ข้อโต้แย้งคำพิพากษาคดียึดทรัพย์ประการหนึ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับบรรดานักการเมืองหรือนักวิชาการที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร บางคนยกขึ้นกล่าวอ้างเป็นข้อโจมตีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่า การที่ศาลยอมรับเอาประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 มาใช้ในการตัดสินคดีนี้ เท่ากับรับรองอำนาจเผด็จการ จึงไม่ถูกต้องและไม่เป็นประชาธิปไตยนั้น
ผู้เขียนได้ศึกษาตำรากฎหมายซึ่งนายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา เขียนไว้เมื่อปี 2548 ก่อนที่นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ มารับเป็นที่ปรึกษาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ตำราดังกล่าวมีชื่อว่า “การตีความกฎหมายไทย พร้อมด้วยเทคนิคการเรียนกฎหมายด้วยตนเอง” ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า “กฎหมาย” หมายถึง กฎที่สถาบัน หรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณี อันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือระหว่างบุคคลกับรัฐ
ส่วนผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในรัฐคือใครนั้น นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ ระบุไว้ในตำราเล่มนี้ว่า “เนื่องจากประเทศไทยในอดีตมีการปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อันเป็นระบอบการปกครองซึ่งพระมหากษัตริย์มีอำนาจสิทธิขาดในการบริหารประเทศ อำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียว พระราชโองการ หรือพระบรมราชโองการเป็นคำศักดิ์สิทธิ์ มาจากพระดำรัสสั่งของพระมหากษัตริย์ ถือเป็นกฎหมาย และยังมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมาย
ต่อมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับแรกเมื่อ พ.ศ. 2475
หลังจากนั้นได้มีการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินโดยคณะบุคคลที่เรียกชื่อต่างๆ กันอีกหลายครั้ง เช่น คณะปฏิวัติ คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ เป็นต้น คณะบุคคลเหล่านี้เมื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินได้แล้ว ได้ประกาศยกเลิก รัฐธรรมนูญที่ใช้บังคับอยู่ในเวลานั้น แล้วออกประกาศคำสั่งของคณะบุคคลที่เรียกชื่อต่างๆ เหล่านั้นออกมาใช้บังคับเป็นกฎหมาย
และมีการยอมรับกันเป็นกฎหมายจนบัดนี้ยังคงใช้เป็นกฎหมายอยู่ ทั้งรัฐบาล และศาลก็ยังถือว่า เป็นกฎหมายและบังคับบัญชาให้ เช่น ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2514 เรื่องแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 เป็นต้น”
ดังนั้น ประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินฯ (คตส.) ซึ่งออกโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐขณะนั้น จึงมีฐานะเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับได้
แต่ในวันนี้นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ ได้ลาออกจากการเป็นผู้พิพากษามาเป็นที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับมีความเห็นในทางตรงกันข้ามกับตำราที่ตัวเองเขียนไว้ข้างต้น
แม้แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เอง ในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็มีพฤติการณ์ยอมรับว่า ประกาศคณะปฏิวัติมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ โดยการออกพระราชบัญญัติ คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มีรายละเอียดตามมาตรา 88 ซึ่งระบุไว้ว่า
“บรรดากฎกระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 294 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 132 ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2515 ให้คงใช้บังคับต่อไปได้..................”
นอกจากนั้น นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็ออกประกาศกระทรวงการคลัง โดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 5 ข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 14 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 26 มกราคม 2515 เพื่อกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล อันเป็นการนำประกาศคณะปฏิวัติมาใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน
นั่นเป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึ่งที่ชี้ให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า ขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมีอำนาจที่จะปฏิเสธหรือยกเลิกกฎหมายที่ออกโดยผู้มีอำนาจสูงสุดที่เป็นกลุ่มอำนาจเผด็จการทหาร
แต่รัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในขณะนั้นก็ยังยินยอมรับเอาประกาศคณะปฏิวัติมาใช้บังคับเป็นกฎหมาย และนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารบ้านเมืองต่อไป
ผู้เขียนเห็นว่า ตำราที่นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ เขียนไว้ข้างต้นนั้นถูกต้องแล้ว เพราะผู้มีอำนาจสูงสุดของรัฐ ย่อมมีอำนาจออกกฎระเบียบมาใช้บังคับแก่คนในรัฐ เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง
ตำราของอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านกฎหมายที่มีการสอนและศึกษากันในมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็มีความเห็นตรงกันว่า ผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ หรือที่เรียกกันว่า “รัฐาธิปัตย์” เป็นผู้มีอำนาจออกกฎระเบียบซึ่งมีฐานะเป็นกฎหมายมาใช้บังคับแก่คนในรัฐ
ไม่ว่าผู้มีอำนาจรัฐนั้นเป็นเผด็จการทหาร เผด็จการ
รัฐสภา หรือเป็นผู้มีอำนาจรัฐในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงก็ตาม
ดังนั้น หากศาลใช้ความเห็นของนายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ ที่เห็นตรงข้ามกับตำราที่ตนเขียนว่า คณะปฏิวัติที่ทำการยึดอำนาจได้สำเร็จแล้วก็ยังเป็นกบฏ และไม่มีอำนาจออกกฎหมายใช้บังคับแก่ประชาชนในรัฐแล้ว เชื่อว่าบ้านเมืองก็คงวุ่นวาย และไม่สามารถเกิดความสงบสุขได้
เนื่องจากหากมีกลุ่มบุคคลใดยึดอำนาจรัฐสำเร็จ ก็จะไม่มีทางยินยอมปล่อยให้อำนาจหลุดจากมือของตน และไม่ยินยอมให้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างแน่นอน
เพราะหากคณะปฏิวัติยินยอมให้มีการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยเมื่อใด พวกตนก็จะต้องถูกดำเนินคดีฐานเป็นกบฏในราชอาณาจักร ที่มีอัตราโทษถึงประหารชีวิตทันที
ดังนั้น การที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่า ประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 เป็นกฎหมาย จึงเป็นการวินิจฉัยถูกต้องตามหลักกฎหมายแล้ว มิใช่ว่าศาลสนับสนุนเผด็จการหรือไม่เป็นประชาธิปไตยแต่อย่างใด
ส่วนการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับพวก ซึ่งเคยนำประกาศคณะปฏิวัติมาใช้บังคับแก่ประชาชนในขณะที่ตนเองเป็นรัฐบาล แต่กลับมาโต้แย้งว่า การที่ศาลนำประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 มาใช้บังคับ เป็นการไม่ถูกต้องและไม่เป็นประชาธิปไตยนั้น
กรณีเช่นนี้เรียกได้ว่า “สองมาตรฐาน” ใช่หรือไม่
ผู้เขียนได้ศึกษาตำรากฎหมายซึ่งนายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา เขียนไว้เมื่อปี 2548 ก่อนที่นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ มารับเป็นที่ปรึกษาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ตำราดังกล่าวมีชื่อว่า “การตีความกฎหมายไทย พร้อมด้วยเทคนิคการเรียนกฎหมายด้วยตนเอง” ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า “กฎหมาย” หมายถึง กฎที่สถาบัน หรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณี อันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือระหว่างบุคคลกับรัฐ
ส่วนผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในรัฐคือใครนั้น นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ ระบุไว้ในตำราเล่มนี้ว่า “เนื่องจากประเทศไทยในอดีตมีการปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อันเป็นระบอบการปกครองซึ่งพระมหากษัตริย์มีอำนาจสิทธิขาดในการบริหารประเทศ อำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียว พระราชโองการ หรือพระบรมราชโองการเป็นคำศักดิ์สิทธิ์ มาจากพระดำรัสสั่งของพระมหากษัตริย์ ถือเป็นกฎหมาย และยังมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมาย
ต่อมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับแรกเมื่อ พ.ศ. 2475
หลังจากนั้นได้มีการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินโดยคณะบุคคลที่เรียกชื่อต่างๆ กันอีกหลายครั้ง เช่น คณะปฏิวัติ คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ เป็นต้น คณะบุคคลเหล่านี้เมื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินได้แล้ว ได้ประกาศยกเลิก รัฐธรรมนูญที่ใช้บังคับอยู่ในเวลานั้น แล้วออกประกาศคำสั่งของคณะบุคคลที่เรียกชื่อต่างๆ เหล่านั้นออกมาใช้บังคับเป็นกฎหมาย
และมีการยอมรับกันเป็นกฎหมายจนบัดนี้ยังคงใช้เป็นกฎหมายอยู่ ทั้งรัฐบาล และศาลก็ยังถือว่า เป็นกฎหมายและบังคับบัญชาให้ เช่น ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2514 เรื่องแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 เป็นต้น”
ดังนั้น ประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินฯ (คตส.) ซึ่งออกโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐขณะนั้น จึงมีฐานะเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับได้
แต่ในวันนี้นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ ได้ลาออกจากการเป็นผู้พิพากษามาเป็นที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับมีความเห็นในทางตรงกันข้ามกับตำราที่ตัวเองเขียนไว้ข้างต้น
แม้แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เอง ในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็มีพฤติการณ์ยอมรับว่า ประกาศคณะปฏิวัติมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ โดยการออกพระราชบัญญัติ คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มีรายละเอียดตามมาตรา 88 ซึ่งระบุไว้ว่า
“บรรดากฎกระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 294 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 132 ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2515 ให้คงใช้บังคับต่อไปได้..................”
นอกจากนั้น นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็ออกประกาศกระทรวงการคลัง โดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 5 ข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 14 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 26 มกราคม 2515 เพื่อกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล อันเป็นการนำประกาศคณะปฏิวัติมาใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน
นั่นเป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึ่งที่ชี้ให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า ขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมีอำนาจที่จะปฏิเสธหรือยกเลิกกฎหมายที่ออกโดยผู้มีอำนาจสูงสุดที่เป็นกลุ่มอำนาจเผด็จการทหาร
แต่รัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในขณะนั้นก็ยังยินยอมรับเอาประกาศคณะปฏิวัติมาใช้บังคับเป็นกฎหมาย และนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารบ้านเมืองต่อไป
ผู้เขียนเห็นว่า ตำราที่นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ เขียนไว้ข้างต้นนั้นถูกต้องแล้ว เพราะผู้มีอำนาจสูงสุดของรัฐ ย่อมมีอำนาจออกกฎระเบียบมาใช้บังคับแก่คนในรัฐ เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง
ตำราของอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านกฎหมายที่มีการสอนและศึกษากันในมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็มีความเห็นตรงกันว่า ผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ หรือที่เรียกกันว่า “รัฐาธิปัตย์” เป็นผู้มีอำนาจออกกฎระเบียบซึ่งมีฐานะเป็นกฎหมายมาใช้บังคับแก่คนในรัฐ
ไม่ว่าผู้มีอำนาจรัฐนั้นเป็นเผด็จการทหาร เผด็จการ
รัฐสภา หรือเป็นผู้มีอำนาจรัฐในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงก็ตาม
ดังนั้น หากศาลใช้ความเห็นของนายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ ที่เห็นตรงข้ามกับตำราที่ตนเขียนว่า คณะปฏิวัติที่ทำการยึดอำนาจได้สำเร็จแล้วก็ยังเป็นกบฏ และไม่มีอำนาจออกกฎหมายใช้บังคับแก่ประชาชนในรัฐแล้ว เชื่อว่าบ้านเมืองก็คงวุ่นวาย และไม่สามารถเกิดความสงบสุขได้
เนื่องจากหากมีกลุ่มบุคคลใดยึดอำนาจรัฐสำเร็จ ก็จะไม่มีทางยินยอมปล่อยให้อำนาจหลุดจากมือของตน และไม่ยินยอมให้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างแน่นอน
เพราะหากคณะปฏิวัติยินยอมให้มีการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยเมื่อใด พวกตนก็จะต้องถูกดำเนินคดีฐานเป็นกบฏในราชอาณาจักร ที่มีอัตราโทษถึงประหารชีวิตทันที
ดังนั้น การที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่า ประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 เป็นกฎหมาย จึงเป็นการวินิจฉัยถูกต้องตามหลักกฎหมายแล้ว มิใช่ว่าศาลสนับสนุนเผด็จการหรือไม่เป็นประชาธิปไตยแต่อย่างใด
ส่วนการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับพวก ซึ่งเคยนำประกาศคณะปฏิวัติมาใช้บังคับแก่ประชาชนในขณะที่ตนเองเป็นรัฐบาล แต่กลับมาโต้แย้งว่า การที่ศาลนำประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 มาใช้บังคับ เป็นการไม่ถูกต้องและไม่เป็นประชาธิปไตยนั้น
กรณีเช่นนี้เรียกได้ว่า “สองมาตรฐาน” ใช่หรือไม่