ASTV ผู้จัดการรายวัน - “ทุ่งคาฮาเบอร์” อ้างการปรับเปลี่ยนสายการผลิต และการได้รับใบอนุญาตเพื่อส่งออกแร่ทองแดงล่าช้า ฉุดผลดำเนินงานปี52 ขาดทุน 358 ล้านบาท จากปี 2551 ที่กำไร 109 ล้านบาท
นายจอห์น ปีเตอร์ มิลส์ล กรรมการบริหาร บริษัท ทุ่งคาฮาเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ THL เปิดเผยว่า ตามที่บริษัทได้ส่งรายงานและงบการเงินรวมสำหรับปีสิ้นสุดวันที่31 ธันวาคม 2552 และ 2551 ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจากสำนักงาน เอ.เอ็ม.ที แอสโซซิเอท ต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น บริษัทฯ ขอชี้แจงประกอบผลการดำเนินงานว่า บริษัทฯ มีผลขาดทุนสุทธิ 358.76ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2551 ซึ่งมีผลกำไรสุทธิเป็นจำนวนเงิน 109.64 ล้านบาท
ทั้งนี้ เนื่องจาก ในไตรมาสที่ 4 บริษัท ทุ่งคำ จำกัด (บริษัทย่อย) มีรายได้จากการขายทองคำเป็นเงิน 63.85 ล้านบาท และจากการขายแร่ทองแดง (ซึ่งมีทองคำปน) จำนวน 91.65 ล้านบาท รวมเป็นรายได้ 155.50 ล้านบาท ซึ่งลดลง 151.33 ล้านบาทเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน โดยการลดลงของรายได้สืบเนื่องมาจากผลผลิตทองคำที่ลดลงจาก 7,799.38 ออนซ์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2551 เหลือเพียง จำนวน 2,342.16 ออนซ์ในไตรมาสเดียวกันในปี2552
เพราะ ในปี 2552 ได้มีการปรับเปลี่ยนสายการผลิต โดยทำการติดตั้งชุดลอยแร่เพิ่มเติม เนื่องจากสินแร่ออกไซด์ (Oxide Ores) เริ่มลดลง จึงต้องทำการผลิตจากช่วงแร่เปลี่ยนผ่าน(Transition Ores) และแร่ซัลไฟด์ (Sulphide Ores) ส่งผลให้บริษัทต้องดำเนินการปรับปรุงสายการผลิตให้สามารถรองรับความเปลี่ยนแปลงของชนิดแร่ได้
ดังนั้น เมื่อมีการปรับเปลี่บนสายการผลิต จึงได้เกิดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงชนิดของแร่ โดยมีผลให้ปริมาณทองคำที่ผลิตได้ลดลงร้อยละ 50 เนื่องจากแร่ซัลไฟด์มีความแข็งแรงและความคมสูง แต่ปริมาณหัวแร่ทองแดงที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากแร่ซัลไฟด์มีปริมาณทองแดงที่สูงกว่าแร่ออกไซด์ ซึ่งทำให้บริษัทสามารถผลิตและจำหน่ายหัวแร่ทองแดงได้มากขึ้น และทางบริษัทก็ได้รับใบอนุญาตชั่วคราวเพื่อส่งออกแร่ทองแดงจำนวน 700 ตัน ในวันที่ 7 กันยายน 2552 ซึ่งต่อมาในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2552 บริษัทได้รับใบอนุญาตส่งออกแร่ทองแดงถาวร
อย่างไรก็ตาม ความล่าช้าในการเปิดใช้งานชุดลอยแร่ ซึ่งล่าช้ากว่ากำหนดถึงประมาณ 4 เดือน โดยส่วนหนึ่งเกิดจากการประกันภัยให้ทีมวิศวกรก่อสร้างชาวต่างชาติที่มาควบคุมการก่อสร้างไม่ได้รับความคุ้มครองจากเหตุการณ์ความไม่สงบในเดือนเมษายน 2552
