บนพื้นฐานความจริงที่ระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยเพิ่งมีวิวัฒนาการมาเพียง 77 ปี และโดยการเปลี่ยนแปลงจากเบื้องบน ทำให้กว่าเวลากว่าครึ่งหนึ่งตกอยู่ภายใต้ระบบเผด็จการทหาร ส่วนที่เหลือก็เป็นการรวมศูนย์อำนาจของชนชั้นนำกลุ่มอื่น วัฒนธรรมประชาธิปไตยยังไม่เกิดขึ้นสมบูรณ์ สำนึกประชาธิปไตยของประชาชนยังไม่เกิดขึ้นสมบูรณ์ การเลือกตั้งโดยภาพรวมแล้วไม่อาจกล่าวได้ว่าสะท้อนความต้องการที่แท้จริงของสังคมไทย และไม่อาจกล่าวได้ว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งสะท้อนความเป็นตัวแทนของประชาชนได้โดยบริสุทธิ์ ยุติธรรม ทั้งหมด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันไม่ได้ขึ้นครองราชย์ในฐานะพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่จะบอกว่าการปกครองของประเทศเป็นระบอบประชาธิปไตยก็ใช่ที่ แม้จะกล่าวเฉพาะในบริบทของประชาธิปไตยในรูปแบบ ก็ตอบได้ว่ามีแต่เพียงบางช่วงบางเวลาในรัชสมัยของพระองค์ท่านเท่านั้น ส่วนบริบทของประชาธิปไตยในเนื้อหานั้น ต้องอภิปรายกันยาว เพราะแม้จนทุกวันนี้ก็ยังมีปัญหา
ในฐานะประมุขของประเทศหนึ่ง จึงทรงวางพระองค์ได้ไม่ง่ายนัก
เพราะไม่ได้ทรงมีพระราชอำนาจเยี่ยงพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ทรงมีพระราชอำนาจจำกัด
ในขณะที่ตลอดรัชสมัยของพระองค์บ้านเมืองเผชิญวิกฤตนานัปการ ท่ามกลางรัฐบาลที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาบริหารประเทศอย่างไร้เสถียรภาพเสียเป็นส่วนใหญ่
63 ปีที่ผ่านมาเป็นที่ประจักษ์แล้ว
รูปแบบประชาธิปไตย = รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร
เนื้อหาประชาธิปไตย = สถาบันพระมหากษัตริย์ไทย โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
เรามี “รูปแบบ” มาแล้ว 18 ฉบับ แต่ก็ยังขาดความมั่นคง แม้ฉบับ 2540 จะได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นฉบับประชาชน แต่ก็พบเห็นจุดอ่อนมากมาย ไม่มีหลักประกันว่าจะยั่งยืน ฉบับ 2550 ปัจจุบันก็มีผู้จ้องแก้ไขด้วยข้อหาไม่เป็นประชาธิปไตย
แต่ “เนื้อหา” ยั่งยืนมา 63 ปีแล้ว
นักวิชาการบางท่านยกภาษิตฝรั่งมาเปรียบเทียบว่า Action speak louder than words แล้วชวนให้เราศึกษาพระราชดำรัสและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้แล้ว จะพบว่าทั้งพระราชดำรัส (words) และพระราชกรณียกิจ (action) ล้วนมุ่งไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยทั้งสิ้น
1. พระปฐมบรมราชโองการ -- พระราชพิธีบรมราชาภิเษก 5 พฤษภาคม 2493 ทรงเปล่งพระบรมราชโองการ ตั้งพระราชสัตยาธิษฐานว่า “ราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”
2. ประชาชนที่ด้อยโอกาสคือหัวใจแห่งการพัฒนา– พระองค์ไม่ได้ยึด GDP เป็นเป้าหมาย พระองค์มุ่งสู่ชนบท คนยากจน ที่พัฒนามาเป็นหลักเศรษฐกิจพอเพียง
3. พระมหากษัตริย์ไปหาประชาชน ไม่เคยให้ประชาชนเดินทางเข้ามาขอพระราชทานพระบารมีในเมืองหลวง – มีใครในประเทศนี้เดินทางมากเท่าพระองค์
