กุญแจนำไปสู่การแก้ไขวิกฤต อยู่ที่เข้าใจพึ่งพระปัญญาบารมีและพระมหากรุณาฯ เข้าใจข้อเสนอของนายกรัฐมนตรี เข้าใจกฎหมายตามหลักรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย และเร่งบำเพ็ญเวสารัชชกรณธรรม 5
1. เข้าใจพึ่งพระปัญญาบารมีและพระมหากรุณาฯ ผ่านพระราชดำรัส 1
ก็มีประเพณีเป็นที่ยอมรับกันในนานาประเทศแล้วมิใช่หรือว่า พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยนั้นน่ะ สัมพันธ์กับรัฐบาลตามที่ได้ย่อไว้อย่างสั้นเป็นภาษาอังกฤษว่า “to advise and be advised” หมายความว่ารัฐบาลมีหน้าที่ต้องทูลเกล้าฯถวายรายงานเป็นประจำถึงสถานะโดยทั่วๆ ไปและเหตุการณ์ที่สำคัญต่อความมั่นคงของประเทศ เช่น ในอังกฤษ นายกฯ ของเค้าจะต้องเข้าเฝ้าฯ พระราชินีของเค้าทุกวันศุกร์เพื่อถวายรายงาน และไม่ว่าพระราชินีจะเสด็จฯ ไปไหน ในประเทศอังกฤษเองหรือต่างประเทศ ก็จะต้องมีที่เรียกว่ากระเป๋าดำ คอยตามไปตลอดเวลา ซึ่งการรายงานสถานการณ์บ้านเมืองและรายงานข้อสำคัญๆ ซึ่งเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ
ในทางกลับกัน ถ้าทางรัฐบาลกราบบังคมทูลขอพระราชทานคำปรึกษาหรือถ้าทรงเห็นว่าพระองค์ควรจะพระราชทานคำปรึกษาเกี่ยวกับความมั่นคงของประทศชาติและทุกข์สุขของราษฎรไม่ว่าในเรื่องใด พระมหากษัตริย์ก็จำเป็นต้องพระราชทานคำปรึกษานั้นให้กับรัฐบาล
พระราชดำรัส 2
จำไว้ว่า สถาบันจะลงไปเล่นการเมืองอย่างเต็มตัวได้ ก็ต่อเมื่อเกิด void หรือ สุญญากาศทางการเมืองขึ้นจริงๆ อย่างกรณี 14 ตุลาฯ แต่เมื่อได้ก้าวลงไปจัดการ จนช่องว่างดังกล่าวหมดไปแล้ว สถาบันกษัตริย์จะต้องรีบก้าวกลับขึ้นไปอยู่เหนือการเมืองอย่างเดิมโดยเร็วที่สุด จะได้พร้อมที่จะลงมาช่วยได้อีก ถ้าเกิดสุญญากาศขึ้นมาอีก
พระราชดำรัส 3
ตั้งแต่เป็นมา มีรัฐธรรมนูญหลายฉบับ แล้วก็ทำมาหลายสิบปี ไม่เคยทำอะไรตามใจชอบ. ถ้าทำไปตามใจชอบ ก็เข้าใจว่าบ้านเมืองล่มจมไปนานแล้ว. แต่ตอนนี้เขาขอให้ทำตามใจชอบ. แล้วเวลาถ้าเขา ถ้าทำตามที่เขาขอ เขาก็จะต้องด่าว่านินทาพระมหากษัตริย์ว่าทำตามใจชอบ. ซึ่งไม่ใช่กลัว ถ้าต้องทำก็ต้องทำ แต่ว่ามันไม่ต้องทำ. ต้องวันนี้น่ะอยู่ที่ผู้พิพากษาศาลฎีกาเป็นสำคัญที่จะบอกได้.