ขณะเดียวกันในปี 2552 บริษัทย่อยมีผลขาดทุนจากการชำระราคาตามสัญญาที่กำหนดราคาล่วงหน้า ทั้งสิ้น 60.94ล้านบาท เนื่องจากบริษัทย่อยไม่สามารถส่งมอบทองคำได้ตามปริมาณที่กำหนด ซึ่งเป็นผลจากการ ได้รับใบอนุญาตส่งออกทองแดงล่าช้า โดยบริษัทย่อยไม่สามารถส่งออกหัวแร่ทองแดงจำนวน1,575.39 ตัน ซึ่งมีทองคำปนอยู่จำนวน 3,159 ออนซ์ ให้เสร็จสิ้นได้และต้องล่วงเลยไปถึงไตรมาสแรกของปี 2553
นอกจากนี้ บริษัทฯไม่มีการผลิตและไม่มีรายได้ใดๆจากส่วนงานดีบุกเนื่องจากบริษัทฯกำลังดำเนินการเพื่อให้บริษัทย่อยคือ บริษัท ทรัพยากรสมุทร จำกัด (SML) ซึ่งมีธุรกิจหลักคือการทำเหมืองแร่ดีบุกในทะเล ได้รับประทานบัตรและสามารถเริ่มดำเนินการให้ได้โดยเร็วที่สุด
ทั้งนี้ บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารในปี 2552 จำนวน 242.34 ล้านบาทลดลงเป็นเงิน 26.62ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อนซึ่งมีค่าใช้จ่ายรวมเป็นเงิน 268.96 ล้านบาท และบริษัทย่อยมีการเพิ่มอัตราค่าภาคหลวงจากสัญญาเดิมที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 2.5 ของราคาขายที่ประกาศโดยกรมทรัพยากรธรณี เป็นอัตราแบบก้าวหน้า ซึ่งมีเพดานสูงถึงร้อยละ 15
ประกอบกับสำนักงานปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) ได้แจ้งให้บริษัทย่อยเสียค่าใช้พื้นที่เพิ่มเติมในอัตราเดียวกันอีก นอกจากนี้บริษัทย่อยยังมีข้องผูกพันที่จะต้องปันส่วนแบ่งจากการผลิตอีกร้อยละ 1.5 ให้รัฐบาล แต่เพื่อคัดค้านการเรียกเก็บค่าใช้พื้นที่ของ สปก. ในช่วงปลายปี 2551บริษัทย่อยจึงได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอความเป็นธรรมต่อมา สปก. ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองให้มีคำสั่งให้บริษัทย่อยหยุด
นายจอห์น ปีเตอร์ มิลส์ล กรรมการบริหาร บริษัท ทุ่งคาฮาเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ THL เปิดเผยว่า ตามที่บริษัทได้ส่งรายงานและงบการเงินรวมสำหรับปีสิ้นสุดวันที่31 ธันวาคม 2552 และ 2551 ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจากสำนักงาน เอ.เอ็ม.ที แอสโซซิเอท ต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น บริษัทฯ ขอชี้แจงประกอบผลการดำเนินงานว่า บริษัทฯ มีผลขาดทุนสุทธิ 358.76ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2551 ซึ่งมีผลกำไรสุทธิเป็นจำนวนเงิน 109.64 ล้านบาท
ทั้งนี้ เนื่องจาก ในไตรมาสที่ 4 บริษัท ทุ่งคำ จำกัด (บริษัทย่อย) มีรายได้จากการขายทองคำเป็นเงิน 63.85 ล้านบาท และจากการขายแร่ทองแดง (ซึ่งมีทองคำปน) จำนวน 91.65 ล้านบาท รวมเป็นรายได้ 155.50 ล้านบาท ซึ่งลดลง 151.33 ล้านบาทเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน โดยการลดลงของรายได้สืบเนื่องมาจากผลผลิตทองคำที่ลดลงจาก 7,799.38 ออนซ์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2551 เหลือเพียง จำนวน 2,342.16 ออนซ์ในไตรมาสเดียวกันในปี2552
เพราะ ในปี 2552 ได้มีการปรับเปลี่ยนสายการผลิต โดยทำการติดตั้งชุดลอยแร่เพิ่มเติม เนื่องจากสินแร่ออกไซด์ (Oxide Ores) เริ่มลดลง จึงต้องทำการผลิตจากช่วงแร่เปลี่ยนผ่าน(Transition Ores) และแร่ซัลไฟด์ (Sulphide Ores) ส่งผลให้บริษัทต้องดำเนินการปรับปรุงสายการผลิตให้สามารถรองรับความเปลี่ยนแปลงของชนิดแร่ได้