4. โครงการพระราชดำริมุ่งแก้ปัญหาผู้ด้อยโอกาส โดยให้เขารู้วิธีทำมาหากิน ไม่ใช่แจกเงิน– ปัจจุบันมีโครงการพระราชดำริรวมแล้วมากกว่า 3,000 โครงการ มีประชาชนที่ได้รับประโยชน์จากการดำเนินโครงการโดยตรงเกือบ 10 ล้านคน
5. ทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ริเริ่มโครงการ
6. ทรงเน้นความเป็นธรรมที่แท้จริง ไม่ใช่แค่ความเป็นธรรมตามกฎหมายแต่เพียงสถานเดียว
7. ทรงใช้วิธีการนอกระบบราชการ หรืออาจกล่าวได้ว่าพระองค์ทรงเป็นเอ็นจีโอ (The Royal NGO) – โครงการพระราชดำริหลายโครงการพัฒนารูปแบบเป็นองค์กรพัฒนาภาคเอกชน ทำให้เกิดเป็นเครือข่ายองค์พัฒนาภาคเอกชนที่สำคัญยิ่งเครือข่ายหนึ่ง ปัจจุบันในหลวงทรงมีพระราชดำริและพระราชทุนก่อตั้งมูลนิธิไม่ต่ำกว่า 6 มูลนิธิ ไม่รวมมูลนิธิที่รับเป็นองค์อุปถัมภ์อีกไม่ต่ำกว่า 20 มูลนิธิ(และองค์กร) ซึ่งรวมทั้งมูลนิธิที่ทรงดำรงตำแหน่งเป็นนายกกิตติมศักดิ์และดำเนินการด้วยพระองค์เอง คือ มูลนิธิชัยพัฒนา ซึ่งมีค่าเสมอเหมือนองค์การพัฒนาภาคเอกชนของกษัตริย์นักพัฒนาองค์แรกในสังคมไทย
พระราชวังของพระองค์ไม่เหมือนพระราชวังของพระมหากษัตริย์ใดในโลกที่พวกเราเคยไปท่องเที่ยวกันมา ไม่ใช่เพียงพระราชฐาน หากแต่เป็นโรงงาน เป็นห้องทดลอง เป็น ฯลฯ เพื่อนำไปประยุกต์แก้ปัญหาของประชาชนของพระองค์
การแสดงแสงสีเสียงที่ลานพระราชวังดุสิตระหว่างวันที่ 5 – 13 ธันวาคม 2552 ช่วงนี้บอกเล่าประเด็นนี้ได้เป็นอย่างดี
เมื่อพระองค์เป็นประชาธิปไตยโดยเนื้อหาเช่นนี้ รัฐธรรมนูญที่เป็นเพียงรูปแบบประชาธิปไตยจึงบัญญัติรับรองพระราชสถานะความเป็นศูนย์รวมของชาติไว้
“อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล”
หลักเช่นนี้ไม่มีในรัฐธรรมนูญของประเทศใดในโลก
มีพระราชอำนาจที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้หลายประการ นอกจากนี้ยังมีพระราชอำนาจที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติไว้
แต่ก็ไม่เคยทรงใช้พระราชอำนาจนั้นเกินเลยมาตรฐานของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยที่พระองค์ทรงยึดถือ
แม้จะมีผู้พยายามถวายให้ !
ไม่ว่าจะเป็นกรณีเมื่อปี 2517 ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติผู้ร่างรัฐธรรมนูญพยายามบัญญัติให้สมาชิกวุฒิสภามีที่มาจากการแต่งตั้ง โดยกำหนดให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ พระองค์ก็ทรงมีพระราชกระแสพระราชทานลงมาว่าไม่เห็นด้วย เพราะจะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง ในที่สุดสภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนั้นในปี 2518 หลังประกาศใช้ไม่กี่เดือน
ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่ผู้เรียกร้องต้องนายกรัฐมนตรีพระราชทานที่เกิดขึ้นเนือง ๆ ต่างยุคต่างสมัย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ใช่ทรงเป็นเพียง “ธรรมราชา” หากแต่การทรงเป็นหลักชัยและที่พึ่งสุดท้ายของบ้านเมืองในช่วง “รอยต่อของระบอบ” หรือ “ระบอบที่ไม่ลงตัว” ทำให้พระองค์ทรงมีอีกสถานะหนึ่งในทางปฏิบัติ
รัฐบุรุษ – Statesman !
