก่นักลงทุนไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศ พร้อมกับกำหนดให้จัดสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จึงได้ร่วมมือกับศูนย์แม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดสัมมนาเรื่อง “การลงทุนไทยในต่างประเทศ : วิกฤต โอกาส และความเป็นไปได้ของนักลงทุนไทย” ขึ้น ในวันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม 2553 เวลา 08.30-16.00 น. ณ ห้องมิราเคิลแกรนด์ B และ C ชั้น 4 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น
การสัมมนาข้างต้น นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม จะกล่าวเปิดสัมมนา จากนั้นจะเป็นการบรรยายเรื่อง “BOI กับบทบาทการสนับสนุนการลงทุนไทยในต่างประเทศ” โดย ดร.อรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวมถึงการเสวนาเรื่อง “การลงทุนไทยในต่างประเทศ : วิกฤต โอกาส และความเป็นไปได้ของนักลงทุนไทย” โดยมีผู้เข้าร่วมการเสวนา คือ ดร.สุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง ผู้แทนการค้าไทย นายราเชนทร์ พจนสุนทร รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ และนายสมพร จิตเป็นธม รองกรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (Exim Bank) โดยมีนายสรยุทธ์ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นผู้ดำเนินรายการ
สำหรับภาคบ่ายของการสัมมนา จะเป็นการระดมความคิดเห็นเรื่อง “ปัญหาและอุปสรรค โอกาสการลงทุน สิ่งที่นักลงทุนคาดหวัง และข้อเสนอแนะ” โดยเป็นการประชุม 5 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มขนส่ง กลุ่มสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องหนัง กลุ่มเกษตร ประมง และอาหารแปรรูป กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มท่องเที่ยว การบริการ และอสังหาริมทรัพย์ เพื่อนำข้อสรุปเสนอคณะอนุกรรมการฯ เพื่อประกอบการจัดทำกลยุทธ์ส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศต่อไป
การสัมมนาข้างต้นไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ทั้งนี้ หากท่านผู้ใดสนใจ สามารถติดต่อเพื่อขอเข้าร่วมการสัมมนาได้ที่ คุณณัฐชลัยย์ ธนปุณยารักษ์ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2537-8111 และ 0-2537-8155 ต่อ 1117 หรือติดต่อทาง E-mail : natchalai@boi.go.th และ khanidtha.k@chula.ac.th
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th