พระราชดำรัส 4
“มาตรา 7 นั้น ไม่ได้หมายถึงมอบให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจที่จะทำอะไรตามชอบใจ ไม่ใช่มาตรา 7 นั้น พูดถึงการปกครองแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไม่ได้บอกว่าให้พระมหากษัตริย์ตัดสินใจทำได้ทุกอย่าง. ถ้าทำ เขาจะต้องว่าพระมหากษัตริย์ทำเกินหน้าที่. ซึ่งข้าพเจ้าไม่เคยเกิน ไม่เคยทำเกินหน้าที่. ถ้าทำเกินหน้าที่ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย.
เขาอ้างถึงเมื่อครั้งก่อนนี้ เมื่อรัฐบาลของอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์. ตอนนั้นไม่ได้ทำเกินอำนาจของพระมหากษัตริย์. ตอนนั้นมีสภาฯ สภาฯ มีอยู่ ประธานสภาฯ รองประธานสภาฯ มีอยู่ แล้วก็รองประธานสภาฯ ทำหน้าที่ แล้วมีนายกฯ ที่สนองพระบรมราชโองการได้ตามรัฐธรรมนูญในครั้งนั้น. ไม่ได้หมายความว่าที่ทำครั้งนั้นผิดรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่. ตอนนั้นเขาไม่ใช่นายกฯ พระราชทาน. นายกฯ พระราชทานหมายความว่าตั้งนายกฯ โดยไม่มีกฎเกณฑ์อะไรเลย. ตอนนั้นมีกฎเกณฑ์. เมื่อครั้งอาจารย์สัญญาได้รับตั้งเป็นนายกฯ เป็นนายกฯ ที่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ คือ รองประธานสภานิติบัญญัติ นายทวี แรงขำ.
ดังนั้น ไปทบทวนประวัติศาสตร์หน่อย. ท่านก็เป็นผู้ใหญ่ ท่านก็ทราบมี มีกฎเกณฑ์ที่รองรับ แล้วก็งานอื่นๆ ก็มี. แม้จะเรียกว่าสภาสนามม้า ก็หัวเราะกัน สภาสนามม้า แต่ไม่ผิด ไม่ผิดกฎหมาย เพราะว่านายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนอง. นายกรัฐมนตรี นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้รับสนองพระบรมราชโองการ. ก็สบายใจว่าทำอะไรแบบถูกต้อง ตามครรลองของรัฐธรรมนูญ. แต่ครั้งนี้ก็เขาจะให้ทำอะไรผิด ผิดรัฐธรรมนูญ ใครเป็นคนบอกก็ไม่ทราบนะ แต่ว่าข้าพเจ้าเองรู้สึกว่าผิด.
2. เข้าใจ “ข้อเสนอเพื่อปฏิเสธการนองเลือดและรัฐประหาร” ของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ ดังนี้
“หลักใหญ่ที่สุดของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง คือ ทำอย่างไรให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และเป็นไปโดยสันติ
มาตรา 7 เป็นกลไกสุดท้ายของรัฐธรรมนูญ เป็นจุดที่เปิดช่องไว้เพื่อให้ทุกทางตันมีทางออก เมื่อเห็นว่ามาถึงทางตันแล้ว ผมจึงเสนอว่าควรต้องใช้ช่องทางนี้
แต่ช่องทางนี้ ตามที่ผมตีความและตามที่ได้เสนอไป ณ การชุมนุมที่ท้องสนามหลวง ยังยอมรับหลักการว่า คนที่จะใช้ได้จริงๆ คือ คุณทักษิณกับคณะในฐานะที่เป็นผู้นำเป็นรัฐบาลมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ด้วยการลาออกทั้งคณะ เพื่อให้บทบัญญัติในมาตราอื่นไม่สามารถบังคับใช้ได้เลย เนื่องจากขณะนั้นไม่มีสภาผู้แทนราษฎร
ถามว่า ผิดรัฐธรรมนูญไหม ไม่ผิดแน่นอน
ถามว่า เป็นประชาธิปไตยไหม ต้องเป็นประชาธิปไตยแน่นอน (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
3. เข้าใจหลักกฎหมาย clear and present danger หรือ “ภัยพิบัติชัดแจ้ง อันอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ”
คือเข้าใจองค์ประกอบของการกระทำอันทำให้เกิดภัยพิบัติใดมาในอดีต มีการกระทำดังกล่าวต่างกรรมต่างวาระต่อมาอย่างไม่หยุดนิ่ง และปัจจุบันกำลังยกระดับความรุนแรงและสัมฤทธิผลของการกระทำนั้น เพื่อนำไปสู่ภัยพิบัติถึงที่สุด
เมื่อเข้าใจว่าภัยอันใหญ่หลวงที่กำลังจะมาถึงนั้นเป็นอันตรายต่อความสงบสุขของบ้านเมือง การดำรงอยู่ของรัฐบาลและการปกครองระบอบประชาธิปไตย แม้กระทั่งสถาบันกษัตริย์ที่เคารพบูชา
รัฐบาลซึ่งเป็นผู้ผูกขาดอำนาจและการใช้กำลัง จะต้องไม่ยอมให้ผู้อื่นมาใช้อำนาจและกำลังอันไม่ถูกต้องด้วยกฎหมาย รัฐบาลมีหน้าที่ระงับ จำกัด และกำจัดการกระทำและภัยพิบัตินั้นโดยเด็ดขาด และมิเปิดโอกาสให้เกิดขึ้นได้อีก แม้รัฐบาลจำเป็นต้องจำกัดสิทธิเสรีภาพหรืองดเว้นการบังคับใช้รัฐธรรมนูญเพื่อการนั้นๆ ก็กระทำได้ และต้องกระทำ
4. เข้าใจว่าการใช้มาตรา 7 ควบคู่กับการงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราเป็นการรักษารัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยมิใช่การทำลาย การไม่ยอมงดเว้นและไม่นำมาตรา 7 มาปรับใช้เมื่อจำเป็นต่างหากที่เป็นการทำลายประชาธิปไตย
5. เข้าใจเวสารัชชกรณธรรม 5 คือ คุณธรรม 5 ประการที่ทำให้เกิดความกล้าหาญ มีอะไรบ้างกรุณาไปเปิดดูเอาเอง
1. เข้าใจพึ่งพระปัญญาบารมีและพระมหากรุณาฯ ผ่านพระราชดำรัส 1
ก็มีประเพณีเป็นที่ยอมรับกันในนานาประเทศแล้วมิใช่หรือว่า พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยนั้นน่ะ สัมพันธ์กับรัฐบาลตามที่ได้ย่อไว้อย่างสั้นเป็นภาษาอังกฤษว่า “to advise and be advised” หมายความว่ารัฐบาลมีหน้าที่ต้องทูลเกล้าฯถวายรายงานเป็นประจำถึงสถานะโดยทั่วๆ ไปและเหตุการณ์ที่สำคัญต่อความมั่นคงของประเทศ เช่น ในอังกฤษ นายกฯ ของเค้าจะต้องเข้าเฝ้าฯ พระราชินีของเค้าทุกวันศุกร์เพื่อถวายรายงาน และไม่ว่าพระราชินีจะเสด็จฯ ไปไหน ในประเทศอังกฤษเองหรือต่างประเทศ ก็จะต้องมีที่เรียกว่ากระเป๋าดำ คอยตามไปตลอดเวลา ซึ่งการรายงานสถานการณ์บ้านเมืองและรายงานข้อสำคัญๆ ซึ่งเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ
ในทางกลับกัน ถ้าทางรัฐบาลกราบบังคมทูลขอพระราชทานคำปรึกษาหรือถ้าทรงเห็นว่าพระองค์ควรจะพระราชทานคำปรึกษาเกี่ยวกับความมั่นคงของประทศชาติและทุกข์สุขของราษฎรไม่ว่าในเรื่องใด พระมหากษัตริย์ก็จำเป็นต้องพระราชทานคำปรึกษานั้นให้กับรัฐบาล
พระราชดำรัส 2
จำไว้ว่า สถาบันจะลงไปเล่นการเมืองอย่างเต็มตัวได้ ก็ต่อเมื่อเกิด void หรือ สุญญากาศทางการเมืองขึ้นจริงๆ อย่างกรณี 14 ตุลาฯ แต่เมื่อได้ก้าวลงไปจัดการ จนช่องว่างดังกล่าวหมดไปแล้ว สถาบันกษัตริย์จะต้องรีบก้าวกลับขึ้นไปอยู่เหนือการเมืองอย่างเดิมโดยเร็วที่สุด จะได้พร้อมที่จะลงมาช่วยได้อีก ถ้าเกิดสุญญากาศขึ้นมาอีก
พระราชดำรัส 3
ตั้งแต่เป็นมา มีรัฐธรรมนูญหลายฉบับ แล้วก็ทำมาหลายสิบปี ไม่เคยทำอะไรตามใจชอบ. ถ้าทำไปตามใจชอบ ก็เข้าใจว่าบ้านเมืองล่มจมไปนานแล้ว. แต่ตอนนี้เขาขอให้ทำตามใจชอบ. แล้วเวลาถ้าเขา ถ้าทำตามที่เขาขอ เขาก็จะต้องด่าว่านินทาพระมหากษัตริย์ว่าทำตามใจชอบ. ซึ่งไม่ใช่กลัว ถ้าต้องทำก็ต้องทำ แต่ว่ามันไม่ต้องทำ. ต้องวันนี้น่ะอยู่ที่ผู้พิพากษาศาลฎีกาเป็นสำคัญที่จะบอกได้.
พระราชดำรัส 4
“มาตรา 7 นั้น ไม่ได้หมายถึงมอบให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจที่จะทำอะไรตามชอบใจ ไม่ใช่มาตรา 7 นั้น พูดถึงการปกครองแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไม่ได้บอกว่าให้พระมหากษัตริย์ตัดสินใจทำได้ทุกอย่าง. ถ้าทำ เขาจะต้องว่าพระมหากษัตริย์ทำเกินหน้าที่. ซึ่งข้าพเจ้าไม่เคยเกิน ไม่เคยทำเกินหน้าที่. ถ้าทำเกินหน้าที่ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย.
เขาอ้างถึงเมื่อครั้งก่อนนี้ เมื่อรัฐบาลของอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์. ตอนนั้นไม่ได้ทำเกินอำนาจของพระมหากษัตริย์. ตอนนั้นมีสภาฯ สภาฯ มีอยู่ ประธานสภาฯ รองประธานสภาฯ มีอยู่ แล้วก็รองประธานสภาฯ ทำหน้าที่ แล้วมีนายกฯ ที่สนองพระบรมราชโองการได้ตามรัฐธรรมนูญในครั้งนั้น. ไม่ได้หมายความว่าที่ทำครั้งนั้นผิดรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่. ตอนนั้นเขาไม่ใช่นายกฯ พระราชทาน. นายกฯ พระราชทานหมายความว่าตั้งนายกฯ โดยไม่มีกฎเกณฑ์อะไรเลย. ตอนนั้นมีกฎเกณฑ์. เมื่อครั้งอาจารย์สัญญาได้รับตั้งเป็นนายกฯ เป็นนายกฯ ที่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ คือ รองประธานสภานิติบัญญัติ นายทวี แรงขำ.
ดังนั้น ไปทบทวนประวัติศาสตร์หน่อย. ท่านก็เป็นผู้ใหญ่ ท่านก็ทราบมี มีกฎเกณฑ์ที่รองรับ แล้วก็งานอื่นๆ ก็มี. แม้จะเรียกว่าสภาสนามม้า ก็หัวเราะกัน สภาสนามม้า แต่ไม่ผิด ไม่ผิดกฎหมาย เพราะว่านายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนอง. นายกรัฐมนตรี นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้รับสนองพระบรมราชโองการ. ก็สบายใจว่าทำอะไรแบบถูกต้อง ตามครรลองของรัฐธรรมนูญ. แต่ครั้งนี้ก็เขาจะให้ทำอะไรผิด ผิดรัฐธรรมนูญ ใครเป็นคนบอกก็ไม่ทราบนะ แต่ว่าข้าพเจ้าเองรู้สึกว่าผิด.
2. เข้าใจ “ข้อเสนอเพื่อปฏิเสธการนองเลือดและรัฐประหาร” ของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ ดังนี้
“หลักใหญ่ที่สุดของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง คือ ทำอย่างไรให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และเป็นไปโดยสันติ
มาตรา 7 เป็นกลไกสุดท้ายของรัฐธรรมนูญ เป็นจุดที่เปิดช่องไว้เพื่อให้ทุกทางตันมีทางออก เมื่อเห็นว่ามาถึงทางตันแล้ว ผมจึงเสนอว่าควรต้องใช้ช่องทางนี้
แต่ช่องทางนี้ ตามที่ผมตีความและตามที่ได้เสนอไป ณ การชุมนุมที่ท้องสนามหลวง ยังยอมรับหลักการว่า คนที่จะใช้ได้จริงๆ คือ คุณทักษิณกับคณะในฐานะที่เป็นผู้นำเป็นรัฐบาลมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ด้วยการลาออกทั้งคณะ เพื่อให้บทบัญญัติในมาตราอื่นไม่สามารถบังคับใช้ได้เลย เนื่องจากขณะนั้นไม่มีสภาผู้แทนราษฎร
ถามว่า ผิดรัฐธรรมนูญไหม ไม่ผิดแน่นอน
ถามว่า เป็นประชาธิปไตยไหม ต้องเป็นประชาธิปไตยแน่นอน (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
3. เข้าใจหลักกฎหมาย clear and present danger หรือ “ภัยพิบัติชัดแจ้ง อันอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ”
คือเข้าใจองค์ประกอบของการกระทำอันทำให้เกิดภัยพิบัติใดมาในอดีต มีการกระทำดังกล่าวต่างกรรมต่างวาระต่อมาอย่างไม่หยุดนิ่ง และปัจจุบันกำลังยกระดับความรุนแรงและสัมฤทธิผลของการกระทำนั้น เพื่อนำไปสู่ภัยพิบัติถึงที่สุด
เมื่อเข้าใจว่าภัยอันใหญ่หลวงที่กำลังจะมาถึงนั้นเป็นอันตรายต่อความสงบสุขของบ้านเมือง การดำรงอยู่ของรัฐบาลและการปกครองระบอบประชาธิปไตย แม้กระทั่งสถาบันกษัตริย์ที่เคารพบูชา
รัฐบาลซึ่งเป็นผู้ผูกขาดอำนาจและการใช้กำลัง จะต้องไม่ยอมให้ผู้อื่นมาใช้อำนาจและกำลังอันไม่ถูกต้องด้วยกฎหมาย รัฐบาลมีหน้าที่ระงับ จำกัด และกำจัดการกระทำและภัยพิบัตินั้นโดยเด็ดขาด และมิเปิดโอกาสให้เกิดขึ้นได้อีก แม้รัฐบาลจำเป็นต้องจำกัดสิทธิเสรีภาพหรืองดเว้นการบังคับใช้รัฐธรรมนูญเพื่อการนั้นๆ ก็กระทำได้ และต้องกระทำ
4. เข้าใจว่าการใช้มาตรา 7 ควบคู่กับการงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราเป็นการรักษารัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยมิใช่การทำลาย การไม่ยอมงดเว้นและไม่นำมาตรา 7 มาปรับใช้เมื่อจำเป็นต่างหากที่เป็นการทำลายประชาธิปไตย
5. เข้าใจเวสารัชชกรณธรรม 5 คือ คุณธรรม 5 ประการที่ทำให้เกิดความกล้าหาญ มีอะไรบ้างกรุณาไปเปิดดูเอาเอง