อย่าว่าแต่คนไทยจะเห็น แม้แต่ต่างชาติก็เห็น คำถวายพระพรของนางฮิลลารี คลินตันในนามของประธานาธิบดีบารัค โอบามาแห่งสหรัฐอเมริกาคือสัญญาณและนัยที่ต้องตระหนัก
ทรงพระเจริญพระพุทธเจ้าข้า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันไม่ได้ขึ้นครองราชย์ในฐานะพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่จะบอกว่าการปกครองของประเทศเป็นระบอบประชาธิปไตยก็ใช่ที่ แม้จะกล่าวเฉพาะในบริบทของประชาธิปไตยในรูปแบบ ก็ตอบได้ว่ามีแต่เพียงบางช่วงบางเวลาในรัชสมัยของพระองค์ท่านเท่านั้น ส่วนบริบทของประชาธิปไตยในเนื้อหานั้น ต้องอภิปรายกันยาว เพราะแม้จนทุกวันนี้ก็ยังมีปัญหา
ในฐานะประมุขของประเทศหนึ่ง จึงทรงวางพระองค์ได้ไม่ง่ายนัก
เพราะไม่ได้ทรงมีพระราชอำนาจเยี่ยงพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ทรงมีพระราชอำนาจจำกัด
ในขณะที่ตลอดรัชสมัยของพระองค์บ้านเมืองเผชิญวิกฤตนานัปการ ท่ามกลางรัฐบาลที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาบริหารประเทศอย่างไร้เสถียรภาพเสียเป็นส่วนใหญ่
63 ปีที่ผ่านมาเป็นที่ประจักษ์แล้ว
รูปแบบประชาธิปไตย = รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร
เนื้อหาประชาธิปไตย = สถาบันพระมหากษัตริย์ไทย โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
เรามี “รูปแบบ” มาแล้ว 18 ฉบับ แต่ก็ยังขาดความมั่นคง แม้ฉบับ 2540 จะได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นฉบับประชาชน แต่ก็พบเห็นจุดอ่อนมากมาย ไม่มีหลักประกันว่าจะยั่งยืน ฉบับ 2550 ปัจจุบันก็มีผู้จ้องแก้ไขด้วยข้อหาไม่เป็นประชาธิปไตย
แต่ “เนื้อหา” ยั่งยืนมา 63 ปีแล้ว
นักวิชาการบางท่านยกภาษิตฝรั่งมาเปรียบเทียบว่า Action speak louder than words แล้วชวนให้เราศึกษาพระราชดำรัสและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้แล้ว จะพบว่าทั้งพระราชดำรัส (words) และพระราชกรณียกิจ (action) ล้วนมุ่งไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยทั้งสิ้น
1. พระปฐมบรมราชโองการ -- พระราชพิธีบรมราชาภิเษก 5 พฤษภาคม 2493 ทรงเปล่งพระบรมราชโองการ ตั้งพระราชสัตยาธิษฐานว่า “ราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”
2. ประชาชนที่ด้อยโอกาสคือหัวใจแห่งการพัฒนา– พระองค์ไม่ได้ยึด GDP เป็นเป้าหมาย พระองค์มุ่งสู่ชนบท คนยากจน ที่พัฒนามาเป็นหลักเศรษฐกิจพอเพียง
3. พระมหากษัตริย์ไปหาประชาชน ไม่เคยให้ประชาชนเดินทางเข้ามาขอพระราชทานพระบารมีในเมืองหลวง – มีใครในประเทศนี้เดินทางมากเท่าพระองค์
4. โครงการพระราชดำริมุ่งแก้ปัญหาผู้ด้อยโอกาส โดยให้เขารู้วิธีทำมาหากิน ไม่ใช่แจกเงิน– ปัจจุบันมีโครงการพระราชดำริรวมแล้วมากกว่า 3,000 โครงการ มีประชาชนที่ได้รับประโยชน์จากการดำเนินโครงการโดยตรงเกือบ 10 ล้านคน
5. ทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ริเริ่มโครงการ
6. ทรงเน้นความเป็นธรรมที่แท้จริง ไม่ใช่แค่ความเป็นธรรมตามกฎหมายแต่เพียงสถานเดียว
7. ทรงใช้วิธีการนอกระบบราชการ หรืออาจกล่าวได้ว่าพระองค์ทรงเป็นเอ็นจีโอ (The Royal NGO) – โครงการพระราชดำริหลายโครงการพัฒนารูปแบบเป็นองค์กรพัฒนาภาคเอกชน ทำให้เกิดเป็นเครือข่ายองค์พัฒนาภาคเอกชนที่สำคัญยิ่งเครือข่ายหนึ่ง ปัจจุบันในหลวงทรงมีพระราชดำริและพระราชทุนก่อตั้งมูลนิธิไม่ต่ำกว่า 6 มูลนิธิ ไม่รวมมูลนิธิที่รับเป็นองค์อุปถัมภ์อีกไม่ต่ำกว่า 20 มูลนิธิ(และองค์กร) ซึ่งรวมทั้งมูลนิธิที่ทรงดำรงตำแหน่งเป็นนายกกิตติมศักดิ์และดำเนินการด้วยพระองค์เอง คือ มูลนิธิชัยพัฒนา ซึ่งมีค่าเสมอเหมือนองค์การพัฒนาภาคเอกชนของกษัตริย์นักพัฒนาองค์แรกในสังคมไทย
พระราชวังของพระองค์ไม่เหมือนพระราชวังของพระมหากษัตริย์ใดในโลกที่พวกเราเคยไปท่องเที่ยวกันมา ไม่ใช่เพียงพระราชฐาน หากแต่เป็นโรงงาน เป็นห้องทดลอง เป็น ฯลฯ เพื่อนำไปประยุกต์แก้ปัญหาของประชาชนของพระองค์
การแสดงแสงสีเสียงที่ลานพระราชวังดุสิตระหว่างวันที่ 5 – 13 ธันวาคม 2552 ช่วงนี้บอกเล่าประเด็นนี้ได้เป็นอย่างดี
เมื่อพระองค์เป็นประชาธิปไตยโดยเนื้อหาเช่นนี้ รัฐธรรมนูญที่เป็นเพียงรูปแบบประชาธิปไตยจึงบัญญัติรับรองพระราชสถานะความเป็นศูนย์รวมของชาติไว้
“อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล”
หลักเช่นนี้ไม่มีในรัฐธรรมนูญของประเทศใดในโลก
มีพระราชอำนาจที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้หลายประการ นอกจากนี้ยังมีพระราชอำนาจที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติไว้
แต่ก็ไม่เคยทรงใช้พระราชอำนาจนั้นเกินเลยมาตรฐานของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยที่พระองค์ทรงยึดถือ
แม้จะมีผู้พยายามถวายให้ !
ไม่ว่าจะเป็นกรณีเมื่อปี 2517 ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติผู้ร่างรัฐธรรมนูญพยายามบัญญัติให้สมาชิกวุฒิสภามีที่มาจากการแต่งตั้ง โดยกำหนดให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ พระองค์ก็ทรงมีพระราชกระแสพระราชทานลงมาว่าไม่เห็นด้วย เพราะจะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง ในที่สุดสภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนั้นในปี 2518 หลังประกาศใช้ไม่กี่เดือน
ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่ผู้เรียกร้องต้องนายกรัฐมนตรีพระราชทานที่เกิดขึ้นเนือง ๆ ต่างยุคต่างสมัย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ใช่ทรงเป็นเพียง “ธรรมราชา” หากแต่การทรงเป็นหลักชัยและที่พึ่งสุดท้ายของบ้านเมืองในช่วง “รอยต่อของระบอบ” หรือ “ระบอบที่ไม่ลงตัว” ทำให้พระองค์ทรงมีอีกสถานะหนึ่งในทางปฏิบัติ
รัฐบุรุษ – Statesman !
อย่าว่าแต่คนไทยจะเห็น แม้แต่ต่างชาติก็เห็น คำถวายพระพรของนางฮิลลารี คลินตันในนามของประธานาธิบดีบารัค โอบามาแห่งสหรัฐอเมริกาคือสัญญาณและนัยที่ต้องตระหนัก
ทรงพระเจริญพระพุทธเจ้าข้า