AST ผู้จัดการรายวัน - ชาวมาบตาพุดฟ้องศาลปกครองระงับและเพิกถอนอีก 9 โครงการทั้งเหมืองแร่- ปิโตรเคมี- พลังงาน- อุตสาหกรรม -ชลประทาน เหตุยังไม่ปฏิบัติตามรธน.มาตรา 67 จ่อฟ้องเพิกถอนอีก 17 โครงการในพื้นที่ชลบุรี จวกรัฐบาลส่งอัยการทำตัวเป็นทนายเอกชนยื่นปลดล็อคโครงการฉาว
วานนี้ ( 10 มี.ค.) นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ร่วมกับชาวบ้านพื้นที่มาบตาพุด – บ้านฉาง จ.ระยอง รวม 35 คน ยื่นฟ้อง สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ( สผ.) , คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ , กรมอุตสาหกรรมพื้นที่และการเหมืองแร่ , รมว.อุตสาหกรรม , อธิบดีกรมเจ้าท่า , อธิบดีกรมชลประทาน และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ( กนอ.) , รมว.พลังงาน และคณะกรรมการกำกับพลังงาน กรณียังให้ความเห็นชอบและหรืออนุญาตให้มีการดำเนินโครงการหรือประกอบการโครงการต่าง ๆ ไปตามปกติ ใน9 โครงการ
ประกอบด้วย ประเภทเหมืองแร่ 1.โครงการทำเหมืองชนิดแร่ทรายแก้ว ตั้งที่ ต.ซากพง อ.แกลง จ.ระยอง โดยห้างหุ้นส่วนจำกัด กรุงเกษม , ประเภทปิโตรเคมี 2.โครงการโรงงานผลิต Purified Terephthalic Acid (PTA) ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย อำเภอบ้านฉาง จ.ระยอง โดย บริษัท อินโดรามา ปิโตรเคม จำกัด , ประเภทอุตสาหกรรม
3.รายงาน EIA นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) อำเภอเมือง จ.ระยอง โดยบริษัท ไทย อีทอกซีเลท จำกัด 4.โครงการผลิตเหล็กเส้น ตั้งที่ ต.มาบข่า อ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง โดยบริษัท เหล็กทรัพย์ตะวันออก จำกัด , ประเภทคมนาคม 5.โครงการท่าเทียบเรือขนถ่ายสินค้าเหลว บริเวณชายหาดหนองแฟบ ตำบลมาบตาพุด จ.ระยอง โดยบริษัท เอเซีย เทอร์มินัล จำกัด , ประเภทพลังงาน
6.โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม 600 เมกะวัตต์ ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมืองระยอง จ.ระยอง โดยบริษัท โกลว์ เอส พีพี 3 จำกัด 7.โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมืองระยอง จ.ระยอง โดยบริษัท เก็คโค่-วัน จำกัด
8.โครงการโรงไฟฟ้า TNP2 อุตสาหกรรม 2 แห่ง ภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ (ระยอง) โดยบริษัท เนชั่นแนลเพาเวอร์ 2 จำกัดและประเภทชลประทาน 9.โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง ตั้งที่ จ.ปราจีนบุรี- อำเภอปลวกแดง จ.ระยอง โดยกรมชลประทาน ซึ่งถือว่าเป็นการดำเนินการที่ขัดหรือแย้งต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 67วรรคสอง และพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550อย่างชัดแจ้ง
ทั้งนี้เพราะโครงการทั้งหมดเพียงแต่จัดทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แต่เพียงอย่างเดียว ไม่ได้ดำเนินการศึกษาหรือประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ(HIA)ของประชาชนในชุมชนไม่จัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน อย่างทั่วถึงและรอบด้าน รวมทั้งไม่ได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67วรรคสองกำหนดอย่างครบถ้วน
คำขอของผู้ฟ้อง ขอให้ศาลมีคำสั่ง เพิกถอนรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)ของทั้ง 9 โครงการ ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯแล้ว โดยให้นำกลับมาดำเนินการให้ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67วรรคสอง และพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และขอให้ยุติการรับเรื่องหรือรายงาน EIA ของผู้ประกอบการใด ๆ ที่ส่งมาให้พิจารณาเอาไว้ก่อนเป็นการชั่วคราว จนกว่าผู้ประกอบการทุกรายได้ดำเนินการครบถ้วนตามมาตรา 67 วรรคสองแล้ว