ดังนั้น เมื่อมีการปรับเปลี่บนสายการผลิต จึงได้เกิดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงชนิดของแร่ โดยมีผลให้ปริมาณทองคำที่ผลิตได้ลดลงร้อยละ 50 เนื่องจากแร่ซัลไฟด์มีความแข็งแรงและความคมสูง แต่ปริมาณหัวแร่ทองแดงที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากแร่ซัลไฟด์มีปริมาณทองแดงที่สูงกว่าแร่ออกไซด์ ซึ่งทำให้บริษัทสามารถผลิตและจำหน่ายหัวแร่ทองแดงได้มากขึ้น และทางบริษัทก็ได้รับใบอนุญาตชั่วคราวเพื่อส่งออกแร่ทองแดงจำนวน 700 ตัน ในวันที่ 7 กันยายน 2552 ซึ่งต่อมาในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2552 บริษัทได้รับใบอนุญาตส่งออกแร่ทองแดงถาวร
อย่างไรก็ตาม ความล่าช้าในการเปิดใช้งานชุดลอยแร่ ซึ่งล่าช้ากว่ากำหนดถึงประมาณ 4 เดือน โดยส่วนหนึ่งเกิดจากการประกันภัยให้ทีมวิศวกรก่อสร้างชาวต่างชาติที่มาควบคุมการก่อสร้างไม่ได้รับความคุ้มครองจากเหตุการณ์ความไม่สงบในเดือนเมษายน 2552
ขณะเดียวกันในปี 2552 บริษัทย่อยมีผลขาดทุนจากการชำระราคาตามสัญญาที่กำหนดราคาล่วงหน้า ทั้งสิ้น 60.94ล้านบาท เนื่องจากบริษัทย่อยไม่สามารถส่งมอบทองคำได้ตามปริมาณที่กำหนด ซึ่งเป็นผลจากการ ได้รับใบอนุญาตส่งออกทองแดงล่าช้า โดยบริษัทย่อยไม่สามารถส่งออกหัวแร่ทองแดงจำนวน1,575.39 ตัน ซึ่งมีทองคำปนอยู่จำนวน 3,159 ออนซ์ ให้เสร็จสิ้นได้และต้องล่วงเลยไปถึงไตรมาสแรกของปี 2553
นอกจากนี้ บริษัทฯไม่มีการผลิตและไม่มีรายได้ใดๆจากส่วนงานดีบุกเนื่องจากบริษัทฯกำลังดำเนินการเพื่อให้บริษัทย่อยคือ บริษัท ทรัพยากรสมุทร จำกัด (SML) ซึ่งมีธุรกิจหลักคือการทำเหมืองแร่ดีบุกในทะเล ได้รับประทานบัตรและสามารถเริ่มดำเนินการให้ได้โดยเร็วที่สุด
ทั้งนี้ บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารในปี 2552 จำนวน 242.34 ล้านบาทลดลงเป็นเงิน 26.62ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อนซึ่งมีค่าใช้จ่ายรวมเป็นเงิน 268.96 ล้านบาท และบริษัทย่อยมีการเพิ่มอัตราค่าภาคหลวงจากสัญญาเดิมที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 2.5 ของราคาขายที่ประกาศโดยกรมทรัพยากรธรณี เป็นอัตราแบบก้าวหน้า ซึ่งมีเพดานสูงถึงร้อยละ 15
ประกอบกับสำนักงานปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) ได้แจ้งให้บริษัทย่อยเสียค่าใช้พื้นที่เพิ่มเติมในอัตราเดียวกันอีก นอกจากนี้บริษัทย่อยยังมีข้องผูกพันที่จะต้องปันส่วนแบ่งจากการผลิตอีกร้อยละ 1.5 ให้รัฐบาล แต่เพื่อคัดค้านการเรียกเก็บค่าใช้พื้นที่ของ สปก. ในช่วงปลายปี 2551บริษัทย่อยจึงได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอความเป็นธรรมต่อมา สปก. ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองให้มีคำสั่งให้บริษัทย่อยหยุด