วานนี้ (8 มี.ค.) นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภาได้นัดประชุมวุฒิสภาเป็นพิเศษในวันนี้ (9 มี.ค.) เวลา 10.00 น. เพื่อดำเนินกระบวนการถอดถอนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่ง ตามรัฐธรรมนูญ 50 มาตรา 273 จากกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติชี้มูลความผิด กรณีสั่งการสลายการชุมนุมหน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 โดยการประชุมดังกล่าว จะเป็นการลงมติถอดถอนหรือไม่ถอดถอนผู้ถูกกล่าวหาออกจากตำแหน่ง ซึ่งจะใช้วิธีการลงคะแนนลับ โดยใช้บัตรลงคะแนน
ทั้งนี้ มติที่ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง ต้องใช้เสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา หรือไม่น้อยกว่า 90 เสียงจาก 150 เสียง
รายงานข่าวจากวุฒิสภาแจ้งว่า สำหรับความเคลื่อนไหวของ ส.ว.ในการพิจารณาลงคะแนนถอดถอนนายสมชาย ออกจากตำแหน่ง ล่าสุดมีความเห็นแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ระหว่างกลุ่ม ส.ว.เลือกตั้ง นำโดยนายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ ที่รวมกับส.ว.สรรหาส่วนหนึ่ง นำโดยนายอนุรักษ์ นิยมเวช รวมจำนวนประมาณ 70 คน ที่เห็นว่า เรื่องดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่ควรนำเข้ามาพิจารณาในวุฒิสภาตั้งแต่แรก เพราะผู้ถูกกล่าวหาได้พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว หากดำเนินการต่อจะมีปัญหาว่าถอดถอนออกจากตำแหน่งอะไร รวมถึงนำหลักการ อิมพีชเมนต์ จากสหรัฐอเมริกา มาเป็นกรณีเทียบเคียงกรณีที่วุฒิสภาสหรัฐฯ จะถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง แต่เมื่อบุคคลดังกล่าวออกจากตำแหน่งไปแล้ว วุฒิสภาจึงมีมติถอนเรื่องออกไป
นอกจากนี้ยังเห็นว่า ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 102 (14) และมาตรา 115 (8) บัญญัติถึงคุณสมบัติของส.ส. และส.ว.ว่า ห้ามเคยถูกวุฒิสภามีมติถอดถอนตาม มาตรา 274 หมายความว่า หากถูกถอดถอนจะไม่สามารถลงสมัคร ส.ส.และ ส.ว.ได้ตลอดชีวิต จึงเห็นว่าไม่เป็นธรรมกับผู้ถูกกกล่าวหา
ขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งคือ กลุ่ม 40 ส.ว. ซึ่งสนับสนุนการเดินหน้าถอดถอนนายสมชาย เห็นว่าแม้ผู้ถูกกกล่าวหาจะพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว แต่รัฐธรรมนูญยังมีโทษการตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี อยู่ จึงต้องดำเนินการต่อไป อย่างไรก็ดี กลุ่มนี้มีเสียงสูงสุดประมาณ 40 คน
ข่าวแจ้งว่า ส.ว.ทั้งสองกลุ่มประเมินตรงกันว่าโดยปกติจะมี ส.ว.เข้าประชุมประมาณ 110–120 คน ซึ่งหากมีผู้เข้าประชุมจำนวนดังกล่าว ฝ่ายที่คัดค้านการดำเนินการถอดถอน ก็จะเข้าร่วมประชุม เพื่อลงมติไม่เห็นด้วย หรืองดออกเสียง เพื่อให้กระบวนการดังกล่าวตกไป เพราะประเมินว่า เสียงลงมติเห็นด้วยให้ถอดถอน จะมีสูงสุดไม่เกิน 40 เสียง ซึ่งไม่ถึงตามเกณฑ์ที่รัฐธรรมนูญกำหนด
อย่างไรก็ดี หากวันประชุมดังกล่าวมี ส.ว.มาประชุมมากถึง140 คน ส.ว.ที่คัดค้านการดำเนินกระบวนการถอดถอน ก็จะวอล์กเอาต์ ตอนลงมติ เพื่อให้เรื่องดังกล่าวได้เสียงไม่ครบตามเกณฑ์ ทำให้ไม่ผ่านการเห็นชอบจากวุฒิสภา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงเช้าวานนี้ ชมรมตัวแทนผู้บาดเจ็บ พิการ และเสียชีวิต จากการใช้สิทธิการชุมนุมโดยสงบ และปราศจากอาวุธ ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เดินทางมายังหน้ารัฐสภา ร่วมกันทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้กับผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551 โดยได้นิมนต์พระสงฆ์จำนวน 4 รูป จากวัดมหรรณพารามวรวิหาร ทั้งนี้ทางชมรมได้มีการแจกเอกสาร และซีดีเกี่ยวกับเหตุการณ์สลายการชุมนุมให้กับสมาชิกวุฒิสภา เพื่อใช้พิจารณาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ในการถอดถอนนายสมชาย ด้วย
นอกจากนี้ยังได้ออกแถลงการณ์ โดยระบุว่า หวังว่า ส.ว.จะให้ความเป็นธรรมกับครอบครัวผู้บาดเจ็บ พิการ และเสียชีวิต ด้วยการลงมติถอดถอนนายสมชาย ให้หยุดดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งการลงโทษดังกล่าว จะเป็นเยี่ยงอย่าง และสร้างความเป็นธรรม ให้กับประชาชน ตลอดจนสร้างบรรทัดฐานไม่ให้เกิดการกระทำที่เกินกว่าเหตุ จนเป็นเหตุให้ประชาชนต้องสูญเสีย อวัยวะ และชีวิต อย่างไม่เป็นธรรม เพื่อไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีกในอนาคตข้างหน้า
ทั้งนี้ ทางชมรมฯ จะมาร่วมรับฟังการพิจารณาถอดถอนนายสมชาย ในวันนี้ด้วย
ทั้งนี้ มติที่ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง ต้องใช้เสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา หรือไม่น้อยกว่า 90 เสียงจาก 150 เสียง
รายงานข่าวจากวุฒิสภาแจ้งว่า สำหรับความเคลื่อนไหวของ ส.ว.ในการพิจารณาลงคะแนนถอดถอนนายสมชาย ออกจากตำแหน่ง ล่าสุดมีความเห็นแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ระหว่างกลุ่ม ส.ว.เลือกตั้ง นำโดยนายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ ที่รวมกับส.ว.สรรหาส่วนหนึ่ง นำโดยนายอนุรักษ์ นิยมเวช รวมจำนวนประมาณ 70 คน ที่เห็นว่า เรื่องดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่ควรนำเข้ามาพิจารณาในวุฒิสภาตั้งแต่แรก เพราะผู้ถูกกล่าวหาได้พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว หากดำเนินการต่อจะมีปัญหาว่าถอดถอนออกจากตำแหน่งอะไร รวมถึงนำหลักการ อิมพีชเมนต์ จากสหรัฐอเมริกา มาเป็นกรณีเทียบเคียงกรณีที่วุฒิสภาสหรัฐฯ จะถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง แต่เมื่อบุคคลดังกล่าวออกจากตำแหน่งไปแล้ว วุฒิสภาจึงมีมติถอนเรื่องออกไป
นอกจากนี้ยังเห็นว่า ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 102 (14) และมาตรา 115 (8) บัญญัติถึงคุณสมบัติของส.ส. และส.ว.ว่า ห้ามเคยถูกวุฒิสภามีมติถอดถอนตาม มาตรา 274 หมายความว่า หากถูกถอดถอนจะไม่สามารถลงสมัคร ส.ส.และ ส.ว.ได้ตลอดชีวิต จึงเห็นว่าไม่เป็นธรรมกับผู้ถูกกกล่าวหา
ขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งคือ กลุ่ม 40 ส.ว. ซึ่งสนับสนุนการเดินหน้าถอดถอนนายสมชาย เห็นว่าแม้ผู้ถูกกกล่าวหาจะพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว แต่รัฐธรรมนูญยังมีโทษการตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี อยู่ จึงต้องดำเนินการต่อไป อย่างไรก็ดี กลุ่มนี้มีเสียงสูงสุดประมาณ 40 คน
ข่าวแจ้งว่า ส.ว.ทั้งสองกลุ่มประเมินตรงกันว่าโดยปกติจะมี ส.ว.เข้าประชุมประมาณ 110–120 คน ซึ่งหากมีผู้เข้าประชุมจำนวนดังกล่าว ฝ่ายที่คัดค้านการดำเนินการถอดถอน ก็จะเข้าร่วมประชุม เพื่อลงมติไม่เห็นด้วย หรืองดออกเสียง เพื่อให้กระบวนการดังกล่าวตกไป เพราะประเมินว่า เสียงลงมติเห็นด้วยให้ถอดถอน จะมีสูงสุดไม่เกิน 40 เสียง ซึ่งไม่ถึงตามเกณฑ์ที่รัฐธรรมนูญกำหนด
อย่างไรก็ดี หากวันประชุมดังกล่าวมี ส.ว.มาประชุมมากถึง140 คน ส.ว.ที่คัดค้านการดำเนินกระบวนการถอดถอน ก็จะวอล์กเอาต์ ตอนลงมติ เพื่อให้เรื่องดังกล่าวได้เสียงไม่ครบตามเกณฑ์ ทำให้ไม่ผ่านการเห็นชอบจากวุฒิสภา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงเช้าวานนี้ ชมรมตัวแทนผู้บาดเจ็บ พิการ และเสียชีวิต จากการใช้สิทธิการชุมนุมโดยสงบ และปราศจากอาวุธ ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เดินทางมายังหน้ารัฐสภา ร่วมกันทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้กับผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551 โดยได้นิมนต์พระสงฆ์จำนวน 4 รูป จากวัดมหรรณพารามวรวิหาร ทั้งนี้ทางชมรมได้มีการแจกเอกสาร และซีดีเกี่ยวกับเหตุการณ์สลายการชุมนุมให้กับสมาชิกวุฒิสภา เพื่อใช้พิจารณาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ในการถอดถอนนายสมชาย ด้วย
นอกจากนี้ยังได้ออกแถลงการณ์ โดยระบุว่า หวังว่า ส.ว.จะให้ความเป็นธรรมกับครอบครัวผู้บาดเจ็บ พิการ และเสียชีวิต ด้วยการลงมติถอดถอนนายสมชาย ให้หยุดดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งการลงโทษดังกล่าว จะเป็นเยี่ยงอย่าง และสร้างความเป็นธรรม ให้กับประชาชน ตลอดจนสร้างบรรทัดฐานไม่ให้เกิดการกระทำที่เกินกว่าเหตุ จนเป็นเหตุให้ประชาชนต้องสูญเสีย อวัยวะ และชีวิต อย่างไม่เป็นธรรม เพื่อไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีกในอนาคตข้างหน้า
ทั้งนี้ ทางชมรมฯ จะมาร่วมรับฟังการพิจารณาถอดถอนนายสมชาย ในวันนี้ด้วย