รวมทั้งให้มีการเพิกถอนใบอนุญาต รวมทั้งการระงับการดำเนินกิจกรรมใด ๆ สำหรับโครงการหรือกิจกรรมที่เข้าข่ายเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่ได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในพื้นที่จ.ระยอง ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพและขอให้สั่งให้ผู้ประกอบการ หรือเจ้าของโครงการหรือกิจกรรมทั้งหมด กลับไปดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 ให้ครบถ้วน
และในระหว่างการพิจารณาขอให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาด้วยการ สั่งระงับการก่อสร้างโครงการดังกล่าวไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่รัฐธรรมนูญ บัญญัติให้ครบถ้วน ซึ่งศาลปกครอง รับคำฟ้องไว้เป็นคดีหมายเลขดำที่ 422 /2553 เพื่อพิจารณาว่าจะรับฟ้องและจะไต่สวนเพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่ต่อไป
นายศรีสุวรรณ กล่าวว่า คดีที่ฟ้องนี้คาดว่าภายในสัปดาห์หน้า น่าจะความคืบหน้าว่าจะศาลไต่สวนเพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่ และหลังจากนี้ตนเตรียมจะยื่นฟ้องคดีอีกในโครงการพื้นที่ จ.ชลบุรี ปะมาณ 16 – 17 โครงการซึ่งระหว่างนี้กำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการยื่นฟ้องและมีประชาชนที่ร่วมลงชื่อในการฟ้องด้วยแล้วประมาณ 100 คนโดยการเตรียมข้อมูลยื่นฟ้องคาดว่าจะใช้เวลา 1 เดือน ทั้งนี้การยื่นฟ้องอีก 9 โครงการ และในอนาคตที่จะฟ้องเพิ่มอีกในพื้นที่ จ.ชลบุรี นั้นเป็นส่วนที่ตนเคยมีข้อมูลว่าโครงการทั่วประเทศมี 181 โครงการที่น่าจะมีปัญหาไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติ รธน. ให้ครบถ้วน
“ การฟ้องครั้งนี้ เป็นการตอบโต้รัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ด้วย เพราะหลังจากศาลปกครองกลาง และศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งให้คุ้มครองชั่วคราว 65 ใน 76 โครงการแล้ว พบว่ารัฐบาลพยายามปลดล็อคโครงการต่างๆ ให้เอกชนอย่างต่อเนื่องโดยยืมมืออัยการที่เป็นทนายแผ่นดินมาดำเนินการ ซึ่งล่าสุดสามารถปลดล็อคได้อีก 9 โครงการ สมาคม ฯ ถือว่ารัฐบาลไม่มีความจริงใจที่จะบังคับเอกชน เจ้าของโรงงานปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ”
วานนี้ ( 10 มี.ค.) นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ร่วมกับชาวบ้านพื้นที่มาบตาพุด – บ้านฉาง จ.ระยอง รวม 35 คน ยื่นฟ้อง สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ( สผ.) , คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ , กรมอุตสาหกรรมพื้นที่และการเหมืองแร่ , รมว.อุตสาหกรรม , อธิบดีกรมเจ้าท่า , อธิบดีกรมชลประทาน และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ( กนอ.) , รมว.พลังงาน และคณะกรรมการกำกับพลังงาน กรณียังให้ความเห็นชอบและหรืออนุญาตให้มีการดำเนินโครงการหรือประกอบการโครงการต่าง ๆ ไปตามปกติ ใน9 โครงการ
ประกอบด้วย ประเภทเหมืองแร่ 1.โครงการทำเหมืองชนิดแร่ทรายแก้ว ตั้งที่ ต.ซากพง อ.แกลง จ.ระยอง โดยห้างหุ้นส่วนจำกัด กรุงเกษม , ประเภทปิโตรเคมี 2.โครงการโรงงานผลิต Purified Terephthalic Acid (PTA) ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย อำเภอบ้านฉาง จ.ระยอง โดย บริษัท อินโดรามา ปิโตรเคม จำกัด , ประเภทอุตสาหกรรม
3.รายงาน EIA นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) อำเภอเมือง จ.ระยอง โดยบริษัท ไทย อีทอกซีเลท จำกัด 4.โครงการผลิตเหล็กเส้น ตั้งที่ ต.มาบข่า อ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง โดยบริษัท เหล็กทรัพย์ตะวันออก จำกัด , ประเภทคมนาคม 5.โครงการท่าเทียบเรือขนถ่ายสินค้าเหลว บริเวณชายหาดหนองแฟบ ตำบลมาบตาพุด จ.ระยอง โดยบริษัท เอเซีย เทอร์มินัล จำกัด , ประเภทพลังงาน
6.โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม 600 เมกะวัตต์ ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมืองระยอง จ.ระยอง โดยบริษัท โกลว์ เอส พีพี 3 จำกัด 7.โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมืองระยอง จ.ระยอง โดยบริษัท เก็คโค่-วัน จำกัด
8.โครงการโรงไฟฟ้า TNP2 อุตสาหกรรม 2 แห่ง ภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ (ระยอง) โดยบริษัท เนชั่นแนลเพาเวอร์ 2 จำกัดและประเภทชลประทาน 9.โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง ตั้งที่ จ.ปราจีนบุรี- อำเภอปลวกแดง จ.ระยอง โดยกรมชลประทาน ซึ่งถือว่าเป็นการดำเนินการที่ขัดหรือแย้งต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 67วรรคสอง และพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550อย่างชัดแจ้ง
ทั้งนี้เพราะโครงการทั้งหมดเพียงแต่จัดทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แต่เพียงอย่างเดียว ไม่ได้ดำเนินการศึกษาหรือประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ(HIA)ของประชาชนในชุมชนไม่จัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน อย่างทั่วถึงและรอบด้าน รวมทั้งไม่ได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67วรรคสองกำหนดอย่างครบถ้วน
คำขอของผู้ฟ้อง ขอให้ศาลมีคำสั่ง เพิกถอนรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)ของทั้ง 9 โครงการ ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯแล้ว โดยให้นำกลับมาดำเนินการให้ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67วรรคสอง และพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และขอให้ยุติการรับเรื่องหรือรายงาน EIA ของผู้ประกอบการใด ๆ ที่ส่งมาให้พิจารณาเอาไว้ก่อนเป็นการชั่วคราว จนกว่าผู้ประกอบการทุกรายได้ดำเนินการครบถ้วนตามมาตรา 67 วรรคสองแล้ว
รวมทั้งให้มีการเพิกถอนใบอนุญาต รวมทั้งการระงับการดำเนินกิจกรรมใด ๆ สำหรับโครงการหรือกิจกรรมที่เข้าข่ายเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่ได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในพื้นที่จ.ระยอง ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพและขอให้สั่งให้ผู้ประกอบการ หรือเจ้าของโครงการหรือกิจกรรมทั้งหมด กลับไปดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 ให้ครบถ้วน
และในระหว่างการพิจารณาขอให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาด้วยการ สั่งระงับการก่อสร้างโครงการดังกล่าวไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่รัฐธรรมนูญ บัญญัติให้ครบถ้วน ซึ่งศาลปกครอง รับคำฟ้องไว้เป็นคดีหมายเลขดำที่ 422 /2553 เพื่อพิจารณาว่าจะรับฟ้องและจะไต่สวนเพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่ต่อไป
นายศรีสุวรรณ กล่าวว่า คดีที่ฟ้องนี้คาดว่าภายในสัปดาห์หน้า น่าจะความคืบหน้าว่าจะศาลไต่สวนเพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่ และหลังจากนี้ตนเตรียมจะยื่นฟ้องคดีอีกในโครงการพื้นที่ จ.ชลบุรี ปะมาณ 16 – 17 โครงการซึ่งระหว่างนี้กำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการยื่นฟ้องและมีประชาชนที่ร่วมลงชื่อในการฟ้องด้วยแล้วประมาณ 100 คนโดยการเตรียมข้อมูลยื่นฟ้องคาดว่าจะใช้เวลา 1 เดือน ทั้งนี้การยื่นฟ้องอีก 9 โครงการ และในอนาคตที่จะฟ้องเพิ่มอีกในพื้นที่ จ.ชลบุรี นั้นเป็นส่วนที่ตนเคยมีข้อมูลว่าโครงการทั่วประเทศมี 181 โครงการที่น่าจะมีปัญหาไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติ รธน. ให้ครบถ้วน
“ การฟ้องครั้งนี้ เป็นการตอบโต้รัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ด้วย เพราะหลังจากศาลปกครองกลาง และศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งให้คุ้มครองชั่วคราว 65 ใน 76 โครงการแล้ว พบว่ารัฐบาลพยายามปลดล็อคโครงการต่างๆ ให้เอกชนอย่างต่อเนื่องโดยยืมมืออัยการที่เป็นทนายแผ่นดินมาดำเนินการ ซึ่งล่าสุดสามารถปลดล็อคได้อีก 9 โครงการ สมาคม ฯ ถือว่ารัฐบาลไม่มีความจริงใจที่จะบังคับเอกชน เจ้าของโรงงานปